ยาง
การยางแห่งประเทศไทย และสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) โดยสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แสดงสินค้าด้านยางพาราแบบครบวงจร เพื่อเป็นศูนย์กลางความรู้เรื่องยางพารา นวัตกรรมการแปรรูป การแสดงสินค้า และการแลกเปลี่ยนกันด้านธุรกิจของยางพารา นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านอุตสาหกรรมยางและการผลิตยาง กล่าวว่า การยางแห่งประเทศไทยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้แสดงสินค้าด้านยางพาราแบบครบวงจร เพื่อให้เป็นพื้นที่ที่สามารถสร้างการรับรู้ให้กับผู้เข้ามาชมในรูปแบบเสมือนจริง พร้อมทั้งเป็นศูนย์กลางในการให้ความรู้เรื่องยางพาราตั้งแต่ต้นทางสู่ปลายทาง เข้าใจถึงความเป็นมาของยางพาราจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และรับทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากยางพารา ตั้งแต่น้ำยาง ผ่านกระบวนการแปรรูปไปจนถึงการโค่นเป็นไม้ยางพารา โดยผู้เข้าชมสามารถสัมผัสนวัตกรรมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางต่างๆ ซึ่งจะเห็นว่า ยางพารามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของมนุษย์เราทุกคน และที่สำคัญ สามารถนำไปต่อยอดเป็นการทำธุรกิจแปรรูปผลิตภัณฑ
นายธีรพงศ์ ตันติเพชราภรณ์ ประธานคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า เนื่องด้วยพระราชบัญญัติควบคุมยางได้มีการประกาศใช้มาหลายสิบปีแล้วโดยการแก้ไขครั้งล่าสุดคือเมื่อปี พ.ศ. 2542 เห็นควรให้มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในระบบยางพาราพอสมควร เช่น การประกาศใช้พรบ.การยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของวงการยางของไทย พรบ.ควบคุมยางก็ควรต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องตามพรบ.การยางแห่งประเทศไทยด้วย ซึ่งจำเป็นต้องทบทวน แก้ไข พรบ.ในมาตราต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับเกษตรกร ผู้ประกอบการธุรกิจการยางไทย ซึ่งคณะกรรมการด้านยางพารา สภาเกษตรฯ ได้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด เพื่อขับเคลื่อนการเสนอแก้โดยจะส่งร่าง พรบ.ไปยังสภาเกษตรกรจังหวัดที่มีคณะทำงานด้านยางพาราอยู่ประมาณ 60 กว่าจังหวัด แล้วให้คณะทำงานแต่ละจังหวัดดูประเด็นที่ไม่สอดคล้องหรือต้องแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และกำหนดส่งกลับมายังสภาฯในวันที่ 17 มีนาคม 2560 หลังจากนั้นจะมีการรวบรวม โดยคณะทำงานจะเข้ามาศึกษาและปรับปรุงแก้ไข ทั้งนี้คณะทำงาน
แหล่งข่าวจากการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ถึงการประมูลยางพาราทั้งประเภทยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแผ่นรมควันอัดก้อน ยางแท่ง STR 20 และอื่น ๆ ครั้งที่ 2 จำนวน 98,730 ตัน จากสต๊อกทั้งหมดของ กยท.จำนวน 3.1 แสนตัน เมื่อวันที่ 17-18 ม.ค.ที่ผ่านมาว่า ผลการประมูลยางเป็นรายโกดัง ซึ่งบางโกดังอาจมียางหลายประเภทรวมกัน ปรากฏว่าวันที่ 17 ม.ค. 2560 ประมูลยาง 13 โกดังในเขตจังหวัดกระบี่ พัทลุง และสงขลาบางส่วน ปริมาณ 46,611 ตัน กยท.ตั้งราคากลางประมูลเริ่มต้นรวมกันที่ 2,939.62 ล้านบาท ผลการประมูลทั้งหมดขายได้ที่ 3,197.48 ล้านบาท มากกว่าราคากลางที่ตั้งไว้ 257 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย กก.ละ 68.60 บาท สำหรับการประมูลในวันที่ 18 ม.ค. 2560 จำนวน 13 โกดัง ทั้งหมดอยู่ในเขตจังหวัดสงขลา ปริมาณยางทุกประเภทรวมกัน 52,119 ตัน กยท.ตั้งราคากลางรวมประมูลเริ่มต้นที่ 3,353.12 ล้านบาท ผลการประมูลทั้งหมดขายได้ที่ 3,443.18 ล้านบาท ขายได้เพิ่มจากราคากลาง 90.68 ล้านบาท ได้ราคาเฉลี่ยที่ กก.ละ 66.08 บาท ราคาเฉลี่ยลดลงเนื่องจากมียางคัตติ้ง ยางฟองและยางคุณภาพต่ำมากกว่าการประมูลวันแรก รวมทั้ง 2 วันที่เปิดปร
เมืองคอนเจอวิกฤตหนัก จมบาดาลทั้งเมือง ภาคใต้น้ำท่วมใหญ่ การสัญจรถูกตัดขาด ปิดสนามบิน 2 วัน นราธิวาสค้าชายแดน 3 ด่านชะงัก กระทบส่งออกอาหารทะเล ด้านหอการค้าภาคใต้ระบุยังประเมินมูลค่าความเสียหายไม่ได้ เหตุฝนตกไม่หยุด ชี้ท่วมหนักกว่าปี”54 ทุบเกษตร-ท่องเที่ยวพังยับ คาดเศรษฐกิจซึมต่อเนื่อง ชาวสวนยางฟุบหนัก เสียโอกาสปั๊มรายได้ยางขาขึ้น ธุรกิจจับตาสถานการณ์ใกล้ชิดท่องเที่ยว-เกษตรเสียหายหนัก นายวัฒนา ธนาศักดิ์เจริญ ประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคใต้ หอการค้าไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้เกิดขึ้นเป็นวงกว้างมาก เป็นการสะสมน้ำฝนรวมกัน 2-3 สัปดาห์ จนภูเขารับน้ำไม่อยู่ ไหลลงมาท่วมเมืองซึ่งมีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำท่วมหนัก ถนนสาย 41 (ถนนเพชรเกษมสายสี่แยกปฐมพร-สุราษฎร์ธานี-พัทลุง) ถูกตัดขาดหลายจุด ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าความเสียหายได้ ถือว่ารุนแรงกว่าปี 2554 โดยนครศรีธรรมราชเสียหายทั้งจังหวัด ทั้งการประมง ท่องเที่ยว และเกษตร โดยเฉพาะส้มโอทับทิมสยาม คาดว่าแหล่งปลูกที่ อ.ปากพนังเป็นร้อยไร่ต้องโค่นทิ้งหมด ส่วนจังหว
จากกระแสข่าวควบคุมพื้นที่ปลูกยาง ให้โค่นยางในพื้นที่ไม่เหมาะสมทิ้ง สร้างความเข้าใจผิดให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางทั่วประเทศ กยท. ขอประกาศย้ำชัดเจนว่ากระทรวงเกษตรฯ ไม่มีคำสั่งให้เกษตรกรผู้ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมดำเนินการโค่นยางทิ้งอย่างแน่นอน แต่ย้ำให้เดินหน้าส่งเสริม สร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรในการปลูกยางและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ให้เหมาะสมตามแผนที่เกษตร (Agri-map) หวังให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าต่อเกษตรกร ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งเสริมปลูกยางพารา การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) กำหนดการปฏิบัติตามระเบียบอย่างชัดเจนให้กับเกษตรกรที่จะมาขอโค่นยางเก่าแล้วยื่นขอทำการเกษตรต่อไป ซึ่งอาจปลูกยางหรือพืชเศรษฐกิจอื่นใดก็ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยจะมีพนักงานของ กยท. ทำหน้าที่ให้ข้อมูล และสร้างความเข้าใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกแทนทุกราย ดังนั้น นโยบายในการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning by Agri-Map) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นนโยบายสำคัญที่จะขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-map) แล
แหล่งข่าวจากสภาเครือข่ายยางและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประเทศไทย (สยยท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ได้มีกลุ่มพ่อค้ารายย่อยจำนวนมากได้ซื้อยางก้อนถ้วย และยางแผ่นดิบ ในราคาตามกลไกตลาด เก็บตุนเพื่อนำออกขายในปี 2560 แต่ไม่ลงทุนทำโกดังเก็บยางเอง วิธีการคือเมื่อซื้อขายเรียบร้อยแล้ว ให้ชาวสวนยางเก็บไว้ที่บ้านของตนเองก่อน โดยให้ทำสถานที่เก็บไว้บริเวณบ้าน เช่น ใต้ถุนบ้าน เป็นต้น ซึ่งพ่อค้ารายย่อยจะให้ราคาเพิ่มประมาณกิโลกรัมละ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นค่าฝากยาง ขณะที่กลุ่มสหกรณ์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มเกษตรกรยาง ที่มีโรงรมเอง สามารถนำน้ำยางสดมาผลิตเป็นยางแผ่นดิบเก็บตุนไว้ออกขายได้ส่วนชาวสวนยางที่ไม่ใช่สมาชิกสหกรณ์ก็สามารถรวมกลุ่มกับโรงรมของเอกชนได้เพื่อผลิตเป็นยางแผ่นดิบไว้ขายในปี2560 แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ปี 2560 ราคายางในตลาดล่วงหน้าเอสทีอาร์ 20 สำหรับสัญญาบางฉบับที่ส่งมอบซื้อขายล่วงหน้า มีรายละเอียดดังนี้ เดือนมกราคม 2560 ราคา 81,125 บาท/ตัน ราคาเฉลี่ยกว่า 81 บาท/กิโลกรัม โดยราคา 81 บาทนี้มีการเคลื่อนไหวตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2560 ส่วนเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2560 ราคาเคลื่อนไหว
ที่ประชุมสมาคมผู้ผลิตยางธรรมชาติ(ANRPC) ย้ำ การเพิ่มปริมาณการใช้ยางช่วยแก้ปัญหาราคายางพาราได้ยั่งยืน พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายการใช้ยางธรรมชาติของกลุ่มประเทศสมาชิกต้องไม่ต่ำกว่า 50% ในช่วง 3 ปีแรกนี้ ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า ในการประชุมสมัชชาประจำปี 2559 ของสมาคมผู้ผลิตยางธรรมชาติ The Association of Natural Rubber Producing Countries (ANRPC) ณ เมือง Guwahati รัฐ Assam ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 17-22 ตุลาคม 2559ที่ผ่านมา มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม จำนวน 11 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย จีนอินเดีย ศรีลังกา เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และ ปาปัวนิวกินีโดยที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า ควรผลักดันหรือพยุงราคายาง เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง โดยการใช้ยางพาราให้มากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ดีและยั่งยืนที่สุด ดังนั้น การใช้ยางธรรมชาติในการทำถนนลาดยางถือเป็นอีกวิธีในเพิ่มปริมาณการใช้ยาง “ทั้งนี้ ในที่ประชุม ANRPC จึงมีข้อตกลงว่า ประเทศสมาชิกต้องกำหนดเป้าหมายการใช้ยางธรรมชาติในถนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของถนนที่สร้างใหม
กยท. ไฟเขียว เผยแผนปฏิบัติการดิจิทัล การยางแห่งประเทศไทย ปี 2560-2564 พร้อมเดินหน้า บริหารและบริการด้านยางพาราด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยเพิ่มช่องทางรับทราบข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเกษตรกรได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บอร์ดการยางฯ เห็นชอบ เพื่อแผนยุทธศาสตร์ดิจิทัลของการยางแห่งประเทศไทย (พ.ศ.2560-2564) ซึ่งแผนนี้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และตอบสนองแผนวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย ทั้งในเรื่องการสร้างรายได้ การพัฒนายางพารา การวิจัยและนวัตกรรม และบริหารจัดการภายในองค์กร และการให้บริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และยังเป็นบูรณาการรองรับการหลอมรวมของหน่วยงาน ในขณะเดียวกันก็ช่วยลดความซ้ำซ้อนงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีอยู่เดิม แนวทางหลักของการจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ กยท. ครั้งนี้ คือ “หลอมรวม หยั่งราก สร้างรายได้ พัฒนายั่งยืน” ดร.ธีธัช กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอนาคต การยางแห่งประเทศไทยจะยกระดับเรื่องตลาดยางพารา ศูนย์กลางการซื้อขาย ขณะเดียวกัน มีการรวบรวมข้อมูลเรื่องของราคากลางยางพาราทั้งประเทศ ปริมาณการซื้อขา