เครือซีพี
“หญ้าทะเล” เป็นพืชชั้นสูงที่พบในทะเล ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าหญ้าทะเลมีความสำคัญอย่างไรต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมโลก “หญ้าทะเล” ถือเป็นฮีโร่แห่งมหาสมุทร ที่ช่วยกักเก็บคาร์บอนในปริมาณมาก ซึ่งจะช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศที่เป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อน อีกทั้งหญ้าทะเลยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารสำคัญสำหรับสัตว์น้ำหลายชนิด เช่น ปลา กุ้ง และหอย นอกจากนี้รากของหญ้าทะเลยังช่วยยึดเกาะดินและทราย ทำให้ลดการกัดเซาะชายฝั่งและป้องกันการสูญเสียพื้นที่ชายฝั่งและกรองสารพิษและสารอาหารส่วนเกินจากน้ำ ทำให้น้ำทะเลสะอาดขึ้นและส่งผลดีต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล โดยในประเทศไทยมีการค้นพบหญ้าทะเลถึง 13 ชนิด จากทั้งหมด 60 ชนิดทั่วโลก โดยหญ้าทะเลสามารถเติบโตได้ดีในเขตน้ำตื้นชายฝั่งทะเลและรอบเกาะ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน ครอบคลุม 19 จังหวัดชายฝั่งประเทศไทย เครือซีพี เร่งเดินหน้าฟื้นฟูหญ้าทะเลไทย นายปฐพร เกื้อนุ้ย ผู้จัดการฝ่าย ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เผยว่า เครือซีพีได้เดินหน้าขับเคลื่อนภารกิจ “ซีพี ร้อย รักษ์ โลก ฟื้น
ตามที่ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส จำกัด หรือ CPP ผู้ดำเนินธุรกิจเมล็ดพันธุ์ และ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วซ จำกัด(มหาชน) หรือ BKP ผู้ดำเนินธุรกิจจัดซื้อข้าวโพดอาหารสัตว์ ได้ผนึกกำลังกับสมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา หรือ MCIA ร่วมมือกันยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา ไม่รับซื้อจากพื้นที่ป่า และพื้นที่ที่มีการเผาแปลง โดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อตรวจสอบจุดความร้อน (Hot Spot) รวมถึงใช้ระบบบล็อกเชน (Blockchain) ในการจัดเก็บและจัดการข้อมูล โดยพ่อค้าผู้รวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมาจะเข้ามาใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับที่บริษัทในเครือซีพีพัฒนาขึ้นเพื่อร่วมกันสร้างความเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยนำร่องทันทีบนเนื้อที่กว่า 570,000 เอเคอร์ที่รัฐฉานใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวโพดขนาดใหญ่ของเมียนมา ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนการลดหมอกควันข้ามแดน ปกป้องสิ่งแวดล้อม และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อทั้งในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ นายวรสิทธิ์ สิทธิวิชัย ประธานคณะผู้บริหารฝ่ายปฏิบั
เครือซีพี ขยายผลโครงการ “สบขุ่น โมเดลน่าน” สู่ชุมชน Social Enterprise พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน สังคม และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม สร้างความยั่งยืนทุกมิติ 4 ต้นน้ำ ปิง-วัง-ยม-น่าน นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด เปิดเผยว่า จากเจตนารมณ์ของ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ประกาศนโยบายด้านความยั่งยืน ตั้งเป้าหมายเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นองค์กร Carbon Neutral ในปี 2030 และมุ่งสู่ Net Zero ในปี 2050 สอดรับไปกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) แห่งสหประชาชาติ โดยเฉพาะการร่วมกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ความถดถอยลงของพื้นที่ป่าไม้ ปัญหาหมอกควันไฟป่าและฝุ่นควัน PM 2.5 จึงได้จัดตั้ง สำนักงานด้านความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จังหวัดน่าน เครือเจริญโภคภัณฑ์ ให้เป็นศูนย์กลางความร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนในพื้นที่ 4 ต้นน้ำ ปิง-วัง-ยม-น่าน นำร่อง “สบขุ่น โมเดลน่าน” หมู่บ้านสบขุ่น ตำบลป่าคา อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน ปรับระบบการทำเกษตรท
เมื่อเร็วๆ นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพี ออลล์ และร้านโรงคั่วกาแฟ น.น่าน สนับสนุนองค์ความรู้กระบวนการแปรรูปกาแฟโรบัสต้าคุณภาพสูง แก่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกร ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน โดยร่วมส่งเข้าประกวดเวทีกรมวิชาการ ในงาน TCE THAILAND BEST COFFEE การประกวดสุดยอดกาแฟไทย 2024 จนสามารถคว้ารางวัลที่ 3 ในประเภทกาแฟโรบัสต้า ความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และชุมชน ในการยกระดับอาชีพให้แก่เกษตรกร ในโครงการ “น้ำพาง โมเดล” โดยมีเป้าหมายการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการพัฒนาอาชีพที่เหมาะสม มีรายได้ที่เพียงพอ ลดการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ลดการเผาทางการเกษตร สร้างโมเดลคนอยู่กับป่าได้อย่างยั่งยืน นายปวรวิช คำหอม ผู้จัดการน้ำพางโมเดล อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน เล่าว่า จุดเริ่มต้นของการส่งเสริมปลูกกาแฟในพื้นที่บ้านน้ำพาง ในโครงการ “น้ำพาง โมเดล” คือ ต้องการฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและลดน้อยลงจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว ลดการเผาทางการเกษตร ปรับเปลี่ยนมาปลูกกาแฟซึ่งช่วยสร้าง
เมื่อเร็วๆนี้ นายทศพล เผื่อนอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วย หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ และภาคประชาสังคม ลงพื้นที่ป่าชุมชุนต้นแบบ ในโครงการ “ป่าปลอดเผา” (Zero Forest Burning) ป้องกันไฟป่า ลดฝุ่น PM 2.5 แนวเขตชายแดนไทย-พม่า ภายใต้การบูรณาการร่วมกันระหว่างชุมชน ภาคประชาสังคม และเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยมี นายนนท์ นาคะเสถียร ผู้จัดการทั่วไป ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ และชุมชนอำเภอเวียงแหง ให้การต้อนรับ ณ อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ คณะได้เยี่ยมชมการปฏิบัติงานแบบบูรณาการร่วมกันของภาคีเครือข่าย และเครือซีพี ในโครงการ ในพื้นที่ป่าชุมชน และจุดรวบรวมใบไม้แห้งที่ชุมชนช่วยกันเก็บรวบรวมออกมาจากป่าชุมชน จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ บ้านมหาธาตุ บ้านแม่หาด และบ้านป่าไผ่ มีเป้าหมายคือ การช่วยกันลดเชื้อเพลิงธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดไฟป่าในพื้นที่ป่าชุมชน อันเป็นสาเหตุการเกิดหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือ บริเวณแนว
เครือเจริญโภคภัณฑ์ ขับเคลื่อนโครงการ “ซีพี…เพื่อความยั่งยืน : C.P. for Sustainability” มุ่งสร้างความยั่งยืนในทุกมิติ เศรษฐกิจ ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ให้ความรู้การแปรรูปกาแฟคุณภาพ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรตำบลน้ำพาง จังหวัดน่าน นำโดย นายอรรถวิทย์ ยุทธยศ ผู้จัดการทั่วไป ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ และกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยได้รับเกียรติจาก นายภีร์นริศร์ ผ่องหทัยกุล ประธานชมรมกาแฟพิเศษน่าน เจ้าของร้านโรงคั่วกาแฟ น.น่าน ผู้เชี่ยวชาญกาแฟโรบัสต้า ร่วมเป็นวิทยากร ให้ความรู้การแปรรูปกาแฟโรบัสต้า เพื่อยกระดับคุณภาพกาแฟให้เป็น Fine Robusta ณ บ้านน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน นายอรรถวิทย์ เปิดเผยว่า จากที่เครือซีพี เข้าไปดำเนินงานด้านความยั่งยืนในพื้นที่บ้านน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ในการส่งเสริมการปลูกพืชทดแทนพืชเชิงเดี่ยว ในโครงการ “น้ำพาง โมเดล” ร่วมกับภาคีเครือข่าย ภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษาและชุมชน ร่วมกันฟื้นฟูพื้นที่สีเขียวควบคู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะการปลูกกาแฟพันธุ์โรบัสต้าฟื้นฟูป่า ในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส
กว่า 7 ปี ที่เครือเจริญโภคภัณฑ์ เล็งเห็นปัญหาและให้ความสำคัญด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ที่กำลังเผชิญกับสภาวะฝุ่นควันทางอากาศ หรือ PM 2.5 โดยเข้าไปดำเนินงานด้านความยั่งยืน ฟื้นฟูป่าต้นน้ำสำคัญ 4 สาย ได้แก่ ปิง วัง ยม น่าน เกิดเป็นโครงการต่างๆ ผ่านความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และชุมชน โดยมีแนวคิดการยกระดับอาชีพชุมชนด้านการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการที่เข้าไปดำเนินงานในภาคเหนือเป็นต้นแบบที่แรก คือ “สบขุ่น โมเดล” ในพื้นที่บ้านสบขุ่น ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน นางสาวพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์ที่เครือซีพีเข้าไปดำเนินการร่วมพัฒนาชุมชนในภาคเหนือ มี 3 เป้าหมาย คือ การพลิกฟื้นผืนป่า ยกระดับคุณภาพชีวิต และสร้างอาชีพสร้างรายได้ต่อยอดสู่ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) ร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ ด้วยการส่งเสริมปรับเปลี่ยนอาชีพเกษตรกรรม สนับสนุนปลูกพืชมูลค่าสูง ทดแทนการปลูกพืชเชิงเดี่ยว อาทิ กาแฟใต้ร่มไม้ หรือ
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เดินหน้าส่งเสริมให้พนักงานยอมรับความหลากหลายความแตกต่าง และความเท่าเทียมในองค์กร (Diversity, Equity และ Inclusion: DEI) พร้อมเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงศักยภาพสร้างสรรค์พลังบวกแก่องค์กรและสังคม ล่าสุด บริษัทได้จัดงานเสวนา “CPF Spreading Pride 2023” ภายใต้แนวคิด Put Our Heat Into Diversity พร้อมเชิญตัวแทนจากภาครัฐ และองค์กรชั้นระดับโลก จาก กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ United Nations Development Programme (UNDP) มาแบ่งปันองค์ความรู้ มุมมอง และประสบการณ์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานทุกระดับได้นำไปปฏิบัติใช้จริงในการทำงานและการดำเนินชีวิต นางสาวพิมลรัตน์ รีพัฒนาวิจิตรกุล ประธานผู้บริหาร ทรัพยากรบุคคล เครือซีพี-ซีพีเอฟ กล่าวว่า ที่ผ่านมา เครือซีพี-ซีพีเอฟ ได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียมของพนักงานในองค์กรครอบคลุมทุกมิติ อาทิ เพศ สัญชาติ ศาสนา และความทุพพลภาพ เช่น การจัดตั้งชมรม LGBTQ+ การจัดจ้างคนพิการทั่วประเทศจำนวนทั้งสิ้น 728 รา
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566 – นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายณรงค์ เจียรวนนท์ รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมเป็นประธาน พร้อมด้วย นายขจิต ชัชวานิชย์ ปลัดกรุงเทพมหานคร นายพรเลิศ เพ็ญพาส ผู้อำนวยการเขตจตุจักร คุณธนัช นฤพรพงศ์ รองผู้อำนวยการสถาบันองค์กรพัฒนาชุมชน (องค์การมหาชน) นายอราม สะอาด ผู้อำนวยการส่วนจัดการที่ราชพัสดุ 2 กรมธนารักษ์ นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐ และผู้บริหารสูงสุด สายงานด้านบริหารกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ผศ.พงษ์พร สุดบรรทัด Urban Action ที่ปรึกษากลุ่มบริษัทดีทีจีโอ คณะผู้บริหารและพนักงานจากกลุ่มธุรกิจเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นทีสีเขียว เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยววิถีชุมชนริมคลอง พร้อมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ลดความเหลื่อมล้ำสร้างอาชีพและรายได้พัฒนาคุณภาพชีวิตคุณในชุมชนอย่างยั่งยืน ณ ชุมชนประชาร่วมใจ 1 คลองเปรมประชากร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พร้อมกันนี้ นายณรงค์ เจียรวนนท์ รองประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย ผู้ว่าราชการกรุงเ
เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยกโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” ช่วยเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรได้มีแนวทางการเพาะปลูกและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทันสมัยมีขีดความสามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และสนับสนุนให้การเพาะปลูกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่บุกรุกทำลายพื้นที่ป่า ไม่ใช้วิธีการเผา ก้าวสู่เกษตรทันสมัย สร้างอาชีพมั่นคง และเป็นต้นทางการผลิตอาหารที่รับผิดชอบต่อโลก นายชัชวาล มิ่งขุนทด เกษตรกรปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ บ้านท่าขี้เหล็ก อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา เล่าว่า เกษตรกรในปัจจุบันต้องมีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพราะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม และศัตรูพืชส่งผลกระทบทำให้ผลผลิตไม่แน่นอน หลังจากเข้าร่วมโครงการ “เกษตรกรพึ่งตน ข้าวโพดยั่งยืน” ของกลุ่มธุรกิจการค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ เครือซีพี ตั้งแต่ปี 2559 บริษัทฯ สนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินฟรี ช่วยเกษตรกรปรับใช้ปุ๋ยได้อย่างเหมาะสม และใช้วิธีการเตรียมแปลงเพาะปลูกแบบใหม่ ทั้งการไถกลบตอซัง การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงดินมีอินทรียวัตถุมากขึ้น รวมถึงวิธีการไถที่ช่วยให้ข้าวโพดหยั่งราก