แปรรูปปลา
หลายปีก่อน เดินทางไปที่ “มิตรชัยฟาร์ม” จากการอ่านข้อมูลของฟาร์ม ว่ามีการทำบัญชีครัวเรือน ซึ่งเป็นตัวชี้หนึ่งที่ทำให้เห็นความสำเร็จของการทำการเกษตรที่นี่ได้เป็นอย่างดี ในคราวนั้นจุดเด่นของที่นี่คือ แปลงไผ่เลี้ยง บ่อน้ำเลี้ยงปลาบึก แปลงผัก และโรงเรือนเลี้ยงไก่ พ่อคือ คุณมิตรชัย ยุทธรักษ์ และแม่คือ คุณรัชนก ยุทธรักษ์ สองสามีภรรยา ผู้เปลี่ยนผืนนามาเป็นมิตรชัยฟาร์ม ตำบลนางแซง อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 18 ไร่ และประสบความสำเร็จจากการทำการเกษตรตามทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง ในตอนนั้น มีลูกชายที่กำลังศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้ช่วยในยามปิดภาคเรียน ส่วนในช่วงเวลาปกติเป็นแรงงานที่จ้างไม่กี่คน และแรงงานจากคุณมิตรชัยและภรรยาเอง วันนี้ มิตรชัยฟาร์มเติบโตขึ้น ไม่ใช่การขยายพื้นที่ แต่เป็นการบริหารจัดการภายในแปลงเกษตรเล็กๆ แห่งนี้ได้ครบวงจร คุณชาญณรงค์ ยุทธรักษ์ ลูกชาย หลังจบการศึกษาจากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ก็กลับมาช่วยพ่อและแม่ทำการเกษตรเต็มตัว และพา คุณไพลิน ยุทธรักษ์ จากคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยา
ขึ้นชื่อว่า “นครนายก” จัดเป็นจังหวัดที่อุดมไปด้วยพืชผลการเกษตรสำคัญหลายชนิด มีผลไม้เด่นอย่าง “มะยงชิด” ที่ได้รับความสนใจมิใช่น้อย แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าจังหวัดนี้มี “มะดัน” ที่เป็น ไม้ผลเด่นอีกชนิดจนได้รับขนานนามว่า “เมืองมะดัน นครนายก” เมื่อพูดถึง “มะดัน” ย่อมรู้สึกถึงความเปรี้ยว เข็ดฟันจี๊ดจ๊าดขึ้นมาทันทีแม้ยังมิได้ลิ้ม แต่ความเปรี้ยวของไม้ผลชนิดนี้ก่อให้เกิดประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ จึงถูกนำไปใช้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าเรื่องอาหาร เครื่องดื่ม ยา หรือแม้แต่ความงาม มะดัน หรือส้มมะดัน หรือส้มไม่รู้ถอย เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ผลมะดัน มีลักษณะรูปรีปลายแหลม มีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมันลื่น มีรสเปรี้ยวถึงเปรี้ยวจัด มีวิตามินซีสูงด้วย จึงนิยมรับประทานทั้งสดโดยจิ้มกับพริกเกลือแล้วยังใช้แทนมะนาวสำหรับปรุงอาหาร หรืออาจแปรรูปเป็นมะดันแช่อิ่ม หรือมะดันดองแช่อิ่ม เป็นที่น่าดีใจเมื่อกลุ่มชาวบ้านที่ตำบลท่าทราย นครนายก มองเห็นประโยชน์ของมะดันที่มีอยู่มากมายในพื้นที่ จึงนำมาใช้ในกระบวนการทำปลาเค็มแดดเดียวขาย ช่วยสร้างความอร่อย มีกลิ่นหอม ลดความเค็ม แล้วยังปลอดภัยต่อสุขภาพ กลุ่มที่นำมะดันมาใช้กับปลาเค็มแดดเดีย
อำเภอโขงเจียม เป็นอำเภอที่อยู่ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมของสถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัด และยังเป็นอำเภอชายแดนที่ติดกับลาวใต้ อุบลราชธานี นับว่าเป็นจังหวัดที่มีแม่น้ำโขง แม่น้ำมูล รวมกันเป็นแม่น้ำสองสี พร้อมทั้งยังมีเขื่อนสิรินธร ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องมีปลาสดๆ จำนวนมาก หากนำไปเป็นของฝากก็จะอยู่ได้ไม่นานเกิดการเน่าเสียง่าย ต่อมาจึงมีการริเริ่มแปรรูปอาหารจากปลา โดยต่อยอดจากกลุ่มแม่บ้านที่ผลิตปลาร้า (ปลาอีตู๋) รสชาติเยี่ยม มาแปรรูปเป็นแจ่วบอง พัฒนาสูตรมาเรื่อยๆ จนได้รับคัดสรรเป็นสินค้า ระดับ 5 ดาว จึงนับว่าเป็นสินค้าที่ขึ้นชื่อของคนในชุมชนก็ว่าได้ พร้อมกันนี้ชาวบ้านในย่านนี้ นำโดย คุณวายุรี บุญไทย อยู่บ้านเลขที่ 54 หมู่ที่ 2 ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ได้เป็นผู้คิดริเริ่มเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากขึ้น ภายใต้แบรนด์ “ปลาอีตู๋” จนเป็นของขึ้นชื่อในจังหวัด จนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้ากล่าวถึงเมื่อผ่านมายังอำเภอโขงเจียม จากข้าราชการครู ผันชีวิตสร้างสินค้าแปรรูป คุณวายุรี สาววัยเกษียณผู้มีอัธยาศัยยิ้มแย้มแจ่มใส เล่าให้ฟังว่า สมัยก่อนมีอาชีพรับราชการครู ต่อมาประม
“ดินแดนสันเขื่อนอุบลรัตน์ ทิวทัศน์บนภูเก้า ข้าวสารขาวบ้านถิ่น น้ำตกรินตาดโตน ภักษาหารมากล้นกุ้งปูปลา”… เป็นคำขวัญอำเภอโนนสัง มีการปกครองทั้งหมด 10 ตำบล จำนวน 107 หมู่บ้าน ตำบลมีอาณาเขตติดพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์ 6 ตำบล จำนวน 65 หมู่บ้าน มีอาชีพทำการประมง จำนวน 2,350 ครัวเรือน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปปลา จำนวน 4 กลุ่ม โดยเฉพาะหมู่บ้านโนนปอแดง หมู่ที่ 4 ตำบลโคกใหญ่ อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู เป็นหนึ่งหมู่บ้านที่มีกลุ่มแปรรูปปลาจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับของฝากเป็นอย่างดี สำหรับผู้ที่มาท่องเที่ยวและเยี่ยมเยือนหรือมาเที่ยวอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู คุณโสภา สมพวงภักดี ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนส้มปลาหน้ากระเทียมบ้านโนนปอแดง เล่าให้ฟังว่า หมู่บ้านโนนปอแดงแต่ก่อนมีราษฎรบางส่วนได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2507 โดยได้อพยพขึ้นมาอยู่รอบบริเวณอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ทำให้ชาวบ้านมีอาชีพจับปลาขาย ปัจจุบันนี้บ้านโนนปอแดง มีทั้งหมดจำนวน 81 ครัวเรือน ประชากรจำนวน 335 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงวัว เลี้ยงกระบือ จับปลาตามเขื่อนอ
เพราะวิกฤต แปรเปลี่ยนเป็นโอกาสได้ ปลายปี 2545 เกิดวิกฤตน้ำทะลักจากเขื่อนอุบลรัตน์ท่วมเข้าชุมชนหมู่ที่ 5 ของบ้านห้วยบง ตำบนโนนเมือง อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู ส่งผลให้ “ปลา” มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก จากเดิมที่ชาวบ้านจับปลามาประกอบอาหารจำนวนหนึ่งแล้ว ก็ยังมีปลาจำนวนมากที่หลงเหลือจากที่จับขึ้นมาจากแหล่งน้ำอีกจำนวนมาก แม่บ้านหลายหลังคาเรือนจึงเห็นควรนำปลาเหล่านั้นมาแปรรูป เพราะมีเป้าหมายพุ่งตรงไปที่การเพิ่มรายได้ให้ครัวเรือน แท้จริงแล้ว อาชีพประมง เป็นอาชีพหลักของชาวอำเภอโนนสัง เนื่องจากอำเภอโนนสังมีพื้นที่ติดกับอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ ที่ผ่านมา มีการจัดงานเทศกาลกินปลา ตลาดนัดปลา เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวของอำเภอโนนสัง หลายครั้ง เมื่อแม่บ้านมองเห็นรายได้จากวิกฤตน้ำหลากเข้าท่วมชุมชนในครั้งนั้น จึงรวมกลุ่มกันเพื่อแปรรูปปลาจำหน่าย จากกลุ่มเล็กๆ ลงหุ้นกัน หุ้นละ 120 บาท เริ่มจับปลา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลานวลจันทร์มาขูดหนังออก นำเนื้อปลาไปห่อด้วยใบตองสด หมักให้เนื้อออกรสเปรี้ยว เป็นการถนอมอาหารด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น เรียกว่า แหนมปลา หรือส้มปลาตอง แบ่งหน้าที่ออกตระเวนขายตามหมู่บ้าน ครั้งละ 5 กิโลกรัม
เมื่อนึกถึงเรื่องการประกอบอาชีพแล้ว มีให้เลือกอยู่มากมาย งานขายปลาริมถนนของ คุณประเชิญ เกตุสุวรรณ ก็น่าสนใจไม่น้อย เมื่อไม่นานมานี้นิตยสารเทคโนโลยีชาวบ้านได้มีโอกาสเดินทางไปที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และได้ร่วมพูดคุยกับ คุณประเชิญ เกตุสุวรรณ เจ้าของวาทะเด็ด “อาชีพของเราทำมาค้าขาย ไม่ได้ปล้นได้ฆ่าใคร ไม่จำเป็นต้องอายใคร” เขาเป็นพ่อค้าปลาเค็มข้างทาง ผู้ไม่ย่อท้อต่อชะตาชีวิต และความยากจน เราไปทำความรู้จักกับพ่อค้าคนนี้กัน คุณประเชิญ ปัจจุบันอายุ 51 ปี มีบุตรสาว 2 คน เล่าให้ฟังถึงอาชีพขายปลาข้างทางว่า เริ่มทำอาชีพแผงปลามากว่า 20 ปี โดยถูกพ่อตาชักชวน ปลาที่ขายจะเป็นพวกปลาเค็มตากแห้ง เช่น ปลานิล ปลาช่อน ปลาสลิด ปลาที่นำมาแปรรูปจะเป็นปลาเลี้ยงรับมาจากฟาร์มที่จังหวัดสุพรรณบุรี ราคาขายก็จะขึ้นอยู่กับขนาดของปลา โดยปลาช่อนตัวใหญ่ จะขายอยูที่ 180-200 บาท ปลาช่อนตัวเล็ก 150-160 บาท ส่วนปลาสลิด จะขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 160 บาท “ปลาเค็มที่ร้านส่วนมากจะขายหมดเกือบทุกวัน และจะขายดีในช่วงเทศกาล เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันหยุดยาวหลายวัน” พ่อค้าประเชิญ เล่า วิธีการในการทำปลาเค็ม คุณประเชิญ เล่าว่า จะใช้ป
คุณบุญนำ กีรติวิทยากร อยู่บ้านเลขที่ 39/2 หมู่ที่ 1 ตำบลท่าช้าง อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มีอาชีพเลี้ยงตะพาบน้ำและปลา แต่ประสบปัญหาราคาตกต่ำ จึงทำให้ตัวเขากับชาวบ้านร่วมอาชีพได้เข้าร่วมโครงการ 9101 ตามรอยพ่อ พร้อมไปกับได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานสหกรณ์จังหวัดอ่างทอง เพื่อพัฒนาการเกษตรให้ยั่งยืน ด้วยการแปรรูปปลาตามกระบวนการผลิตที่ถูกลักษณะ สะอาด และปลอดภัย สามารถสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกอย่างดี คุณบุญนำเลี้ยงตะพาบน้ำไว้ขายจำนวนกว่า 600 ตัว ขณะเดียวกัน เลี้ยงปลานิล ปลายี่สก และปลาจีนในพื้นที่ 4 ไร่ และในจำนวนนี้มีปลานิลกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ เหตุผลที่เลี้ยงปลาผสมในบ่อเดียวกันเนื่องจากเวลาจับขายรวมกันปลายี่สกจะมีน้ำหนักดีกว่าทำให้น้ำหนักรวมปลาได้มาก ช่วยเพิ่มราคาขาย ตลอดเวลากว่า 10 ปี อาชีพเลี้ยงปลาและตะพาบน้ำของคุณบุญนำล้มลุกคลุกคลานมาตลอดจากปัญหาเรื่องราคาขายตกต่ำ เมื่อเห็นว่าสัตว์ทั้งสองชนิดไม่ประสบผลสำเร็จ คุณบุญนำจึงเลิกเลี้ยงตะพาบน้ำ แล้วหันมาทุ่มเทการเลี้ยงปลาอย่างเดียวโดยไม่เน้นขายสดแต่จะเปลี่ยนไปใช้วิธีแปรรูปเป็นปลานิลแดดเดียวแทน ซึ่งเริ่มขายมาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว (2560) ถือว่าข
อำเภอสิเกา เป็นชุมชนเล็กๆที่มีพื้นที่ทางทิศตะวันตกและทิศใต้ติดกับชายฝั่งทะเล ประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้ชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง และค้าขาย เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทะจึงมึสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา เต่า ปลาหมึก และ ฯลฯ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในแต่ละครั้งจะจับได้ในปริมาณมาก สามารถนำไปจำหน่ายขายในตลาดและแบ่งบางมาแปรรูปทำเป็นปลาเค็มไว้รับประทาน โดยเฉพาะคนในชุมชนตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จะยึดถือสืบทอดทำกันมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะทำในรูปของอุตสาหกรรมครอบครัวขนาดเล็ก แต่หลังจากชุมชนมีการพัฒนามากขึ้น การแปรรูปปลาเค็มจึงมีการพัฒนาขึ้นตามความเจริญ “ปลาเค็ม เป็นสินค้าที่ดำเนินการผลิตขึ้นมาเพื่อจำหน่ายมานานแล้ว เนื่องจากมีพื้นที่ตั้งอยู่ริมชายทะเล ทำให้อาชีพหลักของชาวบ้านใน ตำบลบ่อหิน คือ การทำประมง เวลาออกเรือได้ปลามาจำนวนมาก ก็จะมีการแปรรูปเก็บไว้บริโภคนานๆ แต่วิธีการผลิตปลาเค็ม แบบเดิมๆ นั้นไม่สามารถเก็บไว้ได้ ชาวบ้านจึงพยายามคิดค้นวิธีการต่างๆ จนมาได้ข้อสรุปที่วิธีการทำปลาเค็มกางมุ้ง” รูปแบบและขั้นตอนการแปรรูปของการแปรรูปปลาเค็มกางมุ้งได้รับการสนับสนุนจากพัฒนาชุมชน
นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ เกษตรอำเอสุวรรณภูมิ จ.หวัดร้อยเอ็ด เดินทางไปที่ บ้านนางสายสมร ปาภูงา บ้านเลขที่ 94 ม.4 คุมสามัคคี “เทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ” ต.สระคู อำเภอสุวรรณภูมิ โทร.094 0656292 แรงงานใครอบครัว 3 คน ใส่ใจซึ่งกันและกัน ในการดำเนินการแปรรูปปลาสด เป็นการถนอมอาหารพื้นบ้าน ที่ทำกันมายาวนาน หมักเกลือไอโอดีน ผสมรสดี เป็นไปตามขั้นตอน นางสายสมร เล่าให้ฟังว่า ตื่นเช้าตรู่เข้าตลาดเทศบาลตำบลสุวรรณภูมิ เลือกซื้อปลา ที่ต้องการ ปลาดุก 60 บาท/ก.ก.วันละ 10-15 ก.ก.ปลาช่อนสด วันละ 10-12 ก.ก.ๆละ 100 บาท ปลาหลด 10-15 ก.ก.ๆละ 170-200 บาท ปลาเนื้ออ่อน (ปลาเซือม) 10-20 ก.ก.ละ 120 บาท ตากแห้ง 4 พวง 100 บาท ดำเนินการหมักเกลือ รสดี ร้อยเรียงเป็นพวง ขายพวงละ 35 บาท 3 พวง 100 บาท หรือ 500 บาท/ก.ก.ปลาดุกพวงละ 50 บาท หรือ 250 บาท/ก.ก. ตากแห้งแดดเดียว ส่วนปลาช่อนต้องขอดเกล็ด แล่เป็นแผ่นตากแดดเดียวเท่านั้น ขาย 300 บาท/ก.ก.ที่นี่ ชาวบ้าน ร้านตลาด เชื่อมั่นในฝีมือ ตนเองตั้งเป็นกลุ่มเกษตรกรแปรรูปปลาแดดเดียว สมาชิก 7 คน เป็นเครือข่ายเกิดรายได้ รายวัน มีเงินออม เงินเก็บ เป็นปลาจากพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สำนั