วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช (วษท.นศ. หรือ NSCAT) ได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาสู่กระบวนการเรียนรู้ของวิทยาลัย โดยจัดการศึกษาเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนรู้ ควบคู่กับการฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะอาชีพพื้นฐาน อาทิ หลักสูตรการเลี้ยงด้วงสาคู เพื่อสร้างรายได้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ด้วงสาคู เป็นแมลงกินได้ที่มีราคาค่อนข้างแพง เป็นที่นิยมบริโภคของคนไทยและต่างประเทศ เพราะมีคุณค่าทางโปรตีนสูง เกษตรกรภาคใต้นิยมเพาะเลี้ยงด้วงสาคู ใน 2 รูปแบบ คือ 1. การเลี้ยงโดยใช้ท่อนสาคูหรือท่อนต้นลานก็ได้ ตัดต้นสาคูเป็นท่อน ยาว 50-60 เซนติเมตร ใช้พ่อแม่พันธุ์ที่แข็งแรง 35 คู่ ปิดทับท่อนสาคูด้วยแผ่นไม้ หรือแผ่นปูน รดน้ำ ที่ท่อนพันธุ์ให้หมาดๆ และ 2. การเลี้ยงด้วงสาคู ในกะละมัง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40-50 เซนติเมตร ลึก 20 เซนติเมตร มีฝาหรือตาข่ายปิดกะละมังป้องกันพ่อแม่พันธุ์ด้วงหนี อาหารที่ใช้คือ นำสาคูบดผสมอาหารสัตว์เล็กน้อย วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครศรีธรรมราช ส่งเสริมการเลี้ยงด้วงสาคูในกะละมัง อย่าง
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีกำแพงเพชร (วษท.กำแพงเพชร) แนะนำเคล็ดลับการทำ ปุ๋ยโบกาฉิ ซึ่งผู้คิดค้นคนแรกคือ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิหงะ คำว่า โบกาฉิ (Bokashi) ในภาษาญี่ปุ่นแปลว่า การหมัก (Compost) การทำปุ๋ยโบกาฉิ เป็นการทำปุ๋ยหมักด้วยอินทรียวัตถุ ที่หมักด้วยจุลินทรีย์ EM มาประยุกต์ใช้โดยผ่านกระบวนการหมักแบบแห้ง มีการผสมกากน้ำตาลเข้าไปเพื่อช่วยในกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ ก่อนจะหมักด้วยวัตถุดิบตามสูตรจนได้ที่และนำไปใช้ให้เกิดผลดีในการปรับสภาพโครงสร้างดินให้ร่วนซุยและมีคุณภาพในการเพาะปลูกพืช การทำปุ๋ยโบกาฉิ การทำปุ๋ยโบกาฉิ มีขั้นตอนการทำที่ไม่ยุ่งยาก เริ่มจากเตรียม วัสดุ อุปกรณ์สำคัญ ได้แก่ มูลสัตว์ แกลบดิบ รำละเอียด จุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล น้ำสะอาด วิธีทำ ขั้นที่ 1. เตรียมจุลินทรีย์ EM กากน้ำตาล ใส่ลงน้ำในถังที่เตรียมไว้ ขั้นที่ 2. นำมูลสัตว์ และรำละเอียดผสมให้เข้ากัน ขั้นที่ 3. นำแกลบดิบใส่ลงในน้ำที่ขยายจุลินทรีย์ในขั้นที่ 1 จุ่มให้เปียกพอหมาดๆ นำมาคลุกกับส่วนผสมอื่นๆ ให้เข้ากัน ความชื้นประมาณ 40-50% (กำแล้ว ไม่มีน้ำหยดจากง่ามมือ) ขั้นตอนการหมัก นำส่วนผสมทั้งหมดบรรจุลงในกระสอบป่าน ถุงปุ๋ย ที่อาก
เมืองไทยอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชผักนานาชนิด โดยเฉพาะผักพื้นบ้านที่ปลูกไว้ตามรั้ว ริมสระน้ำ หรือในสวนครัวหลังบ้าน ผักพื้นบ้านเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมากทีเดียว ยกตัวอย่างเช่น ผักโขม หรือ ผักขม หรือ ผักโหม เป็นผักที่มีรสขมเล็กน้อย เหมาะสำหรับคนที่มีธาตุน้ำเป็นเจ้าเรือน นำมาปรุงอาหารเมนู ต้ม ผัด แกง ทอด ผักโขมมีสารวิตามินเอสูง มีสรรพคุณทางยา ใบใช้รักษาแผลพุพอง รากปรุงเป็นยาช่วยดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้เสมหะ ตำลึง ใบตำลึงและยอดอ่อนตำลึงมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีทั้งใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ และวิตามินซี การรับประทานเป็นอาหาร ช่วยเสริมให้ผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ผักเหมียง หรือ ผักเหลียง เป็นผักที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ มีสารเบตาแคโรทีนสูง มีสรรพคุณทางยา ช่วยบำรุงร่างกาย เส้นเอ็น กระดูก และสายตา ยอดอ่อนมันเทศ สมาคมเภสัชและอายุรเวชโบราณแห่งประเทศไทย ระบุว่าใบมันเทศช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แก้ผื่นคัน ลดระดับน้ำตาล บำรุงผิวและชะลอวัย นิยมนำมาทำอาหารโดยลวกกินกับน้ำพริก ผัดไฟแดง แกงส้ม ฯลฯ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ผักแผ่น เนื่องจา
มะพร้าว ถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญของจังหวัดชุมพร ปลูกกันมากในเขตอำเภอเมืองชุมพร สวี และหลังสวน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร (วษท.ชพ.) เล็งเห็นถึงความสำคัญของมะพร้าวและมีพื้นที่ในการปลูกมะพร้าวส่วนหนึ่งและมีผลผลิตจำหน่ายตามท้องตลาดและชุมชนโดยอยู่ภายใต้การดูแลของแผนกวิชาพืชศาสตร์ และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของแผนกวิชาอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร เกิดแรงบันดาลใจที่จะยกระดับมะพร้าวเพื่อเพิ่มทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค และเพิ่มมูลค่าของมะพร้าวในรูปผลิตภัณฑ์ แยมมะพร้าว “Hello CoConut Jam” เป็นสินค้าทางเลือกสำหรับคนรักสุขภาพ ชาววีแกน ชาวมังสวิรัติสามารถรับประทานได้ นำแยมมะพร้าวไปทากับขนมปัง หรือชงกับกาแฟก็หอมอร่อย ขั้นตอนการทำแยมมะพร้าว การเตรียมส่วนผสมของแยมมะพร้าว ประกอบด้วย 1. มะพร้าวหั่นหยาบ 2. มะพร้าวหั่นฝอย 3. น้ำมะพร้าว 4. น้ำตาลทราย 5. น้ำมะนาว 6. เกลือ 7. แบะแซ 8. เกลือ วิธีทำ 1. นำเนื้อมะพร้าวหั่นหยาบปั่นกับน้ำมะพร้าวจนละเอียด 2. นำส่วนผสมเทใส่ ตั้งไฟกวน 3. กวนจนส่วนผสมเข้ากัน ระวังก้นหม้อไหม้ 4. นำบรรจุภัณฑ์ไปลวกฆ่าเชื้อ 5. นำแยมใส่บรรจุภัณฑ์ นึ่งฆ่าเชื้ออีกรอบ แ
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ นำเสนอนวัตกรรมชุด “ปักชำพืช” (Media cutting plant) ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากการประยุกต์ใช้เทคนิควิธีการคล้ายกับการผลิตเมล็ดเทียม ที่มีส่วนประกอบเลียนแบบเมล็ดพืชจากธรรมชาติ สามารถเติมสารอาหาร สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืชในกลุ่มออกซิน ได้แก่ NAA หรือเติมสารเคมีชนิดอื่นๆ เช่น ฮิวมิก สารกำจัดเชื้อรา หรือจุลินทรีย์ที่ช่วยสนับสนุนการเจริญของพืชเข้าไปเป็นส่วนประกอบ นวัตกรรมชุด “ปักชำพืช” (Media cutting plant) มีส่วนประกอบจากสาร NAA สารฮิวมิก ปุ๋ยสูตร 10-50-15 สารป้องกันเชื้อรา ผลงานชิ้นนี้ สามารถเก็บรักษาในอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส ไม่ควรโดนแสงแดดจัดและอุณหภูมิสูง อายุการเก็บรักษานาน 60 วัน คุณสมบัติเด่นของนวัตกรรมชุด “ปักชำพืช” คือ สามารถเร่งการออกราก 20-25 วัน ป้องกันความเสียหายของราก ช่วยลดระยะเวลาการย้ายปลูก เหมาะกับพืชที่ออกรากได้ยาก สามารถปฏิบัติได้สะดวกง่ายต่อการใช้งาน วิธีการใช้งาน 1. นำฟองน้ำแช่น้ำและนวดให้ชุ่มน้ำ 2. เติมน้ำในกล่องเลยหลุมเพาะเล็กน้อย จากนั้นนำฟองน้ำมาเรียงในหลุม ทั้งหมด 12 หลุม 3. นำยอดกิ่งพันธุ์ดีปักลงในมีเดียปักชำ แล้วนำไปเรียงบนฟอ
แตงกวา เป็นพืชใช้น้ำน้อย อายุสั้น ให้ผลตอบแทนเร็ว ใช้เวลาเพียง 30-45 วัน เก็บผลผลิตได้นาน 30-60 วัน แตงกวาเป็นพืชเศรษฐกิจ ตระกูลเดียวกับแตงโม ฟักทอง บวบ มะระ น้ำเต้า สามารถปลูกแพร่หลายได้ทั่วประเทศ และใช้เป็นวัตถุดิบทำอาหารได้หลากหลายรูปแบบ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี แนะนำเทคนิคการปลูกแตงกวาสร้างรายได้ ดังต่อไปนี้ ขั้นตอนการปลูกแตงกวา เริ่มจาก ไถพรวนเตรียมดิน 2 ครั้ง วัดระยะห่าง 1 เมตร และ 2 เมตร สับกัน ไถร่องยาว 20 เมตร หรือ 40 เมตร ใส่ปุ๋ยขี้ไก่ 1 กระสอบ และปุ๋ยสูตร 15-15-15 จำนวน 1 กิโลกรัม โรยตามร่องยาว 20 เมตร (20 กิโลกรัมต่อไร่) และไถกลบซ้ายไปขวา จากนั้น วางสายระบบน้ำหยดและคลุมแปลงด้วยพลาสติกดำ ให้วางด้านสะท้อนแสงขึ้นด้านบน และวัดระยะหลุมปลูกแถวเดียวห่างกัน 40 เซนติเมตร และเจาะรูพลาสติกขนาดกระป๋องนม จากนั้น หยอดเมล็ดพันธุ์แตงกวาที่ผ่านการแช่และคลุกยาแล้วหลุมละ 1 เมล็ด (150 เมล็ดต่อไร่) ทำค้างเพื่อให้เถาแตงกวาเลื้อย สามารถดัดแปลงใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เช่น ต้นอ้อ ต้นพง กิ่งไม้ ใช้เชือกขึงตามแนวนอนทุกๆ 25-30 เซนติเมตร โดยทั่วไปนิยมใช้ค้างรูปสามเหลี่ยม วิธีเต
นายไวพจน์ หามาลา ผู้จัดการฝ่ายบริการลูกค้า บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด พร้อมด้วย นายชาติวุฑ พลเพชร ผู้จัดการอาวุโส – ศูนย์อบรมสยามคูโบต้า ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ทางวิชาการ กับ นายวิทยา พลศรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ และ นายสุเทพ สระจันทร์ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด เพื่อประสานความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาเพิ่มโอกาสในการศึกษาด้านวิชาชีพ และร่วมบูรณาการในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา พัฒนากำลังคน ตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและความต้องการของวิทยาลัย ผ่านการวางเป้าหมายในการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมการใช้และการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรให้กับครู นักเรียน และนักศึกษา โดยมีคณะผู้บริหารจากสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด เข้าร่วมลงนาม ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ เมื่อเร็วๆ นี้
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร เป็นสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ชื่อเดิมว่า “โรงเรียนเกษตรกรรมแผนใหม่ชุมพร” ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2505 บนเนื้อที่ 2,431 ไร่ 1 งาน 30.7 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 8 ถนนเพชรเกษม ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร เนื่องด้วย เป็นสถานศึกษาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการเกษตรและเทคโนโลยี จึงให้รายละเอียดเรื่องของสภาพพื้นที่ไว้ ดังนี้ สภาพพื้นดินเป็นดินร่วนปนทราย ชนิด chumphon series มีค่า pH 4.8-6.5 เฉลี่ย 5.65 มีปริมาณน้ำฝนตกทั้งปี ประมาณ 2,000 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ย 27 องศาเซลเซียส สภาพอากาศทั่วไปร้อนชื้น ความชื้นเฉลี่ย 82 เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ในการทำฟาร์ม ประมาณ 1,778 ไร่ เป็นที่พักอาศัยและอาคารสถานปฏิบัติการสอนประมาณ 498 ไร่ และเป็นพื้นที่สงวนเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ ประมาณ 155 ไร่ แหล่งน้ำที่ใช้บริโภค ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากคลองเพรา น้ำประปา น้ำฝน และน้ำดื่มบรรจุขวด สำหรับน้ำใช้ในฟาร์ม ส่วนหนึ่งได้จากคลองเพรา และบางส่วนได้จากอ่างเก็บน้ำภายในสถานศึกษา ปัจจุบัน มี ว่าที่ร้อยตรีนิพนธ์ ภู่พลับ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยก
วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง นำไก่ 2 สายพันธุ์ชื่อดัง ทั้งไก่เบตง ซึ่งเป็นไก่ที่ขึ้นชื่อเรื่องรสชาติและความอร่อย ของดีของจังหวัดยะลา มาผสมกับไก่พื้นบ้าน เมืองตรัง กลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ชื่อว่า “เบตรัง” โดยหลังทดลองเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ปรากฏว่า ไก่สายพันธุ์ใหม่นี้โตเร็ว ทนทานต่อโรค มีเนื้อแน่น แต่นุ่ม แถมยังรสชาติอร่อยเหมือนไก่เบตง สำหรับการผสมข้ามสายพันธุ์ดังกล่าว เพื่อนำข้อดีของไก่เบตงกับไก่พื้นเมืองตรังมารวมกัน นั่นคือ ได้ขนาดตัวที่ใหญ่ของไก่เบตง และได้ความแข็งแรงของไก่พื้นเมือง ทำให้ไก่สายพันธุ์ใหม่นี้เลี้ยงง่าย เพราะกินทุกอย่างเหมือนไก่พื้นเมือง เช่น ผัก หญ้า ข้าว เพียงแต่เกษตรกรควรให้อาหารเสริมไปบ้าง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเนื้อและไข่ เนื่องจากไก่เบตรังสามารถออกไข่ได้เหมือนกับไก่ปกติ จึงทำให้ได้ทั้งไก่เนื้อ และไก่ไข่ในตัวเดียวกัน โดยหลังประสบความสำเร็จในปี 2559 ทางวิทยาลัยจึงเริ่มฟักไข่ไก่สายพันธุ์นี้ เพื่อจำหน่ายให้เกษตรกรได้นำไปทดลองเลี้ยง มีตั้งแต่ลูกไก่อายุ 1 วัน น้ำหนักประมาณ 40 กรัม ราคาตัวละ 15 บาท, อายุ 7 วัน ตัวละ 20 บาท, อายุ 1 เดือน ตัวละ 50 บาท และอายุ 3 เดือน ตัวล
นายวิทยา พลศรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า โรงงานแปรรูปนมของวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยในระยะเริ่มต้นมีกำลังการผลิต 200 ลิตร ต่อชั่วโมง ต่อมาได้มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้เพิ่มขึ้นเป็น 1,500 ลิตร ต่อชั่วโมง โรงงานแปรรูปนม เริ่มแรกจัดตั้งขึ้นเพื่อรับน้ำนมดิบในโครงการน้ำพระทัยจากในหลวงรัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นโครงการอีสานเขียว เพราะในสมัยนั้น จังหวัดบุรีรัมย์ได้รับการส่งเสริมให้เลี้ยงโคนม พอเลี้ยงแล้ว ไม่มีที่จำหน่ายน้ำนมดิบ จึงได้จัดตั้งให้เป็นโรงงานแปรรูปนม เพื่อรับน้ำนมดิบจากเกษตรกรมาจำหน่าย ต่อมา ปี 2535 เกิดโครงการนมโรงเรียนของรัฐบาล จึงเข้าร่วมโครงการนมโรงเรียนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ผู้อำนวยการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรงงานแปรรูปนม ยังจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนในสาขาวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งเป็นสถานที่ฝึกอบรมวิชาชีพของนักศึกษาจากสถาบันอื่นด้วย และเป็นสถานที่ในการอบรมและศึกษาดูงานของนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคคลภายนอกที่สนใจ และเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม รวมทั้งเป็นแหล่งรองรับน้ำนมดิบของเกษตรกร เพื่อผลิตน