เวียดนาม
จนท.เวียดนามกระตุ้นการยกระดับ ‘ทุเรียน’ เป็นผลิตภัณฑ์ประจำชาติ สื่อเวียดนามอ้างอิงคำกล่าวของเล มินห์ ฮวน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม ระบุว่าเวียดนามควรผลักดันให้ทุเรียนขึ้นแท่นเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชาติ ด้วยการกำหนดมาตรฐานคุณภาพและสร้างแบรนด์เพื่อแข่งขันกับผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น ไทย และมาเลเซีย เล มินห์ ฮวนเผยว่าการผลักดันให้ทุเรียนเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชาตินั้นจำเป็นต้องอาศัยนโยบายการเกษตรที่ครอบคลุมและต้องมีการให้ความรู้แก่เกษตรกรและภาคธุรกิจ สิ่งนี้มีความสำคัญเนื่องจากปัจจุบันเวียดนามตามหลังไทยและมาเลเซียในการส่งออกผลไม้ไปยังจีน ขณะที่การผลิตในเวียดนามยังกระจัดกระจายและมีขนาดเล็ก สินค้าแต่ละชนิดจะต้องผ่านเกณฑ์หลายประการเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นผลิตภัณฑ์ประจำชาติ เช่น ขนาดการผลิต ขีดความสามารถการแข่งขันด้านการส่งออก การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และศักยภาพในการครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญท้องถิ่นคาดว่าการส่งออกทุเรียนของเวียดนามจะสูงถึง 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.2 แสนล้านบาท) ภายในสิ้นปีนี้ เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขที่เอื้ออำนวยในปัจจุบัน ทั้ง
สื่อเวียดนามรายงานว่า การส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามอาจแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 2.41 แสนล้านบาท) ในปีนี้ เนื่องจากเวียดนามส่งออกผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพิ่มขึ้นในระดับเลขสองหลักอย่างต่อเนื่อง สมาคมผักและผลไม้แห่งเวียดนาม รายงานว่ามูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามรวมอยู่ที่ 3.83 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.32 แสนล้านบาท) ในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) ของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยในบรรดาผู้นำเข้าผักและผลไม้รายใหญ่ 10 อันดับแรกของเวียดนาม มี 9 ตลาดที่บันทึกการเติบโตระดับสองหลัก ดัง ฟุก เหงียน เลขานุการสมาคมฯ กล่าวว่า มูลค่าการส่งออกผักและผลไม้ของเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยนอกจากการรักษาชื่อเสียงในตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดดั้งเดิมแล้ว เวียดนามยังขยายการส่งออกไปยังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนืออีกด้วย เหงียนระบุว่าเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเป็นตลาดเชิงกลยุทธ์สำหรับผักและผลไม้ของเวียดนาม โดยธุรกิจการส่งออกไปยังจุดหมายดังกล่าวไม่เพียงได้รับประโยชน์ด้านภาษีศุลกากร แต่ยังสามารถลดต้นทุนการขนส่งและโลจิสติกส์ได้เมื่อเทียบกับตลาดอย่างสหภาพยุ
ปัจจุบันเวียดนามเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยในโลก และเป็นอันดับที่ 2 ของไทยในอาเซียน รองจากมาเลเซีย ในช่วงปีพ.ศ.2560 – 2564 การค้าระหว่างไทยกับเวียดนามมีมูลค่าเฉลี่ยประมาณปีละ 17,767 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 3.32 ต่อปี โดยในปี 2564 มีมูลค่าการค้าไทย – เวียดนามรวม 19,477 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 17.31 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามูลค่า 5,599 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ผ่านมา เวียดนามนําเข้าทุเรียนจากไทยและกัมพูชาเป็นหลัก เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ไทยและเวียดนามได้ร่วมหารือประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และพหุภาคี ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้อง ความร่วมมือสร้างการค้าที่สมดุล ขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน เพื่อมุ่งบรรลุเป้าหมายทางการค้า 25,000 ล้านดอลลาร์ ภายในปี 2568 ผลไม้ไทย -เวียดนาม “ทุเรียน ” เป็นหนึ่งในผลไม้นำเข้าสำคัญที่เวียดนามสั่งซื้อจากไทย โดยอาศัยการขนส่งผ่านบริเวณชายแดน ทุเรียนไทยที่เวียดนามสั่งซื้อจะถูกส่งออกไปขายทำกำไรในประเทศจีน เนื่องจากเวียดนามมีชายแดนติดกับประเทศจีน ได้แก่ ด่านหม่องก๋ายของเวียดนาม กับด่านตง
จากการที่เกษตรกรเวียดนาม เป็นผู้ริเริ่มในการทำนาครั้งที่สอง แบบหว่านน้ำตมเป็นประเทศแรกของอาเซียน จนหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยนำมาเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติจวบจนทุกวันนี้ ปัจจุบันเกษตรกรเวียดนาม ได้พัฒนาปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการทำนาก้าวหน้าไปมาก ที่เห็นได้ชัดเจนคือ การทำนาแบบพร้อมเพรียงกันในพื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นหมู่บ้าน หรือเป็นตำบล ตามคำแนะนำและการประกาศของทางราชการ ทำให้การบริหารจัดการในเรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช การจัดการน้ำ การเก็บเกี่ยว การขนส่ง และการตลาดทำได้ง่าย อย่างเป็นระบบ ช่วยให้เกษตรกรเวียดนามลดต้นทุนการเพาะปลูกข้าวลงได้เป็นอันมาก ขณะเดียวกันการทำนาน้ำตมหรือนาครั้งที่สองแบบหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวงอก ได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำนาน้ำตมแบบปักดำต้นกล้าแทนการหว่านกล้า โดยใช้วิธีการตกกล้าข้าวบนแห้งแทนที่จะตกกล้าในแปลงนาแบบเดิมๆ เหมือนเช่นที่เคยปฏิบัติกันมาแต่ครั้งปู่ย่าตาทวด ที่เกษตรกรเวียดนามส่วนใหญ่ทำได้เพราะเขามีพื้นที่เพาะปลูกข้าวโดยเฉลี่ยครอบครัวละประมาณ 2-3 ไร่ แต่รายใหญ่ก็มีถึงประมาณ 50-60 หรือเป็น 100 ไร่ เช่นกัน ซึ่งในรายใหญ่ก็มีการเอาเครื่องดำนาเข้ามาใช้บ้าง ได้สอบถ
สถานการณ์กาแฟไทย กาแฟโลก เรียน คุณหมอเกษตร ทองกวาว ที่นับถือ ปัจจุบัน คนไทยนิยมดื่มกาแฟกันมาก จะสังเกตเห็นซุ้มกาแฟหลากหลายยี่ห้อตั้งอยู่ทั่วไป แต่ผมไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่า กาแฟทั้งหลายนั้นเราปลูกเองทั้งหมด หรือมีการนำเข้าจากต่างประเทศปริมาณเท่าไร โดยที่แหล่งปลูกกาแฟที่ผลิตได้มากที่สุดยังเป็นของบราซิลอยู่หรือไม่ ผมขอรบกวนถามข้อมูลเพียงเท่านี้ก่อน และกรุณาให้รายละเอียดด้วยครับ ขอขอบคุณมาในโอกาสนี้ ด้วยความนับถืออย่างสูง ประสงค์ วงศ์ศิริชัย นนทบุรี ตอบ คุณประสงค์ วงศ์ศิริชัย กาแฟ ในโลกเรามีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ อาราบิก้า เป็นกาแฟที่เจริญเติบโตให้ผลผลิตได้ดี มีคุณภาพ ต้องปลูกบนที่สูงมีอากาศหนาวเย็น อาราบิก้า ให้รสชาติและกลิ่น แหล่งผลิตจึงอยู่บริเวณภาคเหนือ ประเทศไทย ผลิตได้ 21 เปอร์เซ็นต์ อีกหนึ่งสายพันธุ์คือ โรบัสต้า เจริญเติบโตได้ดีในแหล่งที่มีอากาศชุ่มชื้น เป็นกาแฟชนิดให้เนื้อ ประเทศไทยปลูกกันอยู่ที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ปริมาณการผลิต 79 เปอร์เซ็นต์ ปัจจุบัน ประเทศไทยผลิตได้เพียง 30,579 ตัน เนื่องจากผลิตไม่พอเพียงกับความต้องการของภายใน จึงต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ 4
ขนส่งทุเรียนไทยไปจีนผ่านฉลุย หลังกระทรวงเกษตร จัดทำพิธีสารเปิดเส้นทางการขนส่งผลไม้ไทย-จีน ทางรถยนต์เพิ่มอีก 2 เส้นทาง ด้านผู้ส่งออก แนะกระทรวงเกษตรเร่งเปิดเจรจากรมศุลกากรจีน เพื่ออำนวยความสะดวกส่งออกผลไม้ไทยไปจีนในระยะยาว สืบเนื่องจากปัญหาการส่งออกทุเรียนไทยไปยังจีนในช่วงเดือนเมษายน 2562 โดยใช้เส้นทางขนส่งทางบกผ่านชายแดนไทย-ลาว-เวียดนาม เพื่อเข้าจีนนั้น เกิดความล่าช้า เพราะรถคอนเทนเนอร์ความเย็นที่บรรจุทุเรียนไทยต้องจอดรอคิวที่ชายแดนฝั่งเวียดนาม ณ ด่านโหย่วอี้กวนนานกว่าปกติ 3-4 วัน ส่งผลต่อคุณภาพสินค้า เพราะชายแดนเวียดนามมีปลั๊กไฟไม่เพียงพอสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ความเย็น ขณะเดียวกันยังส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้ขาดแคลนรถหัวลากมารับสินค้าที่รอเปลี่ยนหัวลากที่ฝั่งลาว ทำให้สินค้าติดค้างที่ลาวอีก 3-4 วัน นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้ นางสาวปทุมวดี อิ่มทั่ว กงสุล (ฝ่ายการเกษตร) ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกวางโจวประสานผู้นำเข้าและศุลกากรจีนเพื่อติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ ปัญหาความล่าช้าดังกล่าวมีสาเหตุจาก 1. จีนจัด
นายอภิรัตน์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง กงสุลใหญ่ ณ นครโฮจิมินห์ และ นายมนตรี สุวรรณโพธิ์ศรี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซี.พี. เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ซี.พี. เวียดนาม จัดกิจกรรมบริจาคโลหิต ในโครงการจิตอาสา “เราทำความดี ด้วยหัวใจ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2562 พร้อมทั้งสนับสนุนผลิตภัณฑ์อาหารซีพีให้แก่จิตอาสาที่ร่วมบริจาคโลหิต ณ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม
บริษัท ซี.พี. เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซี.พี.เวียดนาม) ร่วมมือรัฐบาลเวียดนามเข้มแข็ง เร่งให้ความรู้แนวทางการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever : ASF) ตามมาตรฐานสากล พร้อมสนับสนุนรัฐบาลทุกแนวทางในการควบคุมโรคทั้งระดับประเทศและเกษตรกร เพื่อให้สถานการณ์ทั้งการเลี้ยงและการบริโภคกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด นายจิรวิทย์ รชตะนันทน์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร สายธุรกิจสุกร และธุรกิจฟาร์ม ซี.พี.เวียดนาม และกลุ่มประเทศ CLMVเปิดเผยว่า จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค ASF และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม บริษัทฯ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานราชการและปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลเวียดนามอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอด โดยเฉพาะกรม ปศุสัตว์และกรมสัตว์แพทย์ เพื่อสนับสนุนมาตรการควบคุมโรค ASF อย่างเข้มงวด เช่น ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรในพื้นที่ที่พบเชื้อและพื้นที่เสี่ยงในรัศมี 3 กิโลเมตร จากจุดที่พบเชื้อ พร้อมทั้งสุ่มเจาะเลือดสุกรในฟาร์มทุกแห่งในบริเวณดังกล่าว การจัดและควบคุมรถ ขนส่งสุกร อาหารสัตว์ ต้องพ่นยาฆ่าเชื้อทำความสะอาด พ่นปูนขาว หยุดพักรถเพื่อตรวจสอบปลอดเชื้อ 100% ศูนย์จัดจำ
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน ได้ร่วมเดินทางไปกับสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดตราด และสมาคมโรงแรมและรีสอร์ตจังหวัดตราด สำรวจเส้นทางเชื่อมโยงท่องเที่ยวทางน้ำเชื่อมพื้นที่ชายฝั่งทะเล 3 ประเทศ ไทย กัมพูชา เวียดนาม หลังจากเมื่อ 3 ปีที่แล้ว มีการพัฒนาเชื่อมโยงทางรถยนต์ตามเส้นทางถนน R10 (Southern Coastal Corridor Road) ทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวทางด้านจังหวัดตราดเพิ่มขึ้น ซึ่งเส้นทางทางน้ำจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ สำรวจเส้นทาง ทางเรือ 3 ประเทศ คลองใหญ่ (ตราด)-เกาะรง (สีหนุวิลล์)-ฟูก๊วก (เกียนยาง) ด้วยเป็นทริปสำรวจเส้นทางเชื่อมโยงทางเรือ ต่างจากการทัวร์โดยทั่วไป จะเน้นจุดที่แวะพักระหว่างทาง เริ่มต้นจากจุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด-เกาะกง กัมพูชา เพราะเป็นด่านสากลที่มีตรวจคนเข้าเมือง ศุลกากร เข้า-ออก สะดวก โดยใช้พาสปอร์ต ส่วนท่าเทียบเรือที่จะใช้เป็นท่าเทียบเรืออเนกประสงค์คลองใหญ่ ขนาด 500 ตันกรอส ที่อำเภอคลองใหญ่ อยู่ห่างจากชายแดน 17 กิโลเมตร ที่สร้างเสร็จแล้ว ยังไม่เปิดให้ใช้ การสำรวจจึงใช้เส้นทางรถยนต์เดินทางไป
(เวียดนาม) คณะผู้บริหารและพนักงาน บริษัท ซี.พี.เวียดนาม คอร์ปอเรชั่น ในสาขาทั้ง 6 แห่ง ทั่วประเทศเวียดนาม พร้อมใจจัดกิจกรรมเพื่อร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในหลวงรัชกาลที่ 9 นายมนตรี สุวรรณโพธิ์ศรี กรรมการผู้จัดการ ซี.พี.เวียดนาม เปิดเผยว่า ชาวซีพีเอฟสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยร่วมใจถวายความอาลัยด้วยการจัด 3 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมปลูกต้นดาวเรือง “รวมใจปลูกดาวเรืองให้บานสะพรั่งทั่วเวียดนาม” ,กิจกรรมแปรสัญลักษณ์เลข 9, กิจกรรมอาสาร่วมใจประดิษฐ์ดอกไม้จันทน์ โดยทั้ง 3 กิจกรรม จัดขึ้นพร้อมกันในพื้นที่สำนักงานและโรงงาน ทั้ง 6 แห่ง ทั่วประเทศ ได้แก่ สำนักงานใหญ่ Bien Hoa, โรงงานผลิตอาหารสัตว์บก Hai Duong, โรงงานแปรรูปกุ้ง Hue, ฟาร์มเพาะฟักลูกกุ้ง Ninh Thuan, โรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ Ben Tre และโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ Can Tho นอกจากนี้ โรงงานและสำนักงานของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ทั่วประเทศไทย รวมถึงซีพีเอฟ ฟิลิปปินส์ โดยโรงงานผลิตอาหารสัตว์น้ำ เกาะซามาล ก็ได้ร่วมกันปลูกดอกดาวเรือง เพื่อให้บานเหลืองอร่ามอย่า