สวทช
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ช่วยผู้ประกอบการพัฒนาและแก้ไขปัญหาการผลิตที่นอนน้ำเพื่อสุขภาพสำหรับผู้ป่วยแผลกดทับ พร้อมจับคู่ธุรกิจผลิตจำหน่ายในระดับอุตสาหกรรม นายปริญญา จันทร์หุณีย์ วิศวกรอาวุโส กลุ่มวิจัยวัสดุและอุปกรณ์เฉพาะทางชีวภาพ จากเอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า ทีมเอ็มเทคได้ทำงานร่วมกับผู้ประกอบการห้างหุ้นส่วนจำกัด เคทีซี ที่นอนน้ำ ซึ่งมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยแผลกดทับมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ต้องการพัฒนาและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตที่นอนน้ำสำหรับผู้ป่วยแผลกดทับ ซึ่งแต่เดิมได้ทดลองนำถุงปัสสาวะที่ยังไม่ได้ใช้งานมาบรรจุน้ำขนาดเท่ากับกระดาษ A4 จำนวนหลายถุง และนำไปใช้กับ ผู้ป่วยแผลกดทับเพื่อทดลองนอน ผลที่ได้รับเป็นที่น่าพอใจเนื่องจากถุงน้ำที่ทำขึ้นนั้นสามารถชะลอการเกิดแผลกดทับของผู้ป่วยได้ จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาต่อยอดทำเป็นต้นแบบที่นอนน้ำโดยใช้วัสดุจากยางพารานำมาผลิตเป็นถุงน้ำลักษณะคล้ายกระเป๋าน้ำร้อนแทนถุงปัสสาวะ แต่เมื่อผู้ประกอบการผลิตใช้งานกับผู้ป่วยได้ระยะหนึ่งก็พบปัญหา คือถุงน้ำที่ทำจากยางพารามีการรั่วแตกไม่ได้มาตรฐาน
ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขอเชิญผู้ประกอบกิจการซอฟต์แวร์และไอทีทุกประเภท รวมถึงผู้ประกอบการด้านนาโนเทคโนโลยี ไบโอเทคโนโลยี และสตาร์ทอัพ ที่ต้องการเริ่มต้นธุรกิจ จัดโครงสร้างองค์กรอย่างเป็นระบบ พร้อมเพิ่มศักยภาพให้เติบโตอย่างยั่งยืนด้วยกลไกบ่มเพาะ เชื่อมโยงพันธมิตร และขยายเครือข่ายออกสู่ตลาดใหม่ทั้งในและต่างประเทศ สมัครเข้าร่วม “โครงการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี (SUCCESS 2019)” เพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สมัครออนไลน์และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://bit.ly/30SuZ5O สอบถามเพิ่มเติม โทร. (02) 564-7000 ต่อ 81496, (081) 913-1828 อี-เมล [email protected]
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ขอเชิญผู้ประกอบการชาและกาแฟ รวมถึงอาจารย์ นักวิจัย และผู้สนใจ ร่วมกิจกรรมในโครงการ “Tea & Coffee Innovation Trip” เพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงระบบชาและกาแฟ ทั้งในเชิงศิลปะและอุตสาหกรรม พร้อมเยี่ยมชมสถานที่ผลิตชา และพบปะผู้เชี่ยวชาญด้านชาและกาแฟในพื้นที่ เพื่อให้เกิดมุมมองหรือแนวคิดในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมชาและกาแฟต่อไป ระหว่างวันที่ 8-12 กรกฎาคม 2562 ที่จังหวัดเชียงราย ด่วน! รับจำนวนจำกัด 25 ท่านเท่านั้น ตั้งแต่วันนี้ – 20 มิถุนายน 2562 ค่าธรรมเนียมท่านละ 22,000 บาท รายละเอียดคลิก https://forms.gle/yC3gMiLXVA9Zmta59 และพิเศษ 11 กรกฎาคม ที่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (FI-MFU TEA & Coffee Design Sprint) เข้าฟังฟรี! ลงทะเบียนที่ https://forms.gle/9XeWhDrvqXWdkySn7
โครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest” เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต” เพื่อพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ ผ่านการพัฒนาการศึกษาในสาขาสะเต็ม ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมของเยาวชนสู่การเป็นกำลังคนที่มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งการจัดประกวดได้มีมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 แล้ว และเป็นจุดกำเนิดเมกเกอร์เยาวชนรุ่นใหม่หลายพันคนจากโครงการฯ นี้ ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เปิดเผยว่า “ในสถานการณ์ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมโลกกำลังมุ่งไปสู่ยุค 4.0 บุคลากรที่เป็นที่ต้องการจำนวนมากในขณะนี้ คือเยาวชนรุ่นใหม่จากอาชีวศึกษาและช่างเทคนิคที่มีทักษะเฉพาะด้านที่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอันเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ศตวรรษที่ 21 ดังนั้น ภารกิจหลักของอาชีวะ คือ มุ่งหาแนวทางเพิ่มปริมาณและคุณภาพนักเรียน นักศึกษาอาชีวศึกษา ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ซึ่งโครงการ “Enjoy Science: Young Makers Contest” เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ส่งเสริมการศึกษาและมีการดำเนินการอย่า
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม (สกสว.) โดยชุดโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Innovative House ฝ่ายอุตสาหกรรม นำผู้ประกอบการในโครงการ “การสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง” จำนวน 24 ราย ร่วมนำเสนอสินค้าและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมบริเวณบู๊ธ Innovation Pavilion สวทช.-สกสว. ภายในงาน THAIFEX 2019 จัดโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการ นวัตกรรมด้านอาหารของไทยได้แสดงผลงาน สร้างเวทีเจรจาธุรกิจกับผู้ซื้อทั่วโลก พร้อมเปิดโอกาสจำหน่ายสินค้าและบริการต่างๆ ต่อยอดธุรกิจสู่ตลาดสากล นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สวทช. เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการ “การสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลางในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมอื่นที่เกี่ยวข้อง” ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาของ สวทช. และ สกสว. เพื่อร่วมกันสนับสนุนผู้ประกอบ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนา เทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ร่วมกับ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ให้การสนับสนุนผู้ประกอบการ SME กลุ่มอุตสาหกรรมผักและผลไม้ ภายใต้โครงการ “ยกระดับผักและผลไม้ไทย : โอกาสสำหรับพัฒนาเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืน” ด้วยการส่งเสริมให้จัดทำมาตรฐาน ThaiGAP 2 in 1 ที่สามารถตรวจร่วมกันทั้งมาตรฐาน ThaiGAP และ Q GAP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันในอาเซียน และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในด้านความปลอดภัยของสินค้าเกษตร พร้อมเพิ่มความสะดวกในการขอรับรองมาตรฐานให้ง่ายขึ้นด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชั่น 2 in 1 GAP Platform Service โดยผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์วิจัยและพัฒนา มาตรฐานสินค้าเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ร่วมกับภาคเอกชน บริษัท สเต็ม เอ็ดดูเคชั่น แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด โดยในงาน THAIFEX 2019 มีบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ที่ได้รับรองมาตรฐาน ThaiGAP แบบ 2 in 1 ต้นแบบรายแรกของไทย ร่วมออกบู๊ธแสดงผลงาน นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย สภาหอการค้าแห่งประ
22 พฤษภาคม 2562 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรี สิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดงานประชุมวิชาการด้านความ หลากหลายทางชีวภาพ (International Conference on Biodiversity 2019: IBD2019) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2562 ณ ชั้น 22-23 เซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ จัดโดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) และ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอ
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ดำเนินการวิจัยร่วมกับ บริษัท บานตะไท จำกัด ในการพัฒนานวัตกรรมไฮโดรเจลอาหารลูกกุ้งสูตรไร้ปลาป่น โดยจัดกิจกรรมแสดงผลงานการใช้งานจริงที่ ‘ชุติกาญจน์ฟาร์ม’ จังหวัดฉะเชิงเทรา ฟาร์มเพาะเลี้ยงลูกกุ้งต้นแบบโดย บริษัท ไทยยูเนี่ยน แฮชเชอรี่ จำกัด ที่ใช้สูตรเลี้ยงลูกกุ้งดังกล่าว โดยทีมวิจัยได้พัฒนาสูตรอาหารเลี้ยงลูกกุ้งแบบไร้ปลาป่น ใช้เทคโนโลยีการกักเก็บสารสำคัญในโครงสร้างแบบเจล เพิ่มความสามารถดูดซึมให้กับลูกกุ้ง ยืดอายุให้ไม่เน่าเสียเร็ว และกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำได้เป็นอย่างดี ตอบโจทย์ความมั่นคงทางอาหารตามข้อกำหนด EU ที่ลดการใช้ปลาป่นเป็นอาหารสัตว์น้ำ พร้อมเดินหน้าต่อยอดนวัตกรรมช่วยเกษตรกรไทยสร้างผลผลิตที่มีคุณภาพ เข้าถึงตลาดใหม่ และขายได้ในราคาสูงขึ้น ดร. ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สวทช. เปิดเผยว่า ปัจจุบันภาพรวมมูลค่าตลาดอุตสาหกรรมอาหารสัตว์น้ำจากการคำนวณมูลค่าตลาดและอัตราการเติบโตของสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยในปี 2561 พบว่า อุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกุ้
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ สพภ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรด้านความหลากหลายทางชีวภาพ อาทิ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านความ หลากหลายทางชีวภาพ (International Conference on Biodiversity 2019: IBD2019) ขึ้นระหว่างวันที่ 22-24 พฤษภาคม 2562 ณ ชั้น 21-22 เซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ เพื่อร่วมกันยกระดับงานวิจัยและอนุรักษ์ รวมทั้งการใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพจากความหลากหลายทางชีวภาพนี้ อันจะมีประโยชน์อย่างสูงในการส่งมอบทรัพ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ขอเชิญผู้ประกอบการผักและผลไม้ รวมถึงกลุ่ม SME ทั่วไปในจังหวัดราชบุรีและใกล้เคียง เข้าร่วมอบรมสัมมนาในหัวข้อ “การพัฒนาเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืนด้วยนวัตกรรม 4.0” ภายใต้โครงการยกระดับผักและผลไม้ไทย : โอกาสสำหรับพัฒนาเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืน เพื่อรับทราบถึงแนวทางพัฒนาการเกษตรด้วยนวัตกรรม และการก้าวสู่ระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farmer) พร้อมรับฟังบรรยายนวัตกรรมและกระบวนการที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มทาง เกษตร โดยนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญ ในวันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2562 เวลา 08.30-16.30 น. ที่โรงแรม ณ เวลา อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ขอสงวนสิทธิ์รับเฉพาะผู้ประกอบการที่จดทะเบียนนิติบุคคล จำนวนจำกัด 50 ท่าน ภายใน 17 พฤษภาคมนี้ สอบถามและลงทะเบียนได้ที่ คุณพนิตา โทร. 02-564-7000 ต่อ 1301 มือถือ 063-915-6656 หรืออีเมล [email protected]