ม.มหิดล
การทดลองและสังเกตุการณ์สัตว์นั้นมีมาตั้งแต่กว่า 400 ปีก่อนคริสตกาลแล้ว ต่อมาในศตวรรษที่ 2 ของโรมันได้มีการผ่าตัดสัตว์ทดลองครั้งแรกโดยแพทย์ชาวกรีก และได้มีการใช้สัตว์ทดลองเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทย ได้มีการใช้สัตว์ทดลองเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2432 โดยโรงพยาบาลในสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล ต่อมาได้มีการจัดตั้ง “สำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ” และพัฒนาสู่ “ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ” (National Laboratory Animal Center, NLAC) ภายใต้การบริหารโดย รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงจุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี และรักษาการแทนผู้อำนวยการศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อสนองนโยบายเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เช่นปัจจุบัน นายสัตวแพทย์สุรชัย จันทรทิพย์ รองผู้อำนวยการฝ่ายควบคุณภาพ ศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้น รวมทั้ง COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบันนี้ จำเป็นที่จะต้องใช้สัตว์ทดลองเพื่อการค้นคว้ายาและวัคซีนเพื่อป้องกันและรักษาโรค ซึ่งการผลิตสัตว์ทดลองเป็นภารกิจหลักของศูนย์สัตว์ทดลองแห่งชาติ มหาวิทยาลัยม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. บังอรศิริ อินตรา ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้คว้ารางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ : รางวัลวิทยานิพนธ์ ระดับดีมาก สาขาเกษตรศาสตร์ และชีววิทยา ประจำปีงบประมาณ 2564 จากผลงานวิจัยซึ่งมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. วัฒนาลัย ปานบ้านเกร็ด เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในเรื่อง “การคัดเลือก การบ่งชี้ และการศึกษาคุณลักษณะของสายพันธุ์และสารทุติยภูมิเชื้อแอคติโนมัยซีท” จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งมีรายได้ส่วนใหญ่จากการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดีจำเป็นต้องมีการควบคุมโรคพืช ที่ผ่านมาพบปัญหา “เชื้อราก่อโรค” ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อพืชผลของเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชผลเศรษฐกิจที่ปลูกเพื่อการส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ จึงได้นำมาเป็นโจทย์วิจัยสู่การค้นพบ “ชีววิธี” ที่สามารถลดการดื้อยาของเชื้อโรคในพืช ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีในปริมาณที่มากขึ้น และการออกฤทธิ์ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนก่อให้เกิดผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อทั้งชีวิตมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่ง “แอคติโนมัยซีท” (Actinomycetes) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดิ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ปราโมทย์ ประสาทกุล อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสของสถาบันฯ กล่าวในฐานะผู้บุกเบิกและมีบทบาทสำคัญในการสำรวจและวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรเพื่อการขับเคลื่อนในเชิงนโยบายของประเทศไทยว่า “ประชากรรุ่นเกิดล้าน” อยู่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2506 – 2526 ซึ่งนโยบายของประเทศไทยในขณะนั้น มุ่งไปที่การวางแผนครอบครัว แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทั่วโลกเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางประชากรอย่างต่อเนื่อง โดยพบว่าคนรุ่นใหม่นิยมอยู่เป็นโสด ไม่แต่งงาน และมีลูกกันน้อยลง อัตราเกิดของประชากรไทยจึงลดต่ำลงไปด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ปราโมทย์ ประสาทกุล ได้ให้มุมมองว่า การแก้ปัญหาอัตราเกิดต่ำ ด้วยการส่งเสริมให้ประชากรมีลูกกันมากขึ้น อาจไม่ใช่คำตอบที่ดีนักสำหรับสังคมไทย หากไม่ได้พิจารณาถึงคุณภาพของการเกิด หรือเกิดด้วยความไม่พร้อม ซึ่งตัวเลขการเกิดของประชากรไทยในปี พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นปีล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 587,000 คน และอาจมีแนวโน้มต่ำลงไปอีกประมาณ 2-3 หมื่นคนตามวิกฤติ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก