สัตว์น้ำ
บริษัท คาร์กิลล์สยาม จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอาหารและสินค้าเพื่อการเกษตร เล็งเห็นถึงความสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมประมงในประเทศไทย เปิดศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสัตว์น้ำ คาร์กิลล์ ประจำประเทศไทย หรือ Cargill Technology Application Center ที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคเอเชียใต้ เพื่อยกระดับมาตรฐานแก่เกษตรกรผู้เลี้ยง สัตว์น้ำในไทยด้านโภชนาการอาหารสัตว์น้ำและการจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยศูนย์ฯ แห่งใหม่นี้ได้นำวิธีการดำเนินงานที่ดีที่สุดและความชำนาญด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระดับโลกจากเครือข่ายศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสัตว์น้ำจาก 20 ประเทศ ทั่วโลกมาใช้ ซึ่งศูนย์ฯ ในประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคเอเชียใต้ และเป็นหนึ่งในศูนย์ฯที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีระดับโลกในการเพาะเลี้ยงกุ้งของ คาร์กิลล์ ซึ่งจะมีนักวิทยาศาสตร์และช่างเทคนิคฟาร์ม ประมาณ 10 คน ประจำการในปลายปี 2561 มร. แชด กวอเกอร์ กรรมการผู้จัดการ ธุรกิจอาหารสัตว์น้ำ คาร์กิลล์ ประจำภูมิภาคเอเชียใต้ กล่าวว่า “อุตสาหกรรมประมงกำลังเฟื่องฟูในภูมิภาคเอเชียเพื่อตอบสนองความต้องการอาหารประเภทปลา กุ้ง และอาหารทะเลอื่นๆ ที่เพิ่มมากขึ้น คาร
นายอุทัย สิงห์โตทอง ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม กล่าวว่า ขณะนี้ได้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน จึงขอแจ้งเตือนให้เกษตรกรที่ทำอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้เตรียมรับสถานการณ์ ประกอบกับภูมิอากาศตั้งแต่กลางเดือน พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไป จะมีสภาพอากาศ ร้อน อบอ้าว สลับกับฝนตก เนื่องจากย่างเข้าสู่ฤดูฝน ทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำปลากระชัง สำหรับการเตรียมการรับสถานการณ์ของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ให้เกษตรกรติดตาม ข่าวสารพยากรณ์อากาศทางราชการอย่างใกล้ชิด ปรับปรุงบ่อ และเสริมคันบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้สูง จัดขุดร่องระบายน้ำที่ตื้นเขินออกเพื่อทำให้น้ำไหลออกได้สะดวกมากขึ้น ควบคุมการใช้น้ำให้พอเหมาะ จัดเตรียมเครื่องอุปกรณ์ทำออกซิเจนไว้ให้พร้อมใช้งานได้ทันที และเตรียมอวน เครื่องสูบน้ำ เพื่อทำการสูบน้ำออกเมื่อมีน้ำไหลเข้าบ่อมากเกินความจำเป็น เมื่อบ่อไหนมีสัตว์น้ำที่สามารถจับได้แล้วให้ทยอยจับขึ้นจำหน่าย ก่อนที่จะเกิดความเสียหาย หลีกเลี่ยงการปล่อยสัตว์น้ำในขณะมีฝนตก จากการเตรียมการดังกล่าว ทางประมงจังหวัดได้แจ้งให้ นายอำเภอ ทั้ง 3 อำเภอ อำเภอเมือง อำเภออัมพวา และอำเภอบางคนที ได้ท
กรมประมง ยอมออกประกาศคุมเข้มการใช้งานระบบ VMS เพื่อติดตามเรือประมงจัดทีมลุย! เช็กสภาพอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ 1-30 มีนาคมนี้ ณ ศูนย์แจ้งเข้า-แจ้งออกเรือประมง (PIPO) ก่อนออกทำการประมง หนุนแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ชี้ที่ผ่านมาระบบมีปัญหามาจากบริษัทเอกชนและกรมประมง 90% ทำให้ อียู คลางแคลงใจสินค้าที่นำเข้า รายงานข่าวจากกรมประมง เปิดเผยว่า พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กำหนดให้เรือประมงขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป ที่ออกทำการประมงพาณิชย์ ต้องดำเนินการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (VMS) และดูแลรักษาระบบดังกล่าวให้สามารถใช้งานได้ตลอดเวลา เพื่อดำเนินการตามมาตรการตรวจสอบ ควบคุม เฝ้าระวัง ร่วมกับกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ในการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ ประกาศจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2560 นี้ กรมประมงจึงขอให้เจ้าของหรือผู้ควบคุมเรือ ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป นำเรือประมงและเรือขนถ่ายสัตว์น้ำหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำ เร่งเข้าตรวจสอบอุปกรณ์ VMS ภายในระยะเวลาตามที่ประกาศกำหนดไว้ ซึ่ง
คุณฤชัย วงศ์สุวัฒน์ ที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงแปรรูปสัตว์น้ำจังหวัดพัทลุง เปิดเผยว่า ทางกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดพัทลุงจำนวนหนึ่งได้รวมกลุ่มกันดำเนินการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงแปรรูปสัตว์น้ำจังหวัดพัทลุง โดยมี คุณศักดิ์นรินทร์ ทองสีดำ เป็นประธานกรรมการ และทางวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงแปรรูปสัตว์น้ำจังหวัดพัทลุง ทำบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) กับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีพัทลุง โดยจะใช้พื้นที่ทางการศึกษา ของสาขาวิชาประมง ซึ่งมีอาคารโรงเพาะฟักสัตว์น้ำ แปรรูป บ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้กับนักศึกษาและประชาชนโดยทั่วไป จะก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมากทางด้านการศึกษา ด้านอาชีพ และรายได้ให้กับประชาชน และนักศึกษาของวิทยาลัยเกษตรกรรม ที่เมื่อเรียนจบแล้ว ก็จะเข้าทำงานในวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงแปรรูปสัตว์น้ำจังหวัดพัทลุง และประกอบอาชีพได้ คุณฤชัย กล่าวอีกว่า จะเกิดผลดีต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดใกล้เคียงทางภาคใต้ ซึ่งเดิมจะต้องสั่งลูกปลามาจากจังหวัดนครนายกและจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น ต้องเพิ่มต้นทุนการผลิต เพราะค่าขนส่งเป็นเงินจำนวนมา
นายสุไลมาน ดาราโอะ ประธานบริหารจัดการทรัพยากร โดยชุมชนอำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี เผยว่า ทางชมรมสนับสนุนการทำประมงเชิงอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการทำประมงด้วยเครื่องมือที่ถูกกฎหมายเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของอาชีพการทำประมงชายฝั่ง ปัจจุบัน ทางชมรมได้ดำเนินกิจกรรมมากมาย เช่น 1. การสร้างธนาคารปูม้า 2. ธนาคารหมึก 3. ทำแนวเขตอนุรักษ์เขต ห้ามทำประมงด้วยเครื่องมือทุกชนิด และ 4. การวางซั้ง ปะการังเทียม โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานด้านประมงและหน่วยงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นับได้ว่าทางชมรมประสบความสำเร็จอย่างมาก และเป็นอำเภอเดียวตลอดแนวชายฝั่งของจังหวัดปัตตานี ที่ชาวประมงไม่ใช้เครื่องมือทำประมงที่ผิดกฎหมาย รวมทั้งมีการจัดการอนุบาลทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างเป็นระบบ เพื่อนำปล่อยสู่ทะเล เมื่อเจริญเต็มวัยชาวประมงก็ดักอวนมาขายเป็นรายได้ เช่น ธนาคารปูม้า ธนาคารหมึก เป็นต้น นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนพันธุ์กุ้งแชบ๊วย กุ้งกุลาดำ จากศูนย์วิจัยพัฒนาประมงชายฝั่งปัตตานี มาปล่อยเป็นระยะๆ และทางชมรมยังสร้างแนวเขตอนุรักษ์เป็นเขตห้ามทำประมงด้วยเครื่องมือทุกชนิด มีการวางซั้
นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า โครงการช่วยเหลือเกษตรกรในการลดต้นทุนการผลิตด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ นับเป็นนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งกรมประมงได้มีการทำ MOU ความร่วมมือข้อตกลงกับผู้ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำและผู้จำหน่ายปัจจัยการผลิตในการลดปัจจัยการผลิตในราคาที่ต่ำกว่าตลาด ซึ่งผู้ผลิตพันธุ์สัตว์น้ำที่เข้าร่วมโครงการจะเป็นผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ 1) ของกรมประมง และได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (GAP) หรือหากยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม GAP จะต้องมีการรับรองจากกรมประมงว่า เป็นผู้ที่มีความพร้อมในการเป็นฟาร์ม GAP ส่วนผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำ คือผู้ที่ขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการด้านการประมง (ทบ 2) ของกรมประมง และได้รับมาตรฐานการผลิต GMP ของกรมประมง ขณะนี้ทราบว่า มีผู้จำหน่ายพันธุ์สัตว์น้ำและผู้ประกอบการจำหน่ายปัจจัยการผลิต รวมถึงบริษัทผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำจากทั่วประเทศ 121 ราย สมัครเข้าร่วมโครงการและแสดงเจตจำนงในการลดราคาจำหน่ายพันธุ์สัตว์น้ำและอาหารสัตว์น้ำ สูงสุดถึง 50% และจะเริ่มจำหน่ายในราคาพิเศษนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาค