วว.
นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร. อนันต์ พิริยะภัทรกิจ นักวิจัย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) วว. และคณะ เข้าร่วมการประชุมสรุปการดำเนินงานโครงการมาลัยวิทยสถาน อว. ภายใต้โครงการไม้ดอกไม้ประดับ ซึ่ง วว. ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดำเนินการครบวงจรในการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ ระบบการปลูกเลี้ยงไม้ดอกไม้ประดับตามหลักความพอดีไม่เหลือทิ้ง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพปลอดภัยด้วยต้นทุนที่เหมาะสม มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรปลอดภัย รวมถึงการเพิ่มมูลค่าเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมสุขภาพและความงาม ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการท่องเที่ยวในจังหวัด พร้อมนี้ยังได้มอบถังขยายชีวภัณฑ์ระดับชุมชนและบรรจุภัณฑ์ไม้ดอกไม้ประดับออนไลน์ ผลงานวิจัยพัฒนา วว. ให้แก่ผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดเลยจำนวน 11 ราย โอกาสนี้ นางสาวภูมารินทร์ คงเพียรธรรม นายอำเภอภูเรือ และ นางอารีรัตน์ ศิร
ศ. (วิจัย) ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รศ.ดร. อุดม โพนคำเพ็ง อธิการบดี มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ร่วมลงนามหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) ในข้อตกลงความร่วมมือวิชาการด้านระบบรางระหว่าง วว. และมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว (National University of Lao) โอกาสนี้ ดร. พัชทรา มณีสินธุ์ รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม วว. ดร. อาณัติ หาทรัพย์ ผู้อำนวยการ ศูนย์ทดสอบมาตรฐานระบบขนส่งทางราง (ศทร.) พร้อมด้วยนักวิชาการ ศทร. และเจ้าหน้าที่กองวิเทศสัมพันธ์ (กวส.) วว. คณะผู้บริหาร บุคลากรของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว เข้าร่วมพิธีลงนามดังกล่าว ในการนี้นักวิชาการ ศทร. ได้นำเสนอความเชี่ยวชาญหัวข้อ Finite Element Analysis in railway transportation เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่อาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาวด้วย ในวันที่ 12 กันยายน 2565 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สำหรับแฟนๆ นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้าน หากต้องการนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านรายปักษ์ ส่งตรงถึงบ้าน
ศ. (วิจัย) ดร. ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ต้อนรับ พลเรือเอกปวิตร รุจิเทศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน และคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและประชุมหารือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเกษตรกรรม ได้แก่ 1.จุลินทรีย์ทางการเกษตร เพื่อนำไปใช้ในการเพาะปลูกและกำจัดโรคพืช 2.จุลินทรีย์สำหรับสำหรับบำบัดน้ำเสีย เพื่อนำไปย่อยไขมัน และเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากผักตบชวาและวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อนำไปเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน โอกาสนี้ นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ วว. ดร. ประทีป วงศ์บัณฑิต รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน วว. พร้อมด้วย ผู้บริหาร นักวิจัย ร่วมต้อนรับและประชุมหารือในหัวข้อดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ณ ห้องประชุม RD 1 วว. เทคโนธานี คลองห้า จังหวัดปทุมธานี โอกาสนี้ วว. นำเสนอนิทรรศการผลงานวิจัยพัฒนาด้านการเกษตรที่นำไปใช้งาน ช่วยตอบโจทย์และแก้ปัญห
ดร. ตันติมา กำลัง นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมกับ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดปทุมธานี นำโดย นายธีรเจต มณีโรจน์ หัวหน้าฝ่ายอำนวยการ นางสาวอรุณวดี สว่างดี หัวหน้าส่วนยุทธศาสตร์การเกษตร และ นายธนวัฒน์ พิศดาร นักวิชาการเกษตร จังหวัดปทุมธานี ลงพื้นที่มอบถังขยายชีวภัณฑ์ระดับชุมชน ผลงานวิจัยพัฒนา วว. พร้อมทั้งอบรมการขยายสารชีวภัณฑ์ด้วยถังขยายชีวภัณฑ์ระดับชุมชนผลงานวิจัยพัฒนาของ วว. ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชน “เพราะรักกสิกรรม” จังหวัดปทุมธานี เพื่อผลิตสารชีวภัณฑ์สำหรับใช้ในการทำเกษตรกรรมของกลุ่มและการผลิตจำหน่ายในอนาคต ภายหลังจากที่ทางกลุ่มฯ ได้ร่วมทดลองนำชีวภัณฑ์ไปใช้ในนาข้าวตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาพบว่า การใช้ชีวภัณฑ์สามารถทดแทนสารเคมี ช่วยป้องกันและลดการเกิดโรคพืชในข้าวลดลงได้ โดยถังขยายชีวภัณฑ์ระดับชุมชนมีกำลังการผลิตหัวเชื้อเข้มข้น 150 ลิตร และสามารถเจือจางเตรียมเป็นเชื้อจุลินทรีย์พร้อมใช้งานได้ 1,500 ลิตร ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรจำนวน 30 ไ
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธีเปิดงานการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี พ.ศ. 2565 ระดับประเทศ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) มอบหมายให้ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ โอกาสนี้ นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว) ในฐานะ ผู้แทนกระทรวง อว. เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน “วว. ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP วิสาหกิจชุมชนและเกษตรกร ให้สามารถนำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ไปใช้ในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ดีมีมาตรฐาน สามารถแข่งขันได้ในตลาดทั้งในและต่างประเทศ มุ่งพัฒนาโอท็อปยุคใหม่ โดยเปลี่ยนจากโอท็อปแบบดั้งเดิม มาเป็นโอท็อปที่เน้นการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อสร้างมูลค่าและความแตกต่างให้กับผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นให้ผลิตภัณฑ์สะท้อนถึงความคิดในเชิงภูมิปัญญา การดึงเสน่ห์จากวัฒนธรรมพื้นบ้านมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที
นางสาวรัชนีเพ็ญ เพ็ญสิทธิ์ ผู้อำนวยการ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะผู้แทน วว. เป็นประธานเปิด “โครงการอบรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนในพื้นที่คลองห้า” เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์ของ วว. ที่มีประสิทธิภาพสามารถยืดอายุสินค้า เก็บไว้ได้นาน และปลอดภัยในการขนส่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อชุมชนรอบๆ คลองห้า ทำให้พี่น้องเกษตรกร ผู้ประกอบการในชุมชน ได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพให้ยั่งยืน ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ที่ วว. มุ่งมั่นในการดำเนิินงานความรัับผิิดชอบต่่อสัังคมและสิ่งแวดล้อม (CSR) เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม วว. ภายใต้้มาตรฐาน ISO 26000 โดยคำนึึงถึึงการเติิบโตทางเศรษฐกิิจ สิ่งแวดล้้อมและสัังคม ตลอดจนการนำทรััพยากรธรรมชาติิมาสร้้างคุุณค่่าให้้เกิิดประโยชน์์อย่่างแท้้จริง โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวศรีนวล ทิพาพงษ์ผกาพันธ์ กำนันตำบลคลองห้า นายพิกุล เจนกระบวน ผู้ใหญ่หมู่ที่ 12 ดร.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา จัดกิจกรรม “ปลูกป่า 90 ไร่ 9,000 ต้น” ณ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ป่าสงวนสะแกราชรองรับสภาวะการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืนทรัพยากรธรรมชาติ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งสอดรับการดำเนินงานโครงการ ASEAN Green Initiative และกิจกรรม CSR ของ วว. โดยใช้เทคโนโลยีการเพาะเห็ดไมคอร์ไรซาร่วมกับการปลูกต้นไม้ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช มุ่งสู่การสร้างต้นแบบป่าครัวเรือน เพื่อเป็นแหล่งอาหาร/สร้างรายได้ที่ยั่งยืน ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดงานฯ ว่า กิจกรรม ปลูกป่า 90 ไร่ 9,000 ต้น” ณ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ครั้งนี้ วว. และพันธมิตรร่วมสนองพระราชปณิธาน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ ทรงให้ความสำคัญกับการรัก
นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายสายันต์ ตันพานิช รองผู้ว่าการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นายเรวัตร อารีรอบ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ผศ.ดร. หิรัญ ประสารการ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต และ นายศึกษิต สวรรณดิษฐกุล นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วย “การใช้เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอกไม้ประดับและพืชอัตลักษณ์ของจังหวัดภูเก็ต” โดยมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ปี เพื่อบูรณาการความร่วมมือภาครัฐและเอกชน ในการสนับสนุนส่งเสริมและเสริมสร้างความเข้มแข็ง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ชุมชน และสังคมสู่ความยั่งยืน นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้เป็นประโยชน์ยิ่งต่อการพัฒนาจังหวัดภูเก็ต เป็นการสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์นโยบายการพัฒนาประเทศ มีการนำงานวิจัยและพัฒนาลงพื้นที่ ซึ่งกระทรวง อว. มีนโยบายมุ่งตอบโจทย์ยกระดับภูมิภาค ผ่านก
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดย ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย จัดการฝึกอบรมหลักสูตร “การทดสอบบรรจุภัณฑ์พลาสติก” ในวันที่ 16-17 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทย วว. บางเขน เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ผู้ประกอบการไทยให้แข็งแกร่งด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ในยุค New normal เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 13 สิงหาคม 2565 (รับจำนวนจำกัด 20 ท่านเท่านั้น) เนื้อหาการฝึกอบรมมุ่งเน้นการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุและบรรจุภัณฑ์พลาสติก ได้แก่ ชนิดของพลาสติกบรรจุภัณฑ์ ข้อดีและข้อจำกัดของบรรจุภัณฑ์พลาสติก แนวโน้มการใช้งานบรรจุภัณฑ์ทั่วโลก 2022 เป็นต้น การทดสอบความต้านแรงฉีกขาด การทดสอบอัตราการหดตัว การทดสอบความหนา การทดสอบความต้านแรงทิ่มทะลุ การทดสอบอัตราการซึมผ่านของก๊าซออกซิเจน การทดสอบอัตราการซึมผ่านของไอน้ำ การทดสอบความหนาแน่นของฟิล์มพลาสติก การทดสอบปริมาณออกซิเจน/คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรจุภัณฑ์ การทดสอบสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของฟิล์มพลาสติก การทดสอบความต้านแรงกระแทก การทดสอบความต้า
นายนารถพล บัวอำไพ ผอ.ห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณสมบัติวัสดุและวิเคราะห์ความเสียหาย (หป.สส.) ศูนย์พัฒนาและวิเคราะห์สมบัติของวัสดุ (MPAD) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ ดร. สุเทพ จอยเอกา นักวิชาการ MPAD ร่วมให้การต้อนรับ น.อ. ภาณุพงศ์ ขุมสิน ผอ.กผค. สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือและนายทหารโครงการอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล แบบ MARCUS-B กองทัพเรือ และ นายธนดล ถมยา บริษัท STD composite จำกัด และคณะ ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมและหารือความร่วมมือในการทดสอบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล แบบ MARCUS-B ที่กองทัพเรือได้ทำการวิจัยและจัดสร้างขึ้น ทั้งนี้ วว. โดยโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการทดสอบวัสดุสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนและซ่อมอากาศยาน ภายใต้การดำเนินงานของห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณสมบัติวัสดุและวิเคราะห์ความเสียหาย ในฐานะห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองระบบ AS9100 มีศักยภาพในการเป็นหน่วยวิเคราะห์และทดสอบอากาศยานไร้คนขับ เพื่อตอบสนองความต้องการการผลิตชิ้นส่วนและพัฒนาความร่วมมือในการทดสอบอากา