เครือเจริญโภคภัณฑ์
เมื่อเร็วๆนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วย นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และคณะ ลงพื้นที่ตรวจติดตามแผนอนุรักษ์โลมาอิรวดี ในทะเลสาบสงขลา เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลหลวง จังหวัดพัทลุง พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานภาคีเครือข่าย ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจำนวน 560,000 ตัว ประกอบด้วย กุ้งก้ามกราม กุ้งกุลาดำ และปลาตะเพียน โดยมี นายธราวุธ ช่วยเกิด รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร ผู้บริหารสูงสุดด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หน่วยงานราชการท้องถิ่นและชุมชนกว่า 200 คน ร่วมให้การต้อนรับ ทั้งนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดยมูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์พัฒนาชีวิตชนบท ร่วมดำเนินงานด้านความยั่งยืนในพื้นที่ พร้อมสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ และนำเสนอนิทรรศการ 3 แผนฟื้นฟูระบบนิเวศ เพื่อสร้างสมดุลการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนรอบทะเลสาบสงขลา ณ เขตห้ามล่าสัตว์ทะเลหลวง จ.พัทลุง นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บร
ปัตตานี , เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 – เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ร่วมกับ สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9 (ปัตตานี) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำนักงานประมงจังหวัดปัตตานี กรมประมง ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลปัตตานี เทศบาลตําบลปะนาเระ ชมรมประมงพื้นบ้านตำบลปะนาเระ พร้อมกลุ่มธุรกิจในเครือซีพี โดย บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด พื้นที่ ปัตตานี ยะลา และ นราธิวาส ร่วมทำกิจกรรมวางซั้งบ้านปลา 50 ชุด จากภูมิปัญญาปราชญ์ชาวประมง เพื่ออนุรักษ์ ปกป้อง ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลในพื้นที่อ่าวไทยตอนล่าง จ.ปัตตานี โดยมี นายมนตรี หามนตรี ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 9 เป็นประธาน พร้อมด้วย เรือเอกธัญญะ ฉุยโรจน์ธรรม ประมงจังหวัดปัตตานี นายโชคชัย เมืองสง ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลปัตตานี นายสุไลมาน ดาราโอะ ประธานชมรมประมงพื้นบ้านตำบลปะนาเระ นายนนท์ นาคะเสถียร ผู้จัดการทั่วไป สำนักปฏิบัติการความยั่งยืนทางทะเล เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วยชาวบ้านจากชุมชนในพื้นที่ นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร ผู้บริหารสูงสุดด้านพัฒนา
เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2568 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้จัดการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 63 ระหว่างวันที่ 4-6 มีนาคม 2568 โดยมีแนวคิดหลักคือ “ปัญญาประดิษฐ์สู่การใช้ประโยชน์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ซึ่งการประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นการเชื่อมโยงระหว่างนวัตกรรมและความยั่งยืนในการพัฒนาทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติจริง ในโอกาสนี้ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “นวัตกรรมและความยั่งยืน : ยกระดับการผลิตและเพิ่มมูลค่ากระบือไทย” โดยมี รศ.ดร.ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ จากหน่วยวิจัยเฉพาะทางพันธุศาสตร์สัตว์เขตร้อนชื้น ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นายสุพชัย ปัญญาเอก ผู้จัดการโครงการฟาร์มกระบือทันสมัย มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ นางจิราภัค ขำเอนก ประธานเครือข่ายผู้เลี้ยงกระบือจังหวัดบุรีรัมย์ และเจ้าของรวินันท์ฟาร์ม สพ.ญ.ธาราทิพย์ พุ่มระชัฎร์ จากโครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย นายนิรุจน์ พันธ์ศรี จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบุรีรัมย์ กรมปศุสัตว์ รวมทั้ง นายสานน กันรัมย์ ผู้จัดการบริษัท สไมล์ บีฟ จำกัด ร่วมเป็นวิทยากรบนเวทีเสวนา ซึ่งดำเนินรายการโด
บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีก “แม็คโคร-โลตัส” ลงนามบันทึกความเข้าใจ ร่วมกับ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มุ่งยกระดับศักยภาพและเพิ่มโอกาสทางการค้าให้กับผู้ประกอบการรายย่อย ผู้ประกอบการธุรกิจโฮเรก้าและร้านค้าโชห่วย ผ่านการเสริมสร้างองค์ความรู้ และการส่งเสริมกิจกรรมทางการตลาด รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการต้นทุน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันระยะยาว ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมสร้างสรรค์เศรษฐกิจระดับชุมชน การลงนามบันทึกความเข้าใจ นำโดย คุณธนิศร์ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจแม็คโคร ประเทศไทย และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มสายงานการพาณิชย์สินค้า (ขวาสุด) และ คุณอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ซ้ายสุด) ร่วมลงนาม โดยได้รับเกียรติจาก คุณนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ที่ 2 จากซ้าย) และ คุณเสาวลักษณ์ ถิฐาพันธ์ ประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มสายงานการเงิน การบัญชี บริหารงานกลาง และประธานคณะผู้บริหาร กลุ่มธุรกิจค้าส่ง บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา)
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2567 – นายขวัญชัย เนื่องจำนงค์ นายอำเภอเวียงแหง เป็นประธานงาน ซีพีร้อยรักษ์โลก ป่าปลอดเผา จ.เชียงใหม่ ส่งมอบปุ๋ยวัสดุปรับปรุงดินให้แก่ชุมชนอำเภอเวียงแหง จากความร่วมมือของคนในชุมชน ในโครงการป่าปลอดเผา (Zero Forest Burning) โดยมี ว่าที่พันตรี นรินทร์ ปิ่นสกุล ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1 (เชียงใหม่) พร้อมด้วย นางสาวพิไลลักษณ์ พิชัยวัตต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ หัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ และชุมชน ร่วมมอบให้กับ 6 ชุมชน ใน 2 ตำบล ได้แก่ ต.แสนไห และ ต.เมืองแหง ณ อุทยานแห่งชาติผาแดง ต.แสนไห อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ นายขวัญชัย เนื่องจำนงค์ นายอำเภอเวียงแหง กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ ถือเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก จากภาวะหมอกควันไฟป่า และมลพิษฝุ่น PM2.5 โดยได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัด เพื่อบูรณาการแก้ไขปัญหาดังกล่าวฯ โดยในปี 2568 ได้กำหนดมาตรการสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 3 มิติ คือ ด้านการป้องกัน , การรับมือเผชิญเหตุไฟป่าและมลพิษด้านฝุ่นละ
เมื่อเร็วๆนี้ นายโชตินรินทร์ เกิดสม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พร้อมด้วย พลโท ไพศาล หนูสังข์ แม่ทัพภาคที่ 4 กองทัพบก และ พลตรี ปกรณ์ จันทรโชตะ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 ร่วมรับมอบวัตถุดิบสำหรับประกอบอาหาร อาทิ ไข่ไก่สด เนื้อไก่ ข้าวสารตราฉัตร น้ำมันพืช และน้ำดื่ม สำหรับนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมภาคใต้ โดยมี พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน พร้อมด้วย นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย ผู้แทนจากกลุ่มบริษัทในเครือฯ อาทิ มูลนิธิเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) บมจ.ซีพี แอ็กซ์ตร้า (CP AXTRA) ธุรกิจแม็คโคร และโลตัส (Makro – Lotus’s) บจก. ซี.พี.อินเตอร์เทรด (CPI) เป็นผู้มอบ สำหรับนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่ใน 4 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส ให้กับมณฑลทหารบกที่ 42 ณ ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค4 ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพภาคที่ 4 ค่ายเสนาณรงค์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา นายจอมกิตติ ศิริกุล รอ
เมื่อเร็วๆนี้ นายศักระ กปิลกาญจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมด้วย นายจอมกิตติ ศิริกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ นายสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นายประจวบ โมฆะรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งที่ 7 นาวาเอกแสนย์ไท บัวเนียม รองผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย นายบรรจง นะแส ที่ปรึกษาสมาคมทะเลไทย และอีก 5 ชุมชน ในพื้นที่ ต.ทุ่งหว้า ต.นาทอน ต.ขอนคลาน และ ต.ทุ่งบุหลัง ร่วมงาน “ซีพี ร้อย รักษ์ โลก ฟื้นฟูหญ้าทะเล” ภายใต้โครงการซูเปอร์มาร์เก็ตชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน จ.ตรัง-สตูล เพื่อเพิ่มปริมาณหญ้าทะเล แก้ไขปัญหาหญ้าทะเลเสื่อมโทรมบริเวณอ่าวไม้ขาวให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารให้แก่พะยูน แหล่งที่อยู่อาศัยอนุบาลสัตว์น้ำ นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอนที่สำคัญ ถือเป็นหนึ่งในแหล่ง Blue Carbon ร่วมกับระบบนิเวศทางทะเลอื่นๆ พร้อมทั้งสร้างความตระหนักรู้ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชา
บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจค้าส่งค้าปลีก แม็คโคร-โลตัส ผนึกกำลังกับกรุงเทพมหานคร เดินหน้าจัดโครงการ “ไม่เทรวม x เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” เพื่อคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และนำกลับมาเปลี่ยนให้เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ร่วมกับทั้ง 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ครอบคลุม 424 สาขา ของแม็คโครและโลตัส โดยการจัดงานครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้เกียรติเป็นประธานในพิธี นางศิริพร เดชสิงห์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สายงานสื่อสารองค์กร บริษัท ซีพี แอ็กซ์ตร้า จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การบรรลุเป้าหมายในการจัดการกับปัญหาขยะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยปัจจุบันขยะอาหาร (Food Waste) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซีพี แอ็กซ์ตร้า ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก และได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดการสร้างขยะอาหาร และลดปริมาณขยะสู่หลุมฝังกลบให้เป็นศูนย์ภายในปี 2573 จึงได้จับมือกับกรุงเทพมหานคร ร่วมขับเคลื่อนโครงการ “ไม่เทรวม x เปลี่ยนขยะเป็นประโยชน์” โดยทุกสาขาของแม็คโครและโลตัสทั่วประเทศ จะแยกขยะอาหารออกจากขยะที่นำไปรีไซเคิลได้ เพื่อให้การจัดกา
ซีพี จับมือ “เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส (CPP) กรุงเทพโปรดิ๊วส (BKP)” ประกาศความร่วมมือกับ “สมาคมอุตสาหกรรมข้าวโพดเมียนมา หรือ MCIA” นำร่องเปิดระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้ทุกภาคส่วน ผู้ผลิต คู่ค้า ฯลฯ ร่วมใช้ ยกระดับความยั่งยืนและโปร่งใสในอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีระดับโลก ตอกย้ำนโยบาย “ไม่รับซื้อ และไม่นำเข้าผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่รุกป่า และพื้นที่ที่มาจากการเผา” กรุงย่างกุ้ง, ประเทศเมียนมา – เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 – เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) โดย เจริญโภคภัณฑ์โปรดิ๊วส (CPP) และ กรุงเทพโปรดิ๊วส (BKP) ร่วมกับพันธมิตรทั้งจากภาครัฐและเอกชนในเมียนมา ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญในการเปิดระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของซีพีให้ทุกภาคส่วน ทั้ง ผู้ผลิต คู่ค้าและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถร่วมใช้ได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญในการสร้างความยั่งยืนในอุตสาหกรรมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเมียนมา ทั้งนี้โดยจัดให้มีการแถลงความร่วมมือเกี่ยวกับโครงการยกระดับการตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในเมียนมา โดยไม่รับซื้อจากพื้นที่ที่มีการเผาและพื้นที่ป่าดั้งเดิม โดยการแถลงคว
เมื่อเร็วๆ นี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยสำนักงานด้านความความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จังหวัดน่าน ร่วมกับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 และโรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน ดำเนินการพัฒนาหลักสูตร “ปลูกผักด้วยรัก ผักดอนแก้ว” ในหลักสูตรการเรียนการสอนประจำปีการศึกษา 2567 โดยมี นายรังสรร พุทธวงค์ ผู้จัดการทั่วไป ด้านพัฒนาความยั่งยืนภาครัฐและกิจการสัมพันธ์ เครือเจริญโภคภัณฑ์ พร้อมด้วย พนักงานเครือซีพี ร่วมเป็นวิทยากรสอน ในปีนี้เป็นหลักสูตรที่สอนตั้งแต่กระบวนการการเตรียมดิน การเพาะเมล็ด การปลูกกล้าผัก การดูแลรักษากล้าผัก การเก็บเกี่ยว และการจัดจำหน่ายผักในโรงเรียนและขยายสู่ชุมชน แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 40 คน จัดขึ้น ณ โรงเรียนบ้านดอนแก้ว อำเภอเชียงกลาง จังหวัดน่าน นายรังสรร เปิดเผยว่า สำนักงานด้านความความยั่งยืนและพัฒนาชุมชน จังหวัดน่าน มีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาชุมชน จังหวัดน่าน รวมถึงการให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนในภาคเหนือ ที่จะเป็นกำลังสำคัญขับเคลื่อนประเทศชาติในอนาคต จึงมีการบูรณาการร่วมกับภาครัฐ ภาคการศึกษา พัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสม