โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
นพ.จรัญ บุญฤทธิการ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กล่าวว่า การแพทย์แผนไทยเป็นการแพทย์ประจำชาติของคนไทย ที่มีการสั่งสมความรู้มานานนับตั้งแต่มีคนไทย ซึ่งทั่วโลกนั้นมีไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่จะมีศาสตร์การดูแลสุขภาพเป็นของตนเอง โดยนำทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น อันได้แก่ สมุนไพร นำมาใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสภาพ โดยในแต่ละชุมชนจะมีหมอพื้นบ้านที่เป็นศูนย์กลางในการดูแลสุขภาพของชุมชน และนอกจากประเทศไทยแล้ว ประเทศในภูมิภาคอาเซียนส่วนใหญ่ก็มีการแพทย์ดั้งเดิมที่ใช้ในการดูแลสุขภาพมาก่อนการแพทย์แผนตะวันตก โดยการแพทย์ดั้งเดิมในภูมิภาคอาเซียนล้วนมีที่มาร่วมกัน ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ระหว่างประเทศจีนและอินเดียที่มีวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพที่ฝังรากลึกมายาวนาน และการมีทรัพยากรทางธรรมชาติร่วมกัน “ทำให้การแพทย์ดั้งเดิมในภูมิภาคอาเซียนมีแนวคิดและวิธีการรักษาที่คล้ายคลึงกัน การดูแลสุขภาพที่เน้นการป้องกัน ด้วยอาหาร การออกกำลังกายที่ปรับให้เข้ากับธรรมชาติ การทำสมาธิและปฏิบัติตามแนวทางศาสนาที่ตนนับถือ การรักษาแบบองค์รวม นอกจากวิธีการรักษาที่มีการใช้ยาจากสมุนไพร และหัตถการอื่นๆ
พ.ศ. 2484 ในอดีต มีการก่อตั้งโรงพยาบาลปราจีนบุรี เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในปี พ.ศ. 2509 เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร ข้าราชการสยามคนสุดท้าย ที่ปกครองเมืองพระตะบอง และเป็นเจ้าของอาคารทรงบาโรกที่ก่อสร้างขึ้น เพื่อตั้งใจให้เป็นที่ประทับของรัชกาลที่ 5 หากเสด็จประพาสเมืองปราจีน ซึ่งอาคารเจ้าพระยาอภัยภูเบศร เป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดและยังเป็นอาคารสำหรับแผนกผู้ป่วยในแห่งแรกของโรงพยาบาล นับถึงปัจจุบัน รวมการก่อตั้งโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้ 75 ปี เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา ยิ่งเมื่อประเทศไทย ได้นำการแพทย์แผนไทยและสมุนไพรมาใช้ในระบบบริการสุขภาพ มาตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 โดยเริ่มจากงานสาธารณสุขมูลฐานก่อน จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 มีโครงการนำร่องในการพัฒนาระบบบริการการผสมผสานบริการการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสุขภาพ จากนั้นมีการเปิดคลินิกการบริการการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขของรัฐหลายแห่ง โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ก็เป็นโรงพยาบา