หมอเกษตรทองกวาว
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมมีความสงสัยว่า การปลูกต้นไม้จำเป็นต้องใส่ปุ๋ยหรือไม่ ผมเคยดูทีวี เห็นว่าเกษตรกรหลายท่านปลูกพืชผลไม่มีการใส่ปุ๋ยเคมีแต่อย่างใด จะใส่เพียงปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักเท่านั้นก็เพียงพอแล้ว อีกทั้งยังขายได้ราคาดีอีกด้วย คุณหมอเกษตร ในฐานะที่ท่านคร่ำหวอดอยู่ในวงการเกษตร ท่านมีความเห็นอย่างไร ขอคำแนะนำด้วยครับ วรพจน์ วงศ์อำนวย กาญจนบุรี ตอบ คุณวรพจน์ วงศ์อำนวย ปุ๋ย หมายถึงวัสดุที่ใส่ลงในดิน หรือฉีดพ่นที่ใบ แล้วปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นแก่พืช ได้แก่ ธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม สามารถทำให้ต้นไม้เจริญเติบโต ให้ผลผลิต และสืบเผ่าพันธุ์ได้อย่างสมบูรณ์ ในธรรมชาติของต้นไม้ วงจรชีวิตเริ่มจากเมล็ด แล้วงอกเป็นต้นกล้า เข้าสู่ระยะเจริญเติบโตเป็นวัยเจริญพันธุ์ และสุกแก่ลงในที่สุด ภายในผลมีเมล็ดอยู่ภายใน ตั้งแต่ 1 เมล็ด ไปจนถึงจำนวน 100 เมล็ด ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช การเจริญเติบโตจนถึงระยะสุกแก่ ต้นไม้ต้องผ่านขบวนการสังเคราะห์แสง ที่ใบไม้ที่มีสีเขียวของคลอโรฟีล เป็นโรงงานผลิตแป้งและน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต (CHON) แสงแดด เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง รวมทั้งก๊าซคาร์บอนไดออก
ส่วนที่เป็นหม้อข้าวของหม้อข้าวหม้อแกงลิง หลายคนเข้าใจว่าเป็นดอก แต่ความเป็นจริงคือ ใบ ที่พัฒนามาเป็นหม้อข้าว เพื่อใช้เป็นกับดักแมลง จากการสันนิษฐานของนักวิชาการ สรุปว่า ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเป็นพืชที่วิวัฒนาการมาจากแหล่งที่มีดินขาดความอุดมสมบูรณ์ หรืออาจขาดธาตุใดธาตุหนึ่ง มันจึงพัฒนาส่วนของปลายใบขึ้นมาเป็นกับดักแมลง แล้วผลิตน้ำย่อยออกมาย่อยตัวแมลงที่จับไว้ได้ เพื่อนำสารอาหารที่ต้องการไปหล่อเลี้ยงตัวมันเองให้สมบูรณ์ สามารถสืบเผ่าพันธุ์ต่อไปได้ หม้อข้าวหม้อแกงลิง มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เจริญเติบโตอยู่ในที่ราบ และ กลุ่มที่เจริญเติบโตอยู่ในบริเวณที่สูง ทั้งนี้ กลุ่มแรกต้องการอากาศร้อนชื้น ส่วนกลุ่มที่สอง ต้องการอากาศหนาวเย็น ดังนั้น การนำหม้อข้าวหม้อแกงลิงมาปลูกเลี้ยงใน กทม. และเขตปริมณฑล จำเป็นต้องเลือกกลุ่มแรก สังเกตได้จากมีการปลูกเลี้ยงกันอยู่ทั่วไป จึงจะได้ผลดี หม้อข้าวหม้อแกงลิงกลุ่มนี้ต้องการแสงแดดเพียง 60-80 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น แสงแดด เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อขนาดและสีสันของหม้อข้าวหม้อแกงลิง จึงควรหลีกเลี่ยงการปลูกเลี้ยงในสภาพใต้ร่มเงา ส่วนความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศอยู่ในระดับ 80 เปอ
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมสนใจการเพาะเลี้ยงปลาหมอไทย เพราะเห็นว่าตลาดมีความต้องการ จึงขอเรียนถามว่า ปลาชนิดนี้มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร และมีนิสัยเป็นอย่างไร ถ้าจะเปรียบเทียบปลาสลิดแล้ว ปลาชนิดไหนเลี้ยงง่ายกว่ากัน สำหรับแหล่งจำหน่ายพันธุ์จะติดต่อที่ไหน ผมขอความกรุณาคุณหมอเกษตรแนะนำด้วยครับ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง วินัย สุขนันทพัฒน์ ตอบ คุณวินัย สุขนันทพัฒน์ ปลาหมอ หรือ ปลาหมอไทย (Climbing Perch : Anabas testudineus) ปลาสายพันธุ์นี้พบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป ที่จีนตอนใต้ ไทย พม่า อินเดีย เวียดนาม ลาว ฟิลิปปินส์ และออสเตรเลีย ปลาหมอดังกล่าว เจริญเติบโตได้ดีทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อย นอกจากนี้แล้วยังมีความสามารถพิเศษในการหมกตัวอยู่ในโคลนตมได้เป็นเวลานานกว่าปลาสายพันธุ์อื่นๆ ปลาหมอเป็นปลากินเนื้อ ชอบกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ตัวอ่อนของแมลงที่อาศัยอยู่ในน้ำ กุ้งฝอย หรือลูกปลาขนาดเล็ก แม้แต่เมล็ดข้าว และเมล็ดธัญพืชอื่นๆ ก็เป็นอาหารโปรดอีกด้วย รูปร่างปลาหมอ มีลำตัวป้อม ด้านข้างแบน ลำตัวยาวเป็นสามเท่าของความลึก ที่วัดจากสันหลังลงมาที่หน้าท้อง ลำตัวมีสีน้ำตาลเหลืองปนดำ ส่วนท้องมี
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ปัจจุบัน กัญชากำลังมาแรง ผมอยากทราบว่า ในกัญชานั้นมีสารอะไร ที่บอกว่า สามารถรักษาได้สารพัดโรค แล้วกัญชาต่างกับกัญชงอย่างไร และพืชอีกชนิดหนึ่งคือ กัญชาแมว เป็นพืชชนิดเดียวกันหรือไม่อย่างไร คำถามของผมอาจจะเชย แต่คำตอบก็เป็นประโยชน์กับตัวผมเองและผู้อ่านท่านอื่นๆ อีกด้วย ผมจึงขอรบกวนคุณหมอให้ข้อมูลรายละเอียดของพืชทั้งสามชนิดดังกล่าว ผมขอขอบคุณ หมอเกษตร มาในโอกาสนี้ ขอแสดงความนับถือ วรเมศร์ จันทร์ประสงค์สุข กรุงเทพฯ ตอบ คุณวรเมศร์ จันทร์ประสงค์สุข ปัจจุบัน ในบ้านเรามีการกล่าวขวัญถึงกัญชากันอย่างกว้างขวางและเกือบทุกวงการ กัญชา (Cannabis หรือ Marijuana ก็เรียกกัน) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp.indica มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ไซบีเรีย แถบเปอร์เซีย และทางตอนเหนือของอินเดีย ต่อมามีผู้นำมาปลูกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงอินโดนีเซีย และหมู่เกาะแปซิฟิก กัญชา มีลำต้นสูง 90-150 เซนติเมตร ใบแหลมเป็นแฉก ลึกเข้าไปในก้านใบ คล้ายมือมนุษย์ที่แบออก มี 5-7 แฉก แต่ละแฉก กว้าง 0.3-1.5 เซนติเมตร และยาว 6-10 เซนติเมตร ขอบใบเป็นจักรแบบฟันเลื่อย ลำต
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมมีโอกาสเดินทางไปต่างจังหวัดทางภาคเหนือ พบเห็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ต้นไม่สูงนัก ออกดอกสีม่วงอมชมพู กลีบดอกบอบบางสะอาดตา ถามผู้คนแถวนั้นว่า ต้นไม้นี้มีชื่อว่าอะไร ได้รับคำตอบว่าผักบุ้งต้น ผมอยากทราบว่าเป็นไม้ไทย หรือนำเข้ามาจากต่างประเทศ ผมจะนำมาปลูกในกรุงเทพฯ ได้หรือไม่ และมีวิธีขยายพันธุ์ และดูแลรักษาอย่างไร ขอคำอธิบายด้วยครับ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง สุรชัย เจริญสุขพงศ์ กรุงเทพฯ ตอบ คุณสุรชัย เจริญสุขพงศ์ ที่คุณสุรชัยเล่ามา เกี่ยวกับผักบุ้งต้นนั้น พืชชนิดนี้เป็นไม้ขนาดเล็กกึ่งเลื้อย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ipomoea carnea Jaeg. จัดอยู่ในวงศ์ Convolvulaceae มีลักษณะใบเดี่ยวเรียงเวียนรอบต้น ดอกเป็นรูปแตร ปากบาน กลีบดอกมี 5 กลีบ คล้ายดอกผักบุ้ง คนไทยจึงเรียกว่า ผักบุ้งต้น มีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลาง ที่มีอากาศร้อนคล้ายบ้านเรา นิยมปลูกตามริมรั้วบ้านเป็นไม้ประดับ ลักษณะเด่นคือ ออกดอกตลอดปี เมื่อเด็ดใบจะมีน้ำยางสีขาวไหลออกมา การขยายพันธุ์นิยมใช้วิธีปักชำ ให้เลือกกิ่งไม่แก่หรืออ่อนเกินไป ใช้มีดหรือคีมที่คมและสะอาด ตัดแยกออกมาจากต้นแม่ ยาวท่อนละประมาณ 25 เซนติเม
หลายบ้านปลูกต้นไม้ไว้ไกล้ๆ กับแหล่งที่ใช้น้ำในครัวเรือน เช่นใกล้อ่างล้างจาน ที่ระบายน้ำ เพื่อสะดวกแก่การรดน้ำต้นไม้ มีผู้อ่านถามมาในคอลัมน์ “หมอเกษตรทองกวาว” ว่า ปลูกมะนาวไว้หลายต้นในสวนหลังบ้าน ใกล้กับบริเวณที่ล้างจาน อยากทราบว่าจะใช้น้ำล้างถ้วยชามจากครัวที่บ้านรดต้นมะนาวได้หรือไม่? “หมอเกษตรทองกวาว” ให้คำตอบไว้ว่า น้ำที่ได้จากการล้างถ้วยชาม จะอุดมไปด้วยไขมันและโปรตีน ซึ่งโปรตีนจะแตกตัวเป็นแอมโมเนียรูปใดรูปหนึ่งที่เป็นแหล่งของไนโตรเจน โดยเฉลี่ยในน้ำล้างถ้วยชามมีไนโตรเจนสูงกว่าน้ำสะอาด 3-5 เท่า ผมเคยนำน้ำล้างถ้วยชามไปรดมะนาวในกระถาง แบ่งทำ 3 ซ้ำ หรือ 3 กระถาง ผลลัพท์ที่ได้พบว่า ต้นมะนาวแสดงอาการ “เฝือใบ” มีการแตกยอดออกมามากกว่าปกติ ส่งผลให้ติดดอกออกผลน้อย ผมต้องแก้ไขด้วยการตัดยอดออกบ้าง พร้อมกับงดการให้ปุ๋ยทุกชนิด เป็นเวลา 2-3 เดือน รอจนต้นมะนาวฟื้นตัวเป็นปกติ หากต้องการทำน้ำให้สะอาดด้วยวิธีการกรองด้วยทรายหยาบ อิฐหัก และถ่านป่น วางเป็นชั้นในถัง คงไม่คุ้มค่ากับการลงทุน จึงควรงดเว้นการนำน้ำล้างถ้วยชามไปรดต้นมะนาวเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ แล้วน้ำเหลือจา
แนวคิด ที่จะยืดเวลาการผลิตขนุนให้ยาวนานขึ้น ด้วยวิธีบังคับให้ออกนอกฤดูนั้นเป็นเรื่องที่ดี แต่ต้องระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้สารแพคโคลบิวทราโซลกับขนุนนั้น เคยเกิดความเสียหายมาแล้ว ขอเล่าย้อนไปเมื่อหลายปีก่อน ผมมีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมเกษตรกรชาวสวนมะม่วง ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้พบเห็นสิ่งที่แปลกน่าฉงน มีเกษตรกรท่านหนึ่ง ใช้สารแพคโคลบิวทราโซล ราดให้กับต้นมะม่วงเพื่อบังคับให้ออกนอกฤดู แต่ในสวนดังกล่าวเกษตรกรปลูกแซมด้วยต้นขนุน ซึ่งมีผลกระทบเมื่อขนุนแตกใบอ่อนออกมาใหม่ ใบเกิดมีรูปร่างและขนาดใกล้เคียงกับมือของมนุษย์ที่แบคว่ำลง ที่ใต้ใบมีผลขนุนขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือติดอยู่ตามแฉกของใบเต็มไปหมด ในที่สุดเกษตรกรต้องตัดต้นขนุนทิ้งไปหลายต้น แพคโคลบิวทราโซล เป็นสารที่มีความสามารถในการยับยั้ง การผลิตฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน ที่ทำหน้าที่ยืดความยาวของต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ชะงักการเจริญเติบโตทางลำต้น รวมทั้งกิ่งและใบ แต่กลับไปกระตุ้นให้ต้นไม้ออกดอกได้ในชั่วระยะหนึ่งกับต้นไม้บางชนิด ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ต้นมะม่วง ปัจจุบัน มีการนำมาใช้กับมะนาวกันบ้างแล้ว แต่สำหรับขนุนเป็นสารต้องห้ามอย่างยิ่งยวด เกษตรกรบางท่า
ผมเป็นคนไทยที่รักชาติคนหนึ่ง รู้สึกไม่สบายใจที่ประเทศไทยเรายังมีปัญหามากมาย ทั้งเรื่องการผลิตและการจำหน่ายสินค้าเกษตร อีกทั้งปัญหาเรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ก็มีความคิดเห็นไปกันคนละทิศละทาง ผมคิดว่าคงไม่จบลงง่ายๆ อย่างแน่นอน ผมจึงขอคำแนะนำจากคุณหมอเกษตร ในฐานะที่คลุกคลีอยู่ในวงการเกษตรมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะทำให้ตัวผมเองและท่านผู้อ่านทางบ้านได้รับความรู้ไปพร้อมกัน แล้วผมจะติดตามอ่านคอลัมน์หมอเกษตร ในนิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านต่อไป ขอแสดงความนับถือ วรศักดิ์ อิ่มอำนวยสุข พิษณุโลก ตอบ คุณวรศักดิ์ อิ่มอำนวยสุข การพัฒนาการเกษตรของไทย เริ่มพัฒนาอย่างจริงจังตั้งแต่ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงติดต่อขอความร่วมมือจากจีน ในสมัยราชวงศ์ชิง ให้มาช่วยพัฒนาการผลิต การขนส่ง การแปรรูป (ข้าวสาร) และการตลาดข้าว นอกจากนั้น กษัตริย์ไทยทุกพระองค์ยังทรงส่งเสริมการผลิตข้าวมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวเป็นอันดับ 1-2 ของโลกอย่างต่อเนื่องตลอดมา และคนไทยทุกคนต้องภาคภูมิใจที่ข้าวไทยส่งไปประกวดที่เมือง เรยีนา ประเทศแคนาดา ในรัชสมัยของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รั
เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมยังติดใจสงสัยว่า เพราะเหตุใด กรุงเทพฯ เกิดน้ำท่วม (น้ำรอระบาย) จะหนักบ้าง เบาบ้าง มักบ่นกันว่า ขยะอุดตันท่อระบายน้ำบ้าง ฝนตกหนักบ้าง สุดแล้วแต่จะวิจารณ์กันไป แต่ผมคิดว่าน่าจะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างแน่นอน คุณหมอเกษตรมีความเห็นเป็นอย่างไรกับปัญหาน้ำท่วมนี้ แล้วเราจะหาทางออกที่ดีมีบ้างไหม ช่วยกรุณาให้ข้อคิดเห็นกับตัวผมเอง และผู้อ่านท่านอื่นๆ ไปในโอกาสเดียวกัน ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับ ขอแสดงความนับถือ สุรพงศ์ เจริญสุขวงศ์ กรุงเทพฯ ตอบ คุณสุรพงศ์ เจริญสุขวงศ์ คำถามของคุณสุรพงศ์ เป็นคำถามที่ดี แม้ว่าจะผ่านเวลาภาวะน้ำท่วมกรุงเทพฯ ไปแล้วก็ตาม แต่นับว่าเป็นข้อดีที่ผู้เกี่ยวข้องจะได้มีเวลาอ่านและทบทวน แล้วนำไปปรับใช้เพื่อแก้ปัญหาได้บ้างไม่มากก็น้อย น้ำท่วมในกรุงเทพฯ นั้นเกิดจากปัจจัยหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ตามความเข้าใจถูกต้องแล้วครับ ผมจะจัดลำดับปัจจัยที่ส่งผลให้การเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ ดังนี้ สภาพภูมิอากาศ ประเทศไทย รวมทั้งกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในเขตมีอากาศร้อนชื้น มีพายุพัดผ่านทำให้ฝนตกชุก เฉลี่ยปีละ 2,000 มิลลิเมตร ซึ่งฤดูฝนเริ่มตั้งแต่ปลายเดือน
อ่านแล้วหายสงสัย เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ผมชอบเดินชมตลาดสดอยู่เสมอ โดยเฉพาะในโซนของผักสด ผมเกิดสงสัย เพราะมีพืชหัวหลากหลายชนิด รูปแบบแตกต่างกันไป ในทางวิชาการเขาได้จำแนกไว้อย่างไร จะได้จำไว้ว่าเป็นส่วนราก หรือลำต้น เพราะว่าส่วนดังกล่าวสามารถนำไปขยายพันธุ์ได้อีกด้วย ผมขอคำอธิบายด้วยครับ ขอแสดงความนับถืออย่างสูง สุรวิทย์ อำนวยเวช สมุทรปราการ ตอบ คุณสุรวิทย์ อำนวยเวช ตามที่คุณสุรวิทย์ ถามมานั้น เป็นลักษณะประจำของพืชในแต่ละวงศ์ ในส่วนที่ดูเป็นหัวของพืชชนิดนั้นๆ จะทำหน้าที่เหมือนกันคือ เป็นที่สะสมอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่แล้วยังเป็นส่วนขยายพันธุ์พืชได้ด้วย ซึ่งล้วนเป็น ลำต้นใต้ดิน (Under grown stem) ผมขอเริ่มจาก เง้า (Rhizome หรือ Rootstock) เป็นลำต้นใต้ดินที่เจริญเติบโตไปตามแนวขนานกับผิวดิน มีลักษณะแตกออกเป็นแขนง หรือยืดตัวออกไปรอบข้าง รูปร่างกลม ยาว มีข้อปล้องสั้นๆ ลำต้นและใบแทงขึ้นมาเหนือผิวดิน และมีส่วนของรากแทงหยั่งลงไปในดิน ตัวอย่าง ขมิ้น ขิง ข่า และพุทธรักษา ทิวเบอร์ (Tuber) เป็นประเภทลำต้นใต้ดินสั้นๆ มีข้อและปล้อง 3-4 ปล้อง ไม่มีใบ ทำหน้าที่สะสมอา