เพลี้ยไฟ
เพลี้ยไฟ ศัตรูตัวจิ๋วแต่ร้ายกาจสำหรับต้นพริก มักเข้ามาทำลายพืชโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อน ดอก และผล ทำให้ต้นพริกเหี่ยวเฉา ผลิตผลลดน้อยลง และบางครั้งก็ถึงกับทำให้ต้นตายได้! ดังนั้นหากปลูกพริกไว้ต้องเจอกับปัญหานี้แน่นอน วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านจึงขอแนะนำเคล็ดลับดีๆ ในการจัดการเพลี้ยไฟเพื่อช่วยให้ต้นพริกของคุณเติบโตอย่างงามสะพรั่ง เพลี้ยไฟพริก เป็นแมลงศัตรูพืชที่มีความสำคัญมาก ชนิดหนึ่ง มักพบการระบาดตั้งแต่หลังย้ายปลูก 1 เดือน ส่วนใหญ่ เข้าทำลายบริเวณยอดและใบอ่อน ทำให้ยอดหรือใบอ่อนหงิก เมื่อใบพริกแก่จะเห็นเป็นรอยกร้านสีน้ำตาล ส่งผลให้การสังเคราะห์แสง ลดลง พริกจะชะงักการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตน้อยลง และมีช่วงอายุ การเก็บเกี่ยวผลผลิตสั้น หากเพลี้ยไฟระบาดในระยะที่พริกออกดอก จะทำให้ดอกพริกหลุดร่วง ถ้าระบาดในระยะติดผล พริกจะมีลักษณะ บิดงอ แคระแกร็น และมีคุณภาพต่ำ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ถ้ามีการระบาดที่รุนแรง ต้นพริกจะชะงักการเจริญเติบโต หรือ แห้งตายในที่สุด โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้พริกใบหงิก ได้แก่ แมลงศัตรูพืชสองชนิด คือ เพลี้ยไฟ ไรแดงและไรขาว ซึ่งอาจเข้าทำลายพร้อมๆ กันก็ได้ หรือสลับกันเข้าทำลาย
หลายคนชื่นชมการบริโภคมังคุด จึงแบ่งพื้นที่ว่างในสวน ปลูกมังคุดแทรกกับต้นไม้อื่นๆ เมื่อต้นมังคุดเริ่มให้ผลพบว่า เกิดอาการยางไหลสีเหลืองออกจากผิวของผลมังคุด และบางส่วนยางสีเหลืองตกภายในผล โดยไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร หากใครเจอปัญหาแบบนี้ จะพาไปหาคำตอบ ที่จะช่วยผลิตมังคุดคุณภาพดีให้กับทุกคนในอนาคตได้เลย สาเหตุของโรคยางไหลของผลมังคุด โรคยางไหลของผลมังคุด เกิดขึ้นได้ทั้งระยะผลอ่อนและผลแก่ โรคยางไหลที่เกิดขึ้นในระยะผลอ่อน สาเหตุเนื่องจากการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ซึ่งเป็นแมลงปากดูดที่มีขนาดเล็ก ลำตัวมีสีเหลืองอ่อน ยาวประมาณ 1.0-2.0 มิลลิเมตร เพลี้ยไฟจะเลือกดูดน้ำเลี้ยงของผลอ่อน และหลบซ่อนอยู่หลืบฐานรองดอก ทำให้ยางสีเหลืองไหลออกจากรอยแผล มีลักษณะเป็นเม็ดทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ผลที่ถูกทำลายรุนแรงจะเจริญเติบโตช้ากว่าปกติ หากผลไม่ร่วงหล่นลงเสียก่อน เมื่อพัฒนาต่อไปเป็นผลแก่ผลจะมีขนาดเล็กและผิวกร้านขายไม่ได้ราคา ส่วนอาการยางไหลในระยะผลแก่ เกิดขึ้นกับผลมังคุดใกล้สุกแก่ มักแสดงอาการรุนแรงเมื่อมีฝนตกชุก รากของต้นมังคุดจะดูดน้ำขึ้นมาเลี้ยงผลปริมาณมาก ผิวของผลจะเปราะบางกว่าการได้รับน้
โรคแคงเกอร์ โรคแคงเกอร์ พบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นส้ม หากเกิดโรคในระยะผลอ่อน ทำให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ หากรุนแรงผลจะร่วง หากพบต้นส้มที่มีอาการ ให้ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรค เก็บเศษซากพืชที่ร่วงหล่น และกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปเผาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูกทันที จากนั้นพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชกลุ่มสารประกอบทองแดง เช่น สารคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคิวปรัสออกไซด์ 86.2% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 10-15 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคอปเปอร์ไฮดรอกไซด์ 77% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 15-20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นทุก 7-10 วัน จำนวน 2-3 ครั้ง และควรเลือกใช้กิ่งพันธุ์จากแหล่งปลูกที่ไม่มีการระบาดของโรคนี้ หรือใช้กิ่งพันธุ์ที่ไม่มีร่องรอยการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการนำกิ่งพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคไปปลูกใหม่ ระยะที่ต้นส้มแตกใบอ่อนให้เกษตรกรกำจัดหนอนชอนใบที่เป็นพาหะเชื้อสาเหตุโรคนำมาทำลายทิ้ง เนื่องจากรอยทำลายของหนอนชอนใบเป็นช่องทางให้เชื้อสาเหตุโรคเข้าทำลายพืช และส่งผลให้อาการโรครุนแรงลุกลามอย่างรวดเร็ว หากพบให้พ่นด้วยปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ 83.9% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิต
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หนุนถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์ นำชมสวนมะยงชิดตัวอย่างในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จัดการองค์ความรู้ตั้งแต่การเตรียมปลูก การกำจัดแมลงและศัตรูพืช จัดการระบบหลังเก็บเกี่ยว แปรรูปสร้างเอกลักษณ์ให้ดึงดูดใจ พร้อมจัดการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อการตลาดและส่งออก แก้ปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พีระศักดิ์ ฉายประสาท อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์เกษตร คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก และคณะ ได้แก่ ดร.นุชนาถ ภักดี และ นายพุทธพงษ์ สร้อยเพชรเกษม ร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์แก่เกษตรกรและผู้สนใจ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ณ สวนใจใหญ่ ตำบลชัยชุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งองค์ความรู้ดังกล่าวได้จากโครงการการจัดการความรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมะปรางเชิงพาณิชย์ ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำหรับองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตมะยงชิดเชิงพาณิชย์นั้น คร
ช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไฟ มักพบการเข้าทำลายในระยะที่ต้นมังคุดเริ่มออกดอกถึงระยะติดผลอ่อน โดยจะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช สำหรับการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะออกดอกและติดผลอ่อน อาจทำให้ดอกและผลอ่อนมังคุดร่วง ส่วนผลอ่อนมังคุดที่ไม่ร่วงเมื่อมีการพัฒนาผลโตขึ้น จะเห็นรอยทำลายของเพลี้ยไฟชัดเจน เนื่องจากผิวเปลือกมังคุดจะมีลักษณะขรุขระที่เรียกว่า ผิวขี้กลาก ทำให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพต่ำ การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน จะส่งผลทำให้ต้นมังคุดชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ ใบไหม้ และต้นมังคุดขาดความสมบูรณ์ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการระบาดของเพลี้ยไฟ ให้เกษตรกรสำรวจการระบาดของเพลี้ยไฟบนใบอ่อน ดอก และยอดอ่อน หากพบเพลี้ยไฟจำนวนมากกว่า หรือเท่ากับ 1 ตัว ต่อ 4 ดอก (0.25 ตัว ต่อดอก) หรือ 1 ตัว ต่อยอด หรือผลอ่อน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20
กลางคืนมีอากาศเย็น ส่วนกลางวันอากาศร้อนในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุด เฝ้าระวังการระบาดของ เพลี้ยไฟ มักพบการเข้าทำลายในระยะที่ต้นมังคุดเริ่มออกดอกถึงระยะติดผลอ่อน โดยจะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของ เพลี้ยไฟ เข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช สำหรับการเข้าทำลายของ เพลี้ยไฟ ในระยะออกดอกและติดผลอ่อน อาจทำให้ดอกและผลอ่อนมังคุดร่วง ส่วนผลอ่อนมังคุดที่ไม่ร่วงเมื่อมีการพัฒนาผลโตขึ้น จะเห็นรอยทำลายของ เพลี้ยไฟ ชัดเจน เนื่องจากผิวเปลือกมังคุดจะมีลักษณะขรุขระ ที่เรียกว่า ผิวขี้กลาก ทำให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพต่ำ การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ ในระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน จะส่งผลทำให้ต้นมังคุดชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ ใบไหม้ และต้นมังคุดขาดความสมบูรณ์ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการระบาดของ เพลี้ยไฟ ให้เกษตรกรสำรวจการระบาดของ เพลี้ยไฟ บนใบอ่อน ดอก และยอดอ่อน หากพบ เพลี้ยไฟ จำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตัว ต่อ 4 ดอก (0.25 ตัว ต่อดอก) หรือ 1 ตัว ต่อยอด หรือผลอ่อน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดอิมิดาโคลพริด 10% เอสแอล อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร
ปัจจัยสำคัญก่อนตัดสินใจลงทุนปลูกพริก จะต้องวางแผนช่วงเวลาที่จะผลิตพริก ให้ผลผลิตออกมาตามความต้องการของตลาด ซึ่งถือเป็นหัวใจที่มีความสำคัญ หรืออาจจะกล่าวอย่างง่ายๆ ว่าใช้หลัก “การตลาดนำหน้าการผลิต” ประการต่อมา เกษตรกรจะต้องคัดเลือกพันธุ์พริกที่จะปลูกที่ตลาดต้องการ, การคัดเลือกพื้นที่ปลูก ถ้าเลือกพื้นที่ปลูกที่เหมาะสม หรือทำเลที่ดี โอกาสประสบความสำเร็จมีไปแล้วครึ่งหนึ่ง ในเรื่องของสภาพพื้นที่ปลูกพริกนั้นจะเน้นในเรื่องของการระบายน้ำที่ดีเป็นหลัก มีความเข้าใจในเรื่องของการเจริญเติบโตของพริกในแต่ระยะ รู้จักโรคและแมลงศัตรู แล้วก็สารป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูที่ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายแก่พริกเมื่อมีการทำลายหรือระบาด และประการสุดท้าย คือ เรื่องเงินทุน ในการปลูกพริกในแต่ละรุ่น เกษตรกรจะต้องมีแหล่งเงินทุนสำรองให้ใช้ในการซื้อปัจจัยการผลิตต่างๆ ยกตัวอย่าง เกษตรกร คุณพิสุทธิ์ ต๊ะปิง บ้านเลขที่ 42/2 หมู่ที่ 9 บ้านรักไทย ตำบลชมพู อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก โทรศัพท์ (098) 593-7591 เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ คลุกคลี และผลิตลำไยนอกฤดูมานานเกือบ 20 ปี คุณพิสุทธิ์ ต๊ะปิง เล่าว่า ตอนนี้พื้นท
กลางวันแดดแรงอากาศร้อนและแห้ง ส่วนกลางคืนอากาศเย็นอุณหภูมิลดต่ำลงในระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนมังคุดเฝ้าระวังการระบาดของเพลี้ยไฟ มักพบเข้าทำลายในระยะที่ต้นมังคุดเริ่มออกดอกและติดผลอ่อน จนถึงระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน โดยจะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืช สำหรับการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะออกดอกและติดผลอ่อน อาจทำให้ดอกและผลอ่อนมังคุดร่วง ส่วนผลอ่อนมังคุดที่ไม่ร่วงเมื่อมีการพัฒนาผลโตขึ้น จะเห็นรอยทำลายของเพลี้ยไฟชัดเจน เนื่องจากผิวเปลือกมังคุดจะมีลักษณะขรุขระที่เรียกว่า ผิวขี้กลาก ทำให้ผลผลิตมังคุดมีคุณภาพต่ำ การเข้าทำลายของเพลี้ยไฟในระยะแตกยอดอ่อนและใบอ่อน จะส่งผลทำให้ต้นมังคุดชะงักการเจริญเติบโต แคระแกร็น หงิกงอ ใบไหม้ และต้นมังคุดขาดความสมบูรณ์ แนวทางในการป้องกันและแก้ไขการระบาดของเพลี้ยไฟ ให้เกษตรกรสำรวจการระบาดของเพลี้ยไฟบนดอกและยอดอ่อน หากพบเพลี้ยไฟจำนวนมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ตัวต่อ 4 ดอก หรือ 1 ตัวต่อยอด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดอิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสา
ระยะนี้ต้นมะม่วงหิมพานต์เริ่มเข้าสู่ช่วงต้นแทงช่อดอก กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วงหิมพานต์เฝ้าระวังในช่วงที่มีสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิลดต่ำลง และมีแดดแรงในเวลากลางวัน ให้สังเกตการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ และเพลี้ยแป้ง สำหรับเพลี้ยไฟ มักพบการเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงต้นมะม่วงหิมพานต์ในระยะแตกยอดอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ยอดอ่อนหงิกงอหรือแห้งตาย หากระบาดรุนแรง จะส่งผลให้ช่อดอกไหม้เป็นสีดำ และไม่ติดผล กรณีติดผลแล้วจะทำให้ผลร่วงหล่นได้ เมื่อพบการระบาดในช่วงที่ต้นมะม่วงหิมพานต์เริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนดอกบาน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา–ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ช่อดอก และช่อผล ส่งผลให้ราดำมาเจริญอยู่บริเวณนั้น ทำให้ใบร่วง ช่อดอกไม่ติดผล และผลแคระแกร็น กรณีที่มีปริมาณมาก มักพบเพลี้ยแป้งเกาะเป็นกระจุกที่ลำต้น และอยู่ร่วมกันกับมด โดยมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งเคลื
ระยะนี้ต้นมะม่วงหิมพานต์เริ่มเข้าสู่ช่วงต้นแทงช่อดอก กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนมะม่วงหิมพานต์เฝ้าระวังในช่วงที่มีสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิลดต่ำลง และมีแดดแรงในเวลากลางวัน ให้สังเกตการเข้าทำลายของเพลี้ยไฟ และเพลี้ยแป้ง สำหรับเพลี้ยไฟ มักพบการเข้าทำลายดูดกินน้ำเลี้ยงต้นมะม่วงหิมพานต์ในระยะแตกยอดอ่อน ช่อดอก และผลอ่อน ทำให้ยอดอ่อนหงิกงอหรือแห้งตาย หากระบาดรุนแรง จะส่งผลให้ช่อดอกไหม้เป็นสีดำ และไม่ติดผล กรณีติดผลแล้วจะทำให้ผลร่วงหล่นได้ เมื่อพบการระบาดในช่วงที่ต้นมะม่วงหิมพานต์เริ่มแทงช่อดอกหรือก่อนดอกบาน ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารฆ่าแมลงแลมบ์ดา–ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ส่วนการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง จะพบตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ช่อดอก และช่อผล ส่งผลให้ราดำมาเจริญอยู่บริเวณนั้น ทำให้ใบร่วง ช่อดอกไม่ติดผล และผลแคระแกร็น กรณีที่มีปริมาณมาก มักพบเพลี้ยแป้งเกาะเป็นกระจุกที่ลำต้น และอยู่ร่วมกันกับมด โดยมีมดเป็นพาหะนำเพลี้ยแป้งเคลื