ราชมงคลสุวรรณภูมิ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร. สุวรรณภูมิ) ส่งทีมอาจารย์นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านลงพื้นที่ทำงานวิจัย เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีบนฐานศักยภาพ ทรัพยากรชุมชน และภูมิปัญญาพื้นถิ่น โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก้ปัญหาให้กับชุมชน ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง ทั้งในศูนย์พื้นที่ที่จัดการเรียนการสอนและพื้นที่ใกล้เคียง ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาขวัญ ทองรักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มทร. สุวรรณภูมิ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยได้ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโครงการหมู่บ้านวิถีวิทย์กุ้งก้ามกรามองค์รักษ์ ตำบลองค์รักษ์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่เลี้ยงกุ้งต่อเนื่องมาประมาณ 30 ปี ในพื้นที่ 10,000 ไร่ สิ่งที่เกษตรกรประสบ คือ ปัญหาหนี้สิน จากการขาดทุนสะสม ต้นทุนการเลี้ยงสูงและได้รับราคากุ้งที่ไม่เป็นธรรมด้วย จึงร่วมมือกับคณาจารย์และนักศึกษาเข้าไปให้ข้อแนะนำโดยใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมไปปรับใช้ โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยี การเลี้ยงกุ้งให้โตเร็ว ปลอดโรค อัตราการรอดตายสูง ลดต้นทุนการผลิต พร้อมกับการแปรรูปเพิ่มมูลค่ากุ้งก้ามก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวและการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยว ภายใต้โครงการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดรายได้กับชุมชน มุ่งเน้นให้ชุมชน มีกิน มีงาน มีอาชีพ มีเก็บและมีออม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในชุมชน ดร. ธารนี นวัสนธี หัวหน้าสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม กล่าวว่า การดำเนินโครงการนี้มีเป้าหมายในการพัฒนาวัตถุพื้นถิ่นที่เป็นจุดเด่นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนวัตวิถี เป็นการดำเนินการโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา และคณะศิลปศาสตร์ มทร.สุวรรณภูมิ ซึ่งได้รับความร่วมมือกับเครือข่ายในการจัดโครงการ ประกอบด้วย เทศบาลตำบลอรัญญิก สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนครหลวง บูรณาการร่วมกับโครงการวิจัยแนวทางการพัฒนากิจกรรมและเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชน เพื่อยกระดับภูมิปัญญาชุมชนสู่การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตฟื้นเศรษฐกิจยุค COVID-19 และสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นอำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายให้ความรู้ และการฝึกปฏิบัติการออกแบบกิจกรรมและเส้นทางท่อ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี พร้อมด้วย นายธีรพล ขุนเมือง กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ และ ดร. ศศิกานต์ สุวรรณประทีป ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ เข้าร่วมประชุมนายกสภามหาวิทยาลัยและอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง (ทปนอ.มทร.) ครั้งที่ 3/2563 และชี้แจงโครงการฝึกอบรมให้กับผู้ต้องขังในเรือนจำ กับโครงการกำลังใจในพระดำริ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา จากการจัดทำโครงการฝึกอบรมของ 6 คณะ โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน เป็นประธานการประชุม ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติ บุญเลิศนิรันดร์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เป็นประธานเปิดโครงการอบรมจรรยาบรรณการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ โดยได้รับเกียรติจาก ดร. ปัทมารัตน์ กุญชร ณ อยุธยา และ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. ชุมพล ผลประมูล จากสถาบันพัฒนาการดำเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ (สพสว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นวิทยากรในครั้งนี้ ณ ห้องประชุมนนทรี ชั้น 8 อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างรุนแรง แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เกี่ยวข้องต้องหาทางออกกันแบบเร่งด่วนในการพัฒนาการท่องเที่ยวให้อยู่รอดจากวิกฤตนี้ให้ได้ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวมิติใหม่ๆ ที่ต้องมีการพัฒนาบุคลากรมารองรับนักท่องเที่ยวในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) จึงได้พัฒนาหลักสูตรปริญญาตรี ด้านการท่องเที่ยวและการบริการเชิงนวัตกรรมขึ้น เพื่อเป็นการท่องเที่ยวหลักสูตรใหม่ๆ ที่รองรับการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ๆ ผศ. ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี เปิดเผยว่า ในฐานะที่ มทร.สุวรรณภูมิ เป็นสถาบันที่ผลิตบัณฑิตด้านวิชาชีพและเทคโนโลยีชั้นสูง จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักสูตรที่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อผลิตคนให้ทันต่อความต้องการของอุตสาหกรรมและประเทศชาติ ซึ่งการให้บริการทางการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่นั้น จะต้องมุ่งเน้นความรู้ในการให้บริการโดยตรงมีความเข้าใจในมาตรการรักษาความปลอดภัยในสุขภาพของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมทั้งการออกแบบการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น และมีองค์ความรู้ในการวิเคราะห์กิจกรรมที่เหมาะ
จากสถานการณ์การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมากทั้งภาคการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs รวมทั้งภาคเกษตร ซึ่งถือว่าเป็นภาคการผลิตที่สำคัญของประเทศ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เล็งเห็นแนวโน้มของประชาชนในเมืองที่มีความสนใจในการกลับมาอยู่ในสังคมชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรเพิ่มขึ้น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ร่วมกับสำนักงานสหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานภาคีเครือข่ายดำเนินโครงการสร้างเครือข่ายลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ขึ้นเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มคนเหล่านั้นได้มีองค์ความรู้ทางด้านเกษตร และมีเครือข่ายการทำงานเพื่อสามารถดำรงชีวิตและพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางสาวนลินี สาระกูล สหกรณ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. กิตติ บุญเลิศนิรันดร์ รองอธิการบดี และคณาจารย์จาก มทร.สุวรรณภูมิ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรท่าเรือ จำกัด ศูนย์ประสานงานสมาคมกรุงเก่า เพื่อการพัฒนาวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คุณอ้วน เจ้าของฟาร์มนาทิพย์เ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ให้การต้อนรับ นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในการตรวจเยี่ยมชมและให้กำลังใจผู้เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการประกอบอาชีพด้านอาหาร เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จัดโดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 15 พระนครศรีอยุธยา ณ ห้องปฏิบัติการ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไพศาล บุรินทร์วัฒนา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เป็นประธานมอบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การนักศึกษา และอุปนายกองค์การนักศึกษาทั้ง 4 ศูนย์พื้นที่ โดยได้บริจาคทุนการศึกษา จำนวน 5 ทุน ทุนละ 10,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท จาก นายชุมา จันทรพิทักษ์ ศิษย์เก่าสาขาการบริหารธุรกิจเกษตร และเคยปฏิบัติหน้าที่อาจารย์คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มทร.สุวรรณภูมิ ณ หอประชุมพระพิรุณระลึกโปรดเกล้า มทร.สุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
ปัจจุบัน การพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 ของกระทรวงพลังงาน มีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่ปรับตัวและแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อเตรียมกำลังคนให้ดำเนินการตามภารกิจของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ดังนั้น สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) เป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงมีแนวทางในการพัฒนาและตอบสนองต่อความต้องการที่จะพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องต่อความต้องการและสภาพสังคมของประเทศ เน้นบทบาททางด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อถ่ายทอดต่อการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาของประเทศ เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพึ่งตนเองด้านเทคโนโลยีได้มากขึ้น สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านวิศวกรไฟฟ้า และมีรายวิชาทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้าที่ทันสมัยกับเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ในขณะนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.
อาจารย์จิระวัฒน์ ใจอ่อนน้อม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (มทร.สุวรรณภูมิ) ศูนย์นนทบุรี พร้อมด้วย นายวัลลภ มานะธัญญา กรรมการ สภามหาวิทยาลัยฯ ผู้ทรงคุณวุฒิ และ นายฐิตินพ พนังวิเชียร นายกสมาคมศิษย์เก่ามทร.สุวรรณภูมิ นนทบุรี มอบชุดถุงยังชีพให้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนบริเวณเขตพื้นที่เทศบาลนครนนทบุรี และนักศึกษา จำนวน 520 ชุด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและแบ่งเบาภาระในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID -19) ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี (เขตใต้)