เพาะเห็ด
“ขี้เลื่อยไม้ยางพารา” เป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่เกษตรกรนิยมนำมาใช้เพาะเห็ด ทั้งนี้ การเลือกใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ควรตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่า ไม่ใช่ขี้เลื่อยไม้ยางพาราที่มาจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ เพราะขี้เลื่อยประเภทนี้ผ่านการอบฆ่าเชื้อ นำมาใช้ในการเพาะเห็ดไม่ได้ หากนำขี้เลื่อยประเภทนี้มาทำก้อนเชื้อเห็ดหยอดเชื้อลงไปแล้วเชื้อไม่เดิน เพราะไม้ยางพาราจากโรงงานเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จะผ่านการอบยาฆ่าเชื้อรามาแล้ว หากนำมาใช้เพาะเห็ด เชื้อเห็ดก็จะไม่เดินอย่างแน่นอน เพราะเชื้อเห็ดก็เป็นเชื้อราประเภทหนึ่งนั่นเอง บางคนอยากเพาะเห็ดถุงเป็นอาชีพรอง หรือบริโภคภายในครัวเรือน แต่ “ขี้เลื่อย” ก็ไม่ได้หากันง่ายๆ แล้วจะมีวัสดุอะไรทดแทนได้บ้าง เห็ดที่เพาะในถุงได้ดี มีหลายสายพันธุ์ ตัวอย่าง เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง และเห็ดยานางิ เป็นตัวอย่าง ทั้งนี้ วัสดุเพาะที่นำมาทดแทนขี้เลื่อยได้ คือ ฟางสับ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ได้ทำการวิจัยไว้ มีอยู่หลายสูตร ในที่นี้ขอนำมาเป็นตัวอย่างเพียง 2 สูตร เท่านั้น สูตรที่ 1 ชนิดวัสดุ นํ้าหนัก (กิโลกรัม) ฟางสับ ยาว 4-6 นิ้ว 100 ขี้ว
🧑🌾 ป้านา หรือ ธนพร โพธิ์มั่น เจ้าของฟาร์มเห็ดสุดเก๋าแห่งปทุมธานี “ฟาร์มเห็ดป้านา ตำบลลาดหลุมแก้ว” จากผู้ช่วยพยาบาล สู่กูรูเห็ด! ที่เริ่มต้นจากหนังสือเล่มเดียว “ปลูกเห็ดแล้วรวย” 💰 แต่เส้นทางความสำเร็จไม่ได้ง่าย ปัญหาหนี้สินและความล้มเหลวเป็นบทเรียนที่ป้านาเจอมาเต็มๆ แล้วทำไมป้านาถึงเปลี่ยนจาก “ทำมากได้มาก” เป็น “ทำน้อยได้มาก” ได้? มาดูเรื่องราวแรงบันดาลใจและบทเรียนสุดล้ำไปพร้อมกัน✨ “บริหารแบบคนจน” ฟาร์มเห็ดป้านา จากล้มเหลว สู่ความสำเร็จ #เพาะเห็ด #ฟาร์มเห็ดป้านา #technologychaoban #เทคโนโลยีชาวบ้าน
ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญและใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่รักสุขภาพจำนวนไม่น้อยสนใจอยากที่จะปลูกผักเพื่อสุขภาพไว้รับประทานเองที่บ้าน แต่ต้องประสบปัญหาในเรื่องของพื้นที่ที่มีอย่างจำกัด ครั้งนี้ผู้เขียนได้มีโอกาสได้พูดคุยกับ คุณเขมจิรา กิตติสิทธิการ เกษตรกรโครงการสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ได้แนะนำวิธีการเพาะเห็ดที่แสนง่าย มีเงินลงทุนเพียงหลักร้อย ใช้พื้นที่ข้างบ้านก็สามารถเพาะเห็ดได้ ส่วนวิธีการเพาะ การดูแล ก็ทำได้ไม่ยาก งานนี้ได้ทั้งสุขภาพและราคาที่ดีต่อใจ คุณเขมจิรา กิตติสิทธิการ หรือ คุณเขม อยู่บ้านเลขที่ 60 หมู่ที่ 10 ตำบลธวัชบุรี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด รู้จักกันในนาม “บ้านสวนเห็ดคุณยาย” โดยก่อนหน้าที่จะมาเพาะเห็ด คุณเขม เล่าให้ฟังว่า ตนเองได้ผ่านมาหลายอาชีพ ตั้งแต่ทำงานเสริมความงามที่กรุงเทพฯ แต่มีเหตุที่ต้องกลับต่างจังหวัด เพราะแม่ไม่สบาย พอกลับมาอยู่กับแม่ก็เริ่มมองหาอาชีพเพื่อเลี้ยงตัวเอง ตอนนั้นมองว่าอาชีพขายหมูปิ้งนมสดน่าจะดี จึงลองทำดู ช่วงแรกๆ ก็ขายดี อยู่ไปสักพักเหมือนคนตกงานใครก็อยากมาขายหมูปิ้ง เราจึงหยุดการขายหมูปิ้ง หลังจากเลิกขายหมูปิ้งก็ยังไม่
“เห็ด” แหล่งโปรตีนจากธรรมชาติที่ได้รับความนิยมบริโภคแต่ครั้งอดีตตราบถึงปัจจุบัน สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ด้วยรสชาติเฉพาะตัวที่อร่อยถูกปาก อีกทั้งยังมีโปรตีนสูงจึงตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคทั่วไปและผู้รับประทานอาหารมังสวิรัติ หรืออาหารเจ อาชีพเกษตรนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งนอกจากการทำงานประจำ ด้วยสามารถสร้างสุขให้แก่ทั้งตัวเกษตรกรเองและคนรอบข้าง อีกทั้งยังได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวในบ้านเกิดของตนเอง ชัญญาณ์ภัช ภักดี (คุณเก๋) เจ้าของ “สวนเห็ดบ้านภักดี” นับเป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มุ่งมั่นสร้างชีวิตบทบาทวิถีแห่งความสำเร็จผ่านการสานต่อธุรกิจฟาร์มเห็ดอินทรีย์ของครอบครัวที่ตำบล ท่ากว้าง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คุณเก๋ เล่าว่า ตนเองจบการศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวการโรงแรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แล้วได้ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ได้รับผลกระทบต่องานประจำ จึงตัดสินใจกลับมาประกอบธุรกิจส่วนตัวทำฟาร์มเห็ดที่บ้านเกิดในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเดิมทีเป็นสวนลำไยอินทรีย์ โดยมีพ่อและแม่ดูแล ภายหลังจากหมดฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตลำไยก็มีเห
นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรได้ก่อตั้งศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทยขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเชื้อเห็ดที่ไม่มีคุณภาพและไม่ได้มาตรฐาน และดำเนินการเก็บรวบรวมและรักษาเชื้อพันธุ์เห็ดทั้งของไทยและต่างประเทศไม่ให้กลายพันธุ์ ซึ่งการอนุรักษ์เชื้อพันธุ์เห็ดมีความสำคัญอย่างมาก หากไม่มีวิธีการที่เหมาะสม อาจส่งผลให้เชื้อพันธุ์เห็ดที่มีลักษณะและคุณสมบัติที่ดีสูญหายหรือลดลง ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบการผลิตเห็ดที่ดีมีคุณภาพ โดยในปี 2536 ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดฯ ได้เริ่มให้บริการเชื้อพันธุ์เห็ดที่ดีมีคุณภาพให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการ และหน่วยงานราชการต่างๆ ตลอดจนสนับสนุนงานวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดสร้างนวัตกรรม ช่วยเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจภายในประเทศ ศูนย์รวบรวมเชื้อพันธุ์เห็ดแห่งประเทศไทย เป็นแหล่งรวบรวมความหลากหลายทางพันธุกรรมเห็ดเพื่อสนับสนุนงานด้านการวิจัยและพัฒนาเชื้อพันธุ์เห็ด โดยคำนึงถึงความต้องการของเกษตรกรและความเหมาะสมในแต่ละภูมิภาค เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค เพิ่มทางเลือกการใช้เชื้อพันธุ์เห็ดของเกษตรกร และผู้ประกอบการ รวมทั้งยังมุ่งเน้
นางสาวสุไลลา หะหลี อายุ 25 อยู่บ้านเลขที่ 91/1 หมู่ที่ 3 ตำบลควนโนรี อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี กำลังศึกษาอยู่มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ปีที่ 3 ซึ่งต้องดิ้นรนชีวิต นำความรู้จากที่เรียน หันมาทำปุ๋ยไส้เดือนและเพาะเห็ดขาย เพื่อนำรายได้ส่งตัวเองและหลานสาวอีก 2 คนเรียนให้จบ อีกทั้งยังต้องเลี้ยงแม่ที่อายุมากแล้ว ซึ่งครอบครัวนางสาวสุไลลาฐานะยากจน โดยมีพี่น้องทั้งหมด 8 คน เธอเป็นคนสุดท้อง ส่วนที่เหลือแยกย้ายไปมีครอบครัวกันหมด ปัจจุบันอยู่กับแม่ พี่สาว 1 คน และหลานสาวอีก 2 คน สำหรับนางสาวสุไลลาได้ทำปุ๋ยมูลไส้เดือนแท้และเพาะเห็ดขาย มานากว่า 3 ปี โดยไม่มีโรงงาน ไม่มีเครื่องจักร ใช้พื้นที่ของบ้านเป็นที่ผสมวัตถุดิบ โดยใช้วิถีแบบบ้านๆ ใช้กะละมัง ใช้มือผสมปุ๋ย และทำก้อนเห็ด ก่อนบรรจุใส่ถุง โดยจ้างชาวบ้านที่ลำบากมาทำงาน เมื่อมีลูกค้าสั่ง เธอกับคนงาน ต้องใช้รถจักรยานยนต์บรรทุกปุ๋ยและเห็ด น้ำหนักไม่ต่ำกว่า 60 กิโลกรัม เพื่อส่งตามที่ต่างๆ ทั้งจังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาส แม้ไม่มีรถยนต์แต่เธอก็ยังสู้ชีวิตโดยมีพี่สาวคนสำคัญคอยให้ทุนและกำลังใจเสมอมา สำหรับธุรกิจของเธอ เริ่มต้นแทบไม่มีลูกค้าสั่งสินค้าเลย บางว
ที่ผ่านมาเชื่อว่าทุกท่านคงเคยเห็นวิธีการเพาะเห็ดกันมาแล้วหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเพาะในโรงเรือน เพาะในถุง เพาะในตะกร้า เพาะในวงบ่อซีเมนต์ หรือจะเพาะในขอนไม้ ก็เคยเห็นกันมาหมดแล้ว ฉะนั้น ในครั้งนี้เทคโนโลยีชาวบ้านก็จะมาแบบธรรมดาไม่ได้ เพราะเรามีไอเดียการเพาะเห็ดรูปแบบใหม่มานำเสนอให้กับแฟนๆ ทุกท่าน นั่นก็คือ การเพาะ “เห็ดถัง” ซึ่งขอบอกว่าวิธีนี้เหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย อาศัยอยู่ในเมือง หรือท่านที่อาศัยอยู่ตามคอนโดฯ อพาร์ตเมนท์ ที่อยากเพาะเห็ดไว้กินเอง หรือจะเริ่มเพาะเพื่อสร้างรายได้เสริม ใช้เงินลงทุนไม่มาก ก็ถือเป็นไอเดียที่ดีไม่น้อย คุณสงกรานต์ ทองสุขนอก ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ขอนแก่น อยู่บ้านเลขที่ 344 หมู่ที่ 8 ตำบลดอนหัน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น หนุ่มพนักงานประจำ ใช้เวลาว่างเพาะเห็ดสร้างรายได้เสริม จนวันนี้สามารถสร้างรายได้แซงงานประจำไปแล้ว ด้วยเทคนิคการเริ่มต้นจากการเพาะเห็ดในถัง เพราะมีต้นทุนที่ต่ำ ทำง่าย ความเสี่ยงน้อย แต่ได้ผลดี แล้วจึงค่อยๆ เริ่มต้นขยับขยายในสเกลที่ใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าที่มีมากขึ้น พี่สงกรานต์ เล่าถึงที่มาของการเพาะเห็ดเป็นอาชีพ
สำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย ร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดสงขลา ภายใต้โครงการเสริมสร้างอาชีพการเกษตรสร้างรายได้เกษตรกรชาวสวนยางและปาล์มน้ำมัน ภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กิจกรรมส่งเสริม การเพาะเห็ดระบบอัตโนมัติ ด้วย “ตู้เพาะเห็ดระบบอัตโนมัติ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์วงพงค์ บุญช่วยแทน ผู้อำนวยการสำนักการจัดการนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี มากอ้น วิทยาลัยรัตภูมิ ดร.สาลินี ทิพย์เพ็ง คณะศิลปศาสตร์ อาจารย์รัสมนต์ ยุระพันธุ์ คณะบริหาร และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์วันประชา นวนสร้อย วิทยาลัยรัตภูมิ ร่วมกันนำเทคโนโลยีด้านสมาร์ทฟาร์มเข้ามาช่วยส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยมีนางศิริมา บางัสสาเร๊ะ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต นางสาวโสมฤทัย อินทมะโน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ ร่วมด้วย ตู้เพาะเห็ดระบบอัตโนมัติ เป็นโรงเรือนมีขนาด100*60*150 เมตร ทำด้วยเหล็กคาวาไนขอบอลูมิเนียม มีพลาสติกันกัน UV คลุมตู้ ภายในตู้มีทั้งหมด 3 ชั้นมีตะแกรงสำหรับวางก้อนเห็ดของแต่ละชั้น มีเซนเซอร์วัดอุ
ปัจจุบัน ผู้คนส่วนใหญ่หันมาให้ความสำคัญและใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ที่รักสุขภาพจำนวนไม่น้อยสนใจอยากที่จะปลูกผักเพื่อสุขภาพไว้รับประทานเองที่บ้าน แต่ต้องประสบปัญหาในเรื่องของพื้นที่ ที่มีอย่างจำกัด ครั้งนี้เทคโนโลยีชาวบ้านมีวิธีการการเพาะเห็ดที่แสนง่าย มีเงินลงทุนเพียงหลักร้อย ใช้พื้นที่ข้างบ้านก็สามารถเพาะเห็ดได้ ส่วนวิธีการเพาะ การดูแล ก็ทำได้ไม่ยาก งานนี้ได้ทั้งสุขภาพและราคาที่ดีต่อใจมาฝาก อุปกรณ์เพาะเห็ดในท่อซีเมนต์ ท่อซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 เซนติเมตร ราคา 60 บาท ซาแรน หรือผ้ากระสอบป่าน ไว้คลุมก้อนเห็ด ก้อนเห็ด 11 ก้อน ราคา ก้อนละ 9 บาท ไม้ไผ่ ทำเป็นที่วางก้อนเห็ด ขั้นตอนการเพาะเห็ดในท่อซีเมนต์ วางท่อซีเมนต์พิงกำแพง ผนัง ในลักษณะตะแคง เพื่อให้เก็บความชื้นได้ดี วางไม้กระดานที่ด้านในท่อซีเมนต์ นำก้อนเชื้อเห็ดวางเรียงในวงบ่อเป็นแนวนอนให้เต็มท่อ เปิดจุกฝาเห็ดออก แล้วรดน้ำ ใช้ซาแรนหรือผ้ากระสอบป่านคลุม เพื่อไม่ให้มีลมเข้า ทำให้เห็ดแห้ง รดน้ำเช้า-เย็น แต่ถ้าทำเยอะๆ ต้องการกักเก็บความชื้น ให้รดน้ำ เช้า-กลางวัน-เย็น จากนั้น 7-10 วัน ดอกจะออกครั้งแรก ในส่วนของผลผลิต
การเพาะเห็ดฟางในตะกร้าพลาสติก เป็นอีกวิธีในการเพาะเห็ดฟางสำหรับผู้สนใจเริ่มต้นทำเพื่อไว้บริโภคเองในครัวเรือน ใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์ก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว สำหรับวัสดุและอุปกรณ์เพาะเห็ดฟาง 1.ฟาง (ทุกชนิด) แห้งสนิทไม่เปียกฝนมาก่อน 2.อาหารเสริม เช่น ผักตบชวาสด หรือแห้ง เปลือกถั่วต่างๆ ผักบุ้ง มูลวัว/ควายแห้ง รำ เศษฝ้าย ไส้นุ่น ก้อนเชื้อนางรม/นางฟ้าเก่าก็ใช้ได้ 3.อุปกรณ์อื่นๆ ได้แก่ ตะกร้าพลาสติก ถ้าใหม่ก็สามารถนำมาเพาะเห็ดได้เลยหรือถ้าเป็นตะกร้าที่เคยเพาะเห็ดมาแล้วควรทำความสะอาดและตากให้แห้ง 4.บัวรดน้ำ เชื้อเห็ดฟาง วิธีทำ 1.ฟางแช่น้ำค้าง 1 คืน 2.หัวเชื้อ 1 ก้อน แบ่งเป็น 3 กอง จะเพาะได้ 3 ตะกร้า 3.ฟางอัดลงก้นตะกร้ากดให้แน่น สูง 1 ฝ่ามือ 4.อาหารเสริมต่างๆ แช่น้ำพอชื้น โรยชิดขอบตะกร้า 5.ตามด้วยโรยเชื้อเห็ดฟาง 1 ส่วน ทับบนอาหารเสริม เสร็จชั้นที่ 1 ทำชั้นที่ 2 และ 3 เหมือนชั้นที่ 1 6.ชั้นบนสุด โรยอาหารเสริมเต็มหน้าตะกร้า โรยเชื้อให้ทั่ว กลบด้วยอาหารเสริมอีกครั้ง 7.นำไปตั้งไว้บนพื้นดิน ใต้ร่มไม้หรือร่มสนิท ซ้อนตะกร้า เป็นรูปสามเหลี่ยม แนวยาว 1 แถว หรือ 2 แถว 8.รดน้ำที่พื้นดินให้เปียกแฉะ จะไ