มังคุด
เมืองไทย ปลูกมังคุดแค่พันธุ์เดียว เรียกว่า “ มังคุดพันธุ์พื้นเมือง ” เกิดจากการเพาะเมล็ด เนื่องจากเมล็ดมังคุดไม่ได้เกิดจากการผสมเกสร จึงไม่มีโอกาสกลายพันธุ์ได้เลย เพราะเกสรตัวผู้ของดอกมังคุดเป็นหมัน เมล็ดจึงเจริญจากเนื้อเยื่อของต้นแม่โดยไม่ได้รับการผสมเกสร จึงเชื่อกันว่ามังคุดมีพันธุ์เดียว อย่างไรก็ตามพบว่า มังคุดเมืองนนท์มีผลเล็กและเปลือกบางกว่า มังคุดภาคใต้ที่มีเปลือกหนา แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนพอที่จะแยกเป็นพันธุ์ได้ ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช ชุมพร ตราด ศรีสะเกษ ฯลฯ คือ แหล่งปลูกมังคุดที่สำคัญของไทย มีผลผลิตทะยอยเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน มังคุดเป็นไม้ผลขายดี เป็นที่นิยมของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศเช่น ยุโรป แคนาดา จีน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ไต้หวันและญี่ปุ่น ที่สนใจสั่งซื้อมังคุดเนื้อขาวแน่น รสดี สีผิวสดเป็นสายเลือด สีชมพูปนเขียว ไม่มียางเหลืองติดผิว เปลือกไม่แข็งและต้องไม่มีผลติดอยู่ ขนาดของผลต้องสม่ำเสมอ เกรด A 9-10 ผล/กิโลกรัม คู่แข่งขันมังคุดไทยในเวทีตลาดโลก คือ ประเทศอินโดนีเซียและเวียดนาม ที่ปลูกมังคุดได้รสชาติอร่อยไม่แพ้กัน มังคุด
ในช่วงที่มีสภาพอากาศร้อน และมีฝนตก กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดที่มักประสบปัญหาอาการเนื้อแก้วและยางไหลและเพลี้ยไฟ มักพบเข้าทำลายในระยะที่ต้นมังคุดติดผลและมีผลแก่กำลังเก็บเกี่ยว สำหรับวิธีป้องกันปัญหาอาการเนื้อแก้วและยางไหล ให้เกษตรกรสังเกตมังคุดจะแสดงอาการเนื้อเป็นสีใส มีลักษณะฉ่ำน้ำอยู่ภายใน หรือพบน้ำยางสีเหลืองไหลอยู่ภายในผล และน้ำยางบางส่วนไหลออกมาภายนอกผล จะเห็นผิวเปลือกผลมังคุดเป็นจุดๆ หากพบอาการรุนแรง บริเวณผิวเปลือกของมังคุดจะมีรอยร้าว แนวทางป้องกันปัญหาอาการเนื้อแก้วและยางไหล เกษตรกรควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอตาม ความต้องการน้ำของต้นมังคุด ทุก 3 วันในกรณีที่ฝนไม่ตก หากมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระบายน้ำออกจากแปลงให้ได้มากที่สุด เพื่อลดการเกิดอาการเนื้อแก้วและยางไหลของมังคุด จากนั้นให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยบำรุงผลมังคุดตามค่าวิเคราะห์ดินและใบพืช หากไม่ได้มีการวิเคราะห์ดินและใบพืช เกษตรกรควรใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 หรือสูตร 12-12-17+2 (MgO) อัตราเป็นกิโลกรัมต่อต้น เท่ากับ 1 ใน 3 ของเส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม เช่น ต้นมังคุดขนาดทรงพุ่ม 3 เมตร ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยเคมี 1 กิโลกรัมต่อต้น
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดในภาคตะวันออก ที่มังคุดอยู่ในระยะแตกใบอ่อน จนถึงระยะมังคุดออกดอกและติดผลอ่อน เนื่องจากสภาพอากาศในช่วงนี้ หนาวเย็น อากาศแห้ง และฝนเริ่มทิ้งช่วง เป็นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพิ่มประชากรและการระบาดของเพลี้ยไฟ เพลี้ยไฟเป็นแมลงปากเขี่ยดูด ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ดอกอ่อนและผลอ่อน ทำให้ยอด ผิวของผล เป็นขี้กลาก หรือผิวลาย มียางไหลและอาจทำให้ผลร่วง ส่งผลให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ดังนั้นเกษตรกรจึงควรหมั่นสำรวจสวนมังคุดอย่างสม่ำเสมอ โดยสุ่มเคาะช่อดอกบนกระดาษขาว หากพบการเริ่มเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ให้แจ้งการระบาดและขอคำแนะนำในการป้องกันกำจัดได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้านท่าน ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟมังคุดด้วยวิธีการ ดังนี้ สำรวจสวนมังคุดอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง 2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ ได้แก่ เพลี้ยไฟตัวห้ำ และด้วงเต้าตัวห้ำ 3. ถ้าพบการระบาดไม่รุนแรงพ่นด้วยน้ำเปล่าเพื่อให้เกิดความชื้นในทรงพุ่ม หรือพ่นน้ำใน ระยะออกดอกจนกระทั่งถึงติดผลอ่อนทุก 2 – 3 วัน 4. ใช้กับดักกาวเหนียวขนาดใหญ่ติดตั้งในสวนม