สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
ภายในพื้นที่ 123 ไร่ ของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “เกษตรวิชญา” บ้านกองแหะ หมู่ที่ 4 ต.โป่งแยง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ คือ พื้นที่ดำเนินการภายใต้โครงการ ธนาคารอาหารชุมชน ที่มีสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการ มาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 ถือเป็นอีกหนึ่งการทำงานเพื่อสนองพระราชดำริแห่งการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่วันนี้ได้ประสบความสำเร็จ สามารถสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนได้ตามวัตถุประสงค์ ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ ส.ป.ก. กล่าวว่า ด้วยน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงรักและห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกร รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่แห่งนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานที่ดินส่วนพระองค์บริเวณบ้านกองแหะ จำนวน 1,350 ไร่ ให้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อจัดทำเป็นศูนย์ฝึกอบรม และวิจัยพัฒนาการเกษตรให้เหมาะสมกับพื้นที่ รวมทั้งการฟื้นฟูและอนุรักษ์สภาพแวดล้อมให้เกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตอาหารธ
กระทรวงเกษตรฯเผยแทรนด์บริโภคสมุนไพรกลุ่มคนรุ่นใหม่มาแรง มูลค่าการบริโภควัตถุดิบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศปี 62 สูงถึง 5.2 หมื่นล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 60 ที่มีมูลค่าเพียง 4.3 หมื่นล้านบาท เดินหน้าหนุนเกษตรกรปลูกสมุนไพรเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างรายได้ มั่งคง ยั่งยืนให้เกษตรกรในภาวะวิกฤติโควิด-19 จากแทรนด์การบริโภคของคนรุ่นใหม่หันมานิยมใช้สมุนไพรเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพมากขึ้น ประกอบกับเกิดกระแสค่านิยมการบริโภคอาหารปลอดภัยอย่างกว้างขวางทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้ตลาดสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นว่าน่าจะเป็นโอกาสทองในการส่งเสริมเกษตรกรไทยปลูกสมุนไพรให้ขว้างขวางมากขึ้น เพื่อสร้างรายได้และอาชีพที่ยั่งยืน มั่นคงแก่เกษตรกรไทยในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในรายการ “เกษตรบอกข่าว” ซึ่งออกอากาศทาง Facebook live : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า กระทรวงเกษตรฯจะเร่งเดินหน้าในการขับเคลื่อนการพัฒนาพืชสมุนไพรไทยอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งเสริมให้เกษตรกรไทยหันมาปลูกพืชส
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงห่วงใยประชาชน เมื่อทรงรับทราบถึงปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างป่า นำมาสู่ปัญหาช้างออกจากป่า มาสร้างความเดือดร้อนให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ในเขตพื้นที่ป่ารอยต่อ 5 จังหวัดในภาคตะวันออก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกันนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ โดยพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินี ทรงเป็นองค์ประธานที่ปรึกษา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงเป็นองค์ประธาน “พัชรสุธาคชานุรักษ์” อันมีความหมายว่า “น้ำทิพย์รักษาช้างให้แข็งแกร่งยืนยงดุจเพชร” เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด แนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบร
จากปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกร โดยเฉพาะในเขตพื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัดของภาคตะวันออก ด้วยมีสาเหตุจากที่ช้างป่าขาดแคลนแหล่งอาหาร ทำให้มีการเคลื่อนย้ายพื้นที่หากิน จึงลงมาที่แปลงเกษตรกรรมของเกษตรกร ทำความเสียหายแก่พืชผลทางการเกษตรของเกษตรกร โดยมีหมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันออก จำนวน 22 อำเภอ 56 ตำบล 299 หมู่บ้าน ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างประชาชนในพื้นที่ ในการอยู่ร่วมกันกับช้างป่าท่ามกลางความรุนแรงที่ทวีมากขึ้น โครงการพัชรสุธาคชานุรักษ์ คือโครงการสำคัญที่ดำเนินการในการแก้ไขปัญหา เพื่อทำให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกับช้างป่าได้อย่างสมดุลในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 3 ด้าน คือ ด้านที่ 1 การจัดการพื้นที่ป่า ด้านที่ 2 การจัดการพื้นที่แนวกันชน และ ด้านที่ 3 การจัดการพื้นที่ชุมชน โดยเน้นกลไกการทำงานร่วมกัน เชื่อมและประสานงานร่วมกันของหน่วยงานต่างๆ ทุกภาคส่วน ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร
“การเพาะเห็ดและการแปรรูปเห็ดนางฟ้า” คือ หลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ครูและเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยฆ้อง หมู่ที่ 5 ตำบลป่าก่อ อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งจัดขึ้น เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอำนาจเจริญ ดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพระบบงานเกษตร ภายใต้แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม หรือ โครงการ กพด.-ส.ป.ก. โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านห้วยฆ้อง เป็น 1 ใน 57 โรงเรียน จาก 24 จังหวัด ที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. กำหนดให้เป็นโรงเรียนเป้าหมายการดำเนินงานตามโครงการ กพด.-ส.ป.ก. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โครงการ กพด.-ส.ป.ก. เป็นโครงการ ที่ ส.ป.ก. ได้มีส่วนร่วมดำเนินการสนองพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ซึ่งโครงการ กพด.-ส.ป.ก. มีวัตถุประสงค์ให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารได้รับโอกา
โครงการเพิ่มศักยภาพระบบงานเกษตรภายใต้แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในส่วนของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ กพด.-ส.ป.ก. เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. ได้มีส่วนร่วมดำเนินงานสนองพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 เป็นต้นมา ด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นในการช่วยเหลือราษฎรในถิ่นทุรกันดารของพระองค์เอง โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีโอกาสได้รับความรู้และฝึกฝนตนเอง สามารถพัฒนาตนเองให้เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ พร้อมที่จะเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นับตั้งแต่วันแห่งการเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน เจ้าหน้าที่ทุกคนของ ส.ป.ก. ได้ทุ่มเทให้กับการทำงานภายใต้ โครงการ กพด.- ส.ป.ก. ที่ดำเนินการในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี พ.ศ. 2564 นี้ ส.ป.ก. ได้กำหนดโรงเรียนเป้าหมายดำเนินงานภายใต้โ
“ดินที่เหมาะสมสำหรับการเกษตรกรรม ต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ ดังนี้ มีแร่ธาตุที่เรียกว่า ปุ๋ย ส่วนประกอบสำคัญคือ 1) N (nitrogen) ในรูป nitrate 2) P (phosphorus) ในรูป phosphate 3) K (potassium) และแร่ธาตุ อื่น ๆ O H Mg Fe มีระดับ เปรี้ยว ด่าง ใกล้เป็นกลาง (pH 7) มีความเค็มต่ำ มีจุลินทรีย์ มีความชื้นพอเหมาะ (ไม่แห้ง ไม่แฉะ) มีความโปร่งพอเหมาะ (ไม่แข็ง)” คำแนะนำจากเอกสารพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงพระราชทานเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2540 ได้สะท้อนถึงพระอัจฉริยภาพ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีต่อการพัฒนาด้านดิน เพื่อให้เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ ของเกษตรกรไทยในฐานะที่เป็นครัวของโลก การพัฒนาด้านดิน เป็นอีกหนึ่งพระราชกรณียกิจที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงให้ความสำคัญ และได้พระราชทานแนวพระราชดำริในการแก้ไขปัญหาดิน การอนุรักษ์และฟื้นฟูดิน อันสืบเนื่องมาจากการเสื่อมโทรม การชะล้างพังทลาย สภาพที่เปรี้ยวจัดหรือเค็มจัด จนไม่เหมาะสมกับการเกษตรกรรม เป็นต้น ด้วยพระปรีชาสามารถ และพระวิริยะอุตสาหะใน
ส.ป.ก. ส่งเสริมอาชีพเกษตรกร พื้นที่ คทช ส.ป.ก.4-01 จ.อุทัยธานี-นครสวรรค์ หนุนรวมกลุ่มบริหารจัดการผ่านระบบสหกรณ์ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ดร. วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาล นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคม หนุนสร้างโอกาสการเข้าถึง บริการภาครัฐ เพื่อแก้ปัญหาการไร้ที่ดินทำกินของเกษตรกร การรุกล้ำเขตป่าสงวนฯ และการรักษา ความมั่นคงของฐานทรัพยากร การสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยจัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ขึ้น เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่สงวนหวงห้ามของรัฐ และจัดสรรที่ดินให้กับผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินและอยู่อาศัย ได้มีที่ทำกิน เพื่อใช้ประโยชน์ในที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส.ป.ก. ได้ดำเนินโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล (คทช.) อำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี โดยนำที่ดินแปลงว่าง เนื้อที่ 3,239-2-39 ไร่ ที่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) เคยขอใช้ประโยชน์และหมดอายุสัญญาเช่าจาก ส.ป.ก. มาดำเนินการจัดที่ดิน ในลักษ
นอกเหนือจากการจัดสรรที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้กับเกษตรกรที่ยากไร้ 2.9 ล้านราย รวม 3.7 ล้านแปลง คิดเป็นพื้นที่ 36.2 ล้านไร่ อีกทั้งยังจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ในเขตปฏิรูปที่ดิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558-2562 จำนวน 74 พื้นที่ 17 จังหวัด เนื้อที่ 74,679.85 ไร่ อีกหนึ่งการทำงานที่ ส.ป.ก.ได้ดำเนินการควบคู่ไปด้วย คือ การพัฒนาอาชีพเกษตรกร เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเองได้ ซึ่งโครงการส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพ ทั้งในและนอกภาคการเกษตร ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่ส.ป.ก.ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอีกหนึ่งการทำงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอาชีพของเกษตรกร นำมาซึ่งการอยู่ดีกินดี กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นการดำเนินการของส.ป.ก.ที่มีเป้าหมายเพื่อเผยแพร่พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยน้อมนำแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่มาบริหารจัดการและพัฒนาพื้นที่ทำกิน เน้นการจัดการที่ดินและน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความเ
โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาสระแก้ว-ปราจีนบุรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่มาจากพระเมตตาของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อทรงได้รับทราบถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรที่อยู่อาศัยในเขตพื้นที่ราบเชิงเขา ตามแนวสันเขาบรรทัดที่เชื่อมติดต่อกับสาธารณรัฐกัมพูชา ในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดสระแก้ว ที่นอกจากต้องประสบปัญหาพื้นที่เสื่อมโทรม ดินขาดความอุดมสมบูรณ์และขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร ส่งผลให้ราษฎรตกอยู่ในสภาพยากจนแล้ว ยังต้องอยู่ในอันตราย และหวาดกลัวภัยจากอิทธิพลของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เคลื่อนไหวปฏิบัติการในพื้นที่ จากความทุกข์เข็ญที่เกิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการช่วยเหลือและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ุ องคมนตรีประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินงานพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ โดยได้เริ่มดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2521 เป็นต้นมา พร้อมทรงพระราชทานแนวทางการพัฒนาหลัก 3 ด้าน คือ การพัฒ