อุปกรณ์ทางการแพทย์
บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในชุมชน นายพลจักร มิ่งมหากุล (ที่ 3 จากขวา) เจ้าหน้าที่บริหารและผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการผลิต พร้อมตัวแทนพนักงาน บริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมีรายใหญ่ในประเทศไทย ภายใต้ตราสินค้าหัววัว-คันไถ ส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ เครื่องวัดความดัน เครื่องตรวจน้ำตาล และเครื่องชั่งน้ำหนัก ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในชุมชน ซึ่งเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่ให้บริการประชาชนด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้พี่น้องชาวบ้านในชุมชนมีสุขภาพที่ดี กิจกรรมนี้ถือเป็นการเอาใจใส่ต่อสังคม ซึ่งบริษัทได้ให้ความสำคัญอย่างเสมอมา Thai Central Chemical Public Company Limited delivered medical equipment to Health Promoting Hospital in the community Mr. Poljak Mingmahakul (3rd Right), Executive Officer and Senior Vice President of Production Group, together with staff of Thai Central Chemical Public Company Limited (TCCC), the leading producer and
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มัชฌิมา นราดิศร อธิการบดี มฟล กล่าวถึงรากฐานความสำเร็จของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยยึดแนวทาง “ปลูกป่า สร้างคน” พระราชปณิธานของ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) ตั้งธงยึดมั่นตั้งแต่วันที่ได้รับการสถาปนาจัดตั้งมหาวิทยาลัย 25 กันยายน พ.ศ.2541 ตลอดระยะเวลา 25 ปี มฟล. ถือเป็นมหาวิทยาลัยน้องใหม่ (Young University) ที่ดีที่สุดของไทย ที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่ม 1 พัฒนาการวิจัยระดับแนวหน้าของโลก (Global and Frontier Research) โดยมุ่งเน้นการผลิตผลงาน สร้างความเป็นเลิศด้านการวิชาการ วิจัยและนวัตกรรมให้เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและนานาชาติอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นรากฐานการต่อยอดงานวิจัยที่มีคุณภาพสู่การขยายผลต่อสังคมในสาขาวิชาการต่างๆ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงมุ่งขับเคลื่อนไปสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำของอาเซียนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติมุ่งพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีและอนาคตที่ยั่งยืน (A Leading University in ASEAN with International Recognition Strives for Well-being and Sustainable Future) จากความเข้มแข็งด้านการวิชาการและวิจัยตลอดระยะเวลา 25 ปี ที่มหาวิทยาลัยสร้าง
จากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ยังคงมีการระบาดและแพร่กระจายเชื้อในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ยังคงพึ่งพาการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศซึ่งนอกจากต้องใช้งบประมาณสูง ยังพบปัญหาการใช้งานของเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ตอบโจทย์ของบุคลากรทางการแพทย์อีกด้วย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงสนับสนุนทุนวิจัยให้กับทีมวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สวทช. ในการพัฒนาอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ผลิตใช้เองในประเทศและมีคุณภาพมาตรฐานเทียบเคียงกับผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีจุดเด่นที่สามารถออกแบบให้เป็นระบบสร้างความดันลบและห้องแยกผู้ป่วย สามารถปรับให้เหมาะสมกับรูปแบบความต้องการใช้งาน และขนาดพื้นที่ได้ โดยส่งมอบนวัตกรรม ไฮพีท (HI PETE) เต็นท์ความดันลบสำหรับแยกผู้ป่วย ให้แก่ โรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ และโรงพยาบาลเซนต์เมรี่ นายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ให้ความสำคัญกับการจัดสรรทุนวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และส่งผลต่อความยั่งยืนในระบบสุขภาพ จึงสนับสนุนทุนวิจัยให้กับทีมวิจัยเอ็ม
ในนามสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ส่งมอบตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำเพื่อจัดเก็บวัคซีนโควิด-19 พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการแก่กระทรวงสาธารณสุข โดยอุปกรณ์การแพทย์ซึ่งประกอบไปด้วยตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำ 4 ตู้ รวมถึงเข็มและกระบอกฉีดยาชนิด Low Dead Space จำนวน 51,000 ชุด ได้ถูกส่งมอบให้ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ระหว่างงานพิธีส่งมอบเครื่องมือทางการแพทย์ภายใต้ “โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน” การส่งมอบตู้แช่แข็งฯ ดังกล่าวจะช่วยให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขสามารถจัดเก็บวัคซีนชนิดสารพันธุกรรมหรือวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวัคซีนชนิดดังกล่าวต้องจัดเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำมากเป็นพิเศษถึง -70 องศาเซลเซียส ในขณะที่อุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ ซึ่งได้แก่ เข็มและกระบอกฉีดยาชนิด Low Dead Space จะช่วยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขสามารถเร่งการฉีดวัคซีนเพื่อตอบสนองต่อการแพร่ระบาดอย่างต่อ
กรุงเทพฯ, 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 – ในนามสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน(GIZ) ส่งมอบตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำเพื่อจัดเก็บวัคซีนโควิด-19 พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นทางการแก่กระทรวงสาธารณสุข ณ กรมควบคุมโรคเพื่อเพิ่มแรงสนับสนุนการดำเนินงานกระจายวัคซีนในกลุ่มที่มีความเปราะบางรวมถึงประชากรที่มีความเสี่ยงตามพื้นที่แนวชายแดนให้แก่หน่วยงานด้านสาธารณสุขของประเทศไทยอุปกรณ์การแพทย์ซึ่งประกอบไปด้วยตู้แช่แข็งอุณหภูมิต่ำ 4 ตู้รวมถึงเข็มและกระบอกฉีดยาชนิด Low Dead Space จำนวน 51,000 ชุด ได้ถูกส่งมอบให้ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย ระหว่างงานพิธีส่งมอบเครื่องมือทางการแพทย์ภายใต้ “โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งสำหรับการตอบโต้ต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน”การส่งมอบตู้แช่แข็งฯ ดังกล่าวจะช่วยให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขสามารถจัดเก็บวัคซีนชนิดสารพันธุกรรมหรือวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวัคซีนชนิดดังกล่าวต้องจัดเก็บในอุณหภูมิที่ต่ำมากเป็น
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สนับสนุนศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สวทช. ส่งมอบเปลแรงดับลบ PETE เพื่อสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ รับมือการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ดร.ศราวุธ เลิศพลังสันติ ทีมวิจัยการออกแบบและแก้ปัญหาอุตสาหกรรม (DIST) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค – สวทช.) เปิดเผยว่า ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ดำเนินโครงการส่งมอบ PETE เปลปกป้องให้แก่สถานพยาบาล จำนวน 16 แห่ง เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการรับมือโควิด-19 ทำให้ปัจจุบันมีการส่งมอบแล้วจำนวน 100 ชุด โดยจุดเด่นของ PETE เปลปกป้อง ไม่เพียงมีการออกแบบส่วนแคปซูลไร้โลหะที่แข็งแรงและปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 แล้ว ยังสามารถทลายข้อจำกัดการใช้งานของเปลความดันลบเดิมที่มีทั่วไปในท้องตลาด อันดับแรกคือมีระบบ Smart controller ทำหน้าที่ควบคุมความดันภายในเปล ทำให้ใช้งานได้ทั้งบนภาคพื้นและบนอากาศ สามารถตรวจสอบการรั่วไหลของอากาศสู่ภายนอก แจ้งเตือนการเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศเมื่อถึงกำหนด ส่วนที่สองคือ นำเปลเข้
ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า เครื่องมือแพทย์มีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษา ซึ่งการวิจัยและพัฒนาหรือนำเข้า ส่งออก เครื่องมือแพทย์จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ต่อคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อยื่นคำขออนุญาต หรือแจ้งรายละเอียดเครื่องมือแพทย์ โดยข้อมูลสำคัญที่ใช้ประกอบการยื่นขอ ได้แก่ เอกสารสรุปการทวนสอบ การตรวจสอบความถูกต้องของการออกแบบ การศึกษาทดลองขั้นก่อนคลินิกของการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพ (Biocompatibility tests) ของวัสดุที่ใช้ในเครื่องมือแพทย์ ดังนั้นเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ประกอบการผลิตออกมาจำเป็นต้องผ่านการทดสอบและรับรองมาตรฐานก่อนการนำไปใช้งานจริง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ป่วยและแพทย์ ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีศูนย์ทดสอบเครื่องมือแพทย์แบบครบวงจร ทั้งในเรื่องของคุณสมบัติทางกายภาพและชีวภาพของวัสดุ การทดสอบและสอบเทียบของเครื่องมือ รวมไปถึงการให้การรับรองมาตรฐานที่ได้ตามมาตรฐานสากล ทำให้ผู้ประกอบการต้องส่งเครื่องมือแพทย์ไปทดสอบและรับรองมาตรฐานยังต่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และเป็นปัญหาหลักของผู้ประกอบการไทยในปัจจุ
เอสซีจี เคมิคอลส์ เดินหน้าช่วยฝ่าวิกฤตโควิด 19 โดยได้สนับสนุนและส่งเสริมการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เพื่อรองรับผู้ติดเชื้อภายในพื้นที่จังหวัดระยองที่มีจำนวนมากขึ้น ล่าสุด ได้มอบเตียงสนามกระดาษ รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ และอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับผู้ติดเชื้อระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม รวมมูลค่ากว่า 2.5 ล้านบาท เพื่อให้สาธารณสุขจังหวัดระยองใช้ในการเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในพื้นที่ระยอง ช่วยเพิ่มศักยภาพการรองรับและดูแลผู้ติดเชื้อได้อย่างทันท่วงที โดยมี ว่าที่ร้อยตรี พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายแพทย์สุนทร เหรียญภูมิการกิจ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดระยอง นายพิสัณห์ เนื่องจำนงค์ คลังจังหวัดระยอง เป็นผู้รับมอบ และนายมงคล เฮงโรจนโสภณ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี นายพิเชษฐ์ ตั้งปัญญารัช กรรมการผู้จัดการ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จำกัด นายไพศาล เล็กสกุลไชย กรรมการผู้จัดการ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จำกัด ในธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เป็นตัวแทนมอบ ว่าที่ร้อยตรี พิรุณ เหมะรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เผยว่า “สถานการณ์การแพร่ระบา
วศ. พัฒนาเครื่องมือทดสอบชุด PAPR พร้อมให้บริการทดสอบประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตไทยพัฒนาชุด PAPR คุณภาพสูง เพิ่มความปลอดภัยให้บุคลากรทางการแพทย์ปฏิบัติงานท่ามกลางวิกฤตการระบาดโควิด-19 นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโควิด-19 ในปัจจุบันทำให้อุปกรณ์ที่ใช้ในการป้องกันการติดเชื้ออย่างอุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจจ่ายอากาศบริสุทธิ์ หรือ ชุด PAPR ที่ใช้ในโรงพยาบาลไม่เพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรทาง การแพทย์ที่มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ จึงมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวนหนึ่งได้พัฒนาชุด PAPR ขึ้นเองในประเทศ ซึ่ง วศ. มีความห่วงใยจึงได้พัฒนาเครื่องมือและงานบริการทดสอบชุด PAPR ทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนกลุ่มผู้ผลิตไทยที่พัฒนาและผลิตชุด PAPR เพื่อให้ได้คุณภาพมาตรฐาน สร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งานบุคลากรทางการแพทย์ผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยจากการระบาดของโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้น ดร. กรธรรม สถิรกุล หัวหน้ากลุ่มนวัตกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ กองวัสดุวิศวกรรม ให้ข้อมูลว่าที่ผ่านมา วศ. ได้จัดทำประกาศ เรื่อง “ข้อกำหนด
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ให้รางวัลการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2564 : รางวัลผลงานวิจัย ระดับดีมาก สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย แก่ รศ.ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จากผลงานอิทธิพลของกระบวนการปรับผิวด้วยวิธีการพ่นอนุภาคละเอียดบนโลหะไทเนียม Ti6Al4V เพื่อลดความเสียหายและเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ทางการแพทย์ด้านศัลยกรรมกระดูก รองศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ ขันธะชวนะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวัสดุฉลาด แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เล่าว่า คณะนักวิจัยได้เล็งเห็นปัญหาของผู้ป่วยและแพทย์ด้านการศัลยกรรมกระดูก เกี่ยวกับอุปกรณ์แผ่นดามกระดูกและสกรูยึดกระดูกที่ใช้ในการรักษาภาวะกระดูกหัก ที่มีราคาแพง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศสูงถึงร้อยละ 95 อีกทั้งมีความหนาและไม่ทนทานต่อการดัดงอ ส่งผลให้แพทย์ผู้ผ่าตัดใช้งานได้ยาก ผู้ป่วยมีความกังวลกับความบวมนูนของผิวหนังจากการใส่อุปกรณ์ หากใส่เป็นเวลานาน จะเกิดปัญหาสกรูยึดกระดูกหลวมคลอนตามมา นำไปสู่การประยุกต์ใช้เทคนิค