ราคายาง
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เผย คณะกรรมาธิการยุโรป จ่อขยายระยะเวลาเริ่มใช้กฎ EUDR ไป 12 เดือน หวังสร้างความพร้อมให้ทุกประเทศก่อนบังคับใช้จริง ย้ำ! ไทยพร้อมรับมาตรการ เตรียมหารือทุกภาคส่วนสัปดาห์หน้า เพื่อกำหนดท่าที-แนวทางปฏิบัติร่วมกัน ดร.เพิก เลิศวังพง ประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการส่งเสริมการสนับสนุนดำเนินการตามกฎระเบียบว่าด้วยการไม่ตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR) ได้เสนอขยายระยะเวลาในการเตรียมปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าวสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั่วโลก ทั้งประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปและประเทศที่ไม่เป็นสมาชิก ไปอีก 12 เดือน เพื่อให้ทุกประเทศสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่นตั้งแต่เริ่มต้นบังคับใช้ ซึ่งจะส่งผลให้เริ่มมีการบังคับใช้กฎระเบียบ EUDR กับบริษัทหรือผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ในวันที่ 30 ธันวาคม 2568 และวิสาหกิจขนาดย่อมหรือผู้ประกอบการรายย่อย ในวันที่ 30 มิถุนายน 2569 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ข้อเสนอดังกล่าวยังต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภายุโรปและคณะรัฐมนตรีแห่งสหภาพยุโรปอีกครั้ง ซึ่งการขยายระยะเวลาบังคับใช้กฎระเบียบดังกล่าว ถือเป็นโอกาสที่ดีของนักลงทุน ผู้ประกอ
ยะลาและนราธิวาส เป็น 2 จังหวัดชายแดนใต้ ที่มีสินค้าและผลิตภัณฑ์หลากหลาย ซึ่งแม้จะมีปัญหาความไม่สงบในพื้นที่เหล่านี้ แต่กลุ่มแม่บ้านก็ยังคงผลิตสินค้าคุณภาพออกมาให้ลูกค้าได้กินได้ใช้กัน ทำให้ครอบครัวมีรายได้เสริม เพราะส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรมกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำสวนยางพารา สวนปาล์ม และสวนผลไม้ ได้โอท็อป 4 ดาว ปี 2557 อย่างกลุ่มแม่บ้านไอร์กูเล็ง ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งมักจะออกร่วมออกบู๊ธในงานโอท็อปทั้งที่กรุงเทพฯ และตามจังหวัดต่างๆ สินค้าหลักๆ คือ ข้าวเกรียบผลไม้และสมุนไพร 6 ชนิด พร้อมข้าวเกรียบปลา ที่มีทั้งแบบอบและแบบทอดให้เลือก บางช่วงจะมีสะละและผลิตผลทางการเกษตรมาขายด้วย นางแยนะ เจะวานิ อายุ 57 ปี ประธานกลุ่มแม่บ้านไอร์กูเล็ง เล่าว่า กลุ่มก่อตั้งเมื่อปี 2542 ตอนนี้มีสมาชิก 25 คน และแบ่งหน้าที่รับผิดชอบกัน มีการลงบัญชี รายรับ-รายจ่าย และจัดประชุมเดือนละ 1 ครั้ง สำหรับสินค้าเด่นๆ คือข้าวเกรียบสมุนไพร 6 ชนิด ใบเตย มะเขือเทศ ดอกอัญชัน มันเทศ ข้าวโพด และกระเจี๊ยบ รวมทั้งข้าวเกรียบปลา ซึ่งผลิตภัณฑ์ 7 อย่างนี้ ได้รับเครื่องหมาย อย.ทั้งหมด และในส่วนของข้าวเกร
การยางแห่งประเทศไทยได้รายงานสถานการณ์ราคาน้ำยางดิบขณะนี้ได้ขยับขึ้นไป กก.ละ 10 บาทหรือขึ้นไปเป็น กก.ละ 53-54 บาท จากช่วงที่เคยลดลงไปต่ำสุดก่อนหน้านี้ที่ กก.ละ 42 บาท หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนราคายางอยู่ที่ กก.ละ 47-48 บาท โดยเหตุผลสำคัญที่ทำให้ราคายางขยับขึ้นไปมาจากเป็นช่วงที่หยุดกรีดยางจนทำให้ยางเข้าสู่ตลาดน้อย ประกอบกับราคายางในตลาดล่วงหน้าปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ผลิตยางล้อต่างเร่งซื้อน้ำยางเพื่อนำไปผลิตมากขึ้น โดยราคาส่งออก FOB ขยับขึ้นไปถึง กก.ละ 55 บาทแล้ว ด้านสถานการณ์การส่งออกยางพาราไทยในช่วง 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์) 2562 มีปริมาณ 586,079 ตันหรือลดลง 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.59% ส่วนมูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 699 ล้านเหรียญสหรัฐหรือลดลง 15.46% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หยุดกรีดยางทะลุ 60 บ. นายทวีศักดิ์ เกิดวงศ์บัณฑิต ประธานกรรมการ บริษัท วงศ์บัณฑิต จำกัด ผู้ส่งออกยางรายใหญ่ของประเทศ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้สถานการณ์ราคายางแผ่นดิบปรับได้ขึ้นไปถึง กก.ละ 53 บาท และมีแนวโน้มจะปรับขึ้นไปถึง กก.ละ 60 บาท เนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งส่งผลกระ
เมื่อเร็วๆ นี้ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาเสถียรภาพราคายาง ครั้งที่ 6 ของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (The Association of Natural Rubber Producing Countries: ANRPC) มุ่งให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีการผลิตยาง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ พร้อมหามาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาราคายางพาราให้มีเสถียรภาพร่วมกัน ย้ำทุกมาตรการต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประเทศสมาชิกผู้ปลูกยาง ณ โรงแรมแม่น้ำ รามาดาพลาซ่า กรุงเทพมหานคร นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาเสถียรภาพราคายาง ครั้งที่ 6 ของสมาคมประเทศผู้ผลิตยางธรรมชาติ (The Association of Natural Rubber Producing Countries: ANRPC) โดยในครั้งนี้มีผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวน 10 ประเทศ จากทั้งสิ้น 12 ประเทศ เข้าร่วม ประกอบด้วย บังกลาเทศ กัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เวียดนาม และไทย โดยเป็นการหารือร่วมกันในการแก้ปัญหาสถานการณ์ราคายางที่ยังคงอยู่ในภาวะวิกฤต ส่งผลกระทบต่อประเทศในกลุ่มผู้ผลิ
กยท. เล็งชงยุทธศาสตร์ยางพารา 20 ปี เข้า ครม. เห็นชอบ หวังดันรายได้ชาวสวนเพิ่มเป็น 1.98 หมื่นบาท/ไร่/ปี นายเยี่ยม ถาวโรฤทธิ์ รักษาการผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า เตรียมเสนอยุทธศาสตร์ยางพารา ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในไตรมาส 1 ปีนี้ หลังจากคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) มีมติเห็นชอบกรอบยุทธศาตร์แล้วเมื่อปี 2560 แต่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ ต้องการให้นำมาปรับเป้าหมายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อให้ไทยหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง รายละเอียดของยุทธศาสตร์ 20 ปี ที่แบ่งเป็น ระยะสั้นปีที่ 1-5 ระยะกลาง ปีที่ 6-10 และระยะยาว ปีที่ 11-20 เมื่อยุทธศาสตร์ถูกขับเคลื่อน รายได้ของชาวสวนยางจะเพิ่มขึ้นเป็น 19,800 บาท/ไร่/ปี จากปัจจุบันชาวสวนรายได้ 11,984 บาท/ไร่/ปี เมื่อยุทธศาสตร์ผ่านการเห็นชอบจาก ครม. แล้ว จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพารา เพื่อดำเนินการ ลดพื้นที่ปลูกยางลงจาก 23.3 ล้านไร่ ให้เหลือ 18.4 ล้านไร่, เพิ่มปริมาณผลผลิตยางจาก 224 กิโลกรัม/ไร่/ปี ให้เป็น 360 กิโลกรัม/ไร่/ปี โดยเพ
ไผ่เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้า โดยไผ่ได้ชื่อว่าเป็นหญ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ไผ่เป็นพืชสารพัดประโยชน์สำหรับเกษตรกร เนื่องจากทุกส่วนของไผ่เราสามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ได้ ส่วนของหน่อใช้เป็นอาหาร บริโภคได้ทั้งหน่อสดและเอาไปดองเพื่อถนอมอาหาร ส่วนลำต้นสามารถใช้เป็นไม้ใช้สอยได้ต่างๆ นานา ทำค้างสำหรับพืชไม้เลื้อย ทำรั้วบ้าน ทำด้ามจอบด้ามพร้า สานตะกร้ากระบุง ทำเครื่องเรือน หรือสร้างบ้านได้แทบทั้งหลัง แม้แต่ใบก็เอามาทำปุ๋ยได้ ในสมัยก่อนเราพึ่งพาไม้ไผ่ในชีวิตประจำวันค่อนข้างมาก ปัจจุบันแม้ไผ่ธรรมชาติจะลดน้อยลงไป แต่สำหรับเกษตรกรการปลูกไผ่ไว้ในสวนของตัวเองเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อหาได้มากทีเดียว เพราะในปัจจุบันไม้ไผ่ที่ตัดขายตามร้านค้ามีราคาแพงมาก ดังนั้น การปลูกใช้เองเป็นการดีที่สุดสำหรับเกษตรกรในยุคนี้ ยางพาราถือเป็นพืชเศรษฐกิจในภาคใต้ จากสภาวะเศรษฐกิจส่งผลให้ราคายางเคลื่อนไหวแพงบ้างถูกบ้าง และในช่วง 2-3 ปีมานี้ ยางมีราคาถูกมาก ทำให้เกษตรกรส่วนหนึ่งโค่นยางทิ้งเมื่อถึงอายุ และมักจะมองหาพืชชนิดอื่นปลูกทดแทนยาง เช่น ปาล์มน้ำมัน สะละ ทุเรียน มังคุด กล้วย แล้วแต่ความถนัด บางสวนก็โค่นย
สินค้าเกษตร ข้าว-มัน-ยาง-อ้อย เป็นปัจจัยชี้ระดับ “กำลังซื้อ” ของเกษตรกรทั่วประเทศ ฐานของเกษตรกรกลุ่มนี้กลายเป็น “ฐานเสียง” ใหญ่ทางการเมือง ราคาสินค้ากลุ่มนี้ยังเป็นดัชนีที่มีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจฐานราก 5 ปี ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา มีการสับเปลี่ยนกำลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ จาก “นายพล” เพื่อนร่วมรุ่นนายกรัฐมนตรี มาสู่นักบริหารจากกระทรวงมหาดไทย ฉากการต้อนรับม็อบและแกนนำชาวสวนยางของ นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีพลเรือน เกิดขึ้นซ้ำซากทุกฤดูกาล ข้อเรียกร้องทุกครั้งคือ “อุดหนุนราคา-เยียวยา” รายได้ให้ชาวสวนยาง แม้ว่าล่าสุด (20 พ.ย. 61) คณะรัฐมนตรีจะอนุมัติช่วยเหลือทางตรงให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง 999,065 ราย และคนกรีดยาง 304,266 ราย ให้ความช่วยเหลือ ไร่ละ 1,800 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่ โดยช่วยเจ้าของสวนยาง จำนวน 9.99 แสนราย ไร่ละ 1,100 บาท และคนกรีดยาง 3.04 แสนราย ไร่ละ 700 บาท ใช้งบประมาณรวม 18,604 ล้านบาท มาตรการนี้จะทำให้ชาวสวนยางกว่า 1.3 ล้านราย ได้รับอานิสงส์ อีกรอบ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการที่เคยดำเนินการแล้วไม่ได้ผล กลับมาใช้อีกครั้ง คือการสั่งการให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
‘หญิงหน่อย’ ประกาศลั่น! เพื่อไทยทำได้ ราคา ยาง-ข้าว ดีขึ้นกว่าตอนนี้แน่นอน! เมื่อวานนี้ (26 พ.ย.) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย (พท.) เปิดเผยผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan เล่าบรรยากาศการเดินทาง เปิดศูนย์ประสานงานพรรคเพื่อไทย และพบประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครพนม และ สกลนคร ว่า ได้รับฟังปัญหาของประชาชน ซึ่งพบว่าปัญหาหนักที่สุดยังคงเป็นความทุกข์ของเกษตรกรไทย อย่างทั้งเรื่องยางและข้าวที่ราคาตกต่ำ จึงเป็นปัญหาที่ต้องแก้ด้วยการสร้างโอกาสใหม่และดำเนินการแบบเร่งด่วน ซึ่งพรรคเพื่อไทยได้เตรียมนโยบายไว้จัดการปัญหาเหล่านี้แล้ว แกนนำพรรคเพื่อไทย ระบุว่า ตนและพรรคเพื่อไทยขอย้ำว่าจะคว้าโอกาสจากโลกยุคใหม่มาใส่มือพี่น้องเกษตรกรไทยให้ได้ ซึ่งทีมนโยบายมองการแก้การปัญหาไว้แล้ว แต่ยังติดตรงที่ยังไม่มีการปลดล็อกให้พรรคการเมืองนำเสนอนโยบาย วันนี้จึงเล่าให้ฟังได้ไม่เต็มที่ แต่ขอให้เกษตรกรมั่นใจว่า พรรคเพื่อไทยจะแก้ปัญหาราคายางและราคาข้าวได้ เพราะในอดีตสมัยที่ได้รับโอกาสจากประชาชนให้เป็นรัฐบาลก็เคยทำได้มาแล้ว รวมถึงการแก้ปัญหาราคาสินค้
3,000 โรงรมควันยางพารา สูญ 2 พันล้านบาท เหตุพิษกำแพงภาษี สหรัฐ-จีน ทำราคา “ยางรมควัน” ผันผวนรายวัน เร่งพลิกกลยุทธ์การผลิต เพิ่มแปรรูปน้ำยางสดเป็นน้ำยางข้น 70% ลดยางรมควันเหลือ 30% น้ำยางข้นแปรรูปได้หลากหลาย พร้อมวอนรัฐผ่อนปรนเงื่อนไขเข้าถึงแหล่งเงินกู้ ธ.ก.ส. 15,000 ล้านบาท โดยเฉพาะกำหนดสถาบันเกษตรกรต้อง “กำไร” เหตุราคายางตกขาดทุนต่อเนื่องกันหลายปี นายกัมปนาท วงศ์ชูวรรณ ผู้จัดการ กลุ่มเกษตรกรทำสวนธารน้ำทิพย์ สถาบันเกษตรกรผู้ส่งออกยางรายใหญ่ภาคใต้ เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กรณีที่สหรัฐอเมริกาขึ้นภาษีการค้า 45% กับประเทศจีน และการที่นักลงทุนซื้อขายล่วงหน้าที่ตลาดยางเซี่ยงไฮ้ ล้วนส่งผลให้เกิดการกดราคายางลดลง และส่งผลต่อสถาบันการเกษตร เนื่องจากไทยส่งออกยางไปสู่จีนปริมาณมาก และจีนนำไปผลิตล้อยางรถยนต์ส่งออกไปสหรัฐอเมริกาถึง 40% ทั้งนี้ สถานการณ์ราคายางพาราผันผวนเกิดขึ้นทั้งในส่วนน้ำยางสด และยางรมควัน ส่งผลให้สถาบันในกลุ่มสหกรณ์ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากการที่ราคายางรมควันลดต่ำกว่าราคารับซื้อน้ำยางดิบในช่วงราคาผันผวน แต่ผู้ค้ายางรายใหญ่ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เนื่องจากมีการป้องกันความเสี
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยหลังลงนามความร่วมมือโครงการ “จุดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางพารา พัฒนาเกษตรกรไทย” กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ว่า การร่วมมือครั้งนี้เพื่อสนับสนุนใช้ยางภายในประเทศตามนโยบายรัฐบาล โดยปตท. จะเปิดพื้นที่ในสถานีบริการน้ำมันทั่วประเทศ ให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนได้นำสินค้าแปรรูปจากยางพาราเข้ามาจำหน่ายโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายตลอดปี 2561 ทั้งสิ้น 14 แห่ง โดยจะเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนก.พ.เป็นต้นไป เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้เกษตรกรชาวสวนยาง และสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางอีกช่องทางหนึ่ง สำหรับราคายางพารา ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา โดย ณ วันที่ 30 ม.ค. 2561 ราคายางแผ่นดิบรมควันชั้น 3 อยู่ที่ 48-50 บาทต่อกิโลกรัม (ก.ก.) ซึ่งทั้งหมดเกิดจากนโยบายของภาครัฐที่ออกมาทำให้ปริมาณยางพาราในตลาดลดลง อาทิ โครงการสนับสนุนเงินหมุนเวียนแก่สถาบันการเกษตรต่างๆ ลดการส่งออกยาง เป็นต้น นอกจากนี้ปัจจุบันหลายจังหวัดเริ่มปิดกรีดแล้ว จึงทำให้ปริมาณยางพาราในตลาดลดลงอีก ซึ่งเป็นผลดีเพราะจะทำให้ราคายางสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหายางพา