โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
หลังจากกระทรวงสาธารณสุข ได้ปลดล็อกส่วนใบ ราก ลำต้น ของกัญชาออกจากรายการยาเสพติด เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2563 โดยมีเจตนารมย์ให้ประชาชนใช้เพื่อการดูแลสุขภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในชุมชนนั้นๆ ทำให้โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้เริ่มพัฒนารูปแบบธุรกิจอาหารที่มีส่วนผสมของใบกัญชา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอาหารไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคทั่วโลก ในคุณค่าด้านวัฒนธรรมและสุขภาพ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ศึกษาค้นคว้าความรู้ดั้งเดิม และการวิจัยสมัยใหม่ของการใช้กัญชา ทำให้พบว่า บรรพบุรุษไทยมีความเฉลียวฉลาดในการเลือกใช้พืชพรรณเพื่อดูแลสุขภาพ เพราะความรู้ของบรรพบุรุษช่างสอดคล้องกับการวิจัยสมัยใหม่ จึงนำมาสู่โครงการ “มาชิมกัญ” ทำให้เกิดกระแสบริโภคกัญชาฟีเวอร์ เป็นที่สนใจของคนไทยทั่วประเทศและต่างชาติจำนวนมาก โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ดำเนินการติดตามความปลอดภัยในการรับประทานอาหารที่ปรุงจากกัญชาด้วยเพื่อให้มีข้อมูลอย่างรอบด้าน สนับสนุนให้เกิดรูปแบบธุรกิจอย่างยั่งยืน ทำให้ตำรับเมนูกัญชามีความปลอดภัยดีและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกจากนี้ ยังได้ถ่ายทอดชุดความรู้และประสบการณ์ที่ได้ศึกษาค
อภัยภูเบศรสาร ปีที่ 17 ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2563 คอลัมน์พืชใกล้ตัว โดย ภก.ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ บอกไว้ว่า จากเหตุการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาดในประเทศไทย ทำให้หลายๆ ท่านต้องอยู่บ้านหยุดเชื้อ เพื่อชาติ ลดการแพร่กระจายของเชื้อ จึงเป็นโอกาสที่ท่านผู้อ่านจะได้ใช้เวลาทำงานอดิเรกที่ชอบ ทำอาหาร ทำขนมรับประทานเอง ในบางครั้งก็อร่อยจนหยุดรับประทานไม่ได้ ส่งผลทำให้เกิดอาการแน่นท้อง คล้ายอาหารไม่ย่อย มีรายงานว่า มีคนประสบปัญหาอาการนี้ถึงหลักล้านคนทั่วโลก สาเหตุอาจเกิดได้จากแผลในกระเพาะอาหาร กรดไหลย้อน ลำไส้อักเสบ ยาสามัญประจำบ้านที่คุ้นเคยกัน ส่วนใหญ่ได้แก่ยาน้ำขับลม แก้จุกเสียด แน่นท้อง ที่มีส่วนผสมของ อะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์ (aluminium hydroxide) และแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ (magnesium hydroxide) มีคุณสมบัติลดภาวะการเป็นกรดในกระเพาะอาหาร กลไกของยาน้ำชนิดนี้จะปรับค่า pH ให้เป็นกลาง ข้อดีคือ ออกฤทธิ์เร็ว แต่มีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้บ่อย เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ อาการท้องเสียจะเจอได้บ่อยกว่าท้องผูก เป็นต้น รวมทั้งมีข้อควรระวังเรื่องการใช้ยาลดกรดร่วมกับยาตัวอื่นหลายชนิด เพราะอาจส่งผลให้ยาตีกันหรือผู้ป่วยที่เป็น
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำหนดนโยบายเร่งด่วนต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร พัฒนานวัตกรรม ศึกษาวิจัย พัฒนาเทคโนโลยีการใช้พืชสมุนไพรไทยในทางการแพทย์ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ และผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจของประชาชน “กัญชาและกัญชง” จัดเป็นพืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีทั้งโทษและประโยชน์ ถูกนำมาใช้ทางการแพทย์ภายใต้การกำกับของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม พบว่าประชาชนยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในการนำกัญชาและกัญชงมาใช้ประโยชน์ จากนโยบายดังกล่าว นำไปสู่การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) เพื่อนำความรู้ “กัญชาและกัญชง” ไปใช้จัดการเรียนการสอน ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการ กับ กระทรวงสาธารณสุข โดยมี ดร. กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในพิธี เพื่อส่งเสริมสนับสนุนดำเนินการพัฒนาคุณภาพวิชาการ การวิจัย การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน “กัญชาและกัญชง” ให้กับนักศึกษาและประชาชน ทั้งนี้ สำนักงาน กศน. มอบหมายให้สำนักงาน กศน.กทม. ร่วมกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ จัดทำหลักสูตรรายวิ
สิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่มือใหม่ทุกท่านคงเป็นเรื่องการมีน้ำนมมาเลี้ยงดูลูกน้อยที่เพิ่งลืมตาดูโลก โดยธรรมชาติน้ำนมแม่จะมีสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะน้ำนมแม่ในช่วง 7 วันแรกนั้น เป็นน้ำนมใสที่ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้กับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับคุณแม่บางคนเมื่อแรกคลอดน้ำนมไม่ไหล หรือน้ำนมไหลน้อย ทำให้มีปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอ อาจต้องหันไปพึ่งพานมวัวหรือนมถั่วเหลือง ที่มีคุณค่าน้อยกว่าน้ำนมแม่ ทางแก้ปัญหาสำหรับการแพทย์แผนปัจจุบันก็มีนำยาชื่อว่า Domperidone ปกติ ขึ้นทะเบียนตำรับยาใช้สำหรับแก้อาเจียน ยานี้ออกฤทธิ์โดยอ้อมที่สมองและกระตุ้นฮอร์โมนในร่างกายให้มีการหลั่งน้ำนมมากขึ้น แต่สรรพคุณกระตุ้นการหลั่งน้ำนมนี้ยังไม่ได้รับการยอมรับให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาในประเทศไทย หรือแม้แต่ประเทศที่มีการแพทย์ก้าวหน้าอย่างอเมริกาก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากจะใช้ยานี้เพื่อกระตุ้นการหลั่งน้ำนมนั้น ยังไม่มีข้อมูลยืนยันความปลอดภัยสำหรับแม่และทารก แต่ในทางการแพทย์แผนไทย ภูมิปัญญาไทยเรามีวิธีการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมที่ได้ผลมากมาย และที่สำคัญปลอดภัยกว่ายาฝรั่งหลายเท่า คุณแม่ท่านใดมีปัญหาน้ำนมไม่ไหลไม่ต้องกังวล เริ่มต้นง่ายๆ
ปัจจุบันคนไทยมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไตมากขึ้น ติดอันดับ 3 ของอาเซียน รองจากมาเลเซียและสิงคโปร์ สาเหตุส่วนใหญ่ร้อยละ 70 เกิดจากเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งมีสถิติผู้ป่วยรวมเกือบ 15 ล้านคน ผลที่ตามมาคือมีภาวะไตเสื่อมและไตเสื่อมเร็วขึ้น หากปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง จากข้อมูลพบว่าคนไทยป่วยเป็นโรคไตเรื้อรังร้อยละ 17.6 ของประชากร หรือประมาณ 8 ล้านคน เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย 2 แสนคน ป่วยเพิ่มปีละกว่า 7,800 ราย ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ประธานยุทธศาสตร์การพัฒนาการแพทย์แผนไทยและหัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เจ้าของฉายา “แม่หมอสมุนไพร” ให้ความรู้ว่า ในภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทเชื่อว่า ไตคือพลังงานของชีวิต หากไตทำงานไม่ดี ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบการทำงานของร่างกายในภาพรวม หากแต่ยังส่งผลต่ออารมณ์ ความรู้สึกของผู้ป่วยด้วย ซึ่งสอดคล้องกับการแพทย์แผนปัจจุบันที่พบว่าไตเป็นอวัยวะที่มีการสร้างฮอร์โมนที่มีผลต่ออารมณ์ของคนด้วย ทั้งนี้ มีสมุนไพรหลายชนิดที่หมอพื้นบ้านระบุว่าใช้บำรุงไต ซึ่งในมิติของคำว่าบำรุงในทางการแพทย์พื้นบ้านนั้น มีหลายความหมาย ทั้งการกำจัดของเสีย การเพิ่มการไหลเวียนเลือด การปกป้องสาร
ภญ.อาสาฬา เชาวน์เจริญ ระบุไว้ในคอลัมน์ คนงามเพราะแต่ง ของอภัยภูเบศรสาร ฉบับเดือนกรกฎาคม 2561 ถึงสมุนไพรช่วยให้อิ่ม…ลดการกินจุกจิก ว่า ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “เรื่องกิน…นี่เรื่องใหญ่” กินน้อยก็หิว กินมากก็อ้วน วันนี้ผู้เขียนจึงหยิบยกเอาสมุนไพรที่ช่วยให้ท้องอิ่ม ลดการกินจุกจิกมาฝาก สมุนไพรกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะวุ้นๆ พองตัวได้ เมื่อเรารับประทานเข้าไป ก็จะช่วยลดพื้นที่ในกระเพาะอาหาร ทำให้เรารับประทานอาหารได้น้อยลง เพราะอิ่มเร็วขึ้น ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการลดน้ำหนัก เม็ดแมงลัก 1 ช้อนชา ชงกับน้ำเปล่า 1 แก้ว รอให้พองตัวเต็มที่ อย่าให้น้ำแห้งแล้วดื่มระหว่างมื้ออาหาร หรือก่อนมื้ออาหาร 30 นาที การรับประทานเม็ดแมงลักในขณะที่ยังพองตัวไม่เต็มที่ อาจจะเกิดการดูดน้ำจากกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจทำให้ท้องผูกได้เช่นกัน ถ้ารับประทานแบบผิดวิธี ว่านหางจระเข้ ปอกเปลือกล้างยางให้สะอาด รับประทานวุ้นว่านหางวันละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อนมื้ออาหาร หรืออาจผสมใส่ในเครื่องดื่ม เช่น น้ำใบเตย ลูกสำรอง แช่ลูกสำรองที่ลอกเปลือกแล้วในน้ำร้อน ประมาณ 1 ชั่วโมง น้ำวุ้นที่ได้ไปต้ม ต้มจนใส พร้อมรับประทานได้เลย วุ้นของสมุ
นายสุรพล พิยาสกุล ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมพิเศษ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) เผยว่า เครือมติชนร่วมกับพันธมิตรสุขภาพทั้งภาครัฐและเอกชนกว่า 30 แห่ง จัดงาน “เฮลท์แคร์ 2019 ”ขึ้นเป็นปีที่ 11 ภายใต้แนวคิด “ เรียนรู้ สู้โรค2019” ระหว่างวันที่ 27-30 มิถุนายน 2562 เวลา 10.00-20.00 น. ณ อิมแพค เมืองทองธานี ฮอลล์ 5 เพื่อกระตุ้นให้คนไทยหันมาใส่ใจป้องกัน ดูแลและรักษาสุขภาพกันมากขึ้น เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก การจัดงาน “เฮลท์แคร์ 2019 ” ในครั้งนี้จึงจัดพิเศษกว่าทุกปี บมจ.มติชน ร่วมกับโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน เปิดให้บริการรักษาฟรีครอบคลุมทุกโรค มากกว่า 30 รายการ รองรับการตรวจสุขภาพประชาชน 6,600 คน เพื่อร่วมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นายสุรพล กล่าวถึงกิจกรรมไฮไลท์ ในงาน “เฮลท์แคร์ 2019 ” ครั้งนี้ ได้แก่ 1. “เรียนรู้ สู้โรคเขตร้อน ”กับ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเข้าร่วมงานเฮลท์แคร์เป็นครั้งแรก ทั้งนี้โรคไข้เลือดออก นับเป็นหนึ่งในโรคเขตร้อนที่ยังไม่มียารักษาโรค ทำได้เพียงป้องกัน แต่การป้องกันยังทำได้ไม่ดีพอ จึงจัดโซนTropical Health Cen
ตะไคร้ เป็นพืชสมุนไพรท้องถิ่นในประเทศแถบเอเชียเขตร้อน มีลักษณะคล้ายหญ้าและมีใบสูงยาวส่งกลิ่นเฉพาะตัว นอกจากนำมาใช้ประกอบอาหาร ปรุงแต่งกลิ่นในอาหาร และทำเครื่องดื่มแล้ว ตะไคร้ยังถูกนำไปใช้ในหลากสาขา เช่น อุตสาหกรรมสบู่ เครื่องสำอาง การบำบัดด้วยกลิ่น หรือการสกัดเป็นยารักษา โดยมีความเชื่อว่าสารเคมีในตะไคร้ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อาจสามารถช่วยป้องกันการเติบโตของแบคทีเรียกับยีสต์ได้ ช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดและลดไข้ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในระหว่างมีประจำเดือน และเป็นส่วนผสมในสารที่ช่วยไล่ยุงได้ เป็นต้น แม้จะเป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความนิยมในการบริโภคและประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์เกี่ยวกับประสิทธิผลของตะไคร้แท้จริงแล้วยังคงมีอย่างจำกัด และไม่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในเชิงการแพทย์ โดยบางงานวิจัยก็ได้ตรวจสอบสมมติฐานถึงผลของตะไคร้ต่อสุขภาพในด้านต่างๆ ดังนี้ ระงับกลิ่นปากที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย กลิ่นปากเป็นปัญหาสุขภาพอย่างหนึ่งซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งจากการรับประทานอาหาร การสูบบุหรี่ การไม่รักษาสุขอนามัยภายในช่องปาก การติด
ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า เถาวัลย์เปรียง เป็นสมุนไพรที่แพทย์แผนไทยรู้จักใช้กันดี ปรากฏอยู่ในตำรายาแพทยศาสตร์สงเคราะห์ในหลายคัมภีร์ เป็นสมุนไพรที่มีความถี่ในการใช้และปรากฏในตำรายาสูงมากชนิดหนึ่ง โดยใช้เถาเป็นส่วนประกอบในตำรับยาแก้กษัยแก้เหน็บชา ถ่ายเส้นเอ็น ถ่ายกษัย แก้เส้นเอ็นขอด แก้เมื่อยขบ ทำให้เส้นหย่อน แก้ปวด แก้ไข้ ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้โรคบิด แก้โรคหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ ถ่ายเสมหะลงสู่คูดทวาร ถ่ายอุจจาระ บีบมดลูก สรรพคุณเหล่านี้คล้ายคลึงกับการใช้ของหมอยาพื้นบ้านทั่วไป ภญ.สุภาภรณ์ เล่าว่า เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2535 คุณแม่ลีสี แซ่เอี้ยว ปัจจุบันท่านมีอายุ 92 ปี เป็นคุณแม่ของ ภญ.พัชรี ศรานุรักษ์ (ปัจจุบัน รับราชการที่โรพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ) ในปีนั้นท่านได้มาพบและออกปากฝากสมุนไพรชนิดหนึ่งไว้ว่าอย่าให้สูญไป ยาตัวนี้ก็คือ เถาวัลย์เปรียง ท่านได้ความรู้มาจากซินแส ที่จังหวัดราชบุรี โดยใช้เป็นยาแก้ตกขาว ท่านบอกให้คนรักษาตัวเองหายมาแล้วหลายราย ไม่ใช่เฉพาะตกขาวอย่างเดียว ตกเหลือง ตกเขียว ตกแดงช้ำๆ ก็กินหายมาแล้ว ต่อมามีการศึกษาวิจัย
ภญ. อาสาฬา เชาวน์เจริญ เขียนไว้ในอภัยภูเบศรสาร ฉบับ 142 คอลัมน์ “คนงามเพราะแต่ง” ถึงโรคต้อกระจก และสมุนไพรทางเลือกในการป้องกันและบำรุงสายตา ซึ่งสถิติการเป็นโรคต้อกระจกในคนไทย อายุประมาณ 55 ปีขึ้นไป มีโอกาสเป็นโรคต้อกระจก ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ต้อกระจก คือ โรคของเลนส์แก้วตาที่มีความขุ่นเกิดขึ้น ทำให้การมองเห็นลดลง โดยทั่วไปเกิดจากความเสื่อมตามอายุ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ สาเหตุอื่นๆ เช่น ต้อหิน การใช้ยากลุ่มสเตอรอยด์ ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน การทำงานที่อยู่ท่ามกลางแสงแดดเป็นเวลานาน การประกอบอาชีพเกี่ยวกับการเชื่อมโลหะโดยไม่ได้ใส่อุปกรณ์ที่ถูกต้อง คนที่สูบบุหรี่ โดยผู้ป่วยจะมีอาการตามัว มักเริ่มมัวอย่างช้าๆ เหมือนมีหมอกมาบัง เมื่อออกไปกลางแดดจะมัวมากขึ้น แต่จะมองเห็นดีขึ้นในที่ร่ม บางรายมองเห็นภาพซ้อน มองเห็นแสงไฟเป็นแสงกระจาย ปวดตา หรือมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย มีข้อมูลงานวิจัยค้นพบว่า สมุนไพรหลายชนิดสามารถป้องกันโรคต้อกระจกได้ จากการที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ ขมิ้นชัน มีสารสำคัญ คือ เคอร์คูมิน ฟักข้าว มีสารสำคัญคือ ไลโคปีน ผัก และผลไม้ชนิดอื่นๆ ที่มีไลโคปีนสูง เช่น มะละกอ แตงโม มะ