โควิด
กว่า 10 ปีแล้ว ที่ คุณธงชัย ความเพียร และ คุณอรัญญา ความเพียร สองสามีภรรยา ปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน และทำรายได้เสริมจากต้นไม้ที่เขารัก คุณธงชัย เรียนจบมาทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนคุณอรัญญา เรียนจบมาทางด้านนิเทศศาสตร์ ทั้งคู่รักธรรมชาติ ชอบการปลูกต้นไม้ เมื่อพื้นที่บ้านพอมีที่ว่าง ราว 20 ตารางวา ก็ไม่ปล่อยให้พื้นที่ว่างเปล่า โดยคุณธงชัย ได้ไอเดียจากการเดินห้างสรรพสินค้า แล้วพบ “มะเดื่อฝรั่ง” ผลแห้ง จึงลองซื้อมารับประทาน เห็นว่ารสชาติดี แต่ราคาค่อนข้างแพง จึงคิดที่จะซื้อพันธุ์มาปลูกเอง เพื่อรับประทานในครอบครัว และเริ่มปลูกมะเดื่อฝรั่งเพียง 5 ต้นก่อน “5 ต้นนั่นก็ยังไม่ได้ทำเงินอะไรนะครับ ก็คือคิดจะปลูกเอาผลไว้กิน ไม่อยากเสียเงินซื้อในราคาที่สูง แต่โชคดีในช่วงนั้นกระแสมะเดื่อฝรั่งมาแรง คนเริ่มพูดถึง เริ่มรู้จัก จึงคิดจะลองตอนกิ่งขาย ก็ลองทำดู ยุคนั้นมีแค่เว็บไซต์ที่เปิดพื้นที่ให้ขายของฟรี ลองลงไป ก็ขายได้” จริงๆ คุณธงชัย มีงานประจำอยู่แล้ว เป็นงานจำหน่ายอุปกรณ์สแตนเลสที่ใช้ในอุตสาหกรรมโรงงานและภายในบ้าน นอกจากนี้ ยังจำหน่ายแผ่นปูพื้นอเนกประสงค์กันลื่น กันไฟดูด สำหรับฟาร์มสัตว์ และโรงงาน
ประเทศไทยปรับตัวเข้าสู่การยุติการระบาดใหญ่เป็นโรคประจำถิ่น กลายเป็น “จุดเปลี่ยน” สำคัญในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะห่วงโซ่การผลิตภาคการเกษตร ขณะเดียวกัน ก็ต้องพบกับความท้าทายในรูปแบบใหม่ อย่างสงครามรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงการพัฒนาการขนส่งระบบใหม่ คือรถไฟลาว-จีน ที่จะเป็นเกตเวย์การส่งออกสำคัญของไทย และเชื่อมโยงเศรษฐกิจของประเทศ ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบอย่างไรกับภาคการเกษตรบ้าง? และต้องเตรียมพร้อมการรับมืออย่างไร? หาคำตอบได้ในเวทีเสวนา Next Step เกษตรไทย : ก้าวต่อไปธุรกิจเกษตรรับมืออย่างไร? หลังโควิดสู่โรคประจำถิ่น โดย “เทคโนโลยีชาวบ้านออนไลน์” ร่วมเสวนาในประเด็น Next Normal : ธุรกิจเกษตรต้องปรับตัวอย่างไร? หลังโควิดสู่โรคประจำถิ่น โดย นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ Next Scenario : อีสานเกตเวย์ “รถไฟจีน-ลาว” โอกาสและความท้าทายที่เกษตรกรเผชิญหลังยุคโควิด-19 โดย รศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย Next Trends : เกษตรติดเทรนด์ ปิดจุดอ่อน เสริมจุดแข็ง พร้อมรับทุกการเปลี่ยนแปลง – คุณถวิลย์ อินต๊ะขัน ผู้จัดการทั่วไปฝ่
บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด นำโดย นางวราภรณ์ โอสถาพันธุ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส พร้อมทีมผู้บริหาร สนับสนุนการออกแบบระบบ Volunteer Management เพื่อการลงทะเบียนและจัดเก็บข้อมูลกลุ่มอาสาสมัครสำหรับจุดฉีดวัคซีน ศูนย์รับวัคซีนโควิด-19 ธรรมศาสตร์รังสิต โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ อาทิตย์ บุญยรางกูร ผู้อำนวยการศูนย์รับวัคซีน COVID-19 ธรรมศาสตร์รังสิต และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผู้จัดการศูนย์รับวัคซีนCOVID-19 ธรรมศาสตร์รังสิต ให้เกียรติเป็นผู้รับมอบ ณ ห้องรับรอง 409 อาคารยิมเนเซี่ยม 4 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รังสิต โดยการออกแบบระบบ Volunteer Management มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดลงทะเบียนและบริหารระบบการจัดเก็บข้อมูลจิตอาสาล่วงหน้า รวมไปถึงช่วยลดขั้นตอนในการทำงานเอกสารและลดจำนวนเจ้าหน้าที่ในการประสานงาน นอกจากนี้ระบบถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย สามารถนำไปใช้พัฒนาต่อยอดสำหรับกิจกรรมจิตอาสาได้ในอนาคต
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การเคหะแห่งชาติ สถานีตำรวจนครบาลห้วยขวาง สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ ผนึกกำลัง นำข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมรับประทาน เครื่องดื่มวิตามิน และหน้ากากอนามัยซีพี ภายใต้โครงการ “CPF ส่งอาหารจากใจ ร่วมต้านภัยโควิด-19” เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ชาวดินแดงและชาวห้วยขวางจากสถานการณ์โควิด และช่วยแบ่งเบาภาครัฐในการจัดเตรียมอาหารให้ผู้กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) เพื่อให้เข้าถึงอาหารคุณภาพปลอดภัยอย่างทั่วถึง โดยมี นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการ รัฐมนตรีว่าการเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายเทพฤทธิ์ ฤทธิณรงค์ ผู้ช่วยผู้ว่าการเคหะแห่งชาติ พ.ต.ต.นิทัศน์ ขอนทอง สารวัตรป้องกันปราบปราม สน.ห้วยขวาง นางสาวพิมพ์รภัส ศิริไพรวัน นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ และ นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร ซีพีเอฟ ร่วมมอบแก่ นายนวการ ขอนศรี ประธานคณะกรรมการสภาเคหะชุมชนห้วยขวาง และผู้นำชุมชน นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตลอดสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับ เครือซีพีและซีพีเอฟ จัดกิจกรรมลงพื้น
วิศวกรรม มทร.ศรีวิชัย พื้นที่ขนอม MOU ผนึกกำลังกับ ศูนย์บริการวิชาการที่ 9 (นครศรีธรรมราช) มุ่งพัฒนาการศึกษา แลกเปลี่ยนความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรและบัณฑิตนักปฏิบัติสู่สังคม ศาสตราจารย์ ดร.สุวัจน์ ธัญรส อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มอบหมาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญหทัย ใจเปี่ยม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรมและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช พื้นที่ขนอม, ดร.สุพร ฤทธิภักดี (หัวหน้าสาขาวิศวกรรม) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ ศูนย์บริการวิชาการที่ 9 (นครศรีธรรมราช) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน โดย นายอัคฆพันธุ์ ทองจันทร์ หัวหน้าศูนย์บริการวิชาการที่ 9 (นครศรีธรรมราช) และ นายสำราญ วันเพ็ญ (นักพัฒนาพลังงาน) โดยมี อาจารย์อภิรัญธ์ จันทร์ทอง (หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้า) อาจารย์ทักษกร พรบุญญานนท์ (หัวหน้าหลักสูตรวิศวกรรมโยธา) ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม ณ ศูนย์บริการวิชาการที่ 9 (นครศรีธรรมราช) ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยทั้งสองหน่วยงานมีภารกิจร่วมกันในการพัฒนาด้านการศึกษาขอ
เอสซีจี ผนึกกำลังโรงพยาบาลศิริราช ระดมทุกหน่วยงานเร่งสร้างนวัตกรรมห้องไอซียูโมดูลาร์ รับมือการขาดแคลนห้องไอซียูในโรงพยาบาล ช่วยขยายพื้นที่รองรับผู้ป่วยหนักที่มีจำนวนมาก ลดอัตราการสูญเสียชีวิต เพิ่มความมั่นใจลดความเสี่ยงให้บุคลากรทางการแพทย์ กรุงเทพฯ – 2 กันยายน 2564 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และรศ.นพ.วิศิษฎ์ วามวาณิชย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ร่วมรับมอบนวักรรมห้องไอซียูโมดูลาร์ จากนายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี พร้อมทีมผู้บริหารเอสซีจี ณ บริเวณสวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา ตึกปิยมหาราชการุณย์ โรงพยาบาลศิริราช นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “เอสซีจีเล็งเห็นถึงวิกฤตการขาดแคลนห้องไอซียูของโรงพยาบาลศิริราช ซึ่งปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้ามารับการบริการจำนวนมาก ขณะที่ห้องไอซียู มีจำนวนไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ป่วยขั้นวิกฤตที่เพิ่มขึ้น จึงได้เร่งสร้างนวัตกรรมห้องไอซียูโมดูลาร์ (MODULAR ICU)
เอสซีจี สนับสนุน รพ.จุฬาฯ สร้างห้องไอซียูโมดูลาร์ส่วนต่อขยายเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการช่วยรองรับผู้ป่วยขั้นวิกฤต กรุงเทพฯ –นายนิธิ ภัทรโชค กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง เอสซีจี (ที่ 3 จากซ้าย) ส่งมอบนวัตกรรมห้องไอซียูโมดูลาร์ จำนวน 10 เตียง ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมี ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย (ที่ 4 จากขวา) พร้อมด้วยคณะผู้บริหารบุคลากรทางการแพทย์ เป็นตัวแทนรับมอบ โดยเอสซีจีร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุน 5 ล้านบาท ในการสร้างห้องไอซียูโมดูลาร์ส่วนต่อขยายในโรงพยาบาลเพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้ป่วยขั้นวิกฤตได้จำนวนมากขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการผู้ป่วยทั้งหมดของโรงพยาบาล ให้สามารถจัดสรรตามอาการผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
กยท. ทำประกันอุบัติเหตุมอบชาวสวนยางทุกช่วงอายุที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. กว่า 1.4 ล้านราย โดยให้บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับทำประกัน พร้อมดูแลและให้ความคุ้มครองอย่างทั่วถึงแล้ว ตั้งแต่ 16 สิงหาคม 64 เป็นต้นไป นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เผยว่า การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้ดำเนินการจัดทำประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่มให้เกษตรกรชาวสวนยางทุกช่วงอายุที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. ภายในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 จำนวนทั้งสิ้น 1,407,921 ราย ซึ่งเริ่มคุ้มครอง ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป โดย กยท. ได้มอบประกันนี้ให้เพื่อเป็นสวัสดิการแก่เกษตรกรชาวสวนยาง กรณีสูญเสียชีวิตหรือบาดเจ็บทุพพลภาพถาวรอย่างสิ้นเชิง ซึ่งมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุ ถูกฆาตกรรมและถูกทำร้ายร่างกาย (โดยผู้เสียหายมิได้มีเจตนาให้เกิดขึ้นเพื่อหวังรับเงินเอาประกันภัย) สูงสุดรายละ 500,000 บาท รวมถึงอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่/โดยสารรถจักรยานยนต์ สูงสุดรายละ 250,000 บาท นอกจากนี้ กรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ รายละ 30,000 บาท และ กยท. จะมอบเงินเงินช่วยเหลือให้แก่ทายาท อีกรายละ 3,000 บาท เพ
เครือเบทาโกร ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ผลิตมังคุดในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ผ่านโครงการ “เบทาโกรอุดหนุนเกษตรกรซื้อมังคุดจากเมืองลุงสู่เมืองลพบุรี” โดยได้รวบรวมผลผลิตมังคุดจากกลุ่มเกษตรกรคลองทรายขาว อำเภอกงหรา จำนวน 56 ราย และกลุ่มเกษตรกรมังคุดตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จำนวน 37 ราย รวมจำนวนทั้งหมดกว่า 2,500 กิโลกรัม และนำส่งไปยังจังหวัดลพบุรี โดยมี นางปราณี รัตนประยูร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง (ที่ 5 จากซ้าย) นายสมคิด รัตนวงศ์ เกษตรจังหวัด (ที่ 4 จากซ้าย) และนายสมมารถ เกลี้ยงสง ผู้อำนวยการผลิตปศุสัตว์ บริษัท เบทาโกรเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (ที่ 4 จากขวา) พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัดพัทลุง ร่วมปล่อยรถบรรทุกมังคุดสู่เมืองลพบุรี ณ ศาลากลางจังหวัดพัทลุง เมื่อเร็วๆ นี้
สมาคมสื่อมวลเกษตรแห่งประเทศไทย ลุย 2 จุด ผนึกกำลังกับ‘มูลนิธิสืบนาคะเสถียร-กระทรวง พม.-เกษตรก้าวไกล-เกษตรทำกิน-มติชน ผนึกกำลังซีพี-ซีพีเอฟ’ ภายใต้โครงการ “ครัวปันอิ่ม” มอบข้าวกล่อง-หน้ากากอนามัย ช่วยเหลือ “ชาวเคหะชุมชนดินแดง 2” และวัดพุทธปัญญา สู้ภัยโควิด-19 นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมกับนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ และนายวิชาญ เขียวแก้ว ประธานชุมชนดินแดง ร่วมรับมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพร้อมทาน และหน้ากากอนามัย จากซีพี-ซีพีเอฟ พร้อมพันธมิตรมูลนิธิสืบนาคะเสถียร-สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย-เกษตรก้าวไกล-เกษตรทำกิน-มติชน ภายใต้โครงการ “ครัวปันอิ่ม” ที่จุดส่งมอบข้าวกล่อง “เคหะชุมชนดินแดง 2” และอีกจุดที่วัดพุทธปัญญา จังหวัดนนทบุรี สองใน 40 จุดภายใต้โครงการฯ เพื่อนำข้าวกล่องส่งต่อให้กับผู้อยู่อาศัยในเคหะชุมชนดินแดง 2 เป็นการแบ่งเบาภาระ บรรเทาความเดือดร้อน ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้ โครงการ “ครัวปันอิ่ม” เป็นการผนึกกำลังเครือเจริญโภคภัณฑ์ ร่วมกับพันธมิตรกว่า 100 องค์กร ส่งมอบข้าวกล่องอุ่นร้อนพ