เห็ดแครง
เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ภาคเหนือ เรียก เห็ดแก้น เห็ดตามด ภาคใต้ เรียก เห็ดยาง เพราะพื้นที่ทางภาคใต้นั้นสามารถพบเห็ดชนิดนี้ได้บนไม้ยางพารา ส่วนภาคกลางนั้นเรียกว่า เห็ดมะม่วง เนื่องจากขึ้นอยู่บนไม้มะม่วง เห็ดแครงเป็นเห็ดที่ขึ้นอยู่ได้ทั่วไปสามารถงอกได้ตลอดทั้งปีขึ้นอยู่กับวัสดุหลายชนิด เช่น ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า สามารถเก็บรวบรวมเห็ดชนิดนี้มาทานได้ ปัจจุบัน ผลผลิตจากเห็ดแครงสามารถเก็บรักษาผลผลิตได้นานขึ้น หากยังไม่ได้นำไปประกอบอาหาร อย่างเช่น นำมาทำการบรรจุผลิตภัณฑ์ให้เป็นแบบสุญญากาศ ทำให้เห็ดแครงสามารถมีอายุการเก็บรักษาได้ถึง 1 เดือน ซึ่งเห็ดแครงสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างชัดเจนในการกำหนดปริมาณสินค้าที่จะออกสู่ท้องตลาดแต่ละครั้ง จึงทำให้ไม่มีเรื่องของการล้นตลาดอย่างแน่นอน อาจารย์บรรลุ บุญรอด ผู้เชี่ยวชาญการเพาะเห็ดแครง ให้ข้อมูลว่า เห็ดแครงมีวิธีการเพาะเหมือนเห็ดทั่วไป เพียงแต่มีการปรับสูตรในการเพาะที่แตกต่างออกไป เมื่อทำก้อนเชื้อเห็ดเสร็จแล้วเห็นเชื้อเดินเต็มถุง ในระยะเวลาไม่กี่วันก็จะมีดอกเห็ดออกมาให้เห็น จนสามารถเก็บจำหน่ายได้ ซึ่งอายุการเก็บเกี่ย
การเพาะเห็ดแครง สร้างรายได้ คำว่าเห็ดแครง หลายคนไม่รู้จัก เพราะเห็ดแครงถ้าสังเกตให้ดี จะเกิดได้ทุกภาคที่อยู่ในช่วงร้อนชื้น อยู่ตามขอนไม้ผุๆ แต่อาจจะไม่มีใครได้สนใจ ลักษณะดอกเห็ดจะบาง คล้ายเห็ดลม แต่มีขนาดดอกเล็ก อาจจะเป็นเพราะดอกเล็กนี่แหละที่หลายคนมองข้าม จะสนใจเห็ดที่มีขนาดใหญ่ เช่น เห็ดลม เห็ดกระด้าง เห็ดนางฟ้า เห็ดฟาง เป็นต้น เห็ดแครงมีรสชาติดีและมีคุณค่าทางอาหารสูง เพาะง่าย คุณสมบัติเหล่านี้แหละจึงมีการนำเห็ดแครงมาเพาะในโรงเรือน จากที่ขึ้นตามธรรมชาติ ก็นำมาเพาะในโรงเรือนและเลียนแบบธรรมชาติให้ใกล้เคียงที่สุด คุณปริยะ ศิริกุล วัย 42 ปี ได้ชิมรสชาติเห็ดแครงและเกิดไอเดียว่า ถ้านำเห็ดแครงมาเพาะแล้วทำแปรรูปอาหาร ที่ทำให้คนที่กินมังสวิรัติได้แหล่งอาหารที่มีโปรตีนอยู่ด้วยระดับหนึ่ง จึงได้ทดลองเพาะและนำไปแปรรูปสร้างรายได้ครบวงจร แปรรูปเป็นอาหารสำเร็จรูป เช่น เห็ดแครงเสียบไม้ เบอร์เกอร์เห็ดแครง เป็นต้น เริ่มต้น เพาะเห็ดแครง เริ่มต้นยังไม่มีคนเพาะมาก จนปี พ.ศ. 2018 อ.ต.ก. หรือองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร กับ สวทช.หรือสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เปิดการอบรม จึงมีการเริ่มเพาะมากขึ้
เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก เป็นเห็ดที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนชื้น เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ พบเห็นได้บ่อยบนท่อนไม้ยางพาราและไม้เนื้ออ่อนทั่วไป โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ ปัจจุบันชาวบ้านส่วนใหญ่นิยมนำมาประกอบอาหารเป็นหลากหลายเมนู เช่น เห็ดแครงหมกสมุนไพร คั่วกลิ้ง แกงกะหรี่ ห่อหมก ลวกยำ ลาบ หรือไข่เจียวเห็ดแครงก็อร่อยไม่น้อย ซึ่งนอกจากความอร่อยเด็ดแล้ว เห็ดแครงยังอุดมไปด้วยธาตุอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย ทั้งโปรตีน ไฟเบอร์ที่สูง และยังมีสารที่มีคุณสมบัติในการต้านไวรัส ซึ่งด้วยจุดเด่นของเห็ดแครงที่มีรอบด้าน ทำให้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเพาะเลี้ยงระบบปิดในโรงเรือนที่มีมาตรฐานปลอดภัย และสามารถเพาะเลี้ยงผลผลิตให้ออกได้ทั้งปี คุณบุญเลิศ ไชยคง หรือ พี่เลิศ อยู่บ้านเลขที่ 49/4 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านทำเนียบ อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ ที่มีฝีมือการเพาะเห็ดไม่เป็นสองรองใคร ใช้เวลาคลุกคลีอยู่กับการเพาะเห็ดมานานกว่า 7 ปี เรียนรู้พัฒนาจนเข้าใจธรรมชาติของเห็ดหลากหลายชนิดตามที่ตลาดต้องการ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดหลินจือ เห็ดขอนขาว และเห็ดแครง ที่เป็นเห็ดน้องใหม่ของฟ
ใครชอบทานเห็ดเชิญทางนี้… “ไชโยฟาร์มเห็ด” สถานที่ผลิตเห็ดหลายชนิด แต่ที่แนะนำเป็นอย่างมากคือ เห็ดแครง ซึ่งหาทานได้ไม่ง่าย นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลายในภาคใต้ของประเทศไทย มีประโยชน์ต่อสุขภาพ นำมาปรุงอาหารได้หลายเมนู แต่เพื่อให้สะดวกและง่ายต่อการบริโภค พกพาไปได้ทุกแห่ง ทางฟาร์มเห็ดไชโยจึงแปรรูปเห็ดแครงเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตามรสนิยม ความพิถีพิถันใส่ใจทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อให้ผู้บริโภคได้ทานเห็ดที่มีคุณภาพ ปลอดภัย จนนำมาสู่การสร้างมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของสถาบันหลายแห่งทั้งในและต่างประเทศ แล้วยังสร้างเครือข่ายดึงชาวบ้านเข้าร่วมเป็นกลุ่มผลิตเห็ดคุณภาพ พร้อมเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้อบรมวิธีเพาะ-เลี้ยง แปรรูปเห็ดให้ผู้สนใจเข้าร่วมสร้างอาชีพ คุณปาริชาติ เทพเจริญ เจ้าของ “ไชโยฟาร์มเห็ด” ตั้งอยู่เลขที่ 46/22 ถนนจุลจอมเกล้า ตำบลท่าข้าม อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นผู้บุกเบิกและต่อสู้การเพาะ-เลี้ยงเห็ดแครงเป็นอาชีพในจังหวัดนี้จนประสบความสำเร็จ เดิมคุณปาริชาติ เป็นเกษตรกรทำฟาร์มเห็ดและส่งเห็ดสดขายไปยังสถานที่ต่างๆ แต่ต้องประสบปัญหาความไม่แน่นอนของราคาและตลาดรับซื้อ ทั้งยังต้องเผชิญกับปัญหา
การเพาะเห็ด เป็นอาชีพที่มีความสำคัญทางศรษฐกิจอาชีพหนึ่ง มีกรรมวิธีการเพาะที่ไม่ยุ่งยาก ใช้เงินลงทุนไม่มาก ใช้เวลาในการเก็บผลผลิตสั้น ให้ผลตอบแทนเร็ว และสามารถเพาะเห็ดได้ตลอดทั้งปี เกษตรกรและผู้สนใจสามารถเพาะเห็ดเป็นอาหารบริโภคภายในครัวเรือนแล้ว ยังพัฒนาเป็นอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้เป็นอย่างดีในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน อาจารย์พิทักษ์ สถิตวรรธนะ (โทร. 089-738-6158) อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย เล็งเห็นความสำคัญของอาชีพการเพาะเห็ด จึงได้นำเทคโนโลยีอันทันสมัยมาพัฒนา “ตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ” เพื่อแก้ไขปัญหาผลผลิตเห็ดอัตราการเกิดดอกเห็ดต่ำ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน โดยคาดหวังว่านวัตกรรมนี้จะช่วยส่งเสริมการสร้างรายได้และลดรายจ่ายค่าครองชีพในภาคครัวเรือน และพัฒนาช่องทางสู่เชิงธุรกิจในอนาคต สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้คัดเลือกตู้เพาะเห็ดอัตโนมัติ เข้าประกวดในเวทีนานาชาติ ปรากฏว่า ผลงานชิ้นนี้ ได้รับรางวัลเหรียญเงินสิ่งประดิษฐ์ 2015 จากประเทศไต้หวัน และได้รับรางวัลที่ 1 จากเวทีประกวดสิ่งประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำป
การบริการวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ โดยให้บริการวิชาการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน และสังคม ทั้งนี้ รูปแบบการให้บริการวิชาการนั้นมีความหลากหลาย อาทิ การอนุญาตให้ใช้ทรัพยากรของสถาบัน เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ การทำประโยชน์แก่สังคม ได้รับประโยชน์ในด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ของอาจารย์ นำมาสู่การพัฒนาหลักสูตร การบูรณาการ เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเรียน การสอน รวมทั้งสร้างเครือข่ายกับหน่วยงานต่างๆ สร้างแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษา สร้างรายได้ให้กับคณะ นำไปสู่ความยั่งยืนของชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (มทร.ศรีวิชัย) และองค์การบริหารส่วนตำบลท่าข้าม ร่วมบันทึกข้อตกลง โครงการบริการวิชาการแก่สังคม ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา บูรณาการร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์สาขาต่างๆ นำความรู้ในสาขาวิชาของตนเองไปถ่ายทอดและเผยแพร่ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนและท้องถิ่น สามารถต่อยอดความรู้ที่สอ
เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Schizophyllum commune โดยแต่ละท้องถิ่นจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป ภาคเหนือ เรียก เห็ดแก้น เห็ดตามด ภาคใต้ เรียก เห็ดยาง เพราะพื้นที่ทางภาคใต้นั้นสามารถพบเห็ดชนิดนี้ได้บนไม้ยางพารา ส่วนภาคกลางนั้นเรียกว่า เห็ดมะม่วง เนื่องจากขึ้นอยู่บนไม้มะม่วง นอกจากนี้ เห็ดแครง ยังพบเห็นขึ้นบนไม้ชนิดอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้สน ฯลฯ เห็ดแครง เป็นเห็ดที่ขึ้นอยู่ได้ทั่วไปและสามารถงอกได้ตลอดทั้งปี พบว่า ขึ้นอยู่กับวัสดุหลายชนิด เช่น ท่อนไม้ กิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า กระดาษ แต่ที่พบปริมาณมากสามารถเก็บรวบรวมเห็ดชนิดนี้มารับประทานได้คือ บนท่อนไม้และกิ่งไม้ในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศ พบมากบนท่อนไม้ยางพารา ต้นยางพาราที่ตัดโค่นไว้เมื่อท่อนไม้ตายและมีฝนตกก็จะพบเห็นเห็ดแครงเป็นจำนวนมาก ลักษณะของเห็ดแครง เป็นเห็ดขนาดเล็ก มีลักษณะคล้ายพัด (fan-shaped) ด้านฐานมีก้านขนาดสั้นๆ ยาวประมาณ 0.1-0.5 เซนติเมตร หรือไม่มีก้านแต่จะติดอยู่กับวัสดุที่ขึ้นด้านข้าง ดอกเห็ดมีขนาดความกว้าง ประมาณ 1-3 เซนติเมตร ผิวด้านบนมีสีขาวปนเทาปกคลุมทั่วไป ลักษณะของดอกเหนียวและแข็งแรง เมื่อแ
คุณกมลวิศว์ แก้วแฝก ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ข้อมูลว่า ได้มีการส่งเสริมการเพาะเห็ดแครงในหลายจังหวัดทางภาคใต้ เพราะเห็ดแครงถือเป็นเห็ดพื้นบ้านที่มีอยู่ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือหรือภาคใต้ โดยแต่ละพื้นที่จะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไป เดิมทีเห็ดแครงถือว่าเป็นเห็ดที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ต่อมาจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปจึงทำให้หาเห็ดแครงได้ไม่ง่ายจากแหล่งธรรมชาติ จึงได้มีการส่งเสริมขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรได้เพาะเลี้ยงเห็ดแครง เพื่อให้ผู้บริโภคที่สนใจได้มีเห็ดชนิดนี้ไว้รับประทาน และที่สำคัญยังสามารถเป็นรายได้ให้กับผู้เพาะเลี้ยงได้อีกด้วย “เห็ดแครง ถือว่าเป็นเห็ดที่มีคุณประโยชน์ สามารถเป็นได้ทั้งอาหารและยา เห็ดแครงเป็นเห็ดที่เพาะเลี้ยงง่าย ใช้เวลาเพียงแค่ 7 วัน ซึ่งถือว่าใช้เวลาค่อนข้างสั้น จึงเหมาะมากสำหรับผู้ที่สนใจ หรือเกษตรกรทั่วไปที่อยากมีรายได้เสริมจากการเพาะเห็ดแครง เพราะปัจจุบันเราก็มีแหล่งเรียนรู้ อยู่ที่ อ.ต.ก. สงขลา โดยได้มีการสนับสนุนเปิดสอน เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาถึงวิธีการต่างๆ เพราะอนาคตเห็ดแครงจะต้องเป็นพืชเศรษฐกิจที่จะนำมาทำเป็นอาหาร เป็นแหล่งโปร
เห็ดแครง หรือ เห็ดตีนตุ๊กแก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Schizophyllum commune) เป็นเห็ดที่ขึ้นได้ทั่วทุกภูมิภาคทั่วโลกและเจริญเติบโตได้ตลอดปี ส่วนใหญ่ขึ้นตามธรรมชาติในช่วงที่แล้งจัดจากนั้นมีฝนตกในความชื้นที่เหมาะสม ผู้สื่อข่าวข่าวสด จังหวัดสตูล รายงานผลงานของกลุ่มเพาะเห็นแครงอินทรีย์ ตั้งอยู่เลขที่ 177 หมู่ที่ 3 บ้านบ่อหิน ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมีเพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน มุ่งเพาะเห็ดเพื่อตอบโจทย์คนชอบกินเห็ดแครงชนิดนี้ให้กินตลอดทั้งปี นางวิไลภรณ์ ชำนาญเพาะ อายุ 43 ปี บ้านเลขที่ 294 หมู่ที่ 3 ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล เล่าว่า หลังเสร็จภารกิจงานภายในบ้าน งานสวนปาล์ม และสวนยางพารา มาร่วมกลุ่มโครงการ รับหน้าที่ทำก้อนเชื้อเห็ดแครงตามสูตรผสมขี้เลื่อย และรำข้าวละเอียด และส่วนต่าง ๆ ที่เป็นส่วนผสม ส่วนใหญ่จะให้เวลากลางคืนหลังเสร็จภารกิจที่บ้าน ในช่วงเร่งทำก้อนเชื้อเห็ดแครง จะให้ลูก ๆ มาช่วยทำ 200 วันติดต่อกันเคยทำมากถึง 800 ลูก ทุกคนก็มีรายได้ร่วมกัน นายสำราญ แคยิหวา สมาชิกในกลุ่มคู่ชีวิตประธานกลุ่ม วัย 38 ปี เล่าว่า ทางกลุ่มจะใช้บ้านในการทำโรงเพาะเ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกมลวิศว์ แก้วแฝก ผู้อำนวยการองค์การตลาดเพื่อเกษตร(ผอ.อตก.)กล่าว”งานสินค้าเกษตรคุณภาพ เกษตรอินทรีย์วิถีปักษ์ใต้”ครั้งที่ 2 ที่ จ.สงขลาว่างานสินค้าเกษตรคุณภาพฯ ต้องการส่งเสริมอาชีพให้ชาวใต้ หารายได้เสริมจากการทำสวนยางพารา ด้วยการส่งเสริมด้านเกษตรอินทรีย์ อบรมเพาะเห็ดแครงให้ป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่มีสารอาหารสูงมากและมีความต้องการของตลาด อกต.จะรับซื้อคืน กก.ละ 100-150 บาท นายบัณฑิต ส่งนวล เกษตรกรเพาะเห็ดแครง จ.กระบี่กล่าวว่าตนเล็งเห็นว่าเห็ดแครง เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ ที่ตลาดยังต้องการสูงเนื่องจากปราศจากสารเคมีและมีคุณค่าทางสารอาหารครบ จึงต้องการอบรมการเพาะเห็ดแครงเพิ่มเติม เพื่อนำความรู้และเทคนิคไปขยายกิจการ ขณะนี้ตนมีรายได้จากการเพาะเห็ดแครงเดือนละ 40,000-50,000 บาท หากมีช่องทางการจำหน่ายมากกว่าปัจจุน ตนจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ที่มา มติชนออนไลน์