มัลเบอร์รี่
ที่สวนแม่หม่อน ใช้วิธีการปลูกแบบแบ่งโซน มีการจัดกิ่งให้โน้มเข้าหากันคล้ายอุโมงค์ เพื่อง่ายต่อการดูแลเก็บเกี่ยวผลผลิต และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยี่ยมชม เก็บผลสดถ่ายรูปได้ตลอดทั้งปี วิธีการไม่ยาก แบ่งพื้นที่เป็น 4 โซน ถ้าปลูกที่บ้าน ให้ปลูกแค่ 4 ต้น สมมุติว่า ที่สวนมี 400 ต้น ให้แบ่งปลูกเป็นโซน โซนละ 100 ต้น 100 ต้นแรก ให้ตัดแต่งกิ่งและยอด เอาใบออก แล้วจับกางออกให้รับแสงแดดอย่างทั่วถึง แล้วนับตั้งแต่วันตัดแต่งกิ่ง 50 วัน จะเริ่มเก็บลูกได้ ระยะเวลาในการเก็บลูก 20 วัน ถึง 1 เดือน ลูกจะหมด เพราะฉะนั้น 100 ต้นแรก แต่ง วันที่ 1 ของเดือนมกราคม เว้นไว้ 1 เดือน วันที่ 1 ของเดือนกุมภาพันธ์ มาแต่งอีกโซน ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จนครบ 4 โซน พอครบก็จะกลับมาโซนที่ 1 ใหม่ 1 ต้น 1 ปี จะตัดได้ 3 ครั้ง ด้วยวิธีนี้มัลเบอร์รี่ที่นี่จึงไม่ขาดลูกเลยตลอดทั้งปี ระยะห่างระหว่างแถว 4×4 เมตร ต้นโตดี ให้ผลผลิตดก “จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้สอนให้เจ้าของรู้ เริ่มต้นเคยปลูกห่างกันแค่ 2 เมตร ผ่านมา 1 ปี ต้นโตชนกัน พอชนเรามาคิดละว่า ทำไงดี จึงใช้วิธีขุดล้อมยกทั้งเบ้าไปปลูกที่อื่น หลังจากนั้น จึงค้นพบว่า ระยะห่างที่เหมาะ
กรมหม่อนไหม พัฒนาชาผลหม่อน ฟรุตทีของไทย ให้คุณประโยชน์สูง กรมหม่อนไหม พัฒนาผลิตภัณฑ์ชาชงจากใบหม่อนผสมผลหม่อน เพิ่มคุณประโยชน์ทั้งช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เกษตรกรสามารถนำไปต่อยอดได้ไม่ยาก นายอภัย สุทธิ์สังข์ อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ปัจจุบันตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ผลิตภัณฑ์จากชา เป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมสำหรับผู้บริโภคเป็นจำนวนมาก เนื่องมาจากผู้บริโภคใส่ใจในสุขภาพและบริโภคพืชสมุนไพรและผลไม้ที่มีประโยชน์มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเครื่องดื่มสมุนไพรจากใบหม่อนเป็นที่ยอมรับว่าช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือด ปรับลดความดันโลหิตให้อยู่ในสภาพสมดุล และยังมีแคลเซียมในโพแทสเซียม เหล็ก สังกะสี วิตามินเอ วิตามินบี1 และบี2 และวิตามินซีสูงกว่าในใบชาทั่วไป นอกจากนี้ ยังพบสารแกมมาอะมิโนบูติริคแอซิด (GABA) ซึ่งช่วยปรับระดับความดันโลหิตและลดการอักเสบในสมอง และพบสารดิออกซิโนจิริมัยซิน (DNJ) ช่วยลดปริมาณน้ำตาลในเลือดได้ อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ทีมวิจัยจากศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีน
หม่อนหิมาลายัน มีถิ่นกำเนิดจากเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ที่มีระดับสูงกว่าน้ำทะเล 2,300 เมตร เป็นไม้ผลัดใบ ขนาดเล็ก ที่สูงถึง 15 เมตร ชื่อวิทยาศาสตร์ โมรัสเซอราต้า อยู่ในสปีชีส์ มัลเบอรี่ มีสองสี สีขาว และแดงอมม่วง ขนาดผลยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร มีรสหวาน หม่อนหิมาลายัน เป็นพืชที่พัฒนาพันธุ์ และขยายพันธุ์โดยการเสียบยอด โดยใช้ต้นตอพันธุ์พื้นเมืองบ้านเรา หม่อนหิมาลายัน มีสองสี คือ ไวท์หิมาลายัน มัลเบอรี่ และ เรดหิมาลายัน มัลเบอรี่ แต่การพัฒนาพันธุ์ทำให้ปลูกได้ในเขตร้อน เช่น ประเทศไทยเรา ผู้เขียนได้สอบถามเกษตรกรผู้ที่ปลูกหม่อนหิมาลายัน คือ อาจารย์วิเชียร บุญเกิด แห่งสวนสุวรรณีปรางทอง กำแพงเพชร “ผมปลูกมาหลายปีแล้วครับ เหมาะสำหรับปลูกไว้ดูเล่นเป็นไม้ประดับได้ และสร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้าน เพราะหม่อนหิมาลายันนี้มีลักษณะผลยาว 3-4 นิ้ว และรสชาติหวาน ไม่มีเปรี้ยวผสมเลยครับ” อาจารย์บอก จากข้อมูลประสบการณ์ตรงที่สวนอาจารย์วิเชียร หม่อนหิมาลายัน ถือว่าเป็นต้นไม้ที่ปลูกไว้คลายเครียดได้ เพราะจะให้ผลผลิตตลอดทั้งปี สีสันสวยงาม อยู่ที่การดูแลและตัดแต่งกิ่ง อาจารย์วิเชียร ได้บอกกับผ
ฉบับนี้ มีโอกาสเดินทางไปดูการปลูกหม่อนที่โรงเรียนขยายโอกาสการศึกษา ที่บ้านหนองไผ่ ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร คุณยุธยา เทอำรุง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองไผ่ ตำบลดงมะไฟ อำเภอเมืองสกลนคร เคยเอ่ยปากชักชวนผู้เขียนไปชมการปลูกหม่อน ขายผลสด สร้างรายได้ในโรงเรียน ในช่วงที่พบกันระหว่างการประชุมของสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ครั้งนี้มีโอกาสจังหวะเหมาะสมดี ที่ คุณยุธยา เทอำรุง ผอ. โรงเรียนบ้านหนองไผ่ ขับรถมารับที่หน้าสหกรณ์ออมทรัพย์ครูสกลนคร เพื่อเป็นการประหยัดและจะได้ทักทายกัน ขับออกจากตัวเมืองสกลนคร จากจุดนัดพบ รถมุ่งหน้าไปตามถนนสายสกลนคร-กาฬสินธุ์ ผ่านแยกบายพาส มองเห็นเทือกเขาภูพานนอนเป็นแนวทอดขวางกั้น สีเขียวปนคราม เมฆหมอกยามสายยังไม่จางหายไป ลอยอ้อยอิ่งอยู่ด้านหน้า บ่งบอกอากาศในช่วงเช้า มีอุณภูมิที่ค่อนข้างต่ำ อยู่ที่ 10-11 องศาเซลเซียส ของเดือนธันวาคมปลายปีที่ผ่านมา รถวิ่งมาได้ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงทางสามแยกที่เรียกว่า บ้านศรีวิชา พบป้ายบอกไปอำเภอเต่างอย ซึ่งเป็นอำเภอที่มีสัญลักษณ์เป็น “พญาเต่า” มีผู้คนเดินทางมาไหว้และเที่ยวชม มีชื่อเสียงในทางขอโชคลาภ จนโด่งดัง หากเอ่ยชื่อแล้วเป็นที่รู้จักทั่วไป เล
กรมหม่อนไหม เดินหน้าสืบสาน รักษา ต่อยอด “ผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี” เมืองตรัง อยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน เร่งปั้นเด็กรุ่นใหม่เป็น “ทายาท” เพื่อสืบทอดการทอผ้านาหมื่นศรี รวมทั้งเร่งตรวจสอบรับรองยกระดับมาตรฐานเป็นตรานกยูงพระราชทานในปีนี้ หวังผลักดันให้เป็นที่ยอมรับทั้งตลาดภายในและต่างประเทศมากยิ่งขึ้น พร้อมวางเป้าชู 21 พื้นที่ ยกระดับงานโครงการพระราชดำริด้านหม่อนไหมทั่วประเทศ นางสาวศิริพร บุญชู อธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวว่า ปัจจุบัน ผ้าทอนาหมื่นศรีมีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับด้านมาตรฐานในตลาดอย่างกว้างขวางและเป็นผ้าทอที่มีการอนุรักษ์สืบทอดลวดลายผ้ามาตั้งแต่โบราณกว่า 400 ปี อยู่อย่างยาวนานและยั่งยืน ปัจจุบัน ผ้าทอนาหมื่นศรี ได้มีการอนุรักษ์ พัฒนา และยกระดับคุณภาพ จนได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทย (ตรานกยูงพระราชทาน) 2 ประเภท คือตรานกยูงพระราชทานสีน้ำเงิน (Thai Silk) ประเภทผ้าถุง ชนิดผ้ายก ประเภทลายประยุกต์ และตรานกยูงพระราชทานสีเขียว (Thai Silk Blend ) ประเภทผ้าคลุมไหล่ ชนิดผ้า ผ้ายก ประเภทลาย ลายประยุกต์ ชื่อลาย แก้วชิงดวง นอกจากนี้ กลุ่มยังอยู่ระหว่างการขอรับการรับรองตรานกยูงพระราชทานสีเ
กรมหม่อนไหม หนุน “กวนนิโตพาทิสเซอรี” ร้านเบเกอรี่ ชื่อดังเมืองตรัง พัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูป“ขนมโอปันยากิ-เครปโรลไส้ลูกหม่อน จนกลายเป็นขนมยอดฮิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้เกษตรกรในชุมชนบ้านนาโยง นายมงคล คงบัน เจ้าของร้านกวนนิโตพาทิสเซอรีเบเกอร์รี่ชื่อดัง ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง กล่าวว่า ตนได้รับซื้อลูกหม่อนผลสด หรือ “มัลเบอร์รี่” ของเกษตรกรในชุมชนมาแปรรูปเป็นไส้ขนมโอปันยากิ (Obanyaki) หรือ “ขนมครกญี่ปุ่น” เครปโรล และ “น้ำมัลเบอร์รี่” กลายเป็นเมนูขึ้นชื่อของทางร้าน ที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากนักท่องเที่ยวชาวตรังและจังหวัดใกล้เคียง ช่วงแรกที่นายมงคลริเริ่มรับซื้อหม่อนผลสดจากเกษตรกรในตำบลนาโยง กิโลกรัมละ 200 บาท ซึ่งราคาค่อนข้างสูง เลยนำมาผลิตเป็นน้ำดื่มมัลเบอร์รี่ หลังจากมีการขยายพื้นที่การปลูกจนมีผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ราคาลดลงเหลือ กิโลกรัมละ 120-150 บาท จึงเริ่มนำผลผลิตมาแปรรูปเป็นไส้โอปันยากิและเครปโรลมัลเบอร์รี่ แล้วนำมาเสิร์ฟสไตล์ญี่ปุ่น คือทำเป็นคำๆ เหมือนชูชิ เพื่อให้กินง่ายและดูสวยงาม และสร้างมูลค่าเพิ่มของเบเกอรี่ให้มีราคาเพิ่มขึ้นไปอีก ร้านกวนนิโตพาทิสเซอรีเบเก
หลายคนมีความฝันถึงอนาคตว่าต้องการมีชีวิตแบบบ้านไร่ ทำสวน ปลูกต้นไม้ ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับธรรมชาติ และยึดอาชีพเป็นเกษตรกร สามารถเลี้ยงชีพตัวเองได้ สร้างรายได้ยั่งยืนและมีความสุข บนพื้นที่ของตัวเอง คุณสายสุนีย์ สุวรรณดี หรือป้าน้อย เจ้าของฟาร์มสายทอง แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแห่งใหม่ ของจังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นสวนที่ปลูกมัลเบอร์รี่หรือลูกหม่อนสด ปลอดสารเคมี พร้อมการแปรรูปครบวงจร เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนทำตามความฝันจนประสบความสำเร็จ ป้าน้อย เล่าว่า เดิมเป็นคนกรุงเทพฯ ไม่ได้มีความรู้เรื่องการเกษตร อยู่กรุงเทพฯ ก็ทำอาศัยเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจค้าขาย แต่ความฝันของป้าน้อยคืออยากเป็นคาวเกิร์ล เพราะชอบดูหนังคาวบอยของตะวันตก เมื่อ 30 ปีก่อน จึงตัดสินใจซื้อที่ดิน แถวจังหวัดสระบุรี ก่อนจะย้ายมาทำเกษตรในพื้นที่แห่งนี้ ซึ่งก่อนที่จะมาปลูกมัลเบอร์รี่ ปลอดสารเคมีแบบนี้ พื้นที่นี้ก็เคยผ่านการปลูกกระถิ่น การเลี้ยงโคนม มาก่อน แต่การเลี้ยงโคนม เป็นอาชีพที่เหนื่อยมากซึ่งก็ทำมาหลายปีกว่าจะหยุดลง แล้วหันมาปลูกมัลเบอร์รี่แทน โดยเริ่มจากมีต้นแม่พันธุ์อยู่แค่เพียง 2 ต้นเท่านั้น ซึ่งลูกสาวซื้อมาให้จากเชียงใหม่ เอามาปล
“ผลหม่อน” นอกจากกินสดแล้ว ยังนำไปแปรรูปได้อีก สวนหม่อนที่ผมจะนำมาเสนอท่านผู้อ่าน นอกจากผลิตหม่อนขายผลสดแล้ว ยังนำมาแปรรูปเป็นน้ำหม่อนพร้อมดื่ม แยมผลหม่อน โยเกิร์ต เยลลี่ เค้ก ใช้น้ำหม่อนเป็นส่วนผสมของขนมปังโฮลวีท ของใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งน้ำยาล้างจานจากหม่อน แชมพูสระผมจากหม่อน สบู่จากหม่อน ทั้งชนิดก้อนและเหลว เกษตรกรท่านนี้เป็นเกษตรกรผู้ประกอบกิจการผลิตผลสด แปรรูปเอง ทำการตลาดเพื่อขายเอง ต่อมาก็เปิดสวนหม่อนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงการเกษตร (Mulberry farm) และให้บริการเป็นที่พักแบบฟาร์มสเตย์ (Farm stay) สำหรับนักท่องเที่ยวจากประเทศต่างๆ เจ้าของสวนหม่อนที่จะกล่าวในรายละเอียดต่อไปนี้คือ คุณจารุวรรณ เอกบัว ชื่อเล่นว่า คุณเล็ก อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ที่ 6 ตำบลไทรย้อย อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่ โทรศัพท์ (098) 446-6932 คุณเล็ก บอกเล่าถึงชีวิตก่อนหักเหมาเป็นเกษตรกรว่า เป็นคนจังหวัดขอนแก่น พ่อแม่มีอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แต่ตนเองหันมาประกอบอาชีพรับจ้างเป็นมนุษย์เงินเดือนทำงานกับห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และได้ย้ายมาปฏิบัติหน้าที่ที่สาขาจังหวัดแพร่ ตำแหน่งสุดท้าย ผู้จัดการฝ่าย “
กรมหม่อนไหม โชว์ผลงานผลิตภัณฑ์แปรรูปมัลเบอร์รี่เป็นซอสพริกและมัลเบอร์รี่ในน้ำเชื่อม ของสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 5 จ.ชุมพร ด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานสถานศึกษาในพื้นที่ เพื่อสร้างเอกลักษณ์และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์แปรรูปให้กับเกษตรกร นางสุดารัตน์ วัชรคุปต์ เหล่าวิชยา อธิบดีกรมหม่อนไหม เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสำนักงานหม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ เขต 5 จังหวัดชุมพร และรับฟังผลการดำเนินงานด้านต่างๆ รวมทั้งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปด้านหม่อนไหม ซึ่งพบว่าในส่วนของพื้นที่เขต 5 มีผลการดำเนินงานที่ก้าวหน้าและเป็นรูปธรรมหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์หม่อนไหมเน้นคุณประโยชน์จากมัลเบอร์รี่หรือหม่อนและความต้องการของตลาด เช่น การแปรรูปมัลเบอร์รี่เป็นซอสพริก มัลเบอร์รี่สำหรับใช้ในครัวเรือน สถานประกอบการโรงแรมต่างๆ และมัลเบอร์รี่ในน้ำเชื่อม ซึ่งเป็น 2 ผลิตภัณฑ์ จากจำนวนผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปหม่อน ปี 2561 จำนวนทั้งสิ้น 15 ผลิตภัณฑ์ ที่มีแนวโน้มสามารถส่งเสริมให้สามารถทำตลาดได้จากคุณประโยชน์ของหม่อน ส่วนผสมและจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรผลิตจำหน
มัลเบอร์รี่ หรือ หม่อน ผลไม้หนึ่งในตระกูลเบอร์รี่ ปลูกง่าย แปรรูปเป็นผลิตภัณ์เพื่อสุขภาพสร้างมูลค่าได้หลากหลาย สามารถปลูกได้กับทุกสภาพพื้นที่ มีข้อดี ข้อเสีย ต่างกัน หากปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน แดดจัด ผลจะดก โตเร็ว มีข้อเสียคือ ผลจะนิ่ม ถ้าปลูกในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นผลหม่อนจะออกไม่ดกมาก ข้อดีคือ ผลจะมีความหวาน กรอบ หากจะปลูกเชิงการค้าแนะให้เลือกพื้นที่ที่มีสภาพภูมิอากาศเย็นและมีแดดส่องถึง คุณนันทวัน โตอินทร์ หรือ ครูไก่ เจ้าของสวนแม่หม่อน ตั้งอยู่ เลขที่ 201 หมู่ที่ 5 ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา เผยเทคนิคการปลูกมัลเบอรร์รี่ แบบซุ้มอุโมงค์ ว่าเริ่มทำเต็มรูปแบบ เมื่อปี 2557 ปลูกทั้งหมด 13 ไร่ แบ่งปลูก 2 พันธุ์ แปลงแรก จำนวน 8 ไร่ ปลูกพันธุ์เชียงใหม่ 60 อีก 5 ไร่ แบ่งปลูกพันธุ์ดำออสตุรกีเป็นพันธุ์ของต่างประเทศ เพื่อสร้างความหลากหลาย ในส่วนของพันธุ์ดำออสตุรกี ตอนนี้ยังผลิตไม่พอขาย ข้อดีของพันธุ์เชียงใหม่ 60 เหมาะกับทุกสภาพพื้นที่ทั่วประเทศ เพียงแต่มีข้อดี ข้อด้อย ต่างกัน ถ้าปลูกที่อำเภอวังน้ำเขียวเป็นพื้นที่อากาศเย็น เพราะฉะนั้นผลจะหวาน กรอบ ลูกแข็ง โดยธรรมชาติ ปลู