สมุนไพรรักษาโรค
เมื่อหลายเดือนก่อน ผมได้แวะไปเที่ยวกาดอินทรีย์เล็กๆ ที่ซอยเพิ่มมิตร ถนนสันเหมือง ตำบลเวียง อำเภอเมืองลำพูน กาด “รักพูนพูน” นี้ เริ่มติดทุกเช้าวันเสาร์มาตั้งแต่ราวเดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 เป็นที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ลุ่มน้ำทา และอีกหลายกลุ่มในเขตอำเภอเมือง อำเภอลี้ โดยมีลูกค้าเป็นชาวบ้านในละแวกย่านนั้นเอง นอกจากผักปลอดสารชนิดต่างๆ แล้ว มีแยมดีๆ อย่างแยมสับปะรดอินทรีย์ ซีอิ๊วขาวรสดี และเต้าเจี้ยวอินทรีย์บ้านสันป่ายาง เชียงใหม่ กระเจี๊ยบแดงตากแห้ง และที่คุณภาพเยี่ยมมากๆ เลยก็คือ “มะตูมป่าอบเตาฟืน” ที่พอต้มแล้วกลิ่นหอมแรงกว่าทุกเจ้าที่ผมเคยซื้อมาก่อนหน้าทั้งหมด ที่นี่ยังมีร้านเบเกอรี่โฮมเมดเพื่อสุขภาพ ทำพิซซ่าเตาดินขาย เน้นวัตถุดิบออร์แกนิก ทั้งแป้งพิซซ่า ซอส ผักต่างๆ ทำเตาดินเอง แล้วยังสอนทำพิซซ่าโฮมเมดด้วยครับ ที่สะดุดตาผมคือน้ำสมุนไพรสีแปลกๆ ของร้านเล็กๆ ร้านหนึ่ง เมื่อสอบถามก็ได้ความว่ารับมาจาก “สวนมุจลิน” เครือข่ายคนมอญ บ้านหนองดู่ ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ซึ่งได้เคยร่วมโครงการชุมชนน่าอยู่ของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ มีการอบรมถ่ายทอดความรู้เก่า
โรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ อ่านแล้วก็อย่าเพิ่งท้อใจไป เพราะถึงแม้จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เราสามารถอยู่ร่วมโรคบนโลกนี้ได้อย่างมีความสุข ตราบใดที่เรายังสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ตามเกณฑ์ ย้ำว่า…สามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข เหมือนคนธรรมดาทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเลย ถ้าสามารถคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ตามเกณฑ์ นี่คือเป้าหมายที่สำคัญค่ะ อ่านมาถึงตอนนี้แล้ว หลายๆ คนก็อาจจะสงสัยขึ้นมาในใจแล้วใช่ไหมว่า…เกณฑ์คือเท่าไร แล้วต้องทำยังไงถึงจะถึงจะบรรลุเป้าหมาย แล้วถ้าไม่สามารถคุมน้ำตาลได้ตามเกณฑ์ โรคนี้จะมีผลเสียอะไรบ้าง ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคเบาหวานกันก่อนค่ะว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร โรคเบาหวานเกิดจากการที่ตับอ่อนไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้ หรือสร้างออกมาแล้วทำงานได้ไม่ดีพอ การทำงานของอินซูลิน คือทำหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปสู่เนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วร่างกายเพื่อสร้างพลังงาน ดังนั้น ถ้าร่างกายผู้ป่วยโรคเบาหวานมีอินซูลินไม่เพียงพอก็จะทำให้มีน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผู้ที่มีอาการของโรคเบาหวานชัดเจนคือ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อยและมาก น้ำหนักตัวลดลงโด
เมื่อวันที่ 22 มกราคม นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึงความคืบหน้าการทดสอบยามะเร็งของนายแสงชัย แหเลิศตระกูล ว่า เบื้องต้นจากการเก็บตัวอย่างใน 1,062 คน และขณะนี้ได้ผลมาทั้งสิ้น 566 คน พบว่าในกลุ่มนี้เป็นคนไข้ใหม่ร้อยละ 70 เป็นคนไข้เก่าร้อยละ 30 ซึ่งในจำนวนนี้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีผลตอบสนองที่ดีขึ้นร้อยละ 80 โดยอาการที่ดีขึ้นของผู้ป่วยมี 3 ประการ ได้แก่ นอนหลับ มีแรง และรับประทานอาหารได้ ส่วนการลดขนาดของก้อนเนื้อยังไม่มีผลมายืนยันมากนัก แต่คาดว่าในอนาคตทุกอย่างจะดีขึ้น นอกจากนี้ ยังได้มีการทำวิจัยต่อใน 3 เรื่อง คือ กลุ่มที่มาเป็นใคร โดยยึดผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งที่พบคือร้อยละ 55 ของผู้มารับยาไม่ได้รักษาแล้ว แต่ที่น่าสังเกตคือ ในจำนวนนี้เกือบครึ่งผ่านการรักษากับแพทย์แผนปัจจุบันและหลายรายอาการอาจดีขึ้นหรือคงที่ ซึ่งตรงนี้ต้องติดตามผลต่อไป “ที่ผ่านมาทราบผลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เรื่องการปนเปื้อนโลหะหนัก สเตียรอยด์ เบื้องต้นไม่พบสารปนเปื้อน จะพบเพียงเชื้อที่ทำให้ท้องเสีย ที่ก็มีโอกาสพบได้ในยาสมุนไพร เพราะเราเป็นเมืองร้อน ขณะนี้จะเหลือการรอผลการต้านโรคมะเ
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plantago major L. ชื่อวงศ์ Plantaginaceae ชื่อสามัญ Plantain ชื่ออื่นๆ ผักกาดน้ำ หมอน้อย ชีแต่เช้า เซียแต่เช้า หญ้าเอ็นยืด (ไทยใหญ่ อีสาน เหนือ) ตาซื่อเดาะ (กะเหรี่ยง) ตะปุกชี้ หญ้าเอ็นอืด (เชียงใหม่) หนูไม่ใช่หมอนวด แต่หนูเป็นเจ้าของร้านนวด อยู่ในกระถางหรือแปลงดินเล็กๆ หน้าร้าน เอาไว้ “ตัดไม้ข่มนาม” ข่มเจ้าเอ็นของลูกค้าที่ “ยึด” ให้ “ยืด” ปวดหายคลายตึง หรือคลายกล้ามเนื้อ เท้าแพลง เคล็ด ขัดยอก เขาชอบปลูกไว้เหมือนดูเล่น แต่นำหนูไปใช้สารพัด ทั้งเกี่ยวกับเอ็น กระดูก นิ่ว ขับปัสสาวะ ร้อนใน แผลผุพอง แก้ไอ หลอดลม แล้วยังเด็ดใบอ่อน ยอดอ่อน ไปจิ้มน้ำพริก ทั้งลวก ทั้งสด อีกด้วย จนถูกแซวว่าจะเป็น “หญ้าอ่อน” ให้ป๋าเคี้ยวเล่นเหรอ ชื่อของหนูในเมืองไทยไม่ค่อยแปลก เพราะถ้าเขาเรียกหนูว่า “ผักกาดน้ำ” ก็ฟังดูเหมือนเด็กสาวซื่อๆ ใสๆ อินโนเซ้นท์ ปลูกง่าย เด็ดดม ชมเคี้ยวง่ายๆ หนูจึงอยากให้ใครๆ เรียกหนูว่า “หมอน้อย” จะได้สมกับสรรพคุณของหนูที่เก่งทางด้านต่อกระดูก ผูกเอ็นให้ยืดคลายปวดยึดข้อ คนจึงคิดว่าหนูเป็น “หมอนวด” ที่จริงเป็นเพราะว่าหมอนวดตัวจริงชอบใช้หนูไปบีบ ไปตำ นำไปพอกให้คนที่มีปัญหาเรื