ยุวเกษตร
โรงเรียนบ้านน้ำมิน หมู่ที่ 6 ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา จัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรขึ้น เมื่อปี 2552 เพราะโรงเรียนเล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำการเกษตร มีการจัดสรรพื้นที่ด้านหลังโรงเรียน จำนวน 2 ไร่ 3 งาน 35 ตารางวา เพื่อทำเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในการทำกิจกรรมด้านการเกษตรต่างๆ และใช้พื้นที่ภายในโรงเรียนเพื่อทำกิจกรรมด้านอื่นๆ เช่น ด้านเคหกิจเกษตร แปรรูป การออมทรัพย์ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพราะโรงเรียนมีสภาพแวดล้อมเป็นชุมชนเก่า มีวัฒนธรรมเดิมที่ดี และส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมถึงร้อยละ 99 และยังมีนักเรียนชาวไทยภูเขา เข้ามาเรียนรู้ด้วย ที่สำคัญโรงเรียนบ้านน้ำมิน เคยได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย เข้ารับรางวัลโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 2 ปี พ.ศ. 2558” (The 2ed ASEAN Eco-schools Award 2015) และได้รับการประเมินเป็นศูนย์การเรียนรู้ Eco-schools โรงเรียนยังเป็นศูนย์เรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การดำเนินงานของกลุ่มยุวเกษตรกร โรงเรียนบ้านน้ำมิน มีหลากหลาย ประกอบไปด้วยแปลงสาธิตปลูกพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษ ปลูกผักพื้นบ้าน การเพาะถั่วงอก การเ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้มีโอกาสด้านการศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อีกทั้งยังทรงริเริ่ม “แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร” ที่ครอบคลุมทั้งด้านการเกษตร, สุขภาพอนามัยการศึกษา, สหกรณ์, การงานอาชีพ, การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนวัฒนธรรมท้องถิ่นในโรงเรียนมากกว่า 800 แห่ง ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเรื่องการลดปัญหาทุพโภชนาการของเด็กและเยาวชนที่เกิดในครอบครัวที่ไม่สามารถผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ อันส่งผลต่อสุขภาพอนามัย จนทำให้เด็กไม่สามารถมีพัฒนาการด้านอื่นๆ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้ทดลองทำโครงการอาหารกลางวันผักสวนครัว เมื่อ ปี 2523 ภายใต้ชื่อ “โครงการอาหารเพื่อเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร” ด้วยการทำเป็นโครงการทดลองในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองแจง อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านทุ่งศาลา อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี และโ
โรงเรียนชุมชนทมป่าข่า หมู่ที่ 2 ตำบลทมนางาม อำเภอโนนสะอาด จังหวัดอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 เปิดการเรียนการสอนระดับอนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีนักเรียนในแต่ละปีการศึกษา เกือบ 300 คน และบุคลากรครู เกือบ 20 คน การดำเนินงานของยุวเกษตรกรโรงเรียนชุมชนทมป่าข่า เริ่มจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุดรธานี ประสานงานกับโรงเรียนให้จัดตั้งกลุ่มยุวเกษตรกรในโรงเรียนขึ้น และให้มีการดำเนินงานตามกระบวนการของยุวเกษตรกร ซึ่งโรงเรียนชุมชนทมป่าข่าได้มีการจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดยได้รับหนังสือรับรองการจัดตั้งสมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกร เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 สมาชิก 40 ราย จากสำนักงานเกษตรอำเภอโนนสะอาด โดยมี อาจารย์พงษ์ศักดิ์ ระวิโรจน์ เป็นที่ปรึกษา โดยเริ่มทำโครงการเลี้ยงปลาดุก 2,000 ตัว กบ 2 บ่อ ปลูกผัก กิจกรรมดำเนินมาระยะหนึ่งแต่ประสบปัญหาขายไม่ได้ราคา ค่าอาหารแพง และอาจารย์ที่ปรึกษาเกษียณอายุราชการไป การสืบสานกิจกรรมกลุ่มยุวเกษตรกรจึงขาดช่วงไป เหลือเพียงการเรียนในวิชาเรียนเกษตรเท่านั้น โดยแบ่งหน้าที่รับผิดชอบเป็นชั้นเรียน ต่อมาในปี
อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เป็นอำเภอที่มีแม่น้ำสายบุรี หล่อเลี้ยงวิถีชีวิตความเป็นชนบท การดำนา ปลูกข้าว ยังคงมีให้เห็นในทุกพื้นที่ ไม่เว้นแม้แต่ในภาคใต้ ปลายด้ามขวานทอง ที่บางโอกาสถูกมองว่าอยู่ห่างไกลความเจริญ แท้จริงแล้ว ความห่างไกลเหล่านี้เป็นสิ่งกระตุ้นเตือนไม่ให้ลืมรากเหง้าการดำรงชีวิตของบรรพบุรุษไม่ให้สูญหายไป เกษตรกรรม ก็เช่นกัน การปลูกฝังผ่านเยาวชนเป็นแนวคิดที่มีมาเนิ่นนาน แม้จะประเมินไม่ได้ชัดว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่อย่างน้อยก็เป็นช่องทางที่ได้ปลูกฝังให้เยาวชนสำนึกรักในบ้านเกิด โรงเรียนบ้านป่าทุ่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ 4 ตำบลบางเก่า อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี มี คุณสุวิทย์ หวัดแท่น ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เปิดการเรียนการสอนในระดับอนุบาลถึงระดับประถมศึกษา ด้วยพื้นที่อยู่ห่างไกล จึงรองรับนักเรียนบริเวณใกล้เคียงทั้งหมด และสภาพสังคมปัจจุบันปัญหาเด็กด้อยโอกาสมีสูง โรงเรียนจึงเป็นแหล่งพักพิงที่ดีที่สุด ครูจึงมีความสำคัญกับนักเรียนมาก ซึ่งการป้อนความรู้นอกเหนือจากวิชาเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตได้เองจึงเป็นสิ่งสำคัญ โรงเรียนจึงตั้งเป้าให้ความสำคัญกับการเกษตร เพราะเป็
แผนงานยุวชนสร้างชาติ ถือเป็นวาระแห่งชาติที่เน้นการปฏิรูปสถาบันอุดมศึกษาให้เอื้อต่อการจัดระบบนิเวศการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในยุคสมัยใหม่ กล่าวคือ มีชุมชนเป็นฐาน ลดเวลาเรียนในชั้นเรียน และเน้นการฝึกปฏิบัติ สถานศึกษาหลายแห่งเริ่มดำเนินการ มีการตั้งเป้าหมายเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ สำหรับที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เข้าดำเนินการ โดยใช้ชื่อโครงการเสริมสร้างศักยภาพเกษตรกรในการเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย (Black Soldier Fly Larvae) เพื่อเป็นอาหารสัตว์โปรตีนสูง โดยการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกำหนดพื้นที่ในอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป้าหมาย คือ การเพิ่มศักยภาพและพัฒนาความรู้ให้กับเกษตรกรรุ่นใหม่ ในที่นี้รวมถึงนิสิต นักศึกษา นักเรียน ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่มีความพร้อมเป็นต้นแบบที่เรียกว่า ยุวชนอาสา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เริ่มเข้าไปสำรวจและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ เพื่อให้เป็นครัวเรือนที่มีศักยภาพในการเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวันลาย เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์โปรตีนสูง โดยเข้าสำรวจไปแล้ว 2 ครั้ง และได้คัดเลือกครอบครัวต้นแบบในการเป็นศูนย์การเรียนรู้
โรงเรียนบ้านต่างแคน ตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่เล็ก หากเทียบกับโรงเรียนอื่นที่ตั้งอยู่ยังต่างจังหวัด ก่อตั้งมายาวนานเข้าสู่ปีที่ 61 แล้ว พื้นที่ทั้งหมด 11 ไร่ เกือบครึ่งหนึ่งของพื้นที่ ถูกจัดสรรให้เป็นแปลงเกษตร ในจำนวนนี้รวมพื้นที่บ่อน้ำขนาดใหญ่ไว้ด้วย ครูบุญทัน มาลี ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านต่างแคน เล่าว่า โรงเรียนก่อตั้งมานาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 พื้นที่ตัวอาคารและพื้นที่แปลงเกษตร ถูกแบ่งไว้เช่นนี้นานมากแล้ว โดยพื้นที่แปลงเกษตรเกือบ 4 ไร่ เป็นบ่อน้ำขนาดใหญ่เพียง 1 บ่อมาแต่เดิม แต่ยังจัดสรรไม่เป็นสัดส่วน แต่ปัจจุบัน บ่อน้ำขนาดใหญ่ถูกแบ่งด้วยการทำคันบ่อ แบ่งออกเป็น 3 บ่อด้วยกัน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการทำแปลงเกษตรได้สะดวกมากขึ้น โรงเรียนบ้านต่างแคน เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา มีการเรียนการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 130 คน ครู 15 คน นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามโครงการพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งโครงการเกษต
จังหวัดพิษณุโลก เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง มีอำเภอที่ตั้งอยู่พื้นที่สูง มีความหลากหลายของพืชพรรณ และแน่นอนว่า พื้นที่ส่วนใหญ่ทำการเกษตรเช่นเดียวกับจังหวัดอื่น เพราะประเทศไทย เป็นประเทศแห่งเกษตรกรรม การปลูกฝังให้เด็ก หรือเยาวชน มีความรู้จักรากฐานของบรรพบุรุษ เป็นเรื่องที่ควรกระทำอย่างยิ่ง โรงเรียนบ้านทุ่งน้อย ตำบลท่าตาล อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ระดับประถมศึกษา ที่มีนักเรียนเพียง 63 คน มีครู 11 คน เปิดการเรียนการสอนในระดับอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6 นักเรียนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลท่าตาล รัศมีการเดินทางจากโรงเรียน 7 กิโลเมตร และนักเรียนส่วนใหญ่เดินทางโดยรถจักรยาน ผู้ปกครองมาส่ง หรือเดินมา ถนนถูกตัดผ่านกลางระหว่างที่ดินของโรงเรียน ทำให้เกิดที่ตั้งของโรงเรียนบ้านท่าน้อย และพื้นที่อีกฝั่ง ซึ่งโรงเรียนเห็นความสำคัญของการทำเกษตรกรรม จึงจัดสรรให้พื้นที่อีกฝั่งของโรงเรียน เป็นพื้นที่สำหรับทำแปลงเกษตรโดยเฉพาะ ในวันที่เดินทางไปอำเภอบางกระทุ่ม ผ่านโรงเรียนบ้านท่าน้อย เป็นจังหวะที่เด็กนักเรียนกำลังลงแปลง จึงเป็นโอกาสดีที่ได้แวะพูดคุย ครูภิรมย์ลัก
กรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมจัดงานชุมนุมยุวเกษตรกรและที่ปรึกษายุวเกษตรกรระดับประเทศ ประจำปี 2562 ระหว่าง วันที่ 22-26 ก.ค. นี้ ณ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จ.นครนายก เน้นส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มยุวเกษตรกรทั่วประเทศ ให้มีใจรักในอาชีพเกษตรกรรม พร้อมสืบทอดทายาทเกษตรอาชีพหลักคนไทย นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กลุ่มยุวเกษตรกร หรือ 4-H Club จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะอาชีพการเกษตร ทักษะการดำเนินชีวิตในสังคมให้กับเยาวชน โดยเน้นวิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์และการปฏิบัติจริง (Learning by doing) ให้ยุวเกษตรกรมีความสามารถและมีความพร้อมในการสืบทอดอาชีพการเกษตร โดยให้มีการจัดงานชุมนุมยุวเกษตรกรทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้สมาชิกกลุ่มยุวเกษตรกรและที่ปรึกษากลุ่มยุวเกษตรกรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานซึ่งกันและกัน เพื่อนำแนวคิดไปพัฒนา สร้างแรงจูงใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมถึงสร้างเครือข่ายให้ยุวเกษตรกรและที่ปรึกษายุวเกษตรกรที่เข้มแข็งและขับเคลื่อนการพัฒนางานยุวเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ การส่งเสริมยุ
โรงเรียนที่เปิดรองรับนักเรียนเข้าศึกษาในพื้นที่อำเภอปากพนัง เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา ปัจจุบันมีหลายแห่ง แต่ถ้าเป็นโรงเรียนเทศบาลที่ก่อตั้งมานานและอยู่ในความดูแลของรัฐบาล มีไม่กี่แห่ง และโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1 ก็เป็นหนึ่งในหลายโรงเรียนที่สามารถปลูกฝังนักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถ ไม่น้อยไปกว่าโรงเรียนเอกชนแห่งอื่นในพื้นที่อำเภอปากพนัง โรงเรียนหลายแห่งในอำเภอปากพนัง มีการแข่งขันในเชิงวิชาการค่อนข้างสูง โรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1 ก็เช่นกัน แต่ในการแข่งขันในเชิงวิชาการ โรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1 ก็มีมุมของการส่งเสริมการเรียนรู้ในทุกๆ ด้านอย่างพอเพียงไปพร้อมกัน ดร. สุชาติ เอียดวงศ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1 บอกว่า คำว่า “พอเพียง” ในรัชกาลที่ 9 ไม่ได้นำมาใช้เฉพาะกับงานเกษตร แต่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกด้านในชีวิต โดยนำมาส่งเสริมให้เข้ากับแต่ละวิชา ซึ่งอาจารย์แต่ละสาขาวิชาที่มีอยู่ 77 คน ก็เข้าใจในสิ่งที่ต้องถ่ายทอดให้กับลูกศิษย์ให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันให้ได้ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และแทรกซึมเข้าไปในการดำรงชีวิตทุกๆ ด้าน มุ่งหวังให้ลูกศิษย์นำไปใช้ได้จริง โรงเรียนเทศบาลปากพนัง 1
“เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ” คำขวัญ จังหวัดอุทัยธานี แสดงให้เห็นถึงประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่น ที่ยังคงมายาวนาน และสังเกตได้ว่าในทุกคำขวัญ เรื่องของเกษตรกรรม อันเป็นรากฐานในการดำรงชีวิตจะแทรกอยู่ในคำขวัญนั้นๆ ด้วยเสมอ เกษตรกรรม จึงพบได้และมีอยู่ในทุกที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในโรงเรียน ที่มีเยาวชน ซึ่งควรได้รับการปลูกฝังเรื่องของเกษตรกรรมให้เป็นพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิต โรงเรียนอุทัยธานีวิทยาคม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา มีการเรียนการสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งโดยปกติทั่วไปเท่าที่ผู้เขียนทราบ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญพุ่งตรงไปที่หลักการสอนในเชิงวิชาการ เพื่อส่งต่อนักเรียนไปยังระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ แต่สำหรับโรงเรียนอุทัยธานีวิทยาคมแห่งนี้ นอกเหนือจากหลักการสอนในเชิงวิชาการที่ละทิ้งไม่ได้แล้ว ยังน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาแทรกเข้าไว้ในเนื้อหาของการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ในเชิงวิชาชีพ โดยเฉพาะเกษตรกรรม อันเป็นรากฐานของการดำรง