โครงการวิจัยท้าทายไทย
เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในพื้นที่ต้นแบบ ภายใต้โครงการส่งเสริมป้องกันกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เทศบาลนครอุดรธานี และองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดอุดรธานีมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปลอดการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับและลดอัตราการเป็นโรคมะเร็งท่อน้ำดีให้หมดไป โดยมี นายกองเอกปราโมทย์ ธัญญพืช รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดงานฯ ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 17 ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี การลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ในครั้งนี้ ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นายเอนก บำรุงกิจ รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมลงนามฯ กับ ศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี นพ. ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภ
“เอนก” ลงพื้นที่ภูเก็ต ชู “โครงการทะเลไทยไร้ขยะ” นำงานวิจัยสู่การปฏิบัติ ดึงเอกชน-คนพื้นที่มีส่วนร่วม ปลื้ม U2T สร้างงานสร้างรายได้ ทำให้ชาวบ้านพอใจ สั่ง อว. เร่งนำงานวิจัยยกระดับผลิตภัณฑ์เพิ่มช่องทางทำเงิน เมื่อวันที่15 พ.ย. 64 ณ อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ศ.นพ.ดร.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัด อว. และคณะ เดินทางมาตรวจเยี่ยม “โครงการทะเลไทยไร้ขยะ” ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ หรือ U2T ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ที่ดำเนินกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชมสถานประกอบการที่ประสบผลสำเร็จในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนการผลิต และเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ : แปรรูปเม็ดมะม่วงหิมพานต์ ผลิตภัณฑ์สารสกัดโปรตีน และผลิตภัณฑ์สารสกัดคอลลาเจนจากอุตสาหกรรมการเลี้ยงหอยมุก และผลิตภัณฑ์กะเพราแปรรูป ภายใต้แผนงาน “ครัวไทยสู่ตลาดโลก” โดยก
“ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง” ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติคนใหม่ ชู 10 เรื่องเด่นการวิจัยไทย ปี 2564 จากการขับเคลื่อนและบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การวิจัยทางด้านการแพทย์รับมือและป้องกันโควิด-19 การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมรับมือปัญหาฝุ่น PM2.5 โครงการวิจัยที่มุ่งตอบโจทย์ท้าทายของสังคม การพัฒนาระบบกลางข้อมูลสารสนเทศด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ตลอดจนการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่สาธารณะ และการมอบรางวัลการวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนและบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม การพัฒนาเชิงพื้นที่ การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และสำหรับปี พ.ศ.2564 มี 10 เรื่องเด่นการวิจัยไทย ดังนี้ 1) ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพท
ศาสตราจารย์นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ แถลงผลการดำเนินงานจากโครงการวิจัยท้าทายไทย ที่สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาสารเคมีทางการเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ณ จังหวัดหนองบัวลำภู ร่วมกับนายวรรณพล ต่อพงษ์ ปลัดจังหวัดหนองบัวลำภู และ ศ.ดร. พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย (Director) พร้อมมอบเตาเผาถ่านไบโอชาร์สำหรับการขยายผลในพื้นที่ 6 อำเภอของจังหนองบัวลำภูเพื่อใช้ในการลดสารเคมีในน้ำอุปโภคบริโภค ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อร่วมการขับเคลื่อน “หนองบัวลำภู Model” เป็นการร่วมแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น โดยมีเป้าหมายหลักในการลดการใช้สารเคมีภาคการเกษตร และการลดผลกระทบของสารเคมีที่มีผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์จังหวัดหนองบัวลำภู ที่มุ่งเน้น “การลดการใช้ส
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ร่วมกับกรมควบคุมโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย แถลงข่าวการทำงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนโครงการวิจัยท้าทายไทย “กำจัดไวรัสตับอักเสบจากประเทศไทย” ประเทศไทยมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี เรื้อรัง ประมาณ 2.2 ล้านคน และผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี ประมาณ 7.5 แสนคน ซึ่งนับว่ามีจำนวนมากกว่าการติดเชื้อ HIV และเป็นที่รู้กันดีว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้องรัง ส่งผลให้เกิดโรคตับแข็งและโรงมะเร็งตับตามมา วช. จึงได้ร่วมกับกรมควบคุมโรค สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ให้การสนับสนุนโครงการวิจัยท้าทายไทยเพื่อ “กำจัดไวรัสตับอักเสบจากประเทศไทย” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดไวรัสตับอักเสบให้หมดไปจากประเทศไทยในปี 2573 โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินการในส่วนของการวิจัยเพื่อให้เกิดผล (lmplementation Research) เพื่อกำจัดไวรัสตับอักเสบให้หมดไปจากประเทศไทย โดยใช้จังหวัดเพ
ปลาสลิดแดดเดียว จัดเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่อาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่น รสชาติอร่อย ทำให้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักดีในชื่อ “ปลาสลิดบางบ่อ” จังหวัดสมุทรปราการ ปลาสลิดแดดเดียวบางบ่อมีคุณภาพและรสชาติอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ แตกต่างจากที่อื่น “ปลาสลิดแห้งรสดี” จึงกลายเป็นหนึ่งในคำขวัญของจังหวัดสมุทรปราการ เนื่องจากจังหวัดสมุทรปราการ เป็นเขตเมืองอุตสาหกรรม การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมาได้รุกขยายเข้าสู่พื้นที่ภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง ทำให้พื้นที่การเลี้ยงปลาสลิดลดลง ปริมาณการเลี้ยงปลาสลิดน้อยลง ขนาดปลาสลิดก็เล็กลงเช่นกัน ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาสลิดประสบภาวะขาดทุน จนเลิกอาชีพเลี้ยงปลาสลิดเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณปลาสลิดที่ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับการแปรรูป จึงต้องนำปลาสลิดจากพื้นที่อื่นมาแปรรูปที่อำเภอบางบ่อแทน ส่งผลทำให้เอกลักษณ์ที่แท้จริงของปลาสลิดบางบ่อนั้นสูญหายไป ม.หัวเฉียว พัฒนางานวิจัยเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก่อตั้งโดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง และเป็นสถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการ ทางมหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นถึงปัญหาปลาสลิดที่เกิดขึ้นในชุมชนท
คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดี จำนวนกว่า 20,000 ราย ต่อปี มากที่สุดในโลก โดยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุระหว่าง 40-60 ปี เป็นโรคที่รุนแรงและก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตเป็นอย่างมาก การติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งชนิดนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว. )ซึ่งเป็นหน่วยบริหารทุนวิจัยหลักของประเทศ ได้เห็นความสำคัญของปัญหานี้ โดยขับเคลื่อนโครงการวิจัยขนาดใหญ่ที่มีเป้าหมายชัดเจน เรียกว่า “โครงการวิจัยท้าทายไทย” สนับสนุนทุนโครงการ “ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ” ให้กับเครือข่ายการวิจัย โดยมีมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นแกนนำ ตั้งเป้าท้าทายให้โรคพยาธิใบไม้ตับหมดไปจากประเทศไทยภายใน 5 ปี ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ทำหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า “สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เป็นหน่วยบริหารทุนวิจัยหลักของประเทศ และเป็นหน่วยงานกลางที่ประสานเชื่อมโยงทุกภาคส่วนมาทำงานร่วมกันบนฐานงานวิจัยให้เกิดผลเป็นรูปธรรม มีโครงการวิจัยท้าทายไท
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โชว์ผลงานเด่น ประจำปี 2562 และผลงานวิจัยที่พัฒนาต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม พร้อมเผยทิศทางการวิจัยและพัฒนาในปี 2563 เน้นตอบโจทย์ BCG มุ่งสู่ประเทศไทย 4.0 ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ภายใต้สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานขับเคลื่อน และบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของ อว. ในด้านการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม การพัฒนาเชิงพื้นที่ การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม และเกิดผลสัมฤทธิ์มีผลการดำเนินงานที่เกิด impact สูงต่อเศรษฐกิจและสังคม ขณะเดียวกันมีการริเริ่มงานใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ปัญหาสำคัญของประเทศ โดย วช. มีความพร้อมและยกระดับการทำงานตามภารกิจใหม่ด้วยหลัก วช. 5G เป็นส่วนราชการที่มีประสิทธิภาพสูง รวดเร็ว คล่องตัว พร้อมขับเคลื่อนการวิจัยและนวัตกรรมสร
ในช่วงเทศกาลเฉลิมฉลองปีใหม่ที่จะถึงนี้ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ขอแนะนำให้ประชาชนลดและเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะปลาร้า ปลาส้มดิบ และควรรับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาดถูกหลักอนามัย เพื่อช่วยลดปัญหาในการเกิดโรคต่างๆ ที่มาพร้อมกับอาหารและเทศกาลฤดูหนาว โดยเฉพาะเพื่อเลี่ยงต่อการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับ ซึ่งเป็นที่มาของโรคมะเร็งท่อน้ำดีที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม คุณภาพชีวิตของคนในสังคมเป็นอย่างยิ่ง มะเร็งท่อน้ำดี เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุน้ำดีทั้งในและนอกตับ พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งท่อน้ำดีและตับ จำนวน 10,000 – 20,000 คน ต่อปี ซึ่งครึ่งหนึ่งเป็นประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ องค์การอนามัยโลกได้จัดให้โรคพยาธิใบไม้ตับเป็นสาเหตุสำคัญของมะเร็งชนิดนี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า วช.ได้สนับสนุนโครงการวิจัยท้าทายไทย ประเทศไทยไร้พยาธิใบไม้ตับ (Grand Challenges Thailand : Fluke Free Thailand) แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับโครงการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (C
วช. ร่วม Kick-off ศรีสมเด็จโมเดล ขับเคลื่อนวาระกำจัดพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเชิงบูรณาการ สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยโครงการวิจัยท้าทายไทย : Fluke Free Thailand ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงาน “มหกรรมรณรงค์เพื่อป้องกันและกำจัดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” วันที่ 24 กรกฎาคม 2562 ที่ รร.โรงเรียนศรีสมเด็จพิมพ์พัฒนาวิทยา อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด กิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากนายดำรงค์ สิริวิชย อิ่มวิเศษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธานในพิธีเปิด โดยมีนายพจน์ เอกอนันต์ถาวร ประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอศรีสมเด็จ กล่าวต้อนรับ และนายสุทธินันท์ บุญมี ประธานคณะกรรมการเขตสุขภาพเพี่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 (กขป.7) ได้กล่าวถึงความเป็นมาของกิจกรรมและการสนับสนุนของ กขป.7 ในการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในพื้นที่กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และลำดับถัดมาได้มีพิธีมอบสื่อให้ความรู้พยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเพื่อเผยแพร่ไปยังอำเภอต่างๆ โดย คุณภิรมย์ ตริสกุล ผู้จัดการสาขาร้อยเอ็ด และคุณส