สภาพภูมิอากาศ
กรมชลประทาน เปิดประชุมกลุ่มอุทกวิทยาครั้งที่ 12 แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำ (20 กันยายน 2566) ที่โรงแรม เดอะ ควอเตอร์ อารีย์ กรุงเทพมหานคร กรมชลประทาน และกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) เป็นเจ้าภาพร่วมกันในการจัดประชุมกลุ่มอุทกวิทยาครั้งที่ 12 ภายใต้คณะกรรมการไต้ฝุ่น ESCAP/WMO Typhoon Committee 12th Meeting of TC Working Group on Hydrology นายอดิศร จำปาทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านที่ปรึกษาอุทกวิทยา กรมชลประทาน เปิดเผยว่า การจัดประชุมกลุ่มอุทกวิทยาครั้งที่ 12 ภายใต้คณะกรรมการไต้ฝุ่น ประเด็นหัวข้อที่สำคัญ “การเข้าถึงชุมชนและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย – สนับสนุนการเตือนภัยล่วงหน้าสำหรับทุกฝ่าย” จัดขึ้นเพื่อให้ประเทศสมาชิกได้รับความรู้และประสบการณ์ในการนำเสนอรายงานภารกิจในการดำเนินการเพื่อป้องกันภัยพิบัติไต้ฝุ่น ตลอดจนแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในการป้องกันอุทกภัย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ในด้านอุทกวิทยาและการบริหารจัดการน้ำต่างประเทศ อันจะช่วยพัฒนาและยกระดับองค์ความรู้ในการรับมือต่อการเปลี่ย
นายแพทย์สุรพร ลอยหา รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวถึงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม ว่าเป็นหลักสูตรใหม่ล่าสุดของวิทยาเขตฯ ที่ โดยเป็นหลักสูตรที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2560 จากการลงพื้นที่สำรวจ และระดมความคิดเห็นของชุมชน จนพบจุดอ่อนของชุมชนถึงอุปสรรคสำคัญในการพัฒนา เนื่องจากขาดปัจจัยสำคัญด้านการบูรณาการองค์ความรู้ และการลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนอย่างจริงจัง จึงได้ผนวกเอาศาสตร์ทางด้านวิทยาศาสตร์ และสังคมศาสตร์เข้าไว้ด้วยกัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. โชติกา เมืองสง อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้สอนด้านนิเวศวิทยา และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของหลักสูตรฯ คว้ารางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 รางวัลผลงานวิจัยระดับดี สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพและคณิตศาสตร์จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จากผลงานวิจัย “ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน : การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม
นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เผยว่า ได้เรียกประชุมเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตรทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เฝ้าติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 ผ่านระบบ VDO Conference ณ ห้องประชุม Operation Room ชั้น 2 อาคาร 1 กรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 พร้อมย้ำสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1-6 สำนักงานเกษตรจังหวัด ติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 อย่างใกล้ชิด เพื่อให้รับทราบสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน และการเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร โดยมีประเด็นและข้อสั่งการในการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเกษตร ดังนี้ การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจติดตามสถานการณ์แล้งฝนทิ้งช่วง ปี 2562 (War Room) 3 ระดับ คือ 1.1 ส่วนกลาง – เป็นหน่วยหลักประสานงาน ได้แก่ ความร่วมมือกับหน่วยงานด้านแหล่งน้ำ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาแล้งฝนทิ้งช่วง และประสานการเตรียมจัดทำมาตรการระดับกระทรวง และกรม – รวบรวม วิเคราะห์ จัดทำรายงานข้อมูล และส่งให้ผู้บริหารและหน่วยงานเกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ ได้แก่ สถานการณ์น้ำและภูมิอากาศ ผลการเพาะปลูกพืช และพื้นที่ได้รับผลกระทบ – ปร
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนอย่างเป็นทางการแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2562 ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยาที่คาดการณ์ว่า ฤดูร้อนปีนี้จะมาเร็วและนานมากกว่าทุกปี ซึ่งอาจยาวนานไปจนถึงราวเดือนพฤษภาคม 2562 โดยฤดูร้อนปีนี้จะมีอุณหภูมิร้อนกว่า ปี 2561 และร้อนมากกว่าค่าปกติราว 1-2 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำฝนและระดับน้ำในเขื่อน โดยหากพิจารณาปริมาตรน้ำใช้การได้ในเขื่อนของไทยแยกตามรายภาค ณ วันที่ 4 มีนาคม 2562 จะเห็นได้ว่า ปริมาตรน้ำใช้การได้ในเขื่อนทั้งประเทศลดลง 13.5% (YoY) โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ส่งสัญญาณชัดเจนจากการที่มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนในระดับที่ต่ำมาก ทำให้ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีสถานการณ์น้ำที่น่าเป็นห่วง และอาจจะเข้าสู่วิกฤติมากขึ้นในเดือนเมษายนนี้ที่จะเป็นช่วงฤดูแล้งอย่างเต็มรูปแบบ หากยังไม่มีน้ำไหลลงเขื่อนเพิ่มเติม ซึ่งจากสัญญาณฤดูร้อนดังกล่าวที่มาเร็วและนานกว่าทุกปี จะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตรที่จะเก็บเกี่ยวเพื่อออกสู่ตลาดในช่วงนี้ให้ลดลง จนอาจกระทบต่อรายได้เกษตรกรให้ต้องเผชิญความท้าทายมา
เวลา 12.30 น. วันที่ 2 มกราคม แบบจำลองสภาพอากาศ (วาฟ-รอม) สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) แจ้งสถานการณ์ล่าสุดของพายุ ปาบึก ว่า ขณะนี้ พายุปาบึกยังเป็นพายุโซนร้อน ที่มีความเร็วลมอยู่ที่ 35 น็อต ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 65 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง แต่คาดว่าเมื่อพายุหันหน้าเข้าสู่บริเวณอ่าวไทยความเร็วลมจะเพิ่มขึ้น ซึ่งศูนย์อุตุนิยมวิทยาของประเทศญี่ปุ่นคำนวณไว้อยู่ที่ 55 น็อต หรือราว 90-95 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ซึ่งความเร็วลมดังกล่าวยังอยู่ในช่วงของพายุโซนร้อนอยู่ แต่เมื่อเปรียบเทียบความเร็วลมแล้วพบว่า มีความใกล้เคียงกับพายุโซนร้อนแฮเรียสที่เกิดขึ้นที่บริเวณแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2505 ซึ่งความเร็วลมของพายุแฮเรียสในขณะนั้น อยู่ที่ 95 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ความเร็วลมขนาดดังกล่าว สามารถอาจจะทำให้เสาไฟฟ้าโค่นหักลงได้ ซึ่งการทวีความรุนแรงขึ้นดังกล่าว เป็นเหตุให้กรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเปลี่ยนความรุนแรงของคลื่นจากสูง 2-4 เมตร เป็น 3-5 เมตร “กรณีของพายุโซนร้อนปาบึกนี้ จะมีพื้นที่ที่มีฝนตกหนัก และเฝ้าระวังสูงสุด 4 พื้นที่ คือ จ.ประจวบคีรีขันธ์
เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 23 ธันวาคม 2561 – 29 ธันวาคม 2561 โดยการคาดหมายว่า ในช่วงวันที่ 23-26 ธ.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบนมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีปริมาณฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ธ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางจะมีฝนฟ้าคะนองในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง ส่วนภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 23-26 ธ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนในช่วงวันที่ 27-29 ธ.ค. ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง และขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 23-26 ธ.ค. บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ ในขณะที่มีลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภา
นายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ส่งผลให้ระหว่างวันที่ 21- 27 ธันวาคม 2561 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยในระยะแรกจะมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง และยังคงมีอากาศเย็นในภาคเหนือ ขณะที่ อุณหภูมิต่ำสุด 15-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-12 องศาเซลเซียส ด้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 17-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส สำหรับบริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10-15 องศาเซลเซียส ขณะที่ ภาคใต้มีปริมาณฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส นายภูเวียง กล่าวว่า สำหรับบริเวณภาคกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จะมีเมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส ตลอดช่วง โ
สัปดาห์หน้าหนาวมาแน่! กรมอุตุฯ เผยจันทร์นี้เป็นต้นไป อุณหภูมิลด 5 องศา ส่วนปลายสัปดาห์เจอฝนฟ้าคะนองอีกรอบ ซัดภาคใต้อ่วม มีคลื่นสูง เตือนชาวเกษตรกรระวังพืชผลเสียหาย กรุงเทพฯ ไม่รอดฝนกระหน่ำด้วย เมื่อวันที่ 25 พ.ย. กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีอากาศเย็น อุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้มีฝนบางแห่ง อนึ่ง พายุโซนร้อน “อุซางิ” (Usagi) บริเวณด้านตะวันออกของชายฝั่งประเทศเวียดนาม มีศูนย์กลางอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ประมาณ 150 กิโลเมตร กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว ประมาณ 15 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามในวันนี้ (25 พ.ย. 61) และจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ โดยจะเคลื่อนผ่านทางตอนใต้ของประเทศเวียดนาม ในช่วงวันที่ 25-27 พ.ย. 61 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปประเทศเวียดนามตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทาง ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลาง
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ รายงานว่า เกิดฝนตกครั้งแรกในรอบปี 2561 บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติฯ วัดปริมาณน้ำฝนได้ 6 มิลลิเมตร แม้จะไม่มาก แต่ก็มีแนวโน้มเพิ่มปริมาณมากขึ้น ซึ่งจะช่วยผ่อนคลายภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็กลงได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ในวันนี้อุณหภูมิบนยอดดอยอินทนนท์ยังคงหนาวเย็นวัดได้ 8-17 องศาเซลเซียส กิ่วแม่ปาน อุณหภูมิ 10-18 องศาเซลเซียส ส่วนที่ทำการอุทยานฯอุณหภูมิ 16-27 องศาเซลเซียส ยังคงมีนักท่องเที่ยวเข้ามาสัมผัสธรรมชาติเฉลี่ย 1,000 คน/วัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับในตัวเมืองเชียงใหม่ อุณหภูมิเฉลี่ย 23-36 องศาเซลเซียส สภาพอากาศยังคงมีหมอกควันปกคลุมเมือง แม้จะมีฝนตกในหลายพื้นที่แล้วก็ตาม แต่คาดว่าบ่ายวันนี้สถานการณ์น่าจะคลี่คลาย เนื่องจากศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือระบุว่า อาจจะมีพายุฝนฟ้าคะนองและวาตภัยในระยะอันใกล้นี้ จึงขอให้ประชาชนเตรียมรับมือภัยธรรมชาติไว้ด้วย
วันที่ 25 ธันวาคม ผู้สื่อข่าวรายงานจากการตรวจสอบแบบจำลองสภาพอากาศ(วาฟ-รอม) ของสถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร(สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(วท.) พบว่า เวลานี้ พายุไต้ฝุ่นเทมบิง(TEMBIN) ที่อยู่บริเวณตอนล่างของทะเลจีนใต้ มีกำลังแรงเป็นพายุใต้ฝุ่นระดับ 1 มีแนวโน้มเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนไปทางเหนือผ่านปลายแหลมญวนแล้วอ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อน และอ่อนลงต่อเนื่อง เป็นพายุดีเปรสชั่น ลงก่อนเข้าสู่อ่าวไทยตอนบน โดยเมื่อเคลื่อนที่เข้าปลายแหลมญวนและอ่าวไทย จะมีบริเวณความกดอากาศสูง แผ่ลงมาปะทะ กับลมที่หมุนอยู่ด้านบนของตัวพายุเทมบิง ทำให้เกิดลมพัดสอบ หรือลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดมาปะทะด้านบนของพายุ ส่งผลให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตก ในวันที่ 26-27 ธันวาคม เป็นฝนตกปรอยๆแต่ตกต่อเนื่องยาวๆ วาฟระบุด้วยว่า ระหว่างวันที่ 27-28 ธันวาคม มีบริเวณความกดอากาศสูงแผ่ลงมาทางตอนเหนือของประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลง พร้อมทั้งมีฝนตกเกิดขึ้นเกือบทุกภูมิภาค เรียกว่าเป็นภาวะ ฝนควบหนาว โดยในวันที่ 26 ธันวาคม กรุงเทพมหานครจะมีฝนตกตั้งแต่ช่วงกลางคืนถึงช่วงเช้าของวันที่ 27 ธันวาคม และตกเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่จะตกต่อเนื่องไ