สวทช
กลุ่มวิจัยการอบแห้งขั้นสูงสำหรับอาหารและวัสดุชีวภาพ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ภายใต้ทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ขอเชิญผู้ประกอบการ SME ด้านเกษตรและอาหาร รวมถึงผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมอบรมในหัวข้อ “การผลิตผลไม้อบแห้งแบบธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมีและสารละลายน้ำตาล ที่มีคุณภาพสูง ประหยัด รวดเร็ว และต้นทุนต่ำ” เพื่อรับทราบความรู้ที่ได้จากการวิจัยร่วมกับภาคอุตสาหกรรม ในการค้นพบวิธีการเตรียมผักและผลไม้ก่อนการอบแห้งเพื่อให้ได้ผักและผลไม้อบแห้งที่มีคุณภาพ สูง ตั้งแต่พื้นฐานการอบแห้ง การเตรียมผลไม้ก่อนอบแห้ง วิธีการอบแห้งแบบใหม่ การออกแบบเครื่องอบแห้ง และวิธีการสร้างเครื่องอบแห้ง ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในธุรกิจ ในวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2562 ณ ห้องปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มจธ. ผู้สนใจสมัครพร้อมลงทะเบียนได้ที่ is.gd/dtrlws1 ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท รับจำนวนจำกัด สอบถามเพิ่มเติม โทร. (02) 470-8613 (กิตติมา)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย FI Accelerator เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ขอเชิญผู้ประกอบการ SME ด้านอาหาร และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมงาน TASTE (PADTHAI #2 Demo Day) “The Showcase of Locals to Global Food Products เส้นทางสู่ธุรกิจนวัตกรรมอาหาร ขยายสู่ตลาดโลก” ในวันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2562 ที่ The Knowledge Exchange Center (KX) ใกล้ BTS สถานีวงเวียนใหญ่ กรุงเทพฯ ภายในงานพบกับ การค้นหาผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหาร “จากไทยไปตลาดโลก” ในการแข่งขันนำเสนอแผนธุรกิจของ 16 ทีมสุดท้ายจากโครงการ PADTHAI by Food Innopolis #2 การออกบู๊ธของผู้ประกอบการนวัตกรรมอาหารในโครงการกว่า 30 บู๊ธ พร้อม Business Matching Zone ตลอดจนร่วมรับสิทธิประโยชน์การใช้บริการ One-Stop-Service ของเมืองนวัตกรรมอาหาร และรับฟัง TASTE TALKs จาก Speaker ผู้เชี่ยวชาญในธุรกิจนวัตกรรมอาหารที่จะพา “นวัตกรรมอาหารของไทยไปสู่ตลาดโลก” ลงทะเบียนร่วมงานฟรี รับจำนวนจำกัด ได้ที่ https://forms.gle/ccXAZDukkJxnFAo28
ในงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2562 (NAC2019) ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคมที่เกี่ยวข้องกับไม้เศรษฐกิจ รวม 12 หน่วยงาน เปิดตัว “กลุ่มพัฒนาอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจครบวงจร” ในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจครบวงจร ให้เป็นเครื่องมือตัวใหม่ในการพัฒนาประเทศที่จะสร้างรายได้ปีละ 2-4 ล้านล้านบาท ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ทำให้โลกหันมาให้ความสำคัญกับการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ และนำไม้จากแหล่งที่จัดการอย่างยั่งยืนมาใช้ประโยชน์ ความต้องการไม้ในตลาดโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มเช่นนี้ไปอีกนาน การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน เช่น ชีวมวลยิ่งเร่งอัตราความต้องการใช้ไม้ของโลกให้เร็วและมากขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยปลูกต้นไม้ได้โตกว่าเขตอบอุ่น 5-7 เท่า และภาคเกษตรของไทยกำลังประสบปัญหาหลายด้าน การปรับเปลี่ยนไปปลูกไม้เศรษฐกิจเป็นทางเลือกที่มีความเหมาะสมที่สุดที่จะช่วยแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ
กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สวทช. ตอบโจทย์โครงการ “BIG ROCK” (บิ๊กร็อก) ตั้งโรงงานผลิตพืช หรือ Plant Factory (แพลนต์แฟคตอรี) ที่อุทยานวิทย์ฯ ปทุมธานี โดยใช้เทคโนโลยีสุดล้ำจากญี่ปุ่น ผลิตพืชในระบบปิด สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมที่พืชใช้เจริญเติบโตตามต้องการ มีระบบกรองอากาศ ปราศจากเชื้อโรค ตั้งเป้าผลิตพืชสมุนไพรไร้สารตกค้าง เพื่อเป็นวัตถุดิบสำหรับสกัด “สารสำคัญมูลค่าสูง” ป้อนตลาดยา-อาหารเสริม-เวชสำอาง เสริมจุดแข็งทรัพยากร มุ่งสู่เศรษฐกิจชีวภาพ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562 ที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ปทุมธานี : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดตัว “โรงงานผลิตพืช” หรือ “Plant factory” ภายใต้โครงการพัฒนาพิเศษ ขนาดใหญ่ หรือ BIG ROCK ในงานประชุมวิชาการ สวทช. ประจำปี 2562 (NAC2019) (สวทช. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25-28 มีนาคมนี้) พร้อมเดินหน้าวิจัยและผลิตพืชมูลค่าสูง โดยเฉพาะกลุ่มพืชสมุนไพรไทยที่มีสารออกฤทธิ์สำคัญต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยาจากกระบวนการชีวภาพ เวชสำอาง และสารเสริมสุขภ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและ นวัตกรรมเกษตร (อะกรีเทค) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้ภายในศูนย์ฝึกอาชีพศิษย์เก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ชุมชนชนบท และถิ่นทุรกันดาร ณ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ กองบังคับการตำรวจตระเวนชายแดนภาค 3 ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กับศูนย์ฝึกอาชีพนักเรียนเก่าโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ภาค 3 ในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเน้นหลักสูตรการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการองค์ความรู้จากงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาท้องถิ่นของ สวทช.ภาคเหนือ สถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) จำนวน 5 หมวดความรู้ 10 หลักสูตร เพื่อเป็นการขยายผลงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช. สู่การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ สร้างความเข้มแข็งในชุมชนด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ
(วันที่ 11 มีนาคม 2562) ณ โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ได้ลงนามความร่วมมือ กับ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง “การประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (LCA) ของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” และคาดการณ์ผลจากการดำเนินงานส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพบุคลากรของคู่ค้าภาคี และสนับสนุนให้มีการจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยในการขับเคลื่อนการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่างๆ สำหรับประเทศไทย ภายในงานสัมมนา “ภาคเอกชนกับการพัฒนาธุรกิจที่ยั่งยืน และสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก” ซึ่งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เครือข่ายส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนแห่งประเทศไทย (Thai SCP Network) รวมทั้งผู้แทนจากภาคเอกชนเข้าร่วมสัมมนา ดร. จุลเทพ ขจรไชยกูล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. กล่าวว่า
บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ตอกย้ำการเป็นผู้นำนวัตกรรมเกษตรเพื่ออนาคต ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) พัฒนาแอปพลิเคชั่นปฏิทินการเพาะปลูกข้าวด้วยวิธี KUBOTA Agri Solution ภายใต้ชื่อ “KAS Crop Calendar application” เพื่อเป็นคลังความรู้ที่สำคัญของเกษตรกรไทย ในการทำการเกษตรได้อย่างเข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเจน พร้อมฟังก์ชั่นการใช้งานที่ครอบคลุม ทั้งการแจ้งเตือนสิ่งที่เกษตรกรต้องทำในแต่ละขั้นตอนของปฏิทินการเพาะปลูก การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ตลอดจนรายงานสรุปภาพรวมการเพาะปลูก เพื่อการทำเกษตรกรรมที่มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด พร้อมเปิดตัวให้เกษตรกรไทยใช้แล้ววันนี้ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค-สวทช.) กล่าวว่า “เนคเทค เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้วยการบูรณาการองค์ความรู้และเทคโนโลยีจากหลากหลายสาขา เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของอุตสาหกรรมภายในประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้คนเป็นจำนวนมาก
กลุ่มผ้าทอฯ ลำพูน ประยุกต์ใช้งานวิจัย สร้างจุดเด่นให้กับผ้าทอล้านนาตั้งแต่กระบวนการผลิตเส้นฝ้ายสู่ผ้าทอมือพื้นเมืองคุณภาพ ภายหลังจากสถาบันการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตร (สท.) หน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากงานวิจัย 3 เทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีเอนไซม์ เทคโนโลยีพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีธรรมชาติ และเทคโนโลยีสิ่งทอนาโน ช่วยกลุ่มผ้าทอจังหวัดลำพูน ต่อยอดการผลิตผ้าทอล้านนาจากภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์ลวดลายเฉพาะตัว ให้มีจุดเด่นทั้งในด้านคุณภาพของเส้นใย เนื้อผ้าที่ละเอียด การพิมพ์สกรีนผ้าด้วยสีธรรมชาติ และคุณสมบัติพิเศษด้านนาโนฯ เพื่อดูแลผลิตภัณฑ์ผ้าทอล้านนาให้เหมาะกับการใช้งานได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า สร้างรายได้ให้กลุ่มผ้าทอฯ เพิ่มขึ้นเท่าตัว ช่วยส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น ด้าน สำนักงานพาณิชย์จังหวัดลำพูน เล็งหนุนตราสินค้า “ลำพูน แบรนด์” (Lamphun Brand) เพื่อให้ผ้าทอพื้นเมืองลำพูนที่ผสมผสานนวัตกรรมวิจัยสุดล้ำ ด้านหัตถอุตสาหกรรมให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ นางสาววิรา
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) หรือไอแทป ให้การสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ทวีเดช ศิริธนาพิพัฒน์ และคณะวิจัย ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการวิจัยพัฒนาและช่วยแก้ปัญหาให้กับผู้ประกอบการ SME ถึงในโรงงาน ในโครงการ “การออกแบบและพัฒนาระบบวัดและแสดงผลอุณหภูมิเตาเผาเซรามิก” แก่ฆ้อนทองเซรามิกส์ ผู้ประกอบการเซรามิกในจังหวัดลำปาง เพื่อพัฒนาไปสู่การปรับปรุงเตาเผาเซรามิกในรูปแบบระบบอัตโนมัติ ที่สามารถวัดอุณหภูมิได้แม่นยำมากขึ้น ทำให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น และลดความเสี่ยงการเสียหายระหว่างการเผา พร้อมนำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) มาใช้ นำค่าอุณหภูมิของเตาเผาขึ้นบน Cloud ทำให้เห็นค่าได้จากทุกแห่งในโลก จึงประเมินคุณลักษณะการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นและปรับปรุงกระบวนการได้ทันท่วงที ส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพมากขึ้นและทันเวลานัดส่งสินค้า ตอบโจทย์การยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิกไทยด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม นางสาววลัยรัตน์ จังเจริญจิตต์กุล ที่ปรึกษาเทคโนโลยีอาวุโส โปรแกรม ITAP สวทช. เ
ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และ นาย Naing Kyi Win อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (Director General, Department of Agricultural Research, DAR) สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านวิชาการและงานวิจัย เพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนา สร้างขีดความสามารถ และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านการเกษตรของ 2 หน่วยงาน สืบเนื่องจากการดำเนินโครงการความร่วมมือของ สวทช. กับประชาคมลุ่มน้ำโขงในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพและด้านจีโนม ในการปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์ข้าวประเทศลุ่มน้ำโขงทั้งประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยมี ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สวทช. ดร.ธีรยุทธ ตู้จินดา นักวิจัยอาวุโส หน่วยวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพพืช ไบโอเทค สวทช. และ นาย Thant Lwin Oo รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เมียนมา ร่วมเป็นสักขีพยาน ดร.ณรงค์ กล่าวว่า สืบเนื่องจากประเทศสมาชิกของอาเซียนยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศ