สถานการณ์น้ำ
3 รัฐมนตรีเกษตรฯ ยกทีมลงพื้นที่ดูสถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ เตรียมใช้ระบบการชะลอสูบน้ำเพื่อยืดระยะเวลาน้ำใช้การเหลือนานขึ้น แก้วิกฤติน้ำไม่ไหลลงเขื่อน พร้อมเตรียมหารือนายกฯระดม 3 เหล่าทัพ ร่วมแก้ปัญหาภัยแล้ง นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในเขื่อน ณ เขื่อนภูมิพล ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก และเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เพื่อรับฟังรายงานสถานการณ์น้ำจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมฝนหลวง และการบินเกษตรและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมรับฟังปัญหาของเกษตรกรเพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขต่อไป จากนั้นลงพื้นที่ดูสภาพน้ำและปริมาณน้ำในเขื่อน นายประภัตร กล่าวว่า การลงพื้นที่ในวันนี้เพื่อรับฟังสถานการณ์น้ำและร่วมกันกับทุกภาคส่วนหาแนวทางแก้ไขปัญหาจากที่รับฟังรายงาน พบว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนทั้งสองอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งยังน่าเป็นห่วงโดยน้ำในเขื่อนภูมิพลขณะนี้ เหลือน้
กรมส่งเสริมการเกษตรเตรียม 3 มาตรการรองรับป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ผ่านพ้นวิกฤติ ปี 2562 นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คาดการณ์ว่า ฤดูร้อนปีนี้จะมาเร็วและนานมากกว่าทุกปี ซึ่งอาจยาวนานไปจนถึงราวเดือนพฤษภาคม 2562 โดยฤดูร้อนปีนี้จะมีอุณหภูมิร้อนกว่าปี 2561 มากกว่าค่าปกติราว 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำในเขื่อนที่ลดน้อยลง ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตรได้ให้ความสำคัญในการเตรียมรับมือกับปัญหาภัยแล้ง ในปี 2562 โดยกำหนดมาตรการเพื่อช่วยบรรเทาและลดผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นต่อพื้นที่การเกษตร ไว้ 3 ด้าน ดังนี้ การเตรียมความพร้อม เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัย เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและแจ้งเตือนภัยให้เกษตรกรทราบ รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรด้านพืชให้เป็นปัจจุบัน พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรออกเยี่ยมเยียนให้คำแนะนำด้านวิชาการแก่เกษตรกรในการดูแลรักษาต้นพืช ตัดแต่งกิ่งที่ไม่จำเป็น ใส่ปุ๋ยอินทรีย์คลุมโคนต้นด้วยหญ้าแห้ง ฟางข้าว การจัดทำระบบน้ำในสวนไม้ผล และเตรี
กรมชลประทาน ใช้มาตรการเสริมเร่งระบายน้ำจากเขื่อนแก่งกระจานออกสู่ทะเลให้เร็วขึ้น ส่วนแม่น้ำน่านจากจ.น่าน จะไหลลงสู่เขื่อนสิริกิติ์ทั้งหมด คาดว่าจะมากกว่า 300 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่เขื่อนน้ำอูน ระดับน้ำในเขื่อนเริ่มลดลงแล้ว ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำที่เกิดจากฝนตกหนักในระยะนี้ว่า ที่เขื่อนแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี สถานการณ์ปัจจุบัน(18 ส.ค. 61) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ 751 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 106 ของความจุอ่างฯ มีน้ำไหลลงอ่างฯวันละ 32 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำล้นทางระบายน้ำล้น(Spillway) 0.91 เมตร ได้เร่งระบายน้ำผ่านช่องทางปกติ และกาลักน้ำที่ติดตั้งไว้ทั้งหมด 22 ชุด จากการติดตามระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนแก่งกระจาน พบว่าบริเวณสถานีวัดน้ำ B3A อ.แก่งกระจาน มีน้ำไหลผ่านประมาณ 222 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำยังต่ำกว่าตลิ่ง 0.35 เมตร แนวโน้มเพิ่มขึ้น สำหรับสถานการณ์น้ำที่เขื่อนเพชร วันนี้(18 ส.ค. 61)ที่รับน้ำต่อจากเขื่อนแก่งกระจาน ได้มีการผันน้ำบริเวณหน้าเขื่อนเพชรเข้าระบบคลองชลประทานทั้ง 4 สาย ในอัตรารวม 72 ลบ.ม./วินาที และเปิดระบายลงสู่แม่น้ำเพชรบุรี ในอัตรา 124 ลบ.ม./
กฟผ. ชี้แจงสถานการณ์น้ำในเขื่อนทั่วประเทศ จากอิทธิพลพายุ “เซินติญ” ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้น โดยเขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ และเขื่อนน้ำพุงระดับน้ำเริ่มสูง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ควบคุมได้ มั่นใจทุกเขื่อนมีความแข็งแรง มั่นคง มีการตรวจสอบตามมาตรฐานสากล สามารถรองรับปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้อย่างเพียงพอ นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยผู้ว่าการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากสภาพอากาศในช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุโซนร้อน “เซินติญ” และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง ส่งผลให้มีฝนตกหนาแน่นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย อ่างเก็บน้ำของ กฟผ. หลายแห่งมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนจุฬาภรณ์ และเขื่อนน้ำพุงมีปริมาณน้ำสูงกว่าเกณฑ์ควบคุม (Upper Rule Curve) แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถบริหารจัดการการระบายน้ำได้ ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า เขื่อน กฟผ. ยังสามารถรองรับปริมาณน้ำในช่วงฤดูฝนปีนี้ได้อย่างเพียงพอ และมีความมั่นคงแข็งแรงเนื่องจากมีการตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างต่อเน
กรมชลประทาน ลดระดับน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม เพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ หลังกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศแจ้งเตือนจะมีฝนตกหนักทางตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศแจ้งเตือนร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่พายุโซนร้อน “เอวิเนียร์” ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก นั้น สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) ปัจจุบัน (6 มิ.ย. 61) มีปริมาณน้ำรวมกัน 12,880 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ รวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้รวม 6,184 ล้าน ลบ.ม. หรือ คิดเป็นร้อยละ 34 ของปริมาณน้ำใช้การได้ทั้งหมด สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 11,900 ล้าน ลบ.ม. สำหรับสถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบัน (6 มิ.ย. 61) มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 อ.เมือ
นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาณ 46,749 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างเก็บน้ำทั้งหมด มีปริมาณน้ำใช้การ 23,205 ล้าน ลบ.ม. ส่วนสถานการณ์น้ำ 4 เขื่อนหลัก ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 14,798 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 8,102 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งในช่วงฤดูแล้งปี 2560/2561 (1 พฤศจิกายน 2560 – 30 เมษายน 2561) กรมชลประทาน ได้วางแผนจัดสรรน้ำทั่วประเทศ 25,067 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น ลุ่มเจ้าพระยา 7,700 ล้าน ลบ.ม. (เขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ 6,350 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน 650 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป่าสักฯ 700 ล้าน ลบ.ม.) แยกเป็น เพื่อการอุปโภค – บริโภค 1,140 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการรักษาระบบนิเวศและอื่นๆ 1,450 ล้าน ลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 5,110 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ ผลการจัดสรรน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง ปัจจุบัน (9 เมษายน 2561) จัดสรรน้ำไปแล้ว 7,500 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยล
นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า คาดว่า ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา ได้แก่ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ จะมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 11,000 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) เพื่อใช้บริหารจัดการในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมาซึ่งมีปริมาณเพียง 9,700 ล้านลบ.ม. โดยแบ่งเป็น นำสหรับใช้อุปโภคและปริโภค 1,100 ล้านลบ.ม. ดูแลระบบนิเวศ 1,400 ล้านลบ.ม. การทำเกษตรต่อเนื่อง อาทิ สวนผลไม้ เป็นต้น 700 ล้านลบ.ม. และเก็บสำรองไว้ใช้ในต้นฤดูฝน 3,700 ล้านลบ.ม ส่วนที่เหลืออีก 4,100 ล้านลบ.ม. จะใช้จัดสรรเรื่องอื่นๆ ในฤดูแล้ง อย่างไรก็ตามถ้าเดือนสิงหาคม – ตุลาคมมีพายุพัดผ่านไทยอีกระลอก ทั้ง 4 เขื่อนน่าจะเก็บน้ำเพิ่มได้อีก 3,000 ล้านลบ.ม. รวมทั้งสิ้น 13,000 ล้านลบ.ม. “การปลูกข้าวนาปีนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว(นบข.) จะกำหนดพื้นที่ว่าทั้งปีควรจะปลูกเท่าไหร่ อาทิ ช่วงฤดูฝนทั้งประเทศควรปลูกข้าวได้ประมาณ 58 ล้านไร่ โดยปลูกอยู่ในเขตชลประทาน 17 ล้านไร่ และลุ่มเจ้าพระยา 7.6 ล้านไร่ ส่วนการปลูกข้าวนาปรัง ต้องดูปริมาณความต้องก
สำนักงานชลประทานที่ 12 ออกหนังสือเตือนด่วนถึง 7 จังหวัด โดยเฉพาะอยุธยา ว่าต้องเร่งปล่อยน้ำเพิ่มลงเจ้าพระยา เพราะมวลน้ำเหนือไหลหลากเดินทางมาถึงปากน้ำโพแล้ว เวลา 19.00 น. วันที่ 10 สิงหาคม 60 นายโบว์แดง ทาแก้ว ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ล่าสุดนายสุชาติ เจริญศรี ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 ได้ออกหนังสือแจ้งเตือนไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด 7 แห่ง ประกอบด้วย จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา และลพบุรี ว่าเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท จำเป็นต้องเร่งพร่องน้ำลงท้ายเขื่อนเพิ่มขึ้น นับจากนี้เป็นต้นไป เพราะว่ามวลน้ำเหนือที่ไหลมาตามแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ได้มารวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านจังหวัดนครสวรรค์ ที่ 1,699 ลบ.ม./วินาทีแล้ว ทางเขื่อนเจ้าพระยา จำเป็นต้องบริหารจัดการน้ำเหนือหลาก เพื่อผลักดันลงสู่ทะเล ผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา และจะพยายามทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนเจ้าพระยา โดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด โดยปัจจุบันได้ระบายน้ำลงท้ายเขื่อนที่ 1,267 ลบ.ม./วินาที และจะต้องระบายน้ำเพิ่มขึ้นไปอีกในช่วงนี้ แต่จะพยา
เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยว่า จากการติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาและอ่าวไทย ซึ่งหลายฝ่ายวิตกกังวลว่าอาจกระทบต่อพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วยนั้น ยืนยันว่าจนถึงขณะนี้สถานการณ์น้ำในพื้นที่กรุงเทพฯ ยังไม่น่าเป็นห่วง แต่ปริมาณน้ำดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อจังหวัดที่อยู่เหนือกรุงเทพฯ โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มต่ำใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อย่างไรก็ตาม หากการระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเกิน 2,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที พื้นที่กรุงเทพฯอาจเกิดปัญหาเช่นกัน “กทม.จะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา จังหวัดข้างเคียงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยเฉพาะการเตรียมรับมือกับการระบายน้ำเหนือที่ไหลลงมายังแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนให้น้อยที่สุด ซึ่งผมเชื่อว่าสถานการณ์ในส่วนนี้ไม่น่าจะมีปัญหาหรือน่าเป็นห่วงแต่อย่างใด และจากการประเมินสถานการณ์ยังไม่พบว่ามีพื้นที่ใดใน กทม.จำเป็นต้องแจ้งเตือน” พล.ต.อ. อัศวิน กล่าว