แพะ
ในช่วงนี้การทำปศุสัตว์ค่อนข้างได้รับความนิยมไม่แพ้การทำเกษตรอื่นๆ โดยเกษตรกรได้มีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิดภายในพื้นที่ เพื่อสร้างเป็นสัตว์ที่มีคุณภาพและขยายพันธุ์จำหน่าย เพราะการทำตลาดของปศุสัตว์นั้นไม่เพียงแต่บริโภคเนื้อเพียงอย่างเดียว แต่ยังสามารถนำมาผลิตสร้างตลาดได้หลากหลาย จึงทำให้เกษตรกรเริ่มให้ความสนใจในการแบ่งพื้นที่ของตัวเองเพื่อเลี้ยงสัตว์มากขึ้น อย่างน้อยเมื่อสัตว์อีกชนิดราคาตกก็ยังมีสัตว์ชนิดอื่นได้ราคาที่ทดแทนกัน คุณธีราเมท โรจนวีรเดช อยู่บ้านเลขที่ 58/2 หมู่ที่ 6 ตำบลวังน้ำเขียว อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เกษตรกรรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีความชื่นชอบในเรื่องของการเลี้ยงโคเนื้อมาตั้งแต่เด็ก ชนิดที่ว่าทุกลมหายใจของเขาอยากจะเลี้ยงสัตว์เพียงอย่างเดียว จนทำให้สิ่งที่เขารักและชอบได้มาเป็นอาชีพของเขาในทุกวันนี้ มีตั้งแต่การเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์อเมริกันบราห์มัน การเลี้ยงแกะ และสัตว์อื่นๆ อีกหลายชนิด จนสร้างรายได้ให้กับเขาได้ตกปีละเป็นแสนบาทกันเลยทีเดียว คุณธีราเมท เล่าให้ฟังว่า เริ่มเลี้ยงโคอย่างจริงจังตอนเขามีอายุได้ 18 ปี โดยนำเงินที่เก็บสะสมมาตั้งแต่สมัยที่เป็นเด็กที่มีญาติพี่น้องให้มาเรื่อ
“เกษตรทฤษฎีใหม่” คือแนวทางและหลักการในการทำเกษตรที่เน้นในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำและที่ดิน เพื่อให้สามารถทำเกษตรบนที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ ทั้งยังให้ความสำคัญในด้านการพัฒนาให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการทำเกษตรแบบทฤษฎีใหม่นั้นจะต้องมีการจัดสรรที่ดินอย่างเป็นระบบและมีสัดส่วนชัดเจน คือต้องมีทั้งพื้นที่สำหรับทำนาข้าว ปลูกพืชผัก ผลไม้ต่างๆ พื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์และทำเป็นที่พักอาศัย รวมถึงต้องมีน้ำในปริมาณที่เพียงพอสำหรับการเพาะปลูกอีกด้วย แต่เพื่อให้การปฏิบัติตามหลักของเกษตรทฤษฎีใหม่ประสบผลสำเร็จนั้น เกษตรกรเองก็จะต้องยึดถือและปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่ไปด้วย เนื่องจากทั้งสองสิ่งนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกันอย่างขาดไม่ได้ กล่าวคือ หากเศรษฐกิจพอเพียงนั้นก็เปรียบเหมือนแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่นั้นก็เปรียบเหมือนกับหลักการและขั้นตอนการนำเอาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในทางปฏิบัตินั่นเอง คุณกวางทอง ราษี อยู่ที่บ้านเลขที่ 164 บ้านโคกก่อง ตำบลโคกก่อง อำเภอเมือง จังหวัดบึงกาฬ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ทำสวนโดยยึดถือและปฏิบัติตามหลักการและแนวทางของเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยมีการแบ่งพื้นที
ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการทำงานด้านการวิจัยการเลี้ยงแพะแบบครบวงจร โดยทีมคณะทำการวิจัยร่วมกันหลายสาขาวิชา ในการสนับสนุนทุนวิจัยของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในชื่อ “แผนงานวิจัยและพัฒนาขับเคลื่อนการเลี้ยงแพะของภาคใต้ปี พ.ศ. 2563-2565” เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงแพะให้แก่เกษตรกรภาคใต้ และบุกเบิกเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะรายใหม่ขยายไปทั่วประเทศ ตามมาตรฐาน (ฮาลาล) GMP HALAL เพื่อการส่งออกแพะจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ หมุนเศรษฐกิจ 900 ล้านบาท ตามเป้าหมาย ผศ.ดร.ไชยวรรณ วัฒนจันทร์ คณบดีคณะทรัพยากรธรรมชาติ (ม.อ.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะผู้อำนวยการชุดดูแลโครงการงานวิจัยการเลี้ยงแพะ ได้ให้ข้อมูลหลังพาคณะเจ้าหน้าที่ วช. และสื่อมวลชน ตรวจดูงานในพื้นที่ฟาร์มตัวอย่างการเลี้ยงแพะ และเยี่ยมชมโรงปฏิบัติการผลิตแพะมาตรฐานฮาลาล (โรงเชือด) รวมถึงโครงการวิจัยของคณะวิชาอื่นๆ ในการบูรณาการร่วมกัน ซึ่งมี 7 คณะโครงการวิจัย โดย ผศ.ดร.ไชยวรรณ ในฐานะผู้อำนวยการชุดโครงการวิจัย ให้ข้อมูลว่า แพะนับเป็นสัตว์เศรษ
แพะพันธุ์บอร์ เป็นแพะที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการให้เนื้อมาก เพราะโครงสร้างของแพะสายพันธุ์นี้มีขนาดตัวที่ใหญ่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์จำหน่ายให้กับเกษตรกร รายอื่นๆ เพื่อนำไปทำพันธุ์ต่อไป ส่วนตัวที่ไม่มีความสวยงามที่จะสามารถนำมาทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ จะส่งจำหน่ายเข้าสู่ตลาดเนื้อเพื่อบริโภคจึงทำให้การเลี้ยงแพะเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสร้างรายได้ของผู้สนใจ คุณนคร หาญไกรวิไลย์ เจ้าของบ้านไอซ์ฟาร์มแพะ ตั้งอยู่เลขที่ 298 หมู่ที่ 2 ตำบลไร่เก่า อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ให้ความสนใจต่อการเลี้ยงพันธุ์สายพันธุ์บอร์ จากนั้นพัฒนาการเลี้ยงเพื่อผลิตให้ได้แพะที่มีคุณภาพเพื่อจำหน่ายเป็นพ่อแม่พันธุ์ คุณนคร เล่าว่า ครอบครัวมีอาชีพทำธุรกิจประมงเพื่อการส่งออก ต่อมาเห็นพื้นที่ที่เคยซื้อไว้อยู่ที่อำเภอสามร้อยยอดยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ จึงได้เกิดความสนใจที่อยากจะทำในเรื่องของปศุสัตว์ เพราะพื้นที่นี้ดินไม่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช เมื่อภาครัฐมีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงแพะทำให้เห็นโอกาส จึงเริ่มหาซื้อแพะมาทดลองเลี้ยงในพื้นที่ จำนวน 5 ตัว จนสามารถออกลูกและจำหน่ายได้ “สาเหตุที่เลื
แพะพันธุ์บอร์ เป็นแพะเนื้อที่นิยมนำมาเลี้ยงเป็นสายพันธุ์ที่มีเลือดร้อย เพราะจากการเป็นสายเลือดแท้นี้เอง จึงทำให้แพะพันธุ์บอร์เด่นในเรื่องของการให้เนื้อมาก เป็นแพะที่มีโครงสร้างขนาดตัวที่ใหญ่ โดยเกษตรกรส่วนใหญ่จะนิยมนำมาเลี้ยงเพื่อขยายพันธุ์จำหน่าย เพราะยังมีเกษตรกรหลายท่านที่ต้องการแพะพันธุ์บอร์มาต่อยอด นำไปปรับปรุงและพัฒนาแพะภายในฟาร์มให้มีคุณภาพต่อไป คุณชรินทร์ วิทยาภรณ์ หรือ คุณหนึ่ง เจ้าของแขมณรงค์ฟาร์มแพะ ตั้งอยู่เลขที่ 200 หมู่ที่ 9 ตำบลบางขุด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ดีกรีสถาปนิกหนุ่ม จากสาขาสถาปัตยกรรมและการวางแผน คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ชื่นชอบในเรื่องของการทำปศุสัตว์ จึงได้มีการออกแบบวางแผนการทำฟาร์มแพะสร้างเป็นอาชีพเสริม จนเกิดรายได้ควบคู่ไปกับการทำงานประจำได้เป็นอย่างดี แพะเป็นสัตว์เลี้ยง อาชีพเสริมทำเงินได้ คุณหนึ่ง เล่าให้ฟังว่า อาชีพหลักของเขาเป็นสถาปนิก หลังจากที่แต่งงานและได้มาอยู่กับภรรยา ช่วงนั้นบ้านของภรรยามีการเลี้ยงสุกรไว้ ต่อมาจึงเกิดความสนใจในเรื่องของการเลี้ยงแพะ ทำให้ได้ศึกษาเรื่องของสายพันธุ์แพะจากแหล่งต่างๆ
แพะเป็นอีกหนึ่งสัตว์เลี้ยงที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยม จะเห็นได้จากหลายๆ จังหวัด มีการส่งเสริมในเรื่องของการเลี้ยงมากขึ้น เพราะเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาในบ้านเราประสบปัญหาภัยแล้ง จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกพืชเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำการเกษตรได้ ส่งผลให้มีการแบ่งพื้นที่ปลูกพืชบางส่วนมาเลี้ยงปศุสัตว์ โดยแพะเป็นสัตว์ที่เกษตรกรให้ความสนใจ เป็นสัตว์ที่กินง่ายและที่สำคัญให้ลูกออกมาไว เพราะใช้เวลาตั้งท้องเพียง 5 เดือน ก็สามารถทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงมีกำไรคืนทุนได้ในระยะสั้นๆ คุณพงศธร กลัดเพ็ชร เกษตรกรหนุ่มผู้สนใจการเลี้ยงแพะ อยู่บ้านเลขที่ 294/1 หมู่ที่ 6 ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้กลับมาอยู่ยังบ้านเกิดและเลี้ยงแพะเป็นอาชีพทำเงินให้กับเขา โดยมองว่าสามารถทำเป็นอาชีพที่อิสระโดยไม่ต้องไปเป็นลูกจ้าง และอยู่ไกลบ้าน แต่ได้ทำงานด้านปศุสัตว์ที่เขารักอยู่กับบ้าน คุณพงศธร ชายหนุ่มผู้มีอารมณ์ขัน เล่าให้ฟังว่า เมื่อจบการศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อปี 2556 นั้น ได้ไปสมัครเข้าทำ
จากปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ ทำให้เกษตรกรในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนการทำเกษตรให้สอดคล้องกับความเป็นอยู่มากขึ้น โดยการลดพื้นที่ปลูกพืชบางส่วนมาจัดสรรเป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้สามารถกระจายรายได้สู่ครอบครัวได้มากขึ้น ซึ่งเกษตรกรในจังหวัดชัยนาท นอกจากจะเจอปัญหาเรื่องราคาสินค้าเกษตรแล้ว การทำเกษตรยังไม่ค่อยประสบผลสำเร็จมากนัก เพราะบางช่วงฤดูกาลประสบกับปัญหาภัยแล้ง จึงทำให้ไม่สามารถปลูกพืชผลทางการเกษตรได้ จึงทำให้มีรายได้ไม่ต่อเนื่องต่อการใช้จ่าย ทำให้เกษตรกรบางรายมีหนี้สินเพิ่มขึ้นตามไปด้วย คุณยุพิน ลาวัน อยู่บ้านเลขที่ 128 หมู่ที่ 4 ตำบลไร่พัฒนา อำเภอมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท เป็นเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เช่นกัน จึงได้มีวิธีแก้ปัญหาโดยปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชมาทำปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงแพะ จึงทำให้เวลานี้การเลี้ยงแพะสามารถทำรายได้ให้กับเธอได้เป็นอย่างดี แบ่งพื้นที่จากทำไร่ ทำนา มาเลี้ยงแพะสร้างรายได้ คุณยุพิน เล่าให้ฟังว่า เดิมมีอาชีพทำการเกษตรอยู่แล้วคือทำนา ต่อมาระยะหลังๆ การทำนาเริ่มไม่สามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง ทำได้แต่นาปีเพียงเท่านั้น เพราะถ้าจะทำนาปรังในพื้นที่นามีปร
จากสภาวะเศรษฐกิจที่ค่อนข้างฟืดเคืองในปัจจุบัน ทำให้หลายๆ คนต้องคิดถึงการเสริมรายได้มากขึ้น เพราะด้วยรายรับเท่าเดิมแต่รายจ่ายกลับเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้เกิดแนวความคิดที่มองหาอาชีพเสริมเพื่อให้มีรายได้อีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาชีพเสริมที่เลือกลงมือทำจะเป็นงานที่บางคนมีความใฝ่ฝันอยู่แล้ว แต่ด้วยต้องทำงานประจำที่ไม่ตรงกับที่ใฝ่ฝัน จึงถือโอกาสนี้ทำงานรองตามที่ตนเองใฝ่ฝันไว้ จึงเกิดทั้งรายได้และความสุขไปพร้อมๆ กัน คุณอรรถพล สุขใส อยู่บ้านเลขที่ 44/1 หมู่ที่ 2 ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่ใช้เวลาว่างจากการค้าขาย มาทำอาชีพเสริมเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะ ซึ่งการเลี้ยงก็ใช้พื้นที่ไม่มาก เน้นให้แพะอยู่บริเวณที่จัดไว้ พร้อมทั้งหาอาหารแบบลดต้นทุนมาให้แพะกิน จึงทำให้การเลี้ยงแพะทำรายได้ให้กับเขาได้เป็นอย่างดี การเลี้ยงแพะเกิดจากความชอบ คุณอรรถพล เล่าให้ฟังว่า อาชีพหลักที่ทำอยู่ปัจจุบันเปิดร้านค้าขายของ แต่ในเรื่องของการทำปศุสัตว์นั้นเกิดจากความชื่นชอบที่อยู่ในใจมานานแล้ว เมื่อมีโอกาสจึงได้นำแพะมาทดลองเลี้ยงในพื้นที่ว่างที่มีอยู่ ซึ่งในช่วงแรกปล่อยแบบให้เดินหาอาหาร
ปัจจุบัน กระแสการเลี้ยงแพะกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากตลาดยังมีความต้องการเนื้อแพะสูง จึงมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการเลี้ยงแพะอย่างต่อเนื่อง อาจเรียกได้ว่าการตลาดของสัตว์ชนิดนี้ยังมีอนาคตที่สดใส ขอเพียงมีการจัดการให้เป็นไปตามระบบและได้มาตรฐาน คุณปัญญา บางแสง หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกร จังหวัดชัยนาท ได้ให้ข้อมูลว่า ทางจังหวัดชัยนาทเองก็เริ่มมีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงแพะมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรมีทางเลือกในการสร้างรายได้ให้กับครอบครัว เพราะจังหวัดชัยนาทมีสภาพอากาศที่ค่อนข้างเอื้ออำนวยต่อการเลี้ยงแพะ จึงทำให้เกษตรกรที่นี่หลายครัวเรือนจัดสรรพื้นที่เกษตรบางส่วนมาทำการเลี้ยงแพะ “สาเหตุที่การเลี้ยงแพะประสบผลสำเร็จได้ดีในภาคกลาง เพราะสภาพอากาศดี อากาศไม่แปรปรวน ภาคกลางเราฝนตกอย่างต่ำก็แค่ 4 เดือน ความชื้นจึงไม่มากที่จะเป็นอุปสรรคในการเลี้ยง แพะจึงเจริญเติบโตได้ดี ไม่ป่วยง่าย ไม่ปอดบวมตาย เมื่อมองแล้วเราสามารถทำได้ และที่สำคัญตอนนี้ตลาดต้องการเยอะมากขึ้น สามารถส่งออกขายต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ซึ่งตอนนี้ก็อยากจะบอกว่า ใครที่มีเนื้อที่อยู่ก็สามารถแบ่งมาเลี้ยงแพะได้ เลี้ยงแบบล้อมคอกสำ
ข้อมูลจากกรมชลประทานระบุว่า “เกษตรกรส่วนใหญ่พึ่งน้ำฝนธรรมชาติ ระบบเกษตรชลประทานมีไม่ถึง 23%” และยิ่งจากภาวะความแปรปรวนของสภาพอากาศในระยะที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ระบบชลประทานทั้งขนาดใหญ่และเล็ก อาจจะไม่สามารถใช้งานได้เต็มตามขีดความสามารถของระบบชลประทานนั้นๆ เนื่องจากมีปริมาณน้ำในระบบชลประทานน้อยกว่าศักยภาพกักเก็บ ทำให้ต้องจัดสรรน้ำระหว่างภาคส่วนอย่างระมัดระวังมากขึ้น และ อาจจะต้องการการจำกัดพื้นที่เพาะปลูก เนื่องจากไม่มีน้ำเพียงพอ นายบุญถึง สีสมพู อายุ 65 ปี เกษตรกรในตำบลท่าหลวง อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชีมา ได้หันมาให้ความสนในการเลี้ยงแพะสู้ภัยแล้ง เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดนครราชสีมาเป็นพื้นที่เกษตรกรรม ในรอบหลายปีที่ผ่านมาเกษตรกรต้องประสบกับปัญหาภาวะภัยแล้ง ดำเนินการปลูกพืชได้น้อยมาก หรือบางรายสามารถปลูกพืชได้แต่ก็ประสบปัญหาขาดทุน จึงต้องเลี้ยงปศุสัตว์ใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกพืช นายบุญถึง เล่าให้ฟังว่า ตนเองนั้นเริ่มต้นเลี้ยงแพะจำนวน 45 ตัว เพราะแพะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็ก มี 4 กระเพาะ สามารถกินใบไม้และพืชต่างๆ ได้มากกว่า 150 ชนิด สามารถให้ผลผลิตดีมาก แพะเพศผู้ ส