ราชมงคลสุวรรณภูมิ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทัศนีย์ นลวชัย พร้อมด้วย ดร. มัสธูรา ละใบเด็น ดร. วิญญู บุญประเสริฐ และ อาจารย์ทินวุฒิ ล่องพริก ทีมอาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ลงพื้นที่จัดโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีการคัดเลือกโพรไบโอติกที่แยกได้จากทางเดินอาหารของกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเลี้ยงกุ้ง พร้อมทั้งมอบผลิตภัณฑ์ต้นแบบ RUS Probiotic ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งก้ามกราม ตำบลบางหลวง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทัศนีย์ นลวชัย หัวหน้าโครงการ เปิดเผยว่า เกษตรกรชุมชนตำบลบางหลวง จังหวัดนครปฐม ส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งก้ามกราม วิธีการเลี้ยงส่วนใหญ่จะเลี้ยงในรูปแบบดั้งเดิม เลี้ยงแบบหนาแน่น ปัญหาและอุปสรรคตามมา ได้แก่ ลูกกุ้งมีอัตราการรอดต่ำ กุ้งโตช้า มีสภาพแคระแกร็น เกิดโรคระบาดจากเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ทำให้มีการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะเพื่อเป็นการป้องกันโรค ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและก่อให้เกิดการตกค้างของสารเคมีในตัวกุ้ง และเป็นอันตรายต่อ
อาจารย์นนทลี บุญทัด การุณยศิริ อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เปิดเผยว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ปัญหาขยะที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี เช่น ขยะมูลฝอย ขยะรีไซเคิล ขยะเคมี และขยะอันตราย มีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ยิ่งจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น การขยายตัวของเศรษฐกิจยิ่งมากตามจำนวนของประชากร การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย การกำจัดขยะแบบผิดวิธี โดยเฉพาะขยะสารเคมี การกระทำที่ขาดจิตสำนึก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการดำรงชีวิตในระยะยาว ซึ่งทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ต้องร่วมมือกันในการกำจัดขยะให้ลดน้อยลง จากปัญหาดังกล่าว ตนพร้อมด้วย อาจารย์เกษสิริ ศักดานเรศว์ และทีมอาจารย์ ประจำสาขาวิชาการจัดการ-การจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.สุวรรณภูมิ ได้นำนักศึกษา จัดโครงการ BA&IT ร่วมใจคัดแยกขยะอาคาร 24 Season 3 เพื่อสร้างจิตสำนึกสร้างพลังให้กับนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การจัดการขยะอย่างถูกวิธี ส่งเสริมให้นำขยะเหลือใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ในเช
รองศาสตราจารย์ ดร. ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เป็นประธานเปิดโครงการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยคุณธรรม กิจกรรมที่ 1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างวิทยากรเเกนนำส่งเสริมคุณธรรม กิจกรรมที่ 1.1 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการสร้างวิทยากรเเกนนำส่งเสริมคุณธรรม หลักสูตร “วิธีการค้นหาพฤติกรรม ไม่พึงประสงค์/พึ่งประสงค์” โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์ณัฐพงศ์ สุโกมล ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ เรื่อง “ความรู้ความเข้าใจในสาระคุณธรรมและจริยธรรม” และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ เพื่อค้นหา “พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ / พึ่งประสงค์” เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการพัฒนานำไปสู่การเป็นองค์กรคุณธรรมต้นแบบ อย่างยั่งยืน มีความรู้และทักษะในการเป็นวิทยากรแกนนำส่งเสริมคุณธรรมภายในหน่วยงาน ณ ห้องประชุมนนทรี ชั้น 8 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
อิฐก่อสร้างสามัญหรืออิฐมอญ ที่ใช้ในปัจจุบันผลิตมาจากการใช้ดินเหนียว แกลบ ทราย หรือขี้เลื่อยเป็นวัตถุดิบนำมาผสมกับน้ำแล้วขึ้นรูปโดยการอัดลงในแบบพิมพ์ ผึ่งให้แห้งก่อนนำมาเผาที่อุณหภูมิสูง เพื่อให้เกิดความแข็งแรง ในการผลิตผู้ผลิตต้องมีความชำนาญการในการผสมวัตถุดิบ หากไม่ชำนาญคุณภาพของก้อนอิฐจะไม่สม่ำเสมอและเกิดความเสียหายในกระบวนการผลิตสูงมาก โดยเฉพาะขั้นตอนการเผา ภายหลังกระบวนการเผา เนื้อดินเหนียวเกิดการหดตัว ยากต่อการควบคุม เนื่องจากขั้นตอนการเผาเป็นขั้นตอนสำคัญของการผลิตอิฐมอญให้มีความแข็งแรงเพียงพอต่อการใช้งาน ซึ่งข้อเสียในกระบวนการเผาทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม และปัจจุบันวัสดุเศษไม้ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผาหายาก ผู้ประกอบการจึงหันมาใช้แกลบแทน จึงทำให้เกิดปัญหามากขึ้นคือ กลิ่น ควัน เขม่า และฝุ่นมาก ส่งผลทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพของคนเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและก่อมลภาวะจากการเผา เพื่อเป็นแก้ปัญหาการสูญเสียต่างๆ อีกทั้งยังทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนอีกด้วย ด้วยเหตุผลดังกล่าว มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ได้คิดค้นกรรมวิธีใหม่ในการผลิตอิฐก่อสร้าง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ศศิกานต์ สุวรรณประทีป ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เปิดเผยว่า U-Multirank เป็นสถาบันการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาโดยได้รับทุนสนับสนุนจากสหภาพยุโรป และดำเนินการโดยนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ในทวีปยุโรป มีการจัดอันดับทั้งในระดับสถาบันและระดับสาขาวิชา ใช้ตัวชี้วัดเพื่อประเมินมหาวิทยาลัยต่างๆ จากผลงานใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียนการสอน (Teaching & Learning) ด้านการวิจัย (Research) ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ (Knowledge Transfer) ด้านการต่างประเทศ (International Orientation) และด้านการมีส่วนร่วมในระดับภูมิภาค (Regional Engagement) โดย มทร.สุวรรณภูมิ ได้เข้ารับการประเมินทั้งในระดับสถาบันและระดับสาขาวิชา ได้รับผลการประเมินว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเข้มแข็งมากที่สุดในด้าน Teaching & Learning มีผลการประเมินระดับดี (B) ในตัวชี้วัด Bachelor graduation rate, Masters graduation rate และ Graduating on time (bachelors) และ ด้าน Regional Engagement ได้รับการประเมินในระดับดี (B) ในตัวชี้วัด Bachelor graduates working in the re
รองศาสตราจารย์ ดร. ประมุข อุณหเลขกะ รักษาราชการแทนอธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) รับมอบโปรแกรม Software Office Thai WPS จาก นางสาวพงษ์ลดา ธราธร ผู้อำนวยการฝ่ายขาย บริษัท คิงซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากร และการศึกษาของนักศึกษาใน มทร.สุวรรณภูมิ เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ณ ห้องประชุมสุวรรณภูมิ มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี (เขตใต้)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เป็นประธานในพิธีประกาศราชสดุดีเฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปี เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๙ พรรษา๑๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ ณ บริเวณชั้น ๒ อาคารบูรณมงคล และร่วมปล่อยพันธุ์ปลาแรด จำนวน ๒๐๐ ตัว บริเวณแหล่งน้ำธรรมชาติทิศตะวันตก อาคารบูรณมงคลและบ่อเก็บน้ำแก้มลิง มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
ดร.อนุรักษ์ เมฆพะโยม รองอธิการบดี และนางสาวอุศนา อนงค์เวช ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน พร้อมด้วยบุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ร่วมกัน ถวายเทียนจำนำพรรษา และถวายภัตตาหารเพล แด่พระภิกษุสงฆ์ เนื่องในวันเข้าพรรษา เพื่อถวายเป็นพระพุทธบูชาพระภิกษุสงฆ์ ใช้จุดเพิ่มแสงสว่างในการการศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติกิจวัตรต่าง ๆ ในการจำพรรษา ที่วัดตลอดระยะเวลา ๓ เดือน โดยมีบุคลากร และนักศึกษา เข้าร่วม LIVE สดผ่านทาง ZOOM Application Meeting ซึ่งบุคลากรที่ตอบแบบตอบรับเข้าร่วมโครงการจะได้รับประกาศนียบัตรในการเข้าร่วมโครงการ ณ วัดไผ่โสมนรินทร์ ตำบลบ้านเกาะอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อาจารย์เรืองสิน ปลื้มปั่น ผู้ช่วยอธิการบดี พร้อมด้วย นางสาววิยะดา นุชพันธุ์ ผู้อำนวยการ กองบริหารงานบุคคล และบุคลากรกองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) จัดกิจกรรม “ปันน้ำใจ สู้วิกฤต COVID-19” มอบสิ่งของอุปโภคบริโภค ให้กับนายอำเภอบางปะหัน เพื่อนำไปมอบให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ในเขตพื้นที่อำเภอบางปะหัน โดยมี ร.ต.ต. หญิง สายสุนี ยมานันท์ นายอำเภอบางปะหัน เป็นผู้รับมอบ ณ อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมา อาจารย์มทร.สุวรรณภูมิ นำผลงานเข้าร่วมอภิปรายในการประชุมเชิงปฏิบัติการ คลินิกเทคโนโลยีขับเคลื่อน อววน. สู่การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากรายจังหวัด : ภาคกลางและภาคตะวันออก โดย รองศาสตราจารย์ ดร. เจษฎา อิสเหาะ หัวโครงการหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาช่อนแบบครบวงจร ได้รับคะแนน Popular VOTE อันดับ 1 พร้อมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาขวัญ ทองรักษ์ หัวหน้าโครงการ หมู่บ้านวิถีชีวิตกุ้งองครักษ์ ได้รับคะแนน Popular VOTE อันดับ 2 และหมู่บ้านมันเทศหวานบ้านทับน้ำ ภายใต้แพลตฟอร์มหมู่บ้านวิทยาศาสตร์ (SCI) ได้รับคะแนน Popular VOTE อันดับ 3 ซึ่งในการดำเนินโครงการเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพต่างๆ ให้กับชุมชนภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตหมู่บ้าน ชุมชน สังคม ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนมีรายได้ที่ยั่งยืนแบบครบวงจร คือ มีกิน มีงาน มีอาชีพ มีเก็บและมีออม สามารถเลี้ยงครอบครัวได้อย่างเป็นสุข