ศัตรูพืช
กรมส่งเสริมการเกษตร ออกเตือนนาข้าวนอกพื้นที่น้ำท่วม เฝ้าระวังแมลงดำหนามข้าวระบาด เกษตรกรสามารถสอบถามหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอใกล้บ้าน วันที่ 16 ตุลาคม 2567 รายงานข่าวกรมส่งเสริมการเกษตร ระบุกรมได้แจ้งเตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เฝ้าระวังแมลงดำหนามข้าว ที่อาจเข้าทำลายนาข้าวจนได้รับความเสียหาย แม้ว่าขณะนี้หลายพื้นที่การเกษตรกำลังเผชิญกับผลกระทบจากอุทกภัย แต่ยังคงมีบางพื้นที่ไม่ได้อยู่ในเขตประสบภัยพิบัติ เนื่องจากประเทศไทยเคยเผชิญกับสถานการณ์การระบาดของแมลงดำหนามข้าวในปี 2565 จึงได้เฝ้าระวังและย้ำเตือนให้เกษตรกรติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้เป็นระยะใกล้เก็บเกี่ยวข้าวตามฤดูกาล “ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ” ซึ่งเป็นช่วงท้ายของการปลูกข้าวนาปี ขณะนี้เริ่มสำรวจพบแมลงดำหนามข้าวแล้ว แต่ยังไม่รุนแรงในระดับการระบาด ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันกำจัดไม่ให้เกิดการระบาดรุนแรง ลักษณะการทำลาย แมลงดำหนามข้าว เป็นด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง ตัวหนอนมีลักษณะลำตัวแบนสีขาว ส่วนตัวเต็มวัยมีสีดำ ลำตัวยาวประมาณ 5-6 มิลลิเมตร เพศเมีย
ลำไย เป็นหนึ่งในไม้ผลทำเงินที่ขายดีในยุคนี้ ต้นลำไยมักให้ผลผลิตในช่วงฤดู ตั้งแต่เดือน มิถุนายน – กันยายนของทุกปี แต่ลำไยรุ่นนี้ มักเสี่ยงเจอปัญหาผลผลิตล้นตลาดและขายในราคาถูก หากใครอยากขายลำไยได้ราคาสูง ต้องผลิตลำไยนอกฤดู ออกขายในช่วงเทศกาลตรุษจีน เพราะตลาดมีปริมาณความต้องการสูง มีโอกาสขายทำกำไรได้ก้อนโต เนื่องจากลำไย เป็นผลไม้มงคลที่คนจีนนิยมใช้เซ่นไหว้เจ้าและไหว้บรรพบุรุษในช่วงเทศกาลตรุษจีนนั่นเอง การทำลำไยนอกฤดู แต่ละรอบ ต้องใช้เวลาวางแผนการผลิตล่วงหน้ากันข้ามปี โดย 4-5 เดือนแรก ต้องเตรียมตัวดูแลตัดแต่งกิ่งบำรุงต้น หลังจากราดสารจนถึงช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต ต้องใช้เวลาดูแลอีก7 เดือนเต็ม ซึ่งช่วงเวลาปีเศษ ในการเฝ้าบำรุงรักษาลำไยนอกฤดู ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะหากสวนลำไยเจอโรคแมลงรบกวน ผลผลิตเสียหาย เสี่ยงกับการขาดทุนได้ ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกลำไยจึงควรเรียนรู้โรค-แมลงศัตรูพืชสำคัญในสวนลำไย รวมทั้งแนวทางป้องกัน เพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาขาดทุนในอนาคต แมลงค่อมทอง แมลงค่อมทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypomeces squamosus Fab. มักเข้าทำลายกัดกินใบอ่อนและดอกลำไย ทำให้ต้นลำไยเ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักในการเกษตร แมลงหวี่ขาวข้าว (Rice Whitefly) เป็นหนึ่งในศัตรูพืชที่สำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิตข้าวอย่างมาก โดยเฉพาะในภาคกลางของประเทศไทยที่มีการปลูกข้าวมากที่สุด ในช่วงเดือนมิถุนายน 2567 พบรายงานการระบาดของแมลงหวี่ขาวข้าวในนาข้าวเป็นครั้งแรกในพื้นที่นาชลประทานภาคกลาง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดสุพรรณบุรี โดยพบในข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1, กข87, กข41 และพันธุ์ข้าวที่ไม่ได้รับรองจากกรมการข้าว (5451) ซึ่งแมลงหวี่ขาวข้าวนั้นมีวงจรชีวิตที่สั้นและแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว ทำให้การระบาดของนั้นเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางและยากที่จะควบคุม เกษตรกรจะรับมืออย่างไร? คุณณฎล สว่างญาติ หรือ ก้อง ประธานศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลช้างใหญ่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เผยว่า โดยปกติแล้วการทำเกษตรที่ไม่ใช่เกษตรอินทรีย์ 100% การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชนั้นจะใช้ทั้งสารชีวภัณฑ์และสารเคมีร่วมกัน ซึ่งหากเราเน้นที่กระบวนการ “ป้องกัน” มีการใช้สารชีวภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอมาตั้งแต่ต้น จะช่วยให้ลดปัญหาศัตรูพืชได้ในระดับหนึ่งและลดปริมาณการใช้สารเคมีได้มาก แต่โดยมากเกษตรกรไม่
นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ศัตรูพืชในฤดูแล้งของพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยที่เกษตรกรควรเฝ้าระวัง ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ทุเรียน มังคุด และเงาะ เนื่องจากเป็นช่วงที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตและแพร่กระจายของศัตรูพืชสำคัญหลายชนิด หากศัตรูพืชเข้าทำลายแปลงเพาะปลูกอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณรวมถึงคุณภาพของผลผลิตได้ โดยข้อควรปฏิบัติหลักในการเพาะปลูกพืชทุกชนิดคือ เกษตรกรจะต้องคำนึงถึงการเตรียมแปลงปลูกที่สะอาดปลอดภัย มีการพรวนดินกำจัดศัตรูพืช คัดเลือกเมล็ดและต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ มีการเตรียมการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น การแช่เมล็ดในสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชก่อนปลูก การอนุรักษ์แมลงศัตรูธรรมชาติต่างๆ รวมทั้งเมื่อเพาะปลูกแล้วควรหมั่นสำรวจแปลงปลูกอยู่เสมอ เพื่อป้องกันและควบคุมกำจัดศัตรูพืชได้อย่างเท่าทันต่อสถานการณ์ มันสำปะหลัง ในปัจจุบันตลาดยังมีความต้องการผลผลิตในปริมาณมาก การเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิตมันสำปะหลังไทยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ศัตรูพืชที่ควรเฝ้าระวังในฤดูแล้ง ได้แก่ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง หากเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงต้นอ่อนยอดจะงอหงิกเป็นพุ่ม ลำต้นบิดเ
หนอนชนิดนี้ นอกจากข้าวโพดที่มันชอบมากแล้ว มันยังสามารถเข้าโจมตี พืชได้อีกกว่า 80 ชนิด ได้แก่ ข้าว อ้อย พืชตระกูลผักทั้งหมด ไม้ดอกไม้ประดับ และปักหลักแพร่ระบาดแล้วเกือบทั่วประเทศ ในวงการผู้ปลูกข้าวโพด ณ ขณะนี้ไม่มีเรื่องไหน จะฮ็อตเท่าเรื่อง หนอนกระทู้ระบาดอีกแล้ว และไม่ใช่ว่าเฉพาะเกษตรกรชาวไทย แต่เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเกือบครึ่งโลก เพราะหนอนตัวนี้ เดิมทีเป็นหนอนเฉพาะถิ่นทวีปอเมริกา แต่ปัจจุบัน ระบาดลามไปทั่ว เริ่มที่แอฟริกา เข้ามาเอเชีย อินเดีย พม่า ไทย ส่วนทางยุโรปก็มีพบ แต่ไม่มาก เพราะทางยุโรปมีอากาศหนาวและมีเทคโนโลยีการจัดการที่ดี แมลงศัตรูพืชตัวนี้เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืน ชื่อหนอนกระทู้ ฟอลล์ อาร์มีวอร์ม (fall armyworm) เรียกย่อๆ ว่า FAW เนื่องจากหนอนตัวนี้เป็นแมลงศัตรูพืชสำคัญที่เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย ตอนแรกจึงเรียกทับศัพท์ว่า “หนอนกระทู้ ฟอลล์ อาร์มีวอร์ม” (fall armyworm) ล่าสุดเพิ่งมีการตั้งชื่อสามัญภาษาไทยว่า “หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด” และเหตุที่เรียกว่าอาร์มี หรือที่แปลว่า กองทัพ นั่นก็คือเป็นเพราะว่าช่วงการระบาดหนักของหนอน มันเดินไปเป็นกองทัพ บุกหน้ากระดานมาจำนวนมห
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมปลูกส้มเขียวหวานไว้ในวงบ่อซีเมนต์ ที่สวนหลังบ้าน เพื่อบริโภคในครอบครัว ระยะแรกก็เติบโตดีเป็นปกติ แต่พออายุมากขึ้น ปีที่ 2-3 เกิดอาการใบเหลืองซีด ต้นทรุดโทรม ผลร่วงก่อนเวลา ไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร และมีวิธีแก้ไขอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง อนุสรณ์ วัฒนมงคล อุตรดิตถ์ ตอบ คุณอนุสรณ์ วัฒนมงคล อาการที่คุณอนุสรณ์ เล่ามา เป็นอาการของโรคกรีนนิ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีอาการคล้ายกับโรคทริสเตซ่า ที่เกิดจาเชื้อไวรัส เพื่อป้องกันการสับสนมาดูรายละเอียดกันต่อไปนี้ โรคกรีนนิ่ง เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปอาศัยดูดกินน้ำเลี้ยง และทำลายท่อน้ำ ท่ออาหาร ของต้นส้มที่คุณปลูกไว้ เมื่อท่อน้ำ ท่ออาหาร ถูกทำลาย การลำเลียงอาหารจึงเกิดขึ้นไม่ได้ ต่อมาแสดงอาการที่ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซีด คล้ายอาการขาดธาตุสังกะสี แต่เส้นใบยังคงมีสีเขียวเป็นปกติ บางครั้งเส้นใบอาจปริแตก ระบบรากฝอยถูกทำลาย ต่อมาผลหลุดร่วงก่อนเวลา ทั้งนี้ การแพร่กระจายของโรคเกิดจากเพลี้ยไก่แจ้ เป็นแมลงพาหะนำโรค หรือเชื้อโรคติดมากับกิ่งพันธุ์ การระบาดรุนแรง เกิดขึ้นในระยะแตกใบอ่อน วิธีป้องกัน
กรมวิชาการเกษตร ส่งสัญญาณเฝ้าระวังหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศ ชี้ติดอันดับศัตรูพืชรุกรานร้ายแรงระดับโลก ชี้เป้าโฉบเข้าประเทศเพื่อนบ้านของไทยแล้ว สั่งด่านตรวจพืชชายแดนเข้มงวดตรวจสอบหวั่นเล็ดลอดติดเข้ามากับผลผลิต พร้อมสร้างการรับรู้ทุกภาคส่วนร่วมสกัดศัตรูพืชรุกรานเข้าประเทศ นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ได้รับรายงานว่าหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศซึ่งเป็นศัตรูพืชที่มีความร้ายแรงระดับโลก เนื่องจากสามารถทำลายและสร้างความเสียหายต่อพืชเศรษฐกิจหลายชนิดได้แพร่ระบาดเข้ามาแถวประเทศเพื่อนบ้านของไทยแล้ว จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่จากสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร สร้างการรับรู้และเฝ้าระวังการระบาดของหนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศให้แก่เกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันมิให้แมลงศัตรูพืชต่างถิ่นดังกล่าวเข้ามาแพร่ระบาดสร้างความเสียหายให้กับพืชเศรษฐกิจในประเทศไทย หนอนผีเสื้อชอนใบมะเขือเทศมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศเปรู ต่อมาพบการระบาดและสร้างความเสียหายอย่างมากในแหล่งปลูกมะเขือเทศหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ รวมทั้งหลายพื้นที่ของทวีปยุโรป สำหรับในทวีปเอเชี
กรมส่งเสริมการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น พืชตระกูลข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ข้าว และผัก ให้เฝ้าระวังการระบาดของหนอนศัตรูพืช Fall Armyworm นายสำราญ สาราบรรณ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร รักษาราชการแทนอธิบดี กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ขณะนี้พบหนอนศัตรูพืช Fall Armyworm กำลังแพร่ระบาดอย่างมากในทวีปแอฟริกาและกำลังแพร่ระบาดไปประเทศเยเมนและอินเดีย โดยประเทศสมาชิกได้เรียกร้องให้องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เร่งให้ความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ซึ่งหนอนศัตรูพืชชนิดนี้ เคยสร้างความเสียหายอย่างมากในพื้นที่เกษตรของสหรัฐอเมริกาและอเมริกาใต้ สำหรับหนอนศัตรูพืช Fall Armyworm (FAW) ที่พบการระบาดมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Spodoptera frugiperda เป็นหนอนศัตรูทำลายพืชเศรษฐกิจกว่า 80 ชนิด เช่น พืชตระกูลข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย ข้าว และผัก ที่สร้างความเสียหายมาก ในระยะหนอนกัดกินใบ สามารถแพร่กระจายทางอากาศได้อย่างรวดเร็ว จึงมีโอกาสแพร่เข้ามาระบาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ดังนั้น กรมส่งเสริมการเกษตรจึงสั่งการให้สำ
นายสมศักดิ์ วรรณศิริ ผู้อำนวยการกลุ่มจัดการศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว กรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ศัตรูพืชที่สำคัญของไม้ผลมีหลายชนิด ด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นเป็นหนึ่งในแมลงศัตรูที่สำคัญในไม้ผล เนื่องจากด้วงหนวดยาวเจาะลำต้นหรือด้วงบ่าหนามจุดนูนดำ เป็นด้วงหนวดยาวที่พบเจาะกินในกิ่งและลำต้นไม้ผลและไม้ยืนต้นมากกว่า 50 ชนิด เช่น ทุเรียน มะม่วง อะโวกาโด มะม่วงหิมพานต์ หม่อน ยางพารา และต้นไม้บอนไซในสกุลไทร เป็นต้น การระบาดของแมลงชนิดนี้เกษตรกรจะไม่ทราบ เนื่องจากหนอนด้วงหนวดยาวทำลายอยู่ภายใต้เปลือกของลำต้นที่ไม่สามารถสังเกตเห็นจากภายนอกได้ ตัวหนอนมีหัวสีน้ำตาล ลำตัวสีขาว ยาวไม่มีขา ตัวเต็มวัยมีหนามแหลมอยู่ที่ด้านข้างของอกและที่ไหล่ ปีกแข็งคู่หน้ามีจุดสีเหลืองและแดงกระจายบนปีก มีจุดนูนดำอยู่ที่ฐานปีก หนอนเข้าดักแด้ในลำต้น มีช่วงอายุ 1 ปี และออกเป็นตัวเต็มวัยในช่วงฤดูฝนราวเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม เพื่อผสมพันธุ์และวางไข่ต่อไป ลักษณะการทำลายตัวเมียวางไข่ในเวลากลางคืนโดยบินมาเกาะและไต่หาตำแหน่งที่เหมาะสมตามลำต้นและกิ่งขนาดใหญ่ ตัวหนอนจะกัดกินชอนไชไปตามเปลือกไม้ด้านใน หรืออาจกัดควั่นเปลือกรอบต้น ขณะหนอนย
เมื่อถึงฤดูฝนเราคงอดกังวลไม่ได้ที่หอยทากที่จะบุกมาถึงสวนของเรา ฤดูฝนเป็นช่วงเวลาของการเจริญเติบโตที่เหมาะสมของหอยทาก เนื่องจากสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ตามธรรมชาติหอยทากจะวางไข่ตามซากใบไม้ ขอนไม้ผุพัง รวมถึงบริเวณใต้ดินร่วนซุย การกำจัดหอยทากจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปหากเรามีวิธีกำจัดที่ถูกต้อง และสามารถทำได้ง่ายๆ ในทุกครัวเรือนด้วยวิธีออร์แกนิก เก็บไปโยนทิ้ง เป็นวิธีเบสิกที่ทำได้ง่ายแต่ต้องอาศัยแรงขยันคือการเก็บหอยทากทิ้งให้ไกลจากสวน โดยเลือกเก็บช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นจะเป็นเวลาที่หอยทากจะออกหากินและปรากฏตัวให้เห็นได้ชัด หลังจากเก็บทิ้งแล้วควรเก็บซากใบไม้ เพื่อป้องกันการวางไข่ซ้ำ 2. ใช้เปลือกไข่ ตากแห้ง แล้วบดให้เป็นชิ้นละเอียดโรยรอบๆ แปลงปลูกต้นไม้ ผิวของเปลือกไข่จะทำให้หอยทากรู้สึกระคายเคืองเนื่องจากผิวของหอยทากมีความบางมาก 3. เกลือ นอกจากผิวหอยทากจะบางแล้ว ยังไม่ชอบความความเค็มอีกด้วย เกลือจึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่สามรถกำจัดหอยทากที่ได้ผลเสมอ โรยเกลือรอบๆ ต้นไม้ ระวังอย่าให้โดนรากไม่เช่นนั้นต้นไม้อาจจะตายได้ 4. กระเทียม กลิ่นของกระเทียมที่มีธาตุกำมะถัน สามารถไล่สัตว์และแมลงได้หลายชนิด ร