แรงงาน
วันที่ 28 กรกฎาคม 2561 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายบุญชู แพใหญ่ นายกสมาคมประมงจังหวัดพังงา พร้อมด้วย สมาชิกสมาคมเรือประมง เจ้าของเรือประมง แพปลา แม่ค้ารับซื้อปลาและผู้ประกอบธุรกิจประมง และประมงพื้นบ้าน ในพื้นที่จังหวัดพังงา เข้าร่วมประชุม เพื่อหามติสรุปผลการยื่นหนังสือให้แก่ พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ก่อนที่ทางรัฐบาลผ่านการเห็นชอบข้อกฎหมาย และระเบียบ ในวันที่ 1 สิงหาคม 561 ชาวประมงจังหวัดพังงาเตรียมรวมตัวเพื่อไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าพังงา ให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวประมง และขอคำตอบภายใน 7 วัน หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา ชาวประมงทั่วประเทศจะพร้อมใจกันจอดเรือหยุดทำการประมงประท้วงรัฐบาล และจะดำเนินการยื่นถวายฎีกาต่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สำหรับข้อเรียกร้องของชาวประมง คือ ขอให้ใช้ ม.83 พรก.ประมง เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ช่วยให้ภาคการประมงประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยขอให้เปิดให้คนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรไทยอย่างผิดกฎหมายและเปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ทำบัตรซีบุ๊คได้ เพื่อทำงานในเรือประมง
คกก.แรงงาน-ประมง-หอการค้าติงร่างแก้กฎหมายแรงงาน 3 ฉบับ ทั้ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์-พ.ร.บ.แรงงานประมง-พ.ร.ก.การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว หวังสนองอนุสัญญา ILO แต่สถานประกอบการไทยปั่นป่วน-เรือประมงเก่าปรับตัวไม่ทัน นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน และคณะกรรมการธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ประชุมคณะกรรมการด้านแรงงานฯ เพื่อพิจารณาทบทวนเรื่องการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงานและการประมง รวม 3 ฉบับ คือ การยกร่างแก้ไข พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. …. พ.ร.บ.แรงงานประมง พ.ศ. …. และความคืบหน้าการเสนอปรับปรุงแก้ไข พ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ซึ่งภาคเอกชนได้ให้ความเห็นในการปรับร่างกฎหมายทั้ง 3 ฉบับ ต่อกระทรวงแรงงาน ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลไปแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะพิจารณาดำเนินการอย่างไร “ยังยืนยันท่าทีเดียวกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. ซึ่งมีความกังวลใจในการยกร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดตั
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม นายวรานนท์ ปีติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานกล่าวว่า กฎหมายตรวจคนเข้าเมืองของไต้หวันกำหนดจำกัดสิทธิห้ามเข้าไต้หวันต่อแรงงานต่างชาติที่กระทำผิดกฎหมายในกรณีต่างๆ เช่น กรณีหลบหนีนายจ้างหรือลักลอบทำงานผิดกฎหมายจะถูกจำกัดสิทธิห้ามเข้าไต้หวัน 3 ปี แต่หากกลับเข้าทำงานกับนายจ้างเดิมภายใน 1 เดือน และได้รับการยินยอมจากนายจ้างให้ทำงานต่อไป แรงงานต่างชาติมีสิทธิยื่นถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้หลบหนีกับกระทรวงแรงงานและสำนักตรวจคนเข้าเมืองไต้หวันได้โดยไม่ถูก Blacklist 3 ปี กรณีพำนักในไต้หวันไม่เกิน 1 ปี ห้ามเข้าไต้หวัน 1 ปี พำนักเกิน 1 ปี ห้ามเข้าตามระยะเวลาที่พักเกินสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ส่วนกรณีเป็นบุคคลที่เคยถูกดำเนินคดีต้องโทษ อาทิ ถูกศาลตัดสินจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปห้ามเข้าไต้หวัน 8 ปี จำคุกน้อยกว่า 1 ปี ห้ามเข้า 5 ปี ถูกศาลตัดสินจำคุกในสถานกักกันหรือถูกโทษปรับแต่รอลงอาญา ห้ามเข้า 2 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกรณีที่เสพยาเสพติดแล้วมีคำสั่งศาลให้รับการบำบัดจะถูกห้ามเข้า 5 ปี และเมื่ออัยการยืนยันแล้วว่าผู้เสพเป็นผู้ที่ไม่มีแนวโน้มจะเสพติดอีกและได้รับการยกฟ้องจะถูกห้ามเข
“กกร.” ทำหนังสือถึงกระทรวงแรงงาน เร่งแก้ปมกฎหมายตั้ง “สหภาพแรงงานต่างด้าว” ใหม่ ยันปัญหาหนักอก นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ และประธานคณะกรรมการแรงงาน และพัฒนาฝีมือแรงงาน สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ทางคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้ทำหนังสือแสดงความคิดเห็นไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระทรวงแรงงาน เรื่องการยกร่างแก้ไขพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 โดยเฉพาะมาตรา 45 ที่กำหนดไว้ว่า ในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ห้าสิบคนขึ้นไป ลูกจ้างอาจจัดตั้ง คณะกรรมการลูกจ้างในสถานประกอบกิจการนั้น หรือสหภาพแรงงานต่างด้าวได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามกฎหมายดังกล่าว ทำให้ยังไม่สามารถให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ ได้ โดยต้องรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาชี้แจงถึงรายละเอียดต่อไป นายพจน์กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่ได้กำหนดให้มีผู้ประกอบการ นายจ้าง หรือผู้ที่ใช้แรงงานต่างด้าวตั้งแต่
รายงานข่าวจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย ระบุว่า การส่งออกข้าวเดือนมิถุนายน 2560 มีปริมาณ 1,037,779 ตัน เพิ่มขึ้น 37.5% และมีมูลค่า 14,983 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 26.5% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2560 เนื่องจากการส่งมอบข้าวทุกชนิดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะตลาดแอฟริกา อย่างประเทศ เบนิน แอฟริกาใต้ ตะวันออกลาง ในประเทศอิหร่าน และเอเชีย ในประเทศจีน และมาเลเซีย ส่งผลให้ส่งออกข้าวขาวมีปริมาณ 553,250 ตัน เพิ่มขึ้น 47.7% ข้าวนึ่งมีปริมาณ 260,763 ตัน เพิ่มขึ้น 66.9% ข้าวหอมมะลิมีปริมาณ 189,680 ตัน เพิ่มขึ้น 2.5% ทำให้การส่งออกข้าวไทย ช่วง 6 เดือนแรกปี 2560 มีปริมาณรวม 5,422,861 ตัน เพิ่มขึ้น 8.2% มีมูลค่า 80,048 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.5% คิดเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐฯประมาณ 2,307 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 ที่มีการส่งออกปริมาณ 5,009,872 ตัน มูลค่า 78,106 ล้านบาท หรือ 2,207 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รายงานข่าวระบุอีกว่า สมาคมฯคาดว่าการส่งออกข้าวเดือนกรกฎาคม 2560 ได้ประมาณ 8-9 แสนตัน เนื่องจากมีสัญญาส่งมอบข้าวทั้งข้าวขาวและข้าวนึ่งถึงปลายเดือน โดยตลาดสำคัญคือประเทศในแถบแอฟริกา เอเชีย และอิหร่าน ประกอบกับภาวะก
ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU – OAE Foresight Center : KOFC) โดย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) พร้อมด้วย ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) เปิดเผยถึงสถานการณ์แรงงานภาคเกษตรไทย ซึ่งปัจจุบันประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร จากข้อมูลพบว่า ปี 2554 – 2560 ของช่วงไตรมาส 1 (Q1) แรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง โดยในปี 2554 มีจำนวนแรงงานภาคเกษตร 14.88 ล้านคน และลดลงมาเป็น 11 ล้านคนในปี 2560 (Q1) แต่นอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น จาก 23.58 ล้านคน ในปี 2554 เป็น 26.4 ล้านคนในปี 2560 (Q1) อีกทั้งแรงงานภาคเกษตรที่มีอยู่เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (aging society) เพิ่มขึ้น ประกอบกับแรงงานภาคการเกษตรวัยหนุ่มสาวที่ได้รับการศึกษาเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากราคาปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช ค่าจ้างแรงงาน จึงเป็นเหตุให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าวเพื่อลดต้นทุนการผลิตและทดแทนแรงงานของไทย อย่างไรก็ตาม การจัดการแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามฤดูกาลและมาเช้าเย
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า เห็นชอบยุทธศาสตร์พัฒนากำลังคนสนับสนุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ศ.2560-2564) วงเงิน 619ล้านบาท ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 6 กลยุทธ์ ได้แก่ 1.สร้างเสริมคุณลักษณะผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ นิสัยอุตสาหกรรม ภาษา ICT เทคโนโลยีและนวัตกรรม2.ปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับ Super Cluster/Cluster,New Engine of Growth เพิ่มหลักสูตรทักษะเฉพาะทาง จัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ/ศูนย์พัฒนาทักษะเฉพาะทางร่วมกับสถานประกอบการ 3.ต่อยอดทักษะกำลังคนในสถานประกอบการให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4.0 4.สร้างแรงบันดาลใจด้านการเรียนอาชีวศึกษา สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเข้าสู่ระบบอาชีวศึกษา 5.สร้างนิสัยการใช้ทรัพยากร การอนุรักษ์ธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 6.จัดตั้งศูนย์ประสานงานการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ปรับระบบการจ่ายค่าตอบแทนเพื่อสร้างแรงจูงใจผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้สำเร็จการศึกษาเพิ่มขึ้นจำนวน 194,675 คน ภายใน 5 ปี ท
สภาเกษตรกรแห่งชาติผวา ขอหารือกรมเจ้าท่า หวั่นหลักเกณฑ์รายละเอียดการแก้ปัญหาการรุกล้ำลำน้ำกระทบเกษตรกร ด้านสมาคมการประมงฯจับมือสภาเกษตรกรฯ และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดโครงการฝึกแรงงานไทยทดแทนต่างด้าว 50% ใน 5 ปี นายสิทธิพร จริยพงศ์ รองประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผยว่า แม้กรมเจ้าท่าจะไม่ลงโทษและปรับย้อนหลังแก่ผู้รุกล้ำลำน้ำตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2560 การไม่เก็บค่าธรรมเนียมผู้เลี้ยงปลาในกระชังและการลดค่าเช่ารายปีแก่ผู้รุกล้ำลำน้ำลง แต่รัฐต้องประกาศรายละเอียดให้ชัดเจน เพราะผู้เลี้ยงปลาในกระชังทั่วประเทศมีไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นครัวเรือน ที่เป็นห่วงคือ กลัวภาครัฐกำหนดหลักเกณฑ์ให้เลี้ยงไม่เกิน 4 กระชัง กระชังละกี่ตารางเมตร รวมทั้งชนิดของปลาด้วย ด้าน นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่กังวลในรายละเอียดที่ไม่ชัดเจนที่จะออกมาในเร็วๆ นี้จากกรมเจ้าท่า คือ แม้ไม่เก็บค่าธรรมเนียมผู้เลี้ยงปลาในกระชังรายปี แต่กังวลว่าการขออนุญาตอาจไปขัดกับผังเมืองจังหวัดกับกฎระเบียบการควบคุมอาคาร แม้อธิบดีกรมเจ้าท่าแจ้งว่า ไม่ต้องให้วิศวกรเขียนแบบ
บิ๊กตู่ใช้ ม.44 แก้ปมแรงงานต่างด้าว ชะลอบังคับใช้ 3 มาตราบทลงโทษหนักอีก 120 วัน ขีดเส้นลูกจ้าง-นายจ้างทำให้ถูกต้องก่อนลุยลงดาบเข้ม แจงยิบไม่เร่งแก้สินค้าส่งออก 2 แสนล้าน เจอกีดกันการค้า กกร.ถกตัวเลขต่างด้าว 6 ล้านคน ผิดกฎหมาย 50% หวั่นคุมเข้มกระทบแรงงานขาดทั้งระบบ สมาคมประมงต้องการ 7.4 หมื่นคน วอนรัฐกู้วิกฤต กรมการจัดหางานออก 6 มาตรการช่วย ส่งทีมบินด่วนเจรจาเมียนมา ก่อนถกกัมพูชา-ลาว แม้ข้อเรียกร้องให้รัฐบาลผ่อนปรนการบังคับใช้ พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่มีผลตั้งแต่ 23 มิ.ย. 2560 ของสมาคม องค์กรภาคเอกชนหลายหน่วยงานจะถูกหยิบยกขึ้นพิจารณาในที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการเมื่อ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา และ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้กระทรวงแรงงานลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น แต่ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ยังเคลื่อนไหวเรียกร้อง เพราะวิตกกังวลอัตราโทษตาม พ.ร.ก.ดังกล่าว เนื่องจากกฎหมายกำหนดบทลงโทษทั้งปรับ จำคุกไว้ค่อนข้างหนักและรุนแรง ล่าสุด นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า หัวหน้า คสช.จะใช้อำนาจตามมาตรา 44
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จัดทีมลงพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ชุมพร กระบี่ สุราษฎร์ธานี เจาะสัดส่วนค่าใช้จ่ายของเกษตรกรสวนปาล์ม ระบุ ค่าใช้จ่ายการจ้างแรงงานมากสุด ร้อยละ 59 รองลงมา คือ ค่าใช้จ่าย ปุ๋ย ยา โดยค่าจ้างแรงงานร้อยละ 83 ใช้แรงงานไทยเป็นหลัก ย้ำ ความซื่อสัตย์สุจริตคือสิ่งสำคัญ ในขณะที่ทักษะฝีมือยังฝึกได้ นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์การใช้แรงงานและความต้องการแรงงานของเกษตรกรชาวสวนปาล์ม โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 จังหวัดสุราษฎร์ธานี (สศท.8) ลงพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร กระบี่ และสุราษฎร์ธานี แหล่งผลิตปาล์มน้ำมันที่สำคัญของประเทศ พบว่า สัดส่วนค่าใช้จ่ายเงินสดของเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ใช้จ่ายมากที่สุด คือ ค่าจ้างแรงงาน คิดเป็นร้อยละ 59 รองลงมา คือ ค่าใช้จ่าย ปุ๋ย ยา ร้อยละ 31 และอีกร้อยละ 10 เป็นค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าวัสดุ เคียวเกี่ยวทางปาล์ม เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในการจ้างแรงงาน ส่วนใหญ่เป็นค่าจ้างในกิจกรรมเก็บเกี่ยวมากที่สุด มีการเก็บเกี่ยวผลปาล์มสุก ในทุก 15 – 20 วัน หรือเฉลี่ยปีละ 18 –