แปรรูปได้ขายดี
“หอยเชอรี่สีทอง” สัตว์เศรษฐกิจยอดฮิต เลี้ยงอย่างไรให้อยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้น คุณศิริวัฒน์ ซุยกระเดื่อง อาศัยอยู่บ้านเลขที่ 249 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองบัว อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น อดีตพนักงานประจำ ผันตัวเป็นเกษตรกร นำประสบการณ์จากที่เคยไปทำงานที่ต่างประเทศมาประยุกต์ใช้พัฒนางานในสวน เน้นให้ความสำคัญกับเวลาในการทำงาน รวมถึงการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง คุณศิริวัฒน์ เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะผันตนเองมาเป็นเกษตรกร เคยทำงานเป็นพนักงานประจำมาก่อน จากนั้นได้ลาออกจากงานประจำเพื่อไปเก็บเกี่ยวประสบการณ์การทำงานด้านการเกษตรที่เกาหลีใต้เป็นเวลากว่า 3 ปี ทำให้เห็นว่าภาคเกษตรกรรมของต่างประเทศจะเน้นให้ความสำคัญกับเวลา และการใช้เทคโนโลยีเข้ามาจัดการภายในสวนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ จะมีการจ้างแรงงานคนที่น้อยมาก โดยพื้นที่การทำเกษตรจำนวน 10-20 ไร่ ใช้เพียงแรงงาน 2 คนในการดูแล แต่ได้ประสิทธิภาพสูง ซึ่งตนเองก็ได้เก็บเกี่ยวนำเอาสิ่งที่ได้ไปเรียนรู้ และได้ไปสัมผัสมาประยุกต์ใช้กับการทำเกษตรที่บ้านได้เป็นอย่างดี โดยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนไร่อ้อยของพ่อแม่ มาทำเกษตรผสมผสาน ทำนาปลูกข้าวไว้กินเอง เลี้ย
กระเป๋าย่ามผ้าทอ เป็นอีกคอลเล็กชั่นที่หลายคนนิยมใช้เพราะมีลวดลายการถักทอที่สวยงาม เกิดจากภูมิปัญญาการทอผ้าของชาวบ้านจากรุ่นสู่รุ่นผสมผสานกับการออกแบบรูปทรงให้ตรงกับเทรนด์สมัยใหม่ ใช้งานได้ตรงตามความต้องการ สร้างความน่าสนใจแก่ผู้พบเห็น สามารถสะพายไปไหนก็ได้โดยไม่เขินอาย จุดเด่นของกระเป๋าผ้าทอพื้นเมืองไม่ว่าจะเป็นภาคใด ช่วยยกระดับเพิ่มมูลค่าผ้าทอพื้นเมืองให้มีความสวยงามมากยิ่งขึ้น สามารถสร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ สร้างความเชื่อมั่น และการยอมรับในระดับสากลของผ้าพื้นเมืองไทย ที่สำคัญเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้แก่ชุมชนท้องถิ่น คุณพัลลภ อุบลวัตร ทำธุรกิจขายออนไลน์อยู่หลายชนิด อยากได้สินค้าที่มีความแตกต่าง เน้นการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และควรเป็นสินค้าที่อยู่ในกระแสความนิยมได้นาน จึงมองไปที่กระเป๋าย่ามผ้าทอเพราะเป็นของใช้ที่ตรงตามคอนเซ็ปต์ แล้วต้องการเน้นเป็นผ้าทอที่ชาวบ้านผลิตเองเพื่อสร้างแรงดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจได้ง่าย คุณพัลลภไปพบกระเป๋าย่ามผ้าทอพื้นเมืองที่ผลิตโดยกลุ่มชาวบ้านจากอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ตัวกระเป๋าโดดเด่นด้วยลายทอผ้าสวยงามตามแบบฉบับล้านนาที่ตอบโจทย์ผู้มีร
คุณปรีดาธพันธุ์ จันทร์เรือง หรือ พี่ดา อาศัยอยู่ที่ 166 หมู่ที่ 7 ตำบลท่าชัย อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท เกษตรกรต้นแบบ ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้ในสถานการณ์ที่ราคาข้าวตกต่ำ ก็ไม่สามารถทำอะไรเขาคนนี้ได้ จากการปรับตัว หมั่นศึกษาหาความรู้ทั้งด้านการผลิต และการนำนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาสร้างมูลค่าอย่างถูกวิธี ทำให้สามารถปลูกข้าวขายได้โดยที่ไม่ต้องง้อโรงสี ด้วยการใช้นวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาใช้ในการแปรรูปข้าวเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารออกมาในหลากหลายรูปแบบ นับเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มจากเดิมได้หลายเท่าตัว โดยที่ไม่ต้องมีพื้นที่ปลูกข้าวมากมาย พี่ดา เล่าถึงจุดเริ่มต้นการแปรรูปผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากข้าวกล้องงอกไรซ์เบอร์รี่ให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาทำนาปลูกข้าว ตนเองทำงานเป็นพนักงานประจำ ในตำแหน่งผู้จัดการโรงงานแห่งหนึ่ง ได้รับเงินเดือนเกินครึ่งแสน ต่อมาในปี 58 ตนเองตัดสินใจลาออกจากงานประจำเพื่อกลับมาทำงานเกษตรที่บ้านเกิดจังหวัดชัยนาท โดยในช่วงเริ่มต้นได้มีการออกไปสำรวจตลาด สำรวจร้านค้าภายในจังหวัดก่อนว่ามีสินค้าอะไรขายดี และนำข้อมูลที่ได้มาประมวลผล จนได้คำตอบว่าข้าวอินทรีย์ขายดี ซึ่งในตอนนั้นข้าวไรซ์เบอร์รี
วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษตำบลบ้านหลวง อีกหนึ่งวิสาหกิจชุมชนตัวอย่าง ที่ไม่รอให้ใครลิขิตชีวิต แต่พวกเขาเหล่านี้ขอลิขิตชีวิตตัวเอง ด้วยการไม่หยุดนิ่งที่จะพัฒนา จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักต่อยอดแปรรูปปลาเค็มขายสร้างรายได้เพิ่มอีกช่องทางหนึ่ง คุณประยุทธ ผดุงไพร ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษตำบลบ้านหลวง อยู่ที่ 46 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านหลวง อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี หัวเรือสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาให้วิสาหกิจชุมชนก้าวมาได้ไกลและมั่นคง ด้วยความคิดที่ไม่หยุดนิ่ง พยายามหารายได้เข้ามาเสริมให้กับสมาชิกกว่า 60 คน ให้มีรายได้เลี้ยงครอบครัวอย่างมั่นคงอยู่เสมอ คุณประยุทธ เล่าว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษตำบลบ้านหลวง ได้จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2553 เริ่มจากการปลูกกระเจี๊ยบเขียวเพื่อการส่งออกเป็นรายแรก และประสบความสำเร็จ จากนั้นจึงมีเกษตรกรสนใจเข้าร่วมกลุ่มปลูกกระเจี๊ยบเขียวเพิ่มขึ้น ต่อมาเริ่มมีการพัฒนาปลูกผักชนิดอื่นๆ เพื่อส่งขายในตลาดท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ทั้งบวบเหลี่ยม บวบงู มะระจีน มะเขือยาว มะเขือเปราะ พริก ฟักทอง และอื่นๆ อีกมากมาย แต่ถึงแม้ทางกลุ่มจะ
หากเอ่ยชื่อ “กลุ่มหม่อนไหมบ้านป่ากล้วย” ชาวชุมพรหลายคนอาจจะเคยได้ยินชื่อว่าเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ย้ายภูมิลำเนาจากภาคอีสานเข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร และยังเป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีชื่อเสียงโด่งดังเกี่ยวกับการทอผ้าไหม จนได้รับรางวัลต่างๆ มาแล้วมากมาย วิสาหกิจกลุ่มหม่อนไหมบ้านป่ากล้วย ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 12 ตำบลนาสัก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร ห่างจากถนนสายเอเชีย 41 บริเวณสามแยกเขาปีบ อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ประมาณ 13 กิโลเมตร คุณอนัน รามพันธุ์ นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดชุมพร พร้อมด้วย คุณสุรินทร์ เหล่าพัทรเกษม ประธานศูนย์ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจ (CSR) จังหวัดชุมพร คุณทวีลาภ การะเกด ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชนด้านสังคม (ทปษ.) จังหวัดชุมพร พร้อมทีมงาน ร่วมกันลงพื้นที่ดังกล่าว เพื่อเยี่ยมชมการทอผ้าไหมของกลุ่มหม่อนไหมบ้านป่ากล้วย โดยได้พบกับ คุณนิตยา ภิญโย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 12 บ้านป่ากล้วย ตำบลนาสัก คุณทองดี ศิริ ประธานวิสาหกิจกลุ่มหม่อนไหมบ้านป่ากล้วย และสมาชิกกลุ่มที่ร่วมกันให้การต้อนรับ คุณทอ
อำเภอหาดสำราญ เป็นอำเภอที่ติดทะเล ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมง เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทะเล จึงมีสัตว์น้ำ เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา ฯลฯ อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ถือเป็นแหล่งอาหารทะเลที่อุดมสมบูรณ์ เมื่อวัตถุดิบทางทะเลมีปริมาณมาก สามารถนำไปจำหน่ายในตลาดและนำมาแปรรูปทำเป็นปลาเค็มไว้รับประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร มีนโยบายส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย ให้สามารถบริหารจัดการกลุ่ม แปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่เข้มแข็งในอนาคต รวมทั้งเป็นกลไกสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานราก ดังนั้น สำนักงานเกษตรอำเภอหาดสำราญ โดย คุณนนท์นภนต์ นาพอ เกษตรอำเภอหาดสำราญ และ คุณจันจิรา ขันเงิน นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ เกษตรตำบลหาดสำราญ ส่งเสริมให้กลุ่มปลาเค็มกางมุ้ง จดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน ตามแนวทางการดำเนินงานของกรมส่งเสริมการเกษตร คุณเกษร ณ พัทลุง ประธานวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านเกษตรกรบ้านโคกวา เล่าให้ฟังว่า จุดเริ่มต้นของการทำปลาเค็มกางมุ้ง ชาวบ้านเริ่มมีการนำปลาสดมาแปรรูปเป็นปลาแดดเดียว ปลาเค็มอ
ข้าวโพดนมสดฮอกไกโด เป็นข้าวโพดหวานสายพันธุ์ทานสดและทานสุกได้ ที่มีต้นกำเนิดมาจากเมืองฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาปลูกในประเทศไทยหลายปีแล้ว แต่ไม่มีการระบุชัดเจนว่า มีการนำเข้ามาปลูกที่ประเทศไทยเมื่อไหร่ ปัจจุบันสามารถพบเห็นการปลูกข้าวโพดทานสดนี้ในหลายพื้นที่ เพราะข้าวโพดสายพันธุ์นี้ มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศบ้านเรา ทำให้สามารถปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ข้าวโพดนมสดฮอกไกโดเป็นข้าวโพดที่นิยมทานสดหรือจะนำไปทำให้สุกก่อนทานได้ แต่หากบริโภคสดจะให้รสชาติที่ดีและแตกต่าง ข้าวโพดหวานชนิดนี้ได้ชื่อว่า “ราชาแห่งข้าวโพดทานสด” เพราะมีความหวานสูงกว่าข้าวโพดหวานทั่วไป 3-4 เท่า มีวิตามินเอ วิตามินบี แร่ธาตุ เส้นใยอาหาร และเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระ ข้าวโพดนมสดฮอกไกโดมีค่าของแป้งน้อยกว่าข้าวโพดทั่วไป แต่มีค่าของน้ำมากกว่าข้าวโพดทั่วไป ทำให้เวลาทานสดแล้ว ให้ความรู้สึกเหมือนทานผลไม้สดๆ ที่ฉ่ำน้ำ สดชื่น ให้รสชาติที่แตกต่างไปจากการทานข้าวโพดหวานทั่วไป หากได้ทดลองชิมจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อยมาก ด้วยรสชาติหวาน ชุ่มฉ่ำ มีกลิ่นหอม ละมุน เหมือนกลิ่นน้ำนมสดจากฮอกไกโดแท้ๆ ยิ่งได้แช่เย็นก่อนทาน ยิ่งอร่
มะพร้าวน้ำหอม เป็นไม้ยืนต้น มีลำต้นเดี่ยวตั้งตรง ลำต้นมีลักษณะกลมๆ แข็งและเหนียว ผลมีลักษณะทรงกลมหรือทรงรี เปลือกมีสีเขียว ข้างในจะมีกะลาแข็ง มีเนื้อนุ่มสีขาว รสชาติหวานมัน ข้างในมีน้ำใสๆ รสชาติหวานหอม มีกลิ่นหอม มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนในทวีปเอเชีย ในหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก และต่อมาได้มีปลูกในหลายประเทศทั่วโลก ประเทศไทยนั้นจะปลูกมะพร้าวทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู มีประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง นำมาเป็นเครื่องดื่ม นำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู คุณยอดหญิง พรชัยสิทธิ์ หรือ คุณส้ม อายุ 26 ปี อาศัยอยู่ที่ 17 หมู่ที่ 1 ตำบลบางตลาด อำเภอคลองเขื่อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันประกอบอาชีพเป็นเกษตรกรปลูกมะพร้าวน้ำหอม เจ้าของ Cococowboy สวนมะพร้าวน้ำหอมแปดริ้ว คุณยอดหญิง กล่าวว่า สวนของเราตั้งอยู่บนพื้นที่ลุ่มแม่น้ำบางปะกง พื้นที่แห่งความอุดมสมบูรณ์ ผ่านประสบการณ์มา 40 กว่าปี ในการผลิตมะพร้าวน้ำหอมเชิงพาณิชย์และสินค้าแปรรูปจากมะพร้าวที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้าง ทำให้เรามีผลผลิตที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานผลผลิตจาก “เกษตรกร” และทางสวนมีมาตรฐาน GAP รองรับแก่ผู้บริโภค มะพร้าวน้ำหอมของทางสวนมีเอกลักษณ์ของ
คุณธีรชัย ใจช่วย (พี่ต้น) อยู่บ้านเลขที่ 14 หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เกษตรกรหัวก้าวหน้ากลับมาพัฒนาและขยายธุรกิจผลิตภัณฑ์ไก่ประดู่หางดำแปรรูปของคุณแม่ เป้าหมายเพื่อต่อยอดสินค้าให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ พี่ต้น เล่าความเป็นมาของผลิตภัณฑ์ไก่ประดู่หางดำแปรรูปแบรนด์ป้าหล้าว่า คุณแม่ของตนเองก็คือ ป้าหล้า เป็นผู้ก่อตั้งแบรนด์ป้าหล้าขึ้นมา เนื่องจากในสมัยแรกเริ่มทำเป็นกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนมีการส่งเสริมให้เลี้ยงไก่ประดู่หางดำ ให้กับสมาชิกที่ไม่มีอาชีพ และมีการกระจายความรู้ มีผู้เลี้ยงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่เนื่องจากในสมัยนั้นไก่ประดู่หางดำยังเป็นไก่สายพันธุ์ใหม่ที่ยังไม่มีตลาดรองรับเท่าที่ควรคุณแม่จึงได้มีการเข้าไปปรึกษากับทางกรมปศุสัตว์ ก็ได้รับโอกาสและความรู้ในด้านต่างๆ หลังจากนั้น คุณแม่จึงผันตัวจากเป็นผู้เลี้ยงมาเป็นผู้แปรรูป สร้างโรงงานแปรรูปไก่เล็กๆ เป็นของตัวเอง ซึ่งหลังจากที่ตนเองได้ลาออกจากพนักงานประจำก็เข้ามาช่วยสานต่อธุรกิจที่แม่สร้างไว้ มีการทำมาตรฐานโรงงาน สินค้าทุกตัวมีมาตรฐาน อย. และพัฒนามาตรฐานเพิ่มขึ้นเข้าสู่มาตรฐานโอท็อปตั้งแต่ 3-5 ดาว เป้าหมาย
ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันอยู่ประมาณ 6 ล้านไร่ ในแต่ละปีจะก่อให้เกิดวัสดุเหลือใช้จากสวนปาล์มจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะทางปาล์มน้ำมัน ซึ่งถ้าหากมีการจัดการอย่างถูกวิธี ทางปาล์มน้ำมันก็ถือว่าเป็นโรงงานผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี และเปรียบเสมือนตู้เซฟเก็บความชื้นในดิน แต่ในทางกลับกันถ้ามีมากเกินความจำเป็นก็ส่งผลเสียได้เหมือนกัน ทั้งเป็นแหล่งสะสมของสัตว์มีพิษ หรือถ้าในช่วงที่ฝนตกชุก ทางปาล์มน้ำมันในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดน้ำท่วมขัง จากการที่ทางปาล์มน้ำมันไหลไปอุดตันทางระบายน้ำ กลายเป็นขยะที่ไร้ค่า แต่ปัจจุบันทางปาล์มน้ำมันได้กลับกลายมาเป็นวัสดุมีมูลค่า จากฝีมือของกลุ่มหนุ่มใต้ลูกหลานเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ที่ได้นำเอาทางปาล์มน้ำมันมาแปรรูปออกเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ถุงกระดาษจากทางปาล์มน้ำมัน กระดาษห่อยืดอายุผักผลไม้ด้วยซิลเวอร์นาโน และหนังเทียมจากทางปาล์มน้ำมัน ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าได้อย่างมหาศาล คุณชนาธิป หวังปาน หรือ คุณโอ ประธานกรรมการ บริษัท ปาล์มแพ็คเกจจิ้ง จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 56 หมู่ที่ 12 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง หนุ่มใต้หัวใจรักษ์โลก ต่อยอ