มะขามเปรี้ยว
มะขามเปรี้ยวพันธุ์ฝักยักษ์ หรือ มะขามเปรี้ยวยักษ์ เป็นสินค้าเกษตรทางเลือกที่น่าสนใจ เพราะเป็นผลไม้เขตร้อนที่เติบโตได้ดีในบริเวณพื้นที่ราบจนถึงบนภูเขาสูง ปลูกได้ทุกสภาพดิน ทนแล้ง ให้ผลดก ฝักใหญ่เนื้อหนา น้ำหนักดี รสเปรี้ยวสูง ขายดีทั้งมะขามฝักสดและมะขามเปียก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า มะขามเปรี้ยวฝักใหญ่ เป็นพืชทางเลือกอีกชนิดหนึ่งที่น่าสนใจ ทั้งปลูกไว้สำหรับบริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายผลหรือแปรรูปเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร เนื่องจากฝักจะมีขนาดใหญ่ น้ำหนักเยอะ เป็นพืชที่ปลูกง่าย สามารถเจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด รวมทั้งทุกส่วนของต้นยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะเป็น ใบ ยอด ฝักดิบ ฝักสุก นำมาบริโภค ส่วนลำต้นหรือเนื้อไม้ นำมาทำเขียง เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ปัจจุบันมีความนิยมนำผลสดมาแปรรูปเป็นมะขามแช่อิ่ม ผลสุกนำมาทำเป็นมะขามเปียก รวมถึงการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น มะขามแก้ว มะขามกวน น้ำพริกมะขาม สบู่มะขาม เป็นต้น การเตรียมหลุมสำหรับปลูก เตรียมหลุมสำหรับปลูกในดินที่มีความแน่นหรือแห้งแข
ในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่มะขามเปรี้ยวสุก ทุกวันนี้มะขามเปรี้ยวไม่ค่อยพบบ่อยนัก ในช่วงที่มะนาวแพง ดังนั้น ในแต่ละครัวเรือนจึงนิยมใช้มะขามเปียกแทนมะนาวเพื่อให้รสเปรี้ยว ฉะนั้นการที่จะถนอมอาหารให้มีมะขามเปียกไว้ปรุงรสในครัวเรือนได้นานๆ คุณเดือน เหลาประเสริฐ ที่อยู่ 18 หมู่ที่ 2 บ้านกงกลาง ตำบลบ้านกง อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า หลังจากที่เก็บมะขามเปรี้ยวสุกมาแล้ว ต้องแกะเปลือกและเส้นใยออกทั้งหมดแล้วนำไปตากแดดประมาณ 3 วัน นำไปตากให้แห้งเพื่อที่จะแกะเมล็ดง่ายเพราะถ้ามะขามไม่แห้งจะแกะยาก ระยะเวลาการเก็บ มะขามเปียกจะเก็บไว้ปรุงรสได้เป็นปี หลังจากที่แกะเมล็ดออกแล้วก็จะนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดเท่ากำปั้นแล้วนำไปแช่เก็บไว้ในตู้เย็น เพราะหากเก็บไว้ด้านนอกมะขามจะดำ คุณเดือน บอกว่า มะขามเปียกในตลาดจะขายกิโลกรัมละ 40 บาท (ยังไม่แกะเมล็ด) แต่ถ้าแกะเมล็ดออกแล้วจะมีราคาแพงกว่านั้น (ราคาก้อนละ 20 บาท ถ้าแกะเมล็ดแล้ว) มะขามเปียกจะใช้ปรุงเวลาทำต้มยำ น้ำจิ้มลูกชิ้น ใส่ต้ม แกงต่างๆ จะช่วยประหยัดเรื่องค่าใช้จ่ายโดยใช้แทนมะนาวในช่วงมะนาวแพง เวลาจะนำมาปรุงอาหารจะใส่น้ำร้อนหรือผสมน้ำอุ่น ห
มะขามเป็นพืชดูแลง่าย มะขามเปรี้ยวเป็นไม้ผลที่สามารถปลูกได้ทั่วประเทศ และเป็นสินค้าส่งออกไปประเทศในแถบตะวันออกกลาง ส่งออกในรูปของมะขามเปียก รวมทั้งสามารถแปรรูปในรูปมะขามสดได้ สายพันธุ์มะขามเปรี้ยวที่พบในประเทศไทยสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือมะขามกระดาน และมะขามขี้แมว คุณเรืองศักดิ์ กมขุนทด และคณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ทำการรวบรวมพันธุ์มะขามเปรี้ยวยักษ์จากทั่วประเทศมาได้ 14 พันธุ์ เพื่อนำมาปลูกศึกษาการใช้ประโยชน์และเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ โดยพบว่ามีพันธุ์ที่น่าสนใจจำนวน 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ปากช่อง 1, ดกกิ่งหัก, ฝักตรงราชบุรี และสระแก้ว โดยแต่ละพันธุ์จะมีจุดเด่นจุดด้อยที่ต่างกัน ด้วยการผสมข้ามพันธุ์แบบสลับพ่อ-แม่ แล้วปลูกคัดเลือกพันธุ์ดีเด่นตามเกณฑ์คัดเลือกที่ตั้งไว้ เพื่อให้ได้มะขามที่มีน้ำหนัก ฝักฟูยาวกลม มีเนื้อเยอะ เปลือกหนา เนื้อที่ได้เป็นสีน้ำตาลแดง สามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย โดยฝักที่ใหญ่ที่สุด 1 ฝัก น้ำหนัก 100 กรัม หรือ 10 ฝักเท่ากับ 1 ก.ก. ตอนนี้อยู่ระหว่างพัฒนาพันธุ์ให้คงที่ คาดว่าจะสามารถนำไปส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกได้ในปีหน้า 1.พันธุ์ปากช่อง1 จะมีความโดดเด่น ฝักอ้
สำหรับพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลูกข้าว เกษตรกรนิยมปลูก “มะขามเปรี้ยว” เป็นพืชทางเลือกเพราะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการผลิตข้าวในพื้นที่ไม่เหมาะสม โดยมะขามเปรี้ยวที่เกษตรกรนิยมปลูกคือ มะขามเปรี้ยวพันธุ์ฝักยักษ์ หรือมะขามเปรี้ยวยักษ์ โดยแหล่งปลูกสำคัญอยู่ในพื้นที่อำเภอนาวัง อำเภอศรีบุญเรือง และอำเภอนากลาง โดยเน้นผลิตมะขามเปรี้ยวยักษ์ในรูปของมะขามสุกแกะเมล็ด หรือมะขามเปียก มีต้นทุนเฉลี่ย 5,698 บาทต่อไร่ ให้ผลตอบแทนสุทธิ 2,395 บาทต่อไร่ การปลูก มะขามเปรี้ยวยักษ์ เป็นผลไม้เขตร้อนที่เติบโตได้ดีในบริเวณพื้นที่ราบจนถึงบนภูเขาสูง สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน ทนแล้ง ให้ผลผลิตดก ฝักใหญ่ เนื้อหนา น้ำหนักดี มีรสเปรี้ยวสูง โดยเริ่มให้ผลตอบแทนในปีที่ 3 และเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ระยะยาว การปฏิบัติดูแลรักษา เกษตรกรให้น้ำสัปดาห์ละครั้ง 200 ลิตรต่อต้นเฉพาะในช่วงเร่งดอกและการเจริญเติบโตของฝัก การกำจัดวัชพืชโดยใช้สารเคมีฉีดพ่นเดือนละครั้ง การให้ปุ๋ยโดยใส่ปุ๋ยมูลไก่ต้นละ 20 กิโลกรัมร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 16-16-8 อัตรา 0.5 กิโลกรัมในช่วงเร่งการออกดอก(เมษายน) ปุ๋ยสูตร 15- 15-15 อัตรา 0.5 กิโลกรัมต่อต้นในช่วงการเจริญเติบ
คุณนพดล ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 12 นครสวรรค์ (สศท.12) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “มะขามเปรี้ยว” เป็นอีกหนึ่งสินค้าเกษตรทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นผลไม้เขตร้อนที่เติบโตได้ดีในบริเวณพื้นที่ราบจนถึงบนภูเขาสูง สามารถปลูกได้ในทุกสภาพดิน แต่ดินที่เหมาะสมที่สุดจะเป็นดินร่วนปนทราย เพราะระบายน้ำได้ดี มะขามเปรี้ยวเป็นพืชทนแล้ง ให้ผลผลิตดก ผลผลิตสามารถขายได้ทั้งฝักดิบและสุก รวมทั้งนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและยืดอายุ อาทิ มะขามแช่อิ่ม มะขามคลุกน้ำตาล มะขามคลุกพริกเกลือ และมะขามกวน จังหวัดเพชรบูรณ์ นับเป็นแหล่งปลูกมะขามเปรี้ยวที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะดิน และสภาพอากาศเหมาะแก่การเจริญเติบโต ประกอบกับเกษตรกรในพื้นที่มีความชำนาญในการปลูกมะขามมายาวนาน ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ (ณ วันที่ 1 มีนาคม 2565) พบว่า ปี 2564 จังหวัดเพชรบูรณ์ มีเนื้อที่ปลูกมะขามเปรี้ยว จำนวน 5,901 ไร่ เกษตรกรผู้ปลูก จำนวน 887 ราย พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในอำเภอหล่มเก่า อำเภอเมือง อำเภอหนองไผ่ และอำเภอวังโป่ง เกษตรกรนิยมปลูกมะขามเปรี้ยวฝักยัก
กรมวิชาการเกษตร เปิดตัวมะขามเปรี้ยวพันธุ์ใหม่ “ศรีสะเกษ 1” ฝักใหญ่ เมล็ดน้อย ให้ผลผลิตสูง ปริมาณเนื้อมาก ฝักดาบ โค้ง ยาว แกะเปลือกแยกเนื้อออกจากรกง่าย ลักษณะเด่นชนะมะขามพันธุ์ท้องถิ่นและพันธุ์เดิมที่เกษตรกรปลูกมากว่า 20 ปี เร่งกระจาย “ศรีสะเกษ 1” มะขามเปรี้ยวพันธุ์ดีสู่เกษตรกรไม่น้อยกว่า 1,000 กิ่ง/ปี มะขาม เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญพืชหนึ่งของประเทศไทย ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยไทยเป็นประเทศผู้ผลิตมะขามเปรี้ยวใหญ่เป็น อันดับ 2 ของเอเชีย รองจากประเทศอินเดีย ผลิตภัณฑ์มะขามที่ส่งออกมีทั้งมะขามสด มะขามเปียก และมะขามแห้ง โดยมีประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม แคนาดา สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา มะขามเปรี้ยวแกะเปลือกหรือมะขามเปียก ใช้เป็นเครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่เป็นเอกลักษณ์ด้านรสชาติในอาหารไทยเกือบทุกชนิด ภัตตาคาร และร้านอาหารไทยในต่างประเทศจึงมีความต้องการนำเข้ามะขามเปรี้ยวจากไทยเพิ่มขึ้น มะขามเปรี้ยวจึงถือเป็นสินค้าเกษตรชนิดหนึ่งของไทยที่มีศักยภาพในการส่งออก สร้างรายได้ให้กับประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการ
ความเปรี้ยวที่เป็นจุดเด่นของมะขามถูกนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ นานา ทั้งด้านการปรุงอาหาร เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่ม หรือล่าสุดได้รับความนิยมมากในวงการความงาม ด้วยเหตุนี้มะขามเปรี้ยวจึงถูกมองว่าเป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดที่มีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศเป็นอย่างมาก “มะขามเปรี้ยว” จัดเป็นไม้พื้นถิ่นที่เกิดและเติบโตได้ในทุกสถานที่ เจริญเติบโตได้เกือบทุกสภาพดิน เป็นไม้ผลที่ขึ้นง่าย ไม่ต้องดูแลมาก มีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ เนื้อไม้แข็งแรงจนมีการนำมาใช้ทำเป็นเขียง หรือใช้ไม้ในการทำเฟอร์นิเจอร์ หรือปลูกสร้างบ้านเรือน ทุกพื้นที่ของประเทศก็สามารถปลูกมะขามเปรี้ยวได้ จึงทำให้ชาวบ้านหันมาปลูกมะขามเปรี้ยวกันเพิ่มขึ้น ทั้งที่ปลูกไว้ตามบ้าน หัวไร่ปลายนา หรือแม้แต่ปลูกเป็นสวนเชิงการค้า ผลผลิตของมะขามเปรี้ยวสามารถเก็บขายได้หลายแบบหลายช่วง เช่น เก็บยอดอ่อน เก็บมะขามฝักเปรี้ยวได้รับความนิยมปลูกกันมากขึ้น โดยพันธุ์ที่ได้รับความสนใจแล้วกำลังมาแรง คือ “มะขามเปรี้ยวยักษ์” อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นคือ มะขามเปรี้ยว เป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง มีการใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยอดอ่อนจนถึงฝักแก่ ส่วนข
จริงๆแล้วมะขามเปรี้ยว ตีคู่มาพร้อมกับมะขามหวาน แต่มะขามหวานทำเป็นการค้าจริงจังมากกว่า ชื่อเสียงของมะขามเปรี้ยวจึงเงียบไป ตามท้องถิ่นในชนบท จะพบมะขามเปรี้ยวต้นขนาดใหญ่ เติบโตมาจากเมล็ด บางคราวเจ้าของเลื่อยทำเขียง แต่ส่วนใหญ่แล้วเก็บผลผลิตมาทำเป็นมะขามเปียกไว้ปรุงอาหาร มีมากก็จำหน่าย วงการมะขามเปรี้ยวมาฮือฮา เมื่อมีการเปิดตัวมะขามฝักกระดาน ของพลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ อดีตแม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ตั้งแต่นั้นมาจึงมีการขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง เสียบยอดมะขามเปรี้ยว เหมือนมะขามหวาน ทำให้ลักษณะพันธุ์เดิมยังคงอยู่ มะขามเปรี้ยวของพลโทรวมศักดิ์ ได้รับความนิยมมาก โดยเริ่มปลูกที่จังหวัดกาญจนบุรี จากนั้นก็ขยายไปยังจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดอื่นๆ นอกจากสายพันธุ์มะขามเปรี้ยวของพลโทรวมศักดิ์แล้ว มีการศึกษาพันธุ์มะขามเปรี้ยวของศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตร ต่อมามีการแนะนำให้เกษตรกรปลูกแล้ว มีมะขามเปรี้ยวสายพันธุ์ “สะทิงพระ” ถิ่นกำเนิดอยู่จังหวัดสงขลา ผู้ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจังคือพันเอกวินัย พุกศรีสุข หัวหน้ากองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 1 กรมการสัตว์ทหารบก ซึ่งมีที่ตั้งอยู่จังหวัดกาญจนบุรี พันเอกว
ลักษณะพิเศษ : มะขามเปรี้ยวฝักยักษ์ น้ำหนัก 1 กิโลกรัม หลังแกะเปลือกและเมล็ดออกแล้วจะเหลือน้ำหนัก 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่ดีมาก สร้างความฮือฮาในวงการมะขามเปรี้ยว เมื่อมีการเปิดตัวมะขามฝักกระดานครั้งแรก โดย พลโทรวมศักดิ์ ไชยโกมินทร์ อดีตแม่ทัพกองทัพภาคที่ 3 ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมามีการขยายพันธุ์มะขามเปรี้ยวฝักยักษ์โดยการทาบกิ่ง เสียบยอดมะขามเปรี้ยว เหมือนมะขามหวาน ทำให้ลักษณะพันธุ์เดิมยังคงอยู่ เริ่มปลูกแห่งแรกในจังหวัดกาญจนบุรี ก่อนจะ ยายไปยังจังหวัดสระแก้ว และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ มะขามเปรี้ยวฝักยักษ์โดยทั่วไป เมื่อต้นอายุ 10 ปี จะได้น้ำหนักมะขาม 300 กิโลกรัม ต่อต้น บางปีอาจจะน้อยกว่านี้ เพราะมะขามจะไม่ดกทุกปี แหล่งที่มา : สวนสุดเขตตะวันกาญจน์ คุณสกล โทร. 081-143-2336, คุณสร้อยสน 081-943-0793
คงไม่ต้องอ้างอิงเอาหลักฐานเค้าความมาบอกกล่าวกันอีก เรื่องมะขามที่มีมาเป็นตำนานพืชผล ที่เป็นทั้งพืชสมุนไพร เป็นทั้งไม้ผลพืชสวน เป็นพืชผักประจำครัวและมื้ออาหาร เป็นแม้แต่ลูกอม ขนมหวานของขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม อีกสารพัดที่ผู้คนทั่วไปได้รู้จัก แม้แต่ได้เคยชิม ซื้อ พบเห็น หรือเคยปลูกกันมาแล้ว ถึงต้องบอกว่า คงไม่ต้องหาหลักฐานอ้างอิงมาบอกกล่าวเล่าความกันอีก เชื่อเหลือเกินว่า แค่กล่าวถึง “มะขาม” ทุกคนรู้กันแล้ว และเวลานี้คงนึกเปรี้ยวปาก อยากออกไปซื้อหา หรือว่าออกไปเด็ดสอยมะขามอ่อนจากต้นข้างรั้วมาจิ้มกะปิ น้ำปู พริกเกลือ เอามะขามสดมาตำน้ำพริก มะขามดองแช่อิ่มมาแกล้มเหล้า หรือหามะขามเปียกมาใส่ปรุงแกงส้ม แม้แต่ลูกอมมะขาม แก้ง่วงเวลาขับรถ มะขามที่เรารู้จักกันมีอยู่ 2 อย่าง คือ มะขามเปรี้ยว กับมะขามหวาน เรื่องมะขามหวานที่ระยะหลังๆ ไม่หวาน เพราะราคาผลผลิตไม่ได้ใจเลย จากกิโลละเป็นร้อยสองร้อย เหลือไม่ถึง 50 บาท ชาวสวนมะขามหวานที่สู้ทนเห่อปลูกตามความนิยมเมื่อห้าปีสิบปีก่อน มาตอนนี้ชักยิ้มไม่หวานแล้ว ด้วยเหตุผลหลายอย่างที่ต้องทำใจให้ได้ โดยเฉพาะมะขามอินทรีย์ ที่ไม่มีใครกล้าการันตีในความปลอดภัยได้มาตรฐานอ