เลี้ยงกบ
เทคนิคการเพาะพันธุ์กบง่ายๆ ได้ราคาดี ทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง เมื่อ “กบ” กลายเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีคนบริโภคกันมากขึ้น การจับกบในวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมจึงกลายมาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ เป็นลำเป็นสันให้กับผู้เพาะเลี้ยง การเพาะเลี้ยงกบ เป็นอาชีพการเกษตรทางด้านการประมงอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะกบเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่เลี้ยงง่าย กินอาหารน้อย เจริญเติบโตเร็ว ต้นทุนการผลิตต่ำ ใช้เวลาเลี้ยงสั้น สามารถบริโภคได้ตั้งแต่ระยะลูกอ๊อด ลูกกบเล็กไปจนถึงกบขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการกบเพื่อการบริโภค และเพื่อใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบัน มีผู้นำกบไปเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงได้จนประสบความสำเร็จ ทั้งยังมีผู้สนใจในอาชีพการเลี้ยงกบเป็นจำนวนมาก การเลี้ยงกบขนาดใหญ่นั้นจะใช้เวลาเลี้ยง ประมาณ 3-4 เดือน จึงจะได้กบขนาดที่ตลาดต้องการ (4-6 ตัวต่อกิโลกรัม) ต้นทุนที่สำคัญส่วนหนึ่งมาจากการที่ต้องซื้อลูกกบมาเพาะเลี้ยงต่อ ซึ่งถ้าเกษตรกรสามารถขยายพันธุ์กบได้เอง ก็จะช่วยลดต้นทุนลงไปได้มาก การขยายพันธุ์ลูกกบต้องอาศัยความชำนาญในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ การปล่อยกบลงผสมและ
คุณตาวัย 72 ปี เลี้ยงกบกว่า 2,500 ตัว ให้โตเร็วสุขภาพดี ไม่กัดกินกันเองด้วยเพลงลูกทุ่ง นายฤทธิ์ ล้อมคง (ตาฤทธิ์) วัย 72 ปี อยู่บ้านเลขที่ 21 หมู่ที่ 3 ตำบลนาบินหลา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง อยู่บ้านคนเดียว ลูกๆ ต่างก็มีครอบครัว แต่ก็อยู่บ้านใกล้เรือนเคียงกับคุณตา หลานๆ ก็ไปโรงเรียนกันหมด คุณตาฤทธิ์จึงได้หาอะไรทำเพื่อคลายเหงา คลายเครียด ด้วยการปรับพื้นที่หลังบ้าน เป็นบ่อซีเมนต์เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาหมอ ปลาดุก ปลาช่อนนา ทำมากว่า 5-6 ปีแล้ว การเลี้ยงกบ เลี้ยงปลา ก็ทำให้คุณตาฤทธิ์มีกิจกรรมทำตลอดทั้งวันทั้งล้างบ่อกบ ให้อาหารกบ เปลี่ยนน้ำปลา ขายปลาและกบที่มีลูกค้ามาซื้อที่บ้านทุกวัน คุณตาฤทธิ์ได้นำผู้สื่อข่าวไปดูการเลี้ยงกบ ซึ่งคุณตาฤทธิ์มีเคล็ดลับการเลี้ยงกบให้ได้น้ำหนักดี กินอาหารได้ดี ไม่กัดกินกันเอง ด้วยการเปิดเพลงลูกทุ่งจากวิทยุ ให้ฟังทุกวัน 5 ปีผ่านมาใช้วิทยุไปแล้วเกือบ 10 เครื่อง และล่าสุด คุณตาฤทธิ์ได้ซื้อวิทยุไว้สำรอง 2 เครื่อง เพื่อเอาไว้เปิดตอนไฟฟ้าดับ หรืออีกเครื่องหนึ่งเสีย ก็จะมีเพลงให้กบฟังเพลงได้ตลอดทั้งวัน กบเมื่อได้ฟังเพลงลูกทุ่งก็จะนั่งฟังนิ่ง แต่พอปิดเสียงเพลงก็จะมีอาการดุร้ายจะ
เห็นชื่อเรื่องแล้วหลายคนคงอดสงสัยว่า กบ ที่คุณรุ่งเพชร แหลมสิงห์ อดีตนักร้องเพลงลูกทุ่งชื่อดังเจ้าของเพลง “ฝนเดือนหก” เป็นชนิดเดียวกันกับที่ชาวบ้านนำไปเลี้ยงแล้วมีรายได้เป็นล้านหรือไม่ คำตอบคือ ใช่ จากเคยเป็นเพียงอาหารธรรมดาของชาวบ้านตามหมู่บ้านท้องถิ่น ตอนนี้กบกลายเป็นเมนูแสนอร่อยของคนทุกเพศทุกวัยไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กบทอด ยำกบ ผัดพริกกบ ฯลฯ จนทำให้ตลาดผู้บริโภคมีความต้องการมาก ขณะที่ได้เกิดอาชีพเลี้ยงกบกันอย่างแพร่หลายแล้วเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงนับได้ว่ากบเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญที่สร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้าน ถึงแม้กบจะเลี้ยงไม่ยาก แต่การเลี้ยงกบให้มีคุณภาพเพื่อเกิดรายได้ดีจำต้องมีเทคนิคควบคู่ไปด้วย เช่นเดียวกับชาวบ้านที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวมกลุ่มกันเลี้ยงกบแบบครบวงจร ส่งขายตลาดทั้งในและต่างประเทศ ทำให้มีรายได้กันเป็นแสนเป็นล้านบาทต่อปี แล้วยังถือเป็นแหล่งเพาะ-ขายพันธุ์กบแห่งใหญ่ของประเทศด้วย แต่อะไรคือเหตุผลที่ชาวบ้านกลุ่มนี้ถึงได้มีศักยภาพในการเลี้ยงกบจนได้โกอินเตอร์เช่นนี้ คุณวรมิตร ศิลปชัย นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำ
แม้จะไม่มีความรู้เรื่องการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และไม่เคยทำอาชีพเกษตรกรรมมาก่อน แต่ด้วยความมุมานะพยายามเรียนรู้บวกกับการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ทำให้วันนี้ คุณภูดิศ หาญสวัสดิ์ หรือ คุณเอก เจ้าของ “บ้านสวน สานฝัน” บ้านหนองไฮ ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรรม ในระยะเวลาไม่กี่ปี โดยมีรางวัลการันตีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประธานยังสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Young Smart Farmer) จังหวัดขอนแก่น ในฐานะต้นแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ สืบสานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ของกรมส่งเสริมการเกษตร และรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม ระดับภาค ประจำปี 2561 ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ เขายังทำงานจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมในหลายบทบาท อาทิ เป็นอาสาสมัครการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (อสปก.) เป็นครูบัญชีอาสา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น และเป็นประธานกลุ่มข้าว 3D (อร่อยดี ปลอดภัยดี สุขภาพดี) ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา และเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการเกษตรและการทำบัญชีครัวเรื
การขาดแคลนน้ำสำหรับใช้ทำนายังคงสร้างปัญหาให้แก่พี่น้องเกษตรกรทางภาคอีสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนาผืนนั้นอยู่ห่างไกลแหล่งน้ำทางธรรมชาติ หรือไม่ได้อยู่ในเขตชลประทาน ฉะนั้น ทางออกของชาวบ้านที่ดีที่สุดคือ การเปลี่ยนไปทำเกษตรกรรมแบบใช้น้ำน้อย อย่าง คุณวีระชัย ศรีสด อยู่บ้านเลขที่ 39 หมู่ที่ 8 บ้านโนนแดง ตำบลยาว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จากเดิมที่เคยมีพื้นที่ทำนาเป็น 100 ไร่ แต่กลับไม่ได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากขาดแคลนน้ำ แถมยิ่งทำ ยิ่งมีหนี้สิน จึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพการเกษตรหลายชนิดที่ใช้น้ำน้อย แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนมาจบที่การเพาะพันธุ์ปลาขาย พ่วงด้วยการเพาะพันธุ์กบและเลี้ยงกบเนื้อ สร้างรายได้รวมแล้วปีละเป็นแสนบาท คุณวีระชัย ศรีสด กับภรรยา น้ำน้อย ทำนาไม่ได้ เปลี่ยนมาเพาะปลา-เลี้ยงกบ คุณวีระชัย เจ้าของ “วีระฟาร์ม” เล่าว่า เดิมมีอาชีพทำนาบนเนื้อที่กว่า 100 ไร่ หาเลี้ยงครอบครัว ไม่นานพบว่ามีปัญหาอุปสรรคนานัปการที่ต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแหล่งน้ำ ต้นทุนค่าปุ๋ย ยา ค่าแรง รวมถึงราคาข้าวที่ตกต่ำ เพราะยิ่งทำนากลับเพิ่มหนี้สินมากมาย จึงตัดสินใจหยุดชั่วคราวแล้วลองหันมาทดลองเพาะพันธุ์ปลาแ
การเลี้ยงกบและการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จัดเป็นอีกอาชีพที่นิยมเลี้ยงกันเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรือหมู่บ้าน จะมีโครงการส่งเสริมให้เลี้ยงกบและไก่พื้นเมืองเพื่อเป็นอาหารในครัวเรือน และเหลือจากการบริโภคสามารถจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทาง ซึ่งสุพรรณฟาร์ม ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอีกฟาร์มหนึ่งที่เริ่มต้นจากการเลี้ยงเพื่อนำมาบริโภคในครัวเรือนสู่การเลี้ยงเป็นอาชีพที่สร้างได้ให้กับครอบครัว โดยได้ พลิกผันจากชีวิตข้าราชการครูมาประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างพอเพียง คุณสุพรรณ คำเถิง เจ้าของสุพรรณฟาร์ม เปิดเผยว่า เริ่มเลี้ยงกบเมื่อปี พ.ศ.2549 ขณะนั้นยังรับราชการครู โดยจะใช้พื้นที่ภายในบริเวณบ้านสร้างบ่อซีเมนต์ จำนวน 10 บ่อสูงจากพื้นประมาณ 1 เมตร พื้นเทปูนหนาเพื่อรองรับน้ำ และมีท่อระบายน้ำตรงส่วนที่ลาดที่สุด ก่อนนำกบลงเลี้ยงจะทำการล้างบ่อซีเมนต์ให้สะอาดด้วยการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ ใส่ทิ้งไว้ 2-3 วัน ถ่ายน้ำออกล้างให้สะอาด ตากบ่อทิ้งไว้ให้แห้ง 1-2 วัน นำกบมาลงเลี้ยง โดยในปีแรกกบที่เลี้ยงได้ซื้อลูกกบมาในราคาตัวละ 3 บาท ในปีที่สองสามารถทำการเพาะพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์เองได้ จึงลดต้
การเลี้ยงกบ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีความนิยมและความต้องการมากขึ้นเรื่อยๆ ในการบริโภค แต่เดิมกบเป็นอาหารตามธรรมชาติของมนุษย์ มักจะเจอตามลำห้วย หนอง บึง ท้องนา แต่ด้วยทุกวันนี้มีการใช้สารเคมีในการเกษตร มีโรงงานเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ระบบนิเวศที่กบเคยอาศัยอยู่ได้เปลี่ยนไป อีกทั้งความต้องการบริโภคกบก็สูงขึ้น ทำให้การจับกบไม่ได้คำนึงถึงว่าจะต้องปล่อยให้ตัวเล็กๆ ได้มีโอกาสเติบโตขยายพันธุ์ต่อไป จับมาขายทั้งตัวเล็กตัวใหญ่ ทำให้จำนวนกบตามธรรมชาติลดน้อยลงเรื่อยๆ เกษตรกรจึงมองเห็นโอกาสที่จะสร้างรายได้จากความต้องการกบเพื่อการบริโภค เพราะกบเป็นสัตว์เลี้ยงง่าย ใช้เวลาไม่มาก ลงทุนน้อย และคุ้มค่า มีการทำฟาร์มเลี้ยงกบหลากหลายรูปแบบ ทั้งการเลี้ยงกบแบบธรรมชาติ การเลี้ยงกบในขวด การเลี้ยงกบคอนโดฯ แบบบ่อซีเมนต์ ฯลฯ และก็มีบางส่วนที่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากยังขาดข้อมูลสำคัญอยู่ เช่น นิสัยใจคอของกบ พื้นที่ที่เหมาะกับการเลี้ยงกบ เป็นต้น การเลือกสถานที่เลี้ยงกบ การเลือกบ่อ หรือคอกเลี้ยงกบ ควรจะอยู่ไม่ไกลจากที่อยู่อาศัย เพื่อสะดวกในการป้องกันศัตรู เช่น งู นก หนู หมา แมว และคน ถ้าบ่อเลี้ยงกบหรือคอกเลี้ยงกบอยู่ห่
ที่บ้านน้อยจอมศรี อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดอาชีพทำการเกษตร ทำนา ทำไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจาก “เขื่อนน้ำอูน” สำหรับทำการเกษตร ฉะนั้น ผู้ที่เดินทางไปจังหวัดสกลนคร จะพบพื้นที่เขียวชอุ่มไปด้วยข้าวนาปรัง พืชฤดูแล้ง ตลอดจนบ่อเลี้ยงปลาและเลี้ยงกบ ห่างตัวเมืองสกลนคร ประมาณ 12 กิโลเมตร มีหมู่บ้านเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของเมืองสกลนคร คือ บ้านน้อยจอมศรี ต.ฮางโฮง ชาวบ้านที่อาศัยอยู่มีกลุ่มอาชีพหลากหลาย อาทิ กลุ่มทำหมอนขิด กลุ่มเกษตรกรทำนา กลุ่มเลี้ยงปลา และกลุ่มเลี้ยงกบ โดยเฉพาะกลุ่มเลี้ยงกบ ที่มีมากที่สุดของจังหวัดสกลนคร กว่า 10 ราย คุณรัตนา ศรีบุรมย์ และ คุณกมลชัย ศรีบุรมย์ อยู่บ้านเลขที่ 218 ตำบลฮางโฮง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร สองสามีภรรยา เป็นหนึ่งในกลุ่มเลี้ยงกบ ที่มีกบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ ว่า 3,000 ตัว โดยคุณรัตนา เล่าว่า ก่อนเลี้ยงกบเป็นอาชีพ ได้ทำนาและทำไร่มาก่อน รวมทั้งเป็นลูกจ้างกรรมกรในตัวเมือง “นอกจากทำนาปลูกข้าวแล้ว ชาวบ้านแห่งนี้ยังมีอาชีพเสริมคือ ทำการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้ง เลี้ยงสัตว์ และบางส่วนเลี้ยงกบ ขายพันธุ์กบเป็นส่วนน้อย เน้นขายตัวอ่อนของกบหรือฮวก (ลูกอ๊อด)
คุณจุฑามาศ เบญจวรรณ อยู่บ้านเลขที่ 1/2 หมู่ที่ 3 ตำบลหัวเขา อำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เธอมีอาชีพทำนาทำสวน ในแต่ละปีเธอเริ่มมองเห็นปัญหาของเรื่องน้ำ ที่มีปริมาณน้อยลง บวกกับราคาผลผลิตทางการเกษตร เช่น ข้าว ที่มีราคาขึ้นลงไม่แน่นอน ทำให้เธอมองหาอาชีพเสริมที่สามารถหาเงินได้เร็วขึ้น เธอจึงมองเรื่องการเลี้ยงกบ จากการทดลองในครั้งนั้น ทำให้เธอประสบผลสำเร็จ จนสามารถสร้างรายได้นับหมื่นบาทต่อเดือน ในตอนแรกที่ทดลองเลี้ยง เธอบอกว่า ซื้อลูกกบตัวเล็ก มาทดลองเลี้ยงที่บ้าน เพื่อลองผิดลองถูก “ตอนแรกก็หาซื้อมาเลย เอามาเลี้ยง 5,000 ตัว แบ่งกับแม่คนละครึ่ง ตอนนั้นเลี้ยงในบ่อที่เป็นร่องสวนมะม่วงที่บ้าน แต่ปัญหาที่เจอ มันก็จะมีตัวเงินตัวทองกวน และก็สัตว์อื่นด้วย ส่วนกระชังที่แขวนเลี้ยงในร่องสวน ก็ใช้น้ำเยอะ ต้องให้น้ำเต็มร่องตลอด ทำให้เวลาที่เราต้องถ่ายน้ำ ก็เปลืองหลายอย่างทั้งน้ำ และเวลา ก็เลยคิดวิธีเลี้ยงใหม่ เอาขึ้นมาเลี้ยงบนบก โดยดัดแปลงทำกระชังบกเอง เพื่อให้การจัดการเราง่ายขึ้น และเราก็จะไม่ต้องมากังวลเรื่องน้ำ เพราะช่วง เดือนมีนา เมษา เรามีปัญหาเรื่องน้ำ น้ำมันไม่ค่อยมี ก็เลยต้องคิดต้องปรับแ
“กบ” เป็นเมนูอาหารหลายชนิดยอดนิยมของคนโบราณต่างจังหวัดที่อยู่ตามหัวไร่ปลายนามายาวนาน ทุกวันนี้มีคนเริ่มหันมาสนใจรับประทานกบมากขึ้น ทั้งตลาดในและต่างประเทศ เพราะต่างรู้ถึงคุณค่าทางโภชนาการของกบ จนทำให้ประชากรกบตามธรรมชาติไม่เพียงพอ หรือมีไม่พอกับความต้องการตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้ หลายพื้นที่จึงหันมาเพาะ-เลี้ยงกบนอกฤดูกัน อีกทั้งการเลี้ยงกบยังทำได้ง่าย ขนาดพื้นที่ก็ไม่เป็นอุปสรรค จะเลี้ยงมาก-น้อย ขึ้นอยู่กับทุนเป็นตัวกำหนด ว่าจะยึดเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม ฉะนั้น กบจึงจัดเป็นสัตว์เศรษฐกิจสำคัญอีกชนิด คุณวิชาญ ว่องกสิกรณ์ หรือ คุณชาญ อยู่บ้านเลขที่ 177/3 ตำบลอุทัยใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี ยึดอาชีพเลี้ยงกบในกระชังน้ำบ่อดิน ช่วยให้ประหยัดเวลา ลดการทำงาน อีกทั้งในบ่อดินยังเต็มไปด้วยสารอาหารทางธรรมชาติ จึงช่วยให้กบมีความแข็งแรง ตัวใหญ่ เนื้อมาก เป็นที่ต้องการของตลาด อดีต คุณชาญ เคยรับราชการแล้วลาออกมาเปิดร้านเครื่องเขียนอยู่ในเมือง มักจะมีเวลาว่างตอนเช้าและเย็น จึงคิดจะออกกำลังกาย แต่ได้รับการแนะนำจากทางเจ้าหน้าที่ประมงให้ออกกำลังกายด้วยการเพาะ-เลี้ยงกบขาย เพราะไม่เพียงทำให้สุขภาพดี แ