สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร
นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ประธานอนุกรรมการสรรหาเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหาเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อทำหน้าที่สรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 1 อัตรา โดยมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ดังนี้ 1. มีสัญชาติไทย 2.อายุไม่เกินหกสิบห้าปีบริบูรณ์ 3. มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ มีผลงานและประสบการณ์ที่จะปฏิบัติงานให้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้เต็มเวลา 4. ไม่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือกรรมการ ที่ปรึกษา หรือเจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง 5. ไม่เป็นข้าราชการ พนักงานองค์กรของรัฐซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ 6. ไม่เป็นบุคคลซึ่งทางราชการหรือรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานอื่นของรัฐไล่ออก ปลดออก ให้ออก หรือเลิกจ้างเพราะเหตุทุจริตต่อหน้าที่ 7. ไม่เคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จ
สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ระดมคณะผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดทั้ง 77 จังหวัด จัดสัมมนา 4 ภาค เพื่อทำแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด และสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่คณะอนุกรรมการฯ เดินหน้าลุยงานฟื้นฟูและแก้หนี้เกษตรกร นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) กล่าวถึงการจัดสัมมนาจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ปีงบประมาณ 2568 และสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดว่า จะดำเนินการใน 4 ภาค โดยเริ่มที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมี ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมมอบนโยบายการทำงานเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร ส่วนภาคใต้ จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี วันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ ภาคกลาง ที่จังหวัดเพชรบุรี วันที่ 12-14 มีนาคม และภาคเหนือ ที่จังหวัดพิษณุโลก วันที่ 19-21 มีนาคม การจัดสัมมนาดังกล่าว เพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด และสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของคณะอนุ
เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ แจงผลงานรอบปี 2567 สามารถฟื้นฟูเกษตร และแก้ไขปัญหาหนี้สินให้เกษตรกรได้ตามเป้าหมายที่มีการจัดสรรงบประมาณให้ พร้อมเดินหน้าสานต่อภารกิจในปีหน้าอย่างเต็มที่ นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานในรอบปี 2567 ในการฟื้นฟูอาชีพ พัฒนาองค์ความรู้เกษตรกร และแก้ปัญหาหนี้ให้เกษตรกรสมาชิกว่า ภารกิจด้านการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้เน้นสนับสนุนและให้ความรู้ด้านเกษตร หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มรายได้ให้องค์กรเกษตรกร และเกษตรกรทั่วประเทศ ดังนั้น จึงมีการจัดสรรงบประมาณในส่วนนี้กว่า 190 ล้านบาท จากงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรทั้งหมดในปีนี้ จำนวน 1,191,798,851 บาท เพื่อให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ กว่า 5 ล้านคน ได้มีศักยภาพในการหารายได้ และสร้างความมั่นคงในอาชีพเกษตร ส่วนภารกิจการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้เกษตรกร งบประมาณในปีนี้กว่า 295 ล้านบาท โดยเป็นการชำระหนี้แทนเกษตรกรที่เป็นหนี้กับสถาบันการเงินต่างๆ และซื้อทรัพย์ที่ถูกขายทอดตลาดคืนให้เกษตรกร เพื่อให้เกษตรกรได้มาผ่อนชำระหนี้กับกองทุนฟื้นฟูฯ
นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า ด้วยคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด ได้ครบวาระการปฏิบัติหน้าที่ ไปเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา และเพื่อให้การดำเนินงานของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เป็นไปตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร คณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการสรรหาอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด 77 จังหวัด ตามระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ว่าด้วยการกระจายอำนาจการบริหาร พ.ศ. 2556 จึงประกาศรับสมัครอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัดทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 21-27 กรกฎาคม 2565 ในวันและเวลาราชการ เพื่อเข้ามาทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรเกษตรกรทั้งด้านการฟื้นฟูอาชีพ และการจัดการหนี้ให้เกษตรกรสมาชิก นายสไกร กล่าวเพิ่มเติมว่า สัดส่วนของคณะอนุกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจังหวัด ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรเกษตรกร จำนวน 8 คน ผู้แทนภาคราชการและผู้แทนภาคเอกชน จำนวน 8 คน หัวหน้าสำนักงานสาขาจังหวัด เป็นอนุกรรมการและเลขานุการ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราว
เลขากองทุนฯ สั่งสาขาจังหวัดปิดประกาศรายชื่อเกษตรกรได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ตามมติ ครม. 50,621 ราย ย้ำเร่งรัดสาขาใช้จ่ายงบกลางปี 65 ให้ถูกต้อง แล้วเสร็จตามกำหนด วันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2565 ที่ห้องประชุมโรงแรมเซนทรารา อุดรธานี นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ได้กล่าวมอบนโยบายการทำงานด้านการใช้จ่ายงบกลางปี 2565 และการดำเนินงานตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ให้แก่หัวหน้าสำนักงานและพนักงานสาขาจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 สาขา โดยกำชับให้สาขาจังหวัดออกคำสั่งสำนักงานปิดประกาศรายชื่อเกษตรกรสมาชิกที่ได้สิทธิ์ปรับโครงสร้างหนี้ลูกหนี้ธนาคารของรัฐ 4 แห่ง จำนวน 50,621 ราย เพื่อให้เกษตรกรและองค์กร ที่สมาชิกสังกัดรับทราบ และมารายงานตัวเข้าร่วมโครงการตามแนวทางที่สำนักงานกำหนด นายสไกรกล่าวว่า สำนักงานสาขาจังหวัด ต้องเร่งปิดประกาศรายชื่อเกษตรกรและองค์กรที่สังกัด เพื่อให้รับรู้และเตรียมความพร้อมเข้าร่วมโครงการ ซึ่งสำนักงานได้เตรียมความพร้อมรองรับการดำเนินงานไว้แล้ว เช่น การทำแบบรายงานตัวเข้าร่วมโครงการ การทำแบบรายงานตัวเข้าร่วมการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ (ผก. 1/4) และแ
นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ กฟก. เปิดเผยว่า จากที่มีพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร เพราะส่งผลให้การดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาหนี้สิน เป็นไปด้วยความคล่องตัว โดยเฉพาะกรณีแก้ปัญหาหนี้ที่ใช้บุคคลค้ำประกัน และได้นำมาสู่การออกระเบียบคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรว่าด้วยการจัดการหนี้ของเกษตรกร กรณีหนี้ที่มีบุคคลค้ำประกันพ.ศ. 2563 ที่ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯ มีอำนาจในการเข้าไปแก้ไขหนี้ที่เกิดจากอาชีพการเกษตรด้วยการกู้ยืมโดยใช้บุคคลค้ำประกัน จากสถาบันการเงินต่าง ๆ เช่น สหกรณ์ ธกส. ธนาคารพาณิชย์ และนิติบุคคล รวมทั้งธนาคารของรัฐ เป็นต้น “ ทั้งนี้ตามกฎหมายเดิมนั้น ไม่ได้ครอบคลุมถึงหนี้ที่ใช้บุคคลค้ำประกัน ทำให้กองทุนฟื้นฟูฯจัดการได้เฉพาะหนี้ที่ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน พอรัฐบาลได้รับทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น จึงได้ผลักดันให้แก้กฎหมายจนสำเร็จ และส่งผลให้กองทุนฟื้นฟูฯเข้าไปแก้ไขปัญหาหนี้บุคคลค้ำประกันได้ ดังนั้นจึงขอฝาก
นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการ รักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า เจตนารมณ์ในการก่อตั้งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร หรือ กฟก. ขึ้นมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูพัฒนาอาชีพเกษตรกรและการแก้ปัญหาหนี้สินให้กับพี่น้องเกษตรกร ซึ่งในด้านการแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร กองทุนฟื้นฟูฯ ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรสมาชิกที่เป็นหนี้ในระบบอันมาจากการประกอบอาชีพด้านการเกษตรตามระเบียบที่กำหนดมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้หลักเกณฑ์ที่กำหนดใน 2 รูปแบบ “รูปแบบที่ หนึ่ง การช่วยซื้อหนี้ที่เกษตรกรเป็นหนี้สถาบันการเงินหรือหนี้สถาบันการเกษตรในรูปแบบต่างๆ เช่น หนี้สหกรณ์แล้วชำระหนี้ไม่ได้กำลังจะเข้าสู่กระบวนการยึดทรัพย์หรือยึดที่ดินทำกินที่นำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมโดยกองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปซื้อหนี้ แล้วโอนหลักทรัพย์มาไว้ที่กองทุนและให้เกษตรกรมาผ่อนชำระหนี้กับกองทุนแทน เมื่อผ่อนชำระจนหมดสิ้น จะคืนโฉนดหลักทรัพย์ที่ดิน และรูปแบบที่ สอง การซื้อหนี้บุคคลค้ำประกัน ซึ่งเกิดจากการผลักดันของ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานก
นายสมยศ ภิราญคำ รองเลขาธิการรักษาการในตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าในการพิจารณาแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ที่องค์กรเกษตรกรสมาชิกได้ยื่นเสนอ ทางคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้มีการประชุมและพิจารณาอนุมัติล่าสุดแล้ว รวมจำนวน 328 โครงการ งบประมาณรวม 172 ล้านบาท สำหรับขั้นตอนต่อไปของโครงการที่ได้รับการอนุมัติ ทางกองทุนฟื้นฟูฯ จะวางฎีกาเบิกเงินเพื่อให้สำนักบริหารกองทุนฯ โอนเงินไปที่สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรสาขาจังหวัด โดยทางสาขาจังหวัดจะจัดให้มีการประชุมร่วมกับตัวแทนกองค์กรเกษตรกรสมาชิก หรือเรียกว่า การปฐมนิเทศ เพื่อทำความเข้าใจพร้อมทำสัญญาเพื่อที่จะจ่ายงวดเงิน งวดงาน หลังจากนั้นองคกรเกษตรกรสมาชิก ไปดำเนินการตามแผนงานที่กำหนด และที่สำคัญต้องมีการจัดทำรายงานให้กับทางสาขาจังหวัดรับทราบถึงความคืบหน้า รวมถึงปัญหาอุสรรคที่เกิดขึ้น “ จากที่ กฟก. ได้เปิดให้องค์กรเกษตรกรสมาชิกได้ยื่นเสนอแผนงานและโครงการ ปรากฏว่าได้รับความสนใจและมีการยื่นเสนอเป็นจำนวนมาก โดยตั้งแต่ปลายปี 2563 เป็นต้นมาจนถึงต้นปี 2564 มีองค์กรเกษตรกรส
กองทุนฟื้นฟูฯ เร่งพิจารณาโครงการฟื้นฟูอาชีพที่องค์กรเกษตรกรยื่นย้ำโครงการดี อนุมัติไว ผ่านแล้วกว่า 200 โครงการ นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เปิดเผยว่า การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรสมาชิกที่มีอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 5.6 ล้านคน นับเป็นหนึ่งในภารกิจสำคัญที่กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรกำลังเร่งดำเนินการตามเจตนารมณ์ของ กฟก. ที่ต้องการเปิดโอกาสให้เกษตรกรสมาชิกที่ได้รับการจัดการหนี้แล้ว ต้องเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ด้วยการรวมกลุ่มไม่น้อยกว่าจำนวน 50 คน ขึ้นทะเบียนกับกฟก.ในนามองค์กรเกษตรกร และจัดทำแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพที่มีกิจกรรมด้านการเกษตร เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการโดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย “ในส่วนของผลการพิจารณาเพื่ออนุมัติแผนงานและโครงการฟื้นฟูที่องค์กรเกษตรกรได้เสนอยื่นของปีงบประมาณ 2564 จนถึงขณะนี้ ได้มีการอนุมัติไปแล้วกว่า 200 โครงการ แต่ละโครงการได้รับงบประมาณสนับสนุนประมาณ 400,000-500,000 บาท ซึ่งอยู่ระหว่างขั้นตอนของการโอนเงินสนับสนุนให้กับองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการอนุมัติ” นางรัชฎาภรณ์ กล่าวต่อไปว่า พร้อมกันน
สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ ลุ้นทางรอด รักษาที่ดินผืนสุดท้าย กฟก. เจรจา ธ.ก.ส. ขอชะลอดำเนินคดีทุกกรณี บรรเทาความเดือดร้อนให้สมาชิกและรักษาที่ดินทำกิน วันที่ 15 มีนาคม 2564 สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดย นายมนัส วงษ์จันทร์ ผู้อำนวยการสำนักจัดการหนี้ของเกษตรกร นายธนสรรค์ สีสม หัวหน้าส่วนจัดการหนี้ฯ 1 พร้อมด้วย นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล ที่ปรึกษาสหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย (สกท.) และตัวแทนกลุ่ม ร่วมเจรจาแก้ไขปัญหาหนี้ให้เกษตรกรสมาชิก กฟก. กับผู้แทนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) โดยมี นายกิตติภพ อรรถพร ผู้อำนวยการฝ่ายกฏหมาย พร้อมคณะผู้บริหาร ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 3 กระทรวงการคลัง ในประเด็นที่สมาชิกส่วนใหญ่เป็นหนี้ ธ.ก.ส. และได้รับผลกระทบจากการถูกฟ้องร้อง ดำเนินคดีทางกฎหมาย โดยทางกลุ่ม สกท. ได้ยื่นข้อเสนอให้ ธ.ก.ส. ชะลอการดำเนินการทางคดีกับสมาชิก กฟก. ในทุกกรณี ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2550 เพื่อให้ กฟก. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรตามแนวทางที่เหมาะสม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้สมาชิกและรักษาที่ดินทำกินอันเป็นทรัพย์สมบัติของเกษตรกรตา