หอมแดง
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์พืชหัว กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ปีเพาะปลูก 2567/68 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนมีนาคม 2568) คาดว่า ประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกกระเทียม 52,067 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีพื้นที่ปลูก 52,457 ไร่ (ลดลง 390 ไร่ หรือร้อยละ 0.74) ให้ผลผลิต 55,306 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่จำนวน 53,714 ตัน (เพิ่มขึ้น 1,592 ตัน หรือร้อยละ 2.96) เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต มีปริมาณน้ำเพียงพอ ไม่มีโรคพืชและแมลงศัตรูพืชระบาด ซึ่งแหล่งปลูกกระเทียมที่สำคัญคือ เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน สำหรับหอมแดง คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 53,863 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีพื้นที่ปลูก 54,266 ไร่ (ลดลง 403 ไร่ หรือร้อยละ 0.74) ผลผลิต 152,469 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 148,239 ตัน (เพิ่มขึ้น 4,230 ตัน หรือร้อยละ 2.85) เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ไม่มีโรคพืชและแมลงศัตรูพืชรบกวน แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ศรีสะเกษ เชียงใหม่ และลำพูน เป็นต้น และหอมหัวใหญ่ คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 7,826 ไร่ ลดลงจากปีที
หอมแดง เป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถปลูกได้ตลอดปี เกษตรกรนิยมปลูกหอมแดงเป็นรายได้เสริม หลังฤดูทำนา โดยแหล่งปลูกสำคัญอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ โดยปกติเกษตรกรปลูกหอมแดงโดยใช้หัวพันธุ์ ได้แก่ “หอมบั่ว” เป็นหอมแดงพันธุ์พื้นเมืองภาคเหนือ ขนาดหัวปานกลาง ได้ผลผลิตประมาณ 2,000-3,000 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพการเก็บรักษาไม่ค่อยดี เพราะมีเปอร์เซ็นต์แห้งฝ่อ และเน่าเสียหายมากถึง 60% และหอมแดงพันธุ์บางช้าง หรือหอมแดงศรีสะเกษ มีขนาดหัวใหญ่ให้ผลผลิตประมาณ 1,000-5,000 กิโลกรัมต่อไร่ คุณภาพในการเก็บรักษาดีกว่าหอมบั่ว การปลูกหอมแดงโดยใช้หัวพันธุ์ พบว่า มีปัญหาติดตามมามากมาย เช่น หัวพันธุ์เน่าเสีย ต้นทุนค่าหัวพันธุ์ไม่แน่นอนบางปีก็สูงมาก แถมเสี่ยงเจอโรคที่ติดมากับหัวพันธุ์ เช่น โรคหอมเรื้อน (หมานอน) ทำให้เกษตรกรหอมแดงมีต้นทุนการปลูกที่สูง หอมลำดวนตราศรแดง บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจเมล็ดพันธุ์ภายใต้ตราศรแดง เล็งเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น จึงคิดค้นปรับปรุงสายพันธุ์หอมแดงคุณภาพดีจนประสบความสำเร็จได้เมล็ดพันธุ์หอมแดงพันธุ์หอมลำดวนที่เหมาะสมสำหรับปลูกเชิงการค้า
ความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศบ้านเรา มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชหลายชนิด พืชพรรณนานาที่เคยเป็นสัญลักษณ์ประจำฤดูกาลก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย แต่จะต่างกับความรู้สึกนึกคิด ความรับผิดชอบของคน ที่มันจะเปลี่ยนแปลงตามสถานะหรือไม่นั้น ก็สุดแท้ที่จะคาดเดาได้ โดยเฉพาะกับคนบางคน ที่ยังหลงใหลอยู่ในสถานะทางสังคมปัจจุบัน คืนวันเดือนปี ฤดูกาลผันเปลี่ยน แต่มีสิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนไปของคนไทย คือความรัก และภาคภูมิใจใน “ผักสมุนไพรพื้นบ้าน” ที่ฝังอยู่ในสายเลือด และจิตวิญญาณ “หอมแดง” เป็นผักที่มากคุณค่า มีราคาดี ซื้อขายกันในราคาพอเหมาะตามสมควร หรือตามห้วงฤดูกาล เมื่อเป็นของดี มีความเชื่อมั่นในแหล่งผลิต คนชื่นชมนิยม มักจะเป็นที่เสาะหา หลายคนยกให้เป็นผักของจำเป็นที่มันต้องมีไว้ประจำครัว กินอาหารมื้อใด ต้องมีหอมแดงเข้าเป็นส่วนร่วมด้วยเสมอ หลายคนหลงใหลติดหอมแดงจนขาดหายไปจากมื้ออาหารไม่ได้เลย หลายปีที่ผ่านมา ที่จังหวัดอุตรดิตถ์มีการปลูกหอมแดงกันมากมาย เริ่มที่ชาวลับแลซึ่งก็ปลูกมาหลายสิบปี ทำรายได้ให้กับชาวสวนอย่างเป็นล่ำเป็นสัน จนชื่อ “หอมแดงลับแล” มีชื่อเสียงติดตลาด มีการขยายพื้นที่ปลูกออกมาเขตอำเภอต่างๆ เช่น
สศท.11 เกาะติดสถานการณ์หอมแดง จ.ศรีสะเกษ แหล่งผลิตอันดับ 1 ภาคอีสาน ปีนี้ ผลผลิตรวม 77,420 ตัน ออกตลาดมากสุด ม.ค.-ก.พ. นี้ ร้อยละ 70 นางประเทือง วาจรัต ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การผลิตหอมแดงจังหวัดศรีสะเกษ แหล่งผลิตอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปีเพาะปลูก 2566/67 (ข้อมูล ณ 22 มกราคม 2567) คาดว่า เนื้อที่เพาะปลูกทั้งจังหวัด 21,817 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 22,332 ไร่ (ลดลง 515 ไร่ หรือร้อยละ 2) เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกหอมแดงบางส่วนในอำเภอยางชุมน้อย และอำเภอราษีไศล ซึ่งเป็นแหล่งเพาะปลูกหลักได้รับผลกระทบจากอิทธิพลร่องมรสุมในช่วงที่เตรียมการเพาะปลูก ทำให้น้ำในนาแห้งช้า ส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถเตรียมแปลงปลูกได้จึงเลือนการเพาะปลูกออกไป เนื้อที่เก็บเกี่ยวทั้งจังหวัด 21,735 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 22,029 ไร่ (ลดลง 294 ไร่ หรือร้อยละ 1) ปริมาณผลผลิตหอมแดงจังหวัดศรีสะเกษ มีปริมาณรวม 77,420 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 77,313 ตัน (เพิ่มขึ้น 107 ตัน หรือร้อยละ 0.14) เนื่องจากผลผลิตเ
หอมแดง นับเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ ที่เกษตรกรนิยมปลูกเป็นรายได้เสริม หลังฤดูทำนา แหล่งปลูกสำคัญอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์โดยปกติเกษตรกรปลูกหอมแดงโดยใช้หัวพันธุ์ แต่มีปัญหาติดตามมามากมายเช่น หัวพันธุ์เน่าเสีย ต้นทุนค่าหัวพันธุ์ไม่แน่นอนบางปีก็สูงมาก แถมเสี่ยงเจอโรคที่ติดมากับหัวพันธุ์ เช่น โรคหอมเรื้อน (หมานอน) ทำให้เกษตรกรหอมแดงมีต้นทุนการปลูกที่สูง นายอิสระ วงศ์อินทร์ ผู้จัดการฝ่ายขายประจำประเทศไทย บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้นำอันดับ 1 ในธุรกิจเมล็ดพันธุ์ภายใต้ตราศรแดงกล่าวว่า บริษัทได้คิดค้นปรับปรุงสายพันธุ์หอมแดงกว่า 5 ปีจนได้เมล็ดพันธุ์หอมแดงพันธุ์หอมลำดวนโดยส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษและลำพูนได้ปลูกหอมแดงด้วยเมล็ดพันธุ์ปรากฎว่า ได้ผลผลิตคุณภาพดี ช่วยเกษตรกรลดต้นทุนในการเตรียมปลูกได้ถึง 50% หอมแดงพันธุ์หอมลำดวนทนทานต่อโรคสูงกว่าหัวพันธุ์แล้ว หอมแดงที่ปลูกด้วยเมล็ดพันธุ์ยังมีรูปทรงที่เป็นหัวเดี่ยวได้มากกว่า เนื้อแน่นกว่า ขายได้ราคาเกรด A ในสัดส่วนที่สูงกว่าการปลูกด้วยหัวพันธุ์ที่มักได้ผลผลิตแตกกลีบจัดเป็นสินค้าเกรดรองและขายได้ราคาต่ำ คุ
กรมวิชาการเกษตรโชว์นวัตกรรมหอมแดงอบแห้งพร้อมใช้ พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มนำส่วนเหลือทิ้งผลิตเครื่องสำอางและเวชภัณฑ์ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งผลิต หอมแดงคุณภาพดี มีชื่อเสียงจนเรียกกันติดปากว่าหอมแดงศรีสะเกษ ซึ่งมีคุณลักษณะพิเศษคือเปลือกมีสีแดงเข้ม ด้านในมีสีม่วง กลิ่นฉุนแรงเก็บรักษาได้ยาวนาน เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศที่นิยมอาหารไทย เช่น ยุโรปและญี่ปุ่น โดยหอมแดงคุณภาพที่ส่งออกต้องมีลักษณะเป็นหัวเดียวหรือหัวที่ยังไม่แยกออก ขนาดหัวจัมโบ้ (มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.5-4.0 เซนติเมตร (เฉลี่ย 3.47 ซม.) ผิวแห้งสนิท ปราศจากโรคแมลง ขนาดหัวสม่ำเสมอ และปลอดภัยจากสารพิษ โดยมีแหล่งปลูกสำคัญที่อำเภอยางชุมน้อย ขุขันธ์ ราษีไศล วังหิน และกันทรารมย์ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงจังหวัดศรีสะเกษส่วนใหญ่ผลิตและจำหน่ายหัวหอมสดเพียงอย่างเดียว ซึ่งสามารถเก็บรักษาได้เพียง 2-3 เดือน ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ กรมวิชาการเกษตรจึงได้ศึกษาวิจัยแปรรูปหอมสดเป็นหอมแดงพร้อมใช้ โดยการนำหอมสดมาหั่นแล้วแช่ในสารละลายแคลเซี่ยมคลอไรด์และกรดซิตริก เพื่อคงลักษณะ
หัวหอมแดง เป็นเครื่องเทศคู่ครัวทุกบ้านเรือน ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างรู้จักกันทุกคน ทั้งปลูกง่าย ไม่ว่าจะปลูกบนที่ดินในสวนหรือในกระถาง ในด้านสรรพคุณของหัวหอมแดงนั้น ชาวไทใหญ่นับว่าหัวหอมเป็นยาดีสำหรับท่านผู้หญิง เนื่องจากช่วยบำรุงน้ำดี เพิ่มธาตุไฟในช่องท้อง ช่วยในการย่อยอาหาร บำรุงโลหิตสตรี คุณผู้หญิงทุกท่านควรกินหัวหอมแดงสดก่อนถึงวันที่ประจำเดือนมา เพราะเชื่อว่าจะช่วยล้างมดลูกให้สะอาด ช่วยขับเลือดเน่าเสียที่ตกค้างในมดลูกให้หมด ผิวสวยหน้าใส สุขภาพดีมีกำลัง แต่ถ้าหากกินในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้มีกลิ่นตัว เนื่องมาจากการขับออกมาทางผิวหนังของร่างกาย นอกจากจะเป็นยาดีสำหรับสุภาพสตรีแล้ว หัวหอมแดงยังช่วยขับปัสสาวะ หากมีอาการบวม ปัสสาวะไม่ดี การนำหัวหอมแดงมาต้มน้ำดื่มก็จะทำให้ปัสสาวะได้ดีขึ้นด้วย หากเด็กมีอาการปัสสาวะขัด ปวดตอนปัสสาวะ ให้นำหัวหอมแดงย่างไฟแล้วห่อด้วยผ้า นำมาแปะประคบท้องบริเวณกระเพาะปัสสาวะของเด็ก ไม่นานอาการปัสสาวะขัดก็จะดีขึ้น หากเป็นก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะที่ยังไม่โตมาก ให้นำหัวหอมแดงมาทุบบดปั่นเอาน้ำหอมแดงชงดื่ม เป็นเครื่องดื่ม ก้อนนิ่วจะออกมาพร้อมกับปัสสาวะ หัวหอม
นางสาวทัศนีย์ เมืองแก้ว รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์หอมแดง ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสำคัญของประเทศ การผลิตหอมแดง ปี 2563 หรือปีเพาะปลูก 2562/63 คาดว่า มีเนื้อที่เพาะปลูก 14,817 ไร่ ลดลงจากปีที่แล้ว 7,979 ไร่ (ลดลงร้อยละ 35) เนื่องจากปีที่ผ่านมาหอมแดงได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวน อากาศร้อนจัด ความชื้นในอากาศมีน้อย หอมแดงจึงมีลักษณะหัวเล็ก แคระแกร็น และยังเกิดปัญหาหนอนกระทู้ระบาด จึงส่งผลให้เกษตรกรลดพื้นที่เพาะปลูก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เนื้อที่เพาะปลูกลดลงแต่ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 45,665 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2,872 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 7) และผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 3,082 กิโลกรัม ต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1,205 กิโลกรัม ต่อไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 64) ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพอากาศเย็น ความชื้นในอากาศสูง เหมาะสำหรับการเจริญเติบโต และไม่มีโรคแมลงรบกวน โดยคาดว่าผลผลิตหอมแดงจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม 2562 – มกราคม 2563 สำหรับต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เฉลี่ยอยู่ที่ 12 บาท ต่อกิโลกรัม ลด
หอมแดง ของอำเภอยางชุมน้อยได้รับการยกย่องว่า มีคุณภาพดีเป็น อันดับ 1 ของโลก เนื่องจากมีคุณลักษณะพิเศษ ที่พูดกันติดปากว่า ผิวมัน หัวแห้ง สีแดงสด คอเล็กเรียว กลิ่นฉุนแรง สามารถเก็บรักษาคุณภาพได้ยาวนาน ปัจจุบัน อำเภอยางชุมน้อย มีพื้นที่ปลูกหอมแดง ประมาณ 14,000 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 42,000 ตัน สร้างรายได้เข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษไม่ต่ำกว่าปีละ 200-300 ล้านบาท ดร.กัลยาณี ธรรมจารีย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษและนายกสมาคมส่งเสริมเครือข่ายการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ตนได้นำสื่อมวลชนจังหวัดศรีสะเกษ ออกสำรวจการปลูกหอมแดงและผลผลิตหอมแดงของอำเภอยางชุมน้อย ซึ่งเป็นแหล่งปลูกหอมแดงที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดศรีสะเกษ และนำรายได้เข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษปีละหลายร้อยล้าน ทั้งนี้เพื่อประชาสัมพัน์ส่งเสริมการปลูกหอมแดงและการเปิดตลาดหอมแดง มีแหล่งซื้อขายหอมแดงในพื้นที่เพื่อให้หอมแดงศรีสะเกษมีราคาสูงเพื่อชาวเกษตรกรจะได้มีกำลังใจในการปลูกหอมแดงให้มีคุณภาพนำรายได้เข้าสู่จังหวัดศรีสะเกษ เพราะ คำขวัญของจังหวัดศรีสะเกษคือ “แดนปราสาทขอม หอมกระเทียมดี มีสวนสมเด็จ เขตดงลำดวน หลา
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) สุวรรณภูมิ วิจัยยาหม่องจากสารสกัดหอมแดง สามารถบรรเทาอาการอักเสบ ลดอาการบวม และลดการเกิดผื่นแดงจากพิษแมลงสัตว์กัดต่อยได้ดี อีกทั้งยังสามารถใช้บรรเทาอาการหวัดคัดจมูกได้ด้วย เนื่องจากในหอมแดงมีสารประกอบฟีนอลิก ซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ส่วนในน้ำมันหอมละเหย มีสารไดอัลลิลไตรซัลไฟด์ นอกจากนี้ ยังพบว่าในหอมแดงมีสารที่มีความสามารถในการยับยั้งการเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์และแบคทีเรีย ดังนั้น ยาหม่องจากสารสกัดหอมแดงที่ได้พัฒนาขึ้นจึงมีสรรพคุณลดพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ลดอาการบวม ลดการเกิดผื่นแดง ลดอาการอักเสบ และบรรเทาอาการหวัด ผศ. ชื่นสุมณ ยิ้มถิน อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ กล่าวว่า กระบวนการทำคือ นำหอมแดงมาสกัดด้วยไขมัน นำไปเป็นส่วนผสมของยาหม่องจากสารสกัดหอมแดง จึงได้ผลิตภัณฑ์ยาหม่องสมุนไพรที่ทำจากสารสกัดหอมแดง ที่มีประสิทธิภาพในการสามารถลดพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อยลดอาการบวม ลดการเกิดผื่นแดงลดอาการอักเสบ และบรรเทาอาการหวัดได้เป็นอย่างดี ล่าสุดงานวิจัยดังกล่าวได้ไปคว้ารางวัลเกียรติยศจากการประกวดและจัดแสดงผลงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม