เงาะ
นางสาวนริศรา เอี่ยมคุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปการจัดทำข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก ปี 2568 (ข้อมูล ณ 2 เมษายน 2568) โดย สศท.6 และศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก.ประชุมร่วมกับคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ภาคตะวันออก ติดตามสถานการณ์การออกดอกและติดผลของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี ตราด) สรุป ปี 2568 ปริมาณผลผลิตรวม ทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,298,482 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีจำนวน 999,211 ตัน (เพิ่มขึ้น 299,271 ตัน หรือร้อยละ 29.95) เนื่องจากปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญและสภาพอากาศแปรปรวน ออกดอกติดผลน้อย ทำให้ปีนี้ได้พักต้นเพื่อสะสมอาหาร ต้นสมบูรณ์ พร้อมออกดอกติดผลได้อย่างเต็มที่ ประกอบกับปีนี้สภาพอากาศเอื้ออำนวยทำให้การออกดอกและติดผลของไม้ผลทั้ง 4 ชนิดเพิ่มขึ้น สำหรับเนื้อที่ให้ผลของทุเรียนเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 17 โดยเนื้อที่ให้ผลของทุเรียนเริ่มให้ผลผลิตในปี 2568 เป็นปีแรกเพิ่มขึ้น 72,908 ไร่ ถึงแม้บางพื้นที่ได้รับผลกระ
น.ส.นริศรา เอี่ยมคุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาพรวมไม้ผลภาคตะวันออก 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ปี 2567 (ข้อมูล ณ 4 เม.ย. 2567) ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ระยอง จันทบุรี ตราด ผลผลิตรวมจำนวน 1,114,070 ตัน เพิ่มขึ้น 6.48% หรือเพิ่มขึ้น 67,816 ตัน จากปี 2566 ที่มีจำนวน 1,046,254 ตัน โดย มังคุด เพิ่มขึ้นมากที่สุด 42% รองลงมา เงาะ เพิ่มขึ้น 8% ลองกอง เพิ่มขึ้น 3% และทุเรียน 1% ผลผลิตรวมของไม้ผลทั้ง 4 ชนิดเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศปีนี้มีความเหมาะสมต่อการออกดอกและติดผลของมังคุด เงาะ ลองกอง จากการได้พักต้นสะสมอาหาร ซึ่งปีที่ผ่านมาออกดอกติดผลน้อย ส่วนทุเรียนผลผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากอัตราเนื้อที่ให้ผลทุเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าอัตราการลดลงของผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ซึ่งเนื้อที่เริ่มให้ผลผลิตในปี 2567 ได้เป็นปีแรกเพิ่มขึ้นกว่า 38,000 ไร่ ทั้งนี้ ผลผลิตไม้ผลทั้ง 4 ชนิด จะออกมากที่สุดในเดือนพ.ค. 2567 คิดเป็น 51% ของผลผลิตทั้งหมด เนื่องจากในปีที่ผ่านมาสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการออกดอกติดผลของไม้ผล จึงได้พักต้
ลุงเสงี่ยม สีสันต์ อยู่บ้านเลขที่ 50 หมู่ที่ 6 ตำบลบุเปือย อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี อาชีพหลักสมัยก่อนโน้น ที่ลุ่มแบ่งทำนา สูงขึ้นมาหน่อยปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ก่อนปี 2535 มีคนชวนลุงเสงี่ยมไปเป็นเพื่อน เพื่อซื้อเงาะจากจังหวัดจันทบุรีมาขาย ลุงชอบเพราะได้เห็นสิ่งแปลกใหม่ เรื่องเงินทองรายได้ไม่ได้คิด หลายครั้งหลายหนที่ไปเห็นต้นเงาะของชาวสวนเมืองจันท์สุกแดงเต็มต้น จึงอยากปลูก ที่อยากปลูกเนื่องจากท้องถิ่นอำเภอน้ำยืน อยู่ชายแดนติดกับกัมพูชา ดินดี ฝนตกดี ที่สำคัญ ลุงมีความขยันหมั่นเพียร ความรู้ และวิธีการปลูกน่าจะหาทางศึกษาได้ ลงมือเมื่อปี 2535 ลุงเสงี่ยม มีประสบการณ์เรื่องราคาข้าวโพด ช่วงเก็บผลผลิตขาย บางปีพออยู่ได้ แต่บางปีขาดทุน เมื่อไปเห็นเขาปลูกเงาะที่เมืองจันท์ จึงตัดสินใจปลูกเงาะโรงเรียนบนที่เนินใกล้บ้าน ทางเจ้าหน้าที่เกษตรแนะนำว่า งานปลูกไม้ผลควรขุดหลุมให้ลึก แล้วรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ขี้วัว ขี้ควายเก่าๆ ลุงตัดสินใจปลูกเมื่อปี 2535 ช่วงนั้นการทำนายังใช้ควายตัวเป็นๆ ยังไม่ใช้ควายเหล็ก ปุ๋ยคอกจึงหาได้ง่าย สำหรับระยะปลูก ระหว่างต้นระหว่างแถว 8 คูณ 8 เมตร พื้นที่ไร่หนึ่งจึงปลูกได้ 25
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการจัดทำข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลภาคใต้ ปี 2565 ครั้งที่ 2 (ข้อมูล ณ 11 พฤษภาคม 2565) ซึ่ง สศก. โดย สศท.8 และ สศท.9 ร่วมกับคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ภาคใต้ พิจารณาผลพยากรณ์ ของสินค้า 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 14 จังหวัด คือ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เพื่อใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนบริหารจัดการผลไม้ตั้งแต่ต้นฤดู เนื้อที่ยืนต้น ของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,108,655 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวน 1,082,795 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 เนื่องจากราคาอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง ส่งผลให้เกษตรกรปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้น โดยมีการปลูกทุเรียนทดแทนกาแฟ ยางพารา และปลูกเพิ่มในพื้นที่ว่าง ขณะที่ลองกอง ลดลงร้อยละ 8 เงาะ ลดลงร้อยละ 4 และมังคุด ลดลงร้อยละ 1 เนื่องจากเกษตรกรโค่นต้นเงาะ มังคุด และลองกอง เพื่อปรับเปลี่ยนไปปลูกทุเรียนซึ่งให
นางศศิญา ปานตั้น ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก ปี 2565 (ข้อมูล ณ 11 เมษายน 2565) โดย สศก. ร่วมกับคณะทำงานย่อยเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและโลจิสติกส์ ภาคตะวันออก สรุปตัวเลขเอกภาพปริมาณผลผลิตของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี ตราด) พบว่า ผลผลิตรวมทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,189,522 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ที่มีจำนวน 903,865 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 32) เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นและมีฝนตกต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2564 ส่งผลให้เอื้อต่อการออกดอกและติดผล แม้จะมีภัยธรรมชาติจากลมพายุช่วงปลายปี 2564 และเดือนกุมภาพันธ์ถึงมีนาคม 2565 ที่ทำให้ดอกและลูกร่วงเสียหาย แต่ในภาพรวมปริมาณผลผลิตยังคงมากกว่าปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ผลผลิตได้ทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจะออกต่อเนื่องจนถึงกลางเดือนกันยายน 2565 โดยผลผลิตจะออกมากที่สุดช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 (คิดเป็นร้อยละ 51 ของผลผลิตทั้งหมด) เมื่อพิจารณาปริมาณผลผลิตรายชนิด พบว่า ทุเรียน มังคุด เงาะ ผลผล
แหล่งปลูกเงาะของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออกและภาคใต้ ภาคอีสานมีการปลูกเงาะได้ในบางจังหวัด มีที่ตำบลน้ำสวย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ส่วนที่ภาคเหนือมีสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมไม่เหมาะสำหรับการปลูกเงาะ ไม่ใช่พื้นที่สำหรับการปลูกเงาะ จึงไม่มีใครคิดจะปลูกเงาะที่ภาคเหนือ คงมีบ้างในจังหวัดเชียงรายบางพื้นที่ที่อยู่ติดแม่น้ำโขงสามารถปลูกเงาะได้ผลผลิต เช่น อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน เป็นต้น จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน มีการปลูกกันบ้างแซมเป็นจำนวนน้อยรายในสวนผลไม้ ส่วนในจังหวัดอื่นๆ การปลูกเงาะมักไม่ค่อยประสบความสำเร็จ แต่ที่จังหวัดลำปาง มีผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกเงาะอยู่รายหนึ่ง ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่มีใครคิดจะปลูกเงาะ นอกจากจะไม่มีประสบการณ์ในการปลูกเงาะมาก่อนแล้ว ยังเชื่อที่ว่าลำปางไม่เหมาะสมกับการปลูกเงาะ จะปลูกอย่างไรก็ตามไม่มีทางออกผล เขาผู้นี้ต้องใช้ความเพียรพยายามอยู่หลายปีกว่าจะประสบความสำเร็จ ถึงแม้ผลผลิตออกมาจะมีอยู่เป็นจำนวนน้อยก็ตาม แต่เป็นผลสำเร็จที่น่าภาคภูมิใจของเขา สามารถลบล้างความเชื่อของใครบางคนที่มีมาแต่เดิมไปได้ ลุงอาษา สาริการ แห่งบ้านห้วยยาง ตำบลบ้านเสด็จ อำเภอเมือง จังหวัดลำป
อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา เป็นอำเภอน้องใหม่ที่แยกตัวมาจากอำเภอเชียงคำ เกษตรกรมีความขยันขันแข็ง มีการริเริ่มและสรรหากิจกรรมทางการเกษตรใหม่ๆ มาดำเนินการเพื่อแสวงหาแนวทางที่จะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ดังเช่น คุณทวี คิดหา เกษตรกรหัวไวใจสู้ ซึ่งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 7 บ้านธาตุภูซาง หมู่ที่ 10 ตำบลภูซาง อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา ปลูกเงาะพันธุ์โรงเรียน เคยขายได้ถึง 500,000 บาท คุณทวี คิดหา เล่าให้ฟังว่า เริ่มปลูกเงาะเมื่อปี 2542 เป็นพันธุ์โรงเรียน ในพื้นที่ 7 ไร่ โดยใช้ระยะปลูก ระหว่างต้น 8 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร ปลูกได้ 3 ปี เงาะก็ให้ผลผลิต โดยผลผลิตจะออกสู่ตลาดประมาณปลายเดือนสิงหาคม ตลาดที่รับซื้อนอกจากในพื้นที่แล้ว จะมีพ่อค้าจากตลาดค้าส่งแถวตลาดไท ขึ้นมาซื้อ เพราะเงาะโรงเรียนของภูซางพะเยามีคุณภาพที่ออกจะแตกต่างจากถิ่นที่ปลูกเดิม คือเนื้อจะล่อน กรอบ หวาน เป็นที่ถูกใจของผู้บริโภค ทำให้ขายได้ราคาดีกว่าผลผลิตจากแหล่งอื่น ในปี 2561 ผลผลิตในสวน 7 ไร่นี้ ขายได้ถึง 500,000 บาท ปี 2562 ขายได้ 300,000 บาท แต่เงาะในพื้นที่อำเภอภูซาง ก็จะประสบปัญหาในเรื่องผลร่วง หากปีใดมีฝนตกชุกเกิน และปัญหาเรื่องราแป้ง เพราะต
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ภาพรวมของไม้ผลภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด คาดว่าจะมีผลผลิตรวมประมาณ 712,002 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีผลผลิต 529,385 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 35.20% โดยแยกเป็นผลผลิตภาคใต้ตอนบน จำนวน 542,797 ตัน คิดเป็น 76.24% ของผลผลิตทั้งภาคใต้ และผลผลิตภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 169,205 ตัน คิดเป็น 23.76% ของผลผลิตทั้งภาคใต้ โดยไม้ผลเศรษฐกิจภาคใต้ พื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ตอนบน ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ระนอง กระบี่ พังงา ภูเก็ต พบผลผลิตมีจำนวน 542,797 ตัน เพิ่มขึ้น 146,629 ตัน หรือ 37.01% จากปี 2561 ที่มีจำนวน 396,168 ตัน เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยตั้งแต่ต้นปี และราคาไม้ผลที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2560 โดยเฉพาะทุเรียน เกษตรกรจึงเอาใจใส่ดูแลสวนผลไม้มากขึ้น โดยผลผลิตต่อไร่ของทั้ง 4 ชนิดพืช มีทิศทางเพิ่มขึ้น เพราะสภาพต้นสมบูรณ์ พร้อมต่อการออกดอกติดผล ส่งผลให้ไม้ผลออกดอก ติดผลมากกว่าปีที่ผ่าน สำหรับทุเรียน ภาคใต้ตอนบน มีเนื้อที่ยืนต้น 369,913 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2561 สัดส่วน 6.37% เนื้อที่ให้ผล 283,395 ไร่ เพิ่มขึ้น 10.26% ผลผลิตรว
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลสรุปข้อมูลปริมาณการผลิตไม้ผลเอกภาพ ปี 2562 โดยคณะทำงานสำรวจข้อมูล ไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออกได้สรุปตัวเลขเอกภาพผลผลิตไม้ผลภาคตะวันออก ปี 2562 ของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัดตะวันออก จันทบุรี ระยอง และตราด โดยผลสรุปข้อมูลเอกภาพไม้ผล ปี 2562 (ข้อมูล ณ 27 มีนาคม 2562) พบว่า เนื้อที่ยืนต้น ของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 692,810 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีจำนวน 678,203 ไร่ (เพิ่มขึ้น 14,607 ไร่ หรือร้อยละ 2.15) โดยทุเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.20 ส่วน เงาะ ลดลง ร้อยละ 2.10 มังคุด ลดลง ร้อยละ 0.28 และ ลองกอง ลดลง ร้อยละ 5.08 เนื้อที่ให้ผลของไม้ผลทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 626,339 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีจำนวน 615,172 ไร่ (เพิ่มขึ้น 11,167 ไร่ หรือ ร้อยละ 1.82) โดยทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.31 มังคุด เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.69 ส่วนเงาะ ลดลง ร้อยละ 2.43 และ ลองกอง ลดลง ร้อยละ 3.84 ผลผลิต รวมทั้ง 4 สินค้ามีจำนวน 886,535 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ที่มีจำนวน 667,025 ตัน (เ
เงาะ เป็นผลไม้ที่สำคัญของภาคตะวันออกและภาคใต้ และปัจจุบันได้ถูกนำมาปลูกในพื้นที่จังหวัดต่างๆ รวมทั้งจังหวัดหนองบัวลำภูด้วย สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอยู่ในระดับที่น่าพอใจ อย่างเช่น คุณสง่า สารพัฒน์ อายุ 51 ปี อยู่บ้านเลขที่ 120 หมู่ที่ 9 บ้านต่างแคน ตำบลบ้านโคก อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู โทรศัพท์ (085) 456-5990 และ (063) 056-2688 (ภรรยา) คุณสง่า เล่าให้ฟังว่า มีพื้นที่การเกษตรกว่า 100 ไร่ เป็นที่ นส. 3 และ ส.ป.ก. โดยได้ทำการเกษตรหลายอย่าง ได้แก่ ยางพารา ประมาณ 50 ไร่ มีรายได้ปีละ 4 แสน ถึง 5 แสนบาท และแนวโน้มมีรายได้ลดลงเรื่อยๆ ทำไร่อ้อย 20 กว่าไร่ มีรายได้ปีละประมาณ 20,000 บาท และมีแนวโน้มรายได้ลดลงเช่นกัน ปี 2541 ได้ทดลองปลูกเงาะโรงเรียน จำนวน 200 ต้น โดยใช้ระยะปลูก 7×7 เมตร พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ ได้จัดทำระบบน้ำไปยังต้นเงาะทุกต้น ลงทุนประมาณ 40,000 บาท สามารถให้น้ำเงาะได้ตลอดปี ในระยะแรกได้มีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แซมช่องว่างระหว่างของเงาะ ทำให้มีรายได้เสริมในระหว่างที่ยังไม่ให้ผลผลิต การให้ปุ๋ย ได้นำแม่ปุ๋ยมาผสมใช้เองเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยใช้สูตร 46-0-0 อัตรา 50