มังคุด
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในพื้นที่ภาคใต้จังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่ปลูกมังคุดมากที่สุดจำนวนทั้งหมด 62,672 ไร่ และมีผลผลิตรวม 33,276.63 ตัน คิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 746.39 ล้านบาท ซึ่งผลผลิตในฤดูปกติจะออกระหว่างเดือนมิถุนายน-ตุลาคม จากความแตกต่างของพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีข้อได้เปรียบทางธรรมชาติในเรื่องของภูมิประเทศทำให้มีผลผลิตมังคุดออกดอกนอกฤดูประมาณเดือนสิงหาคม และจะเก็บเกี่ยวประมาณเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่มีผลผลิตจากพื้นที่อื่น ทำให้เกษตรกรสามารถขายผลผลิตมังคุดได้ราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 150-200 บาท รวมทั้งการเก็บเกี่ยวมังคุดในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชจะยาวนานประมาณ 3-4 เดือน ทำให้ไม่มีปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ นอกจากนี้ ยังพบว่าผลผลิตมังคุดในแถบเทือกเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรรมราช จะมีลักษณะคุณภาพพิเศษที่เป็นลักษณะเด่นแตกต่างจากมังคุดทั่วไป และรับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI ) “มังคุดเขาคีรีวง” โดยมีลักษณะผลกลมใหญ่ ก้นรี เปลือกหนา ผิวมันวาว เมื่อสุกจะมีสีชมพูถึงสีแดง หรือสีม่วงอมชมพู มีนวลแป้งสีขาวเคลือบผิว ข
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมเป็นชาวสวนผลไม้มือใหม่ ปลูกผลไม้ไว้หลายอย่างในสวน ที่ผ่านมานับว่าได้ผลดี แต่เมื่อปีที่ผ่านมาเกิดปัญหากับต้นมังคุด คือเป็นเนื้อแก้วมากกว่าทุกปี ทำให้คุณภาพด้อยลง ขายไม่ได้ราคา จึงขอเรียนถามว่า จะต้องป้องกันหรือแก้ไขอย่างไร ผมขอเรียนถามเพียงเท่านี้ก่อน ขอแสดงความนับถืออย่างสูง สุวิทย์ ธรรมสุข จังหวัดระยอง ตอบ คุณสุวิทย์ ธรรมสุข อาการเนื้อแก้วของมังคุด คือเนื้อผลมีสีใสหรือสีขาวใส เกิดขึ้นได้กับบางเมล็ด หรืออาจเกิดขึ้นได้ทั้งผลก็มี และอาการข้างเคียงที่เปลือกผลมักปริแตกมียางไหลออกมา อาการดังกล่าวเกิดจากการได้รับน้ำไม่พอเพียงในระยะติดผล หรืออาจเกิดการขาดน้ำไประยะหนึ่ง เมื่อได้รับน้ำฝนหรือมีการเร่งให้น้ำในเวลาต่อมา ผลมังคุดจะดูดน้ำอย่างหิวกระหาย ภายในผลได้รับน้ำมากจึงเร่งขยายตัว แต่ตรงกันข้ามเปลือกของมังคุดกลับขยายตัวไม่ทัน เปลือกจึงปริแตก เนื้อผลภายในดูดน้ำเข้าไปในปริมาณมาก ทำให้ขบวนการสะสมแป้งและน้ำตาลเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เนื้อผลจะฉ่ำน้ำมองเห็นเป็นสีใส ความหวานลดลง ไม่ชวนรับประทานและขายไม่ได้ราคา วิธีป้องกันและแก้ไข ต้องเตรียมจัดหาน้ำไว้ให้เพียงพอ และต้
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการจัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลภาคใต้ ปี 2565 ครั้งที่ 2 (ข้อมูล ณ 11 พฤษภาคม 2565) ซึ่ง สศก. โดย สศท.8 และ สศท.9 ร่วมกับคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ภาคใต้ พิจารณาผลพยากรณ์ ของสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 14 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนบริหารจัดการผลไม้ตั้งแต่ต้นฤดู เนื้อที่ยืนต้น ของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,108,655 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวน 1,082,795 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น โดยมีการปลูกทุเรียนทดแทนกาแฟ ยางพารา และปลูกเพิ่มในพื้นที่ว่าง ขณะที่ลองกอง ลดลงร้อยละ 8 เงาะ ลดลงร้อยละ 4 และมังคุด ลดลงร้อยละ 1 เนื่องจากเกษตรกรโค่นต้นเงาะ มังคุด และลองกอง เพื่อปรับเปลี่ยนไปปลูกทุเรียนซึ่งให
จันทบุรี จังหวัดที่มีสภาพภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ ประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา และแหล่งน้ำ จึงไม่แปลกที่จะเห็นประชากรส่วนใหญ่ในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพเกษตรกรรมและประมงมากที่สุด และไม่เพียงแต่ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติที่เอื้ออำนวยเพียงอย่างเดียว แต่เกษตรกรที่นี่ยังมีความสามารถในการจัดการสวนผลไม้ให้มีคุณภาพ ทำให้จังหวัดจันทบุรีกลายเป็นเมืองแห่งผลไม้ หากใครอยากรับประทานผลไม้ที่อร่อยที่สุดต้องมาที่จันทบุรี แต่เมื่อประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตร บางครั้งก็อาจทำให้เกิดวิกฤตสินค้าล้นตลาดขึ้นมา เพราะฉะนั้น การเกษตรต้องไม่เพียงแต่ปลูกได้ ขายเป็น แต่ต้องรู้จักวิธีการต่อยอดผลผลิตแปรรูปสร้างมูลค่าเพื่อหลุดพ้นปัญหาสินค้าล้นตลาดอีกด้วย คุณอรชร เพิ่มพวก หรือ พี่อร อยู่บ้านเลขที่ 31/1 หมู่ที่ 3 ตำบลรำพัน อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านท่าศาลา ผู้ริเริ่มการแปรรูปน้ำมังคุดจันทรส เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาผลผลิตราคาตกต่ำ จนทุกวันนี้เธอสามารถหลีกหนีจากปัญหาเหล่านี้ได้ด้วยการนำมังคุดที่สุกเกินไปไม่สามารถส่งออกเป็นผลสดได้ นำมาแปรรูปเป็นหลากหลายผลิตภัณฑ์จากมังคุด ไม่ว่าจะเป็น น้ำมังคุด 70 และ 1
นางศศิญา ปานตั้น ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก ปี 2565 (ข้อมูล ณ 11 เมษายน 2565) โดย สศก. ร่วมกับคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ ภาคตะวันออก สรุปตัวเลขเอกภาพปริมาณผลผลิตของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี ตราด) พบว่า ผลผลิตรวมทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,189,522 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวน 903,865 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 32) เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นและมีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2564 ส่งผลให้เอื้อต่อการออกดอกและติดผล แม้จะมีภัยธรรมชาติจากลมพายุช่วงปลายปี 2564 และเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2565 ที่ทำให้ดอกและลูกร่วงเสียหาย แต่ในภาพรวมปริมาณผลผลิตยังคงมากกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผลผลิตได้ทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะออกต่อเนื่องจนถึงกลางเดือนกันยายน 2565 โดยผลผลิตจะออกมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 (คิดเป็นร้อยละ 51 ของผลผลิตทั้งหมด) เมื่อพิจารณาปริมาณผลผลิตรายชนิด พบว่า ทุเรียน มังคุด เงาะ ผลผล
กรุงเทพฯ 8 สิงหาคม 2564 – บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และภาคเอกชนเปิดโครงการ “เกษตรกร Happy” เพื่อกระจายผลผลิตมังคุดจากภาคใต้ในราคาพิเศษ ส่งตรงจากสวนผ่านเครือข่ายไปรษณีย์ไทยถึงผู้บริโภค โดยเริ่มต้นที่ 4 กิโลกรัม ในราคาเพียง 100 บาท และ 10 กิโลกรัม ในราคาเพียงแค่ 250 บาท โดยราคาดังกล่าวรวมค่าจัดส่งถึงบ้านเรียบร้อยแล้ว สามารถสั่งซื้อได้ทาง www.thailandpostmart.com เริ่มวันที่ 8 สิงหาคม 2564 นี้ ดร. ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า จากสถานการณ์การระบาดเชื้อโควิด-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพในวงกว้าง ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ได้รับผลกระทบคือเกษตรกรไทย โดยเฉพาะเกษตรกรชาวสวนในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง พังงา สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นช่วงของผลผลิตราชินีผลไม้ไทยอย่าง “มังคุด” เมื่อประชาชนไม่สามารถออกมาจับจ่ายใช้สอยได้ ตลาดสดผลไม้ปิด ชาวสวนจึงขาดรายได้ผลไม้ล้นตลาด และส่งออกไม่ได้ จึงเป็นที่มาของโครงการ “เกษตรกร Happy” โดยกระทรวงเกษตรและ
บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) เร่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดในภาคใต้ หลังได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ประสบปัญหาผลผลิตล้น ร่วมมือ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ตั้งเป้ารับซื้อตลอดเดือนสิงหาคมมากกว่า 300 ตัน ช่วยชาวสวนกว่า 1,000 ราย เสริมช่องทางส่งตรงสาขา คาดกระจายมังคุดใต้คุณภาพดีสู่ผู้บริโภคผ่านแม็คโครทุกสาขาทั่วประเทศ นางศิริพร เดชสิงห์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานการสื่อสารองค์กร บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า จากสถานการณ์เกษตรกรผู้ปลูกมังคุดภาคใต้ประสบปัญหาล้นตลาด เนื่องจากผลผลิตในปีนี้ออกสู่ตลาดในปริมาณมาก ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 สร้างผลกระทบเป็นวงกว้าง แม็คโคร ตระหนักถึงความเดือดร้อนของเกษตรกร เร่งให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน และยังบูรณาการความร่วมมือกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ในการบรรเทาความเดือดร้อน ด้วยการรับซื้อมังคุดคุณภาพดีจากภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าตลอดเดือนสิงหาคมนี้ จะช่วยชาวสวนระบายผลผลิตได้มากกว่า 300 ตัน “ในครั้งนี้ เราช่วยกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกือบ 20 กลุ่มในจังหวัดภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็น จั
ชาวบ้านตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช หรือที่รู้จักกันว่า บ้านคีรีวง มีอาชีพหลัก คือการทำสวนผลไม้ผสม รวมกันหลายชนิดที่เรียกว่า “สวนสมรม” เช่น มังคุด เงาะ ทุเรียน สะตอ ฯลฯ อยู่บนพื้นที่ภูเขาหลวงที่มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งดิน น้ำ และอากาศ จึงทำให้ผลไม้ที่จากแหล่งนี้มีคุณภาพทั้งรสชาติและขนาด โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมี ช่วยลดต้นทุน และเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ มีตลาดรองรับแน่นอนตลอดทั้งปี นอกจากคุณภาพไม้ผลที่เป็นแม่เหล็กดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาชิมกันอย่างคับคั่งในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม ซึ่งเป็นฤดูผลไม้เมืองใต้แล้ว การลำเลียงผลไม้จากบนภูเขาผ่านเส้นทางลัดเลาะ ขรุขระด้วยพาหนะอย่างมอเตอร์ไซค์ที่ด้านหลังผูกยึดติดกับไม้และเข่งซ้าย-ขวาใช้บรรทุกผลไม้ ถือเป็นเสน่ห์ของวิถีการทำสวนผลไม้ที่หาดูได้ยาก คุณสมชาย ชำนิ อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 9 ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช โทรศัพท์ (084) 845-1634 มีอาชีพหลักคือการทำสวนผลไม้หลายชนิด ปลูกในพื้นที่เดียวกัน อาทิ ทุเรียนหมอนทอง มังคุด และลางสาดเล็กน้อย ใช้พื้นที่ 20 ไร่ คุณสมชายให้ข้อมูลว่า ไม้ผลที่ตัวเองและชาวบ้านแถวนี้ปลูกมีวิธีคิดเหมือนก
“มังคุดอินโด” เป็นหนึ่งในไม้ผลเด่นที่ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากผู้เข้าชมงานเกษตรมหัศจรรย์ ที่จัดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน บริเวณสกายฮอลล์ เซ็นทรัลลาดพร้าว มังคุดอินโด ที่นำมาโชว์ในครั้งนี้ เป็นไม้ผลทางเลือก ของสวนประสมทรัพย์ ที่นำมาปลูกเมื่อ 10 ปีกว่าก่อน โดย “คุณมนตรี กล้าขาย” อดีตข้าราชการเกษียณของกรมส่งเสริมการเกษตร ได้นำเรื่องมังคุดอินโดมาเผยแพร่ต่อสาธารณชนเมื่อประมาณ 2 ปีก่อน ปรากฏว่า สร้างกระแสฮือฮาในวงการไม้ผลเป็นอย่างมาก ใครๆ ก็อยากปลูก ใครๆ ก็อยากชิมมังคุดอินโดแต่เรื่องกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด คุณมนตรี กรุณาสละเวลาพา คุณพานิชย์ ยศปัญญา บรรณาธิการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน พร้อมทีมงานไปชมต้นมังคุดอินโดที่สวนประสมทรัพย์ ของ “ลุงจวบ” หรือ คุณประจวบ จำเนียรศรี รองประธานสภาเกษตรแห่งชาติ พร้อมพูดคุยกับ “ป้าสม” ภรรยาลุงจวบ ณ บ้านเลขที่ 108/7 บ้านชากเล็ก หมู่ที่ 5 ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง มังคุดอินโด เมื่อพวกเรามาถึงสวนแห่งนี้ ลุงจวบไม่อยู่ ติดภารกิจเดินทางไปส่งของให้ลูกค้ารายหนึ่ง เพื่อไม่ให้เสียเวลารอคอยอย่างเปล่าประโยชน์ ป้าสมพาพวกเราไปชมต้นมังคุดอินโด และคุณมนตรีได้เล่าควา
ช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไฟ มักพบการเข้าทำลายในระยะที่ต้นมังคุดเริ่มออกดอกถึงระยะติดผลอ่อน โดยจะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช สำหรับการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะออกดอกและติดผลอ่อน อาจทำให้ดอกและผลอ่อนมังคุดร่วง ส่วนผลอ่อนมังคุดที่ไม่ร่วงเมื่อมีการพัฒนาผลโตขึ้น จะเห็นรอยทำลายของเพลี้ยไฟชัดเจน เนื่องจากผิวเปลือกมังคุดจะมีลักษณะขรุขระที่เรียกว่า ผิวขี้กลาก ทำให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพต่ำ การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน จะส่งผลทำให้ต้นมังคุดชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ ใบไหม้ และต้นมังคุดขาดความสมบูรณ์ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการระบาดของเพลี้ยไฟ ให้เกษตรกรสำรวจการระบาดของเพลี้ยไฟบนใบอ่อน ดอก และยอดอ่อน หากพบเพลี้ยไฟจำนวนมากกว่า หรือเท่ากับ 1 ตัว ต่อ 4 ดอก (0.25 ตัว ต่อดอก) หรือ 1 ตัว ต่อยอด หรือผลอ่อน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20