ไข่เค็ม
ขั้นตอนการทำไข่เค็มไชยา ไข่เค็มไชยา ตำนานเล่าขานความอร่อยมีมามากมาย ถ้าอยากกินไข่เค็ม ต้องนึกถึง ไข่เค็มไชยา ของฝากขึ้นชื่อเมืองสุราษฎร์ มีกรรมวิธีการผลิตอย่างไรบ้าง วัสดุ-ส่วนผสม ที่ต้องใช้ ไข่เป็ดคุณภาพ ได้มาจากฟาร์มที่ได้มาตรฐาน ดินจอมปลวก เกลือ น้ำเปล่า ขี้เถ้าแกลบ ขั้นตอนการทำ นำไข่เป็ดที่เตรียมไว้ มาคลุกกับดินจอมปลวก ที่ผสมเกลือและน้ำเปล่า ให้มีความเหนียวแบบพอดี 2. นำไข่เค็มที่คลุกดินจอมปลวกให้เปียกทั้งลูก 3. แล้วนำไปคลุกกับขี้เถ้าแกลบ 4. หมักทิ้งไว้ 7 วัน 5. นำขี้เถ้าออก จัดใส่กล่องเตรียมขาย 6. กำหนดวันที่ผลิต และรายละเอียดวันที่สำหรับทอดและต้ม
ธรรมดาโลกไม่จำ การตลาดที่ดีต้องมีความแตกต่าง เป็นแนวคิดในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา ชื่อว่า “ไข่เค็มอัญมณี” พอกด้วยสมุนไพร 4 สีให้โดดเด่นสะดุดตา อร่อยโดนใจกับไข่แดงยางมะตูม จากไอเดียของผู้หญิงขายไข่เค็ม “พี่แหม่ม” คุณสิริกมล พงศ์พัว แห่งบ้านไร่ห่มรัก จังหวัดกาญจนบุรี หนึ่งในชุมชนที่อบรมในโครงการ “พลังชุมชน” เสริมความรู้คู่คุณธรรม สนับสนุนโดยเอสซีจี ที่ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค พยายามปรับตัวสู้ในทุกวิธี เพื่อก้าวข้ามวิกฤตและสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยนำความรู้จากการเข้าร่วมอบรมในโครงการพลังชุมชนมาประยุกต์ใช้ทั้งในเรื่องการทำธุรกิจและวิถีชีวิต “ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ไข่เค็มอัญมณีขายดีกว่าเดิม รายได้เพิ่มขึ้นถึง 4 เท่า คงเพราะคนต้องกักตัวอยู่บ้านเป็นเวลานาน ไม่อยากออกจากบ้านไปซื้อของบ่อยๆ ซึ่งไข่เค็มเป็นหนึ่งอาหารที่ควรมีติดบ้านไว้เพราะเก็บไว้ได้นาน และนอกจากจะนำมากินได้ทันทีแล้ว ยังสามารถนำมาเป็นส่วนประกอบปรุงเป็นอาหารได้อีกหลายอย่าง จึงเป็นที่นิยมซื้อติดบ้านกันไว้ ที่สำคัญไข่เค็มของเราสูตรพอกสมุนไพรและโซเดียมต่ำ ตอบโจทย์คนดูแลรักษาสุขภาพมาก แถมยังต้มให้ได้ไข่แดงสุกเป็นยางม
อัตราส่วนของส่วนผสมในการทำไข่เค็ม ไข่เป็ดสดประมาณ 37-40 ฟอง ดินสอพอง 1.2 กิโลกรัม เกลือป่น 375 กรัม น้ำสะอาด วิธีการทำ นำไข่เป็ดมาทำความสะอาด จากนั้นผึ่งทิ้งไว้ให้เปลือกแห้ง นำดินสอพองใส่ในกะละมัง เติมน้ำสะอาดลงไป แช่ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นเทน้ำที่แช่ดินสอพองออกให้หมด เหลือไว้แต่ดินสอพอง เติมเกลือป่นลงไปในดินสอพอง คนให้เกลือป่นละลายจนเป็นเนื้อเดียวกันกับดินสอพอง จากนั้นนำไข่เป็ดสดลงไปจุ่มกับดินสอพอง เมื่อดินสอพองพอกทั่วทั้งฟองไข่แล้ว นำไข่ไปคลุกกับขี้เถ้าหรือใบเตยสับอีกครั้งหนึ่งตามที่ต้องการ จากนั้นนำไข่มาวางในตะกร้าหรือภาชนะที่เตรียมไว้ ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 20 วัน เมื่อครบกำหนดเวลาก็นำมาต้มกินได้ หรือจะทำขายเป็นรายได้ได้เช่นกัน เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก วันอาทิตย์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2560
หลายคนคงทราบกันดีว่าที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นแหล่งภูเขาไฟเก่า และหากจะเอ่ยถึงประโยชน์ของดินภูเขาไฟนั้นก็ไม่ธรรมดา หากเคยเกิดขึ้นที่ไหนพืชผักผลไม้ที่นั่นก็จะอุดมสมบูรณ์ สังเกตได้จากทุเรียนภูเขาไฟที่ศรีสะเกษที่โด่งดังเป็นพลุแตกมาแล้ว ด้วยเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะกับการเพาะปลูก เถ้าถ่านที่ภูเขาไฟพ่นออกมาประกอบด้วยธาตุอาหารอันมีคุณค่าต่อพืช ลาวาก็ยังมีฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และก็แคลเซียม ดินจะมีลักษณะสีดำสนิท ร่วนสวย ปลูกอะไรก็งาม ทำให้เกิดเป็นไอเดียนอกจากการเพาะปลูกแล้ว ยังมีลุงคนหนึ่งที่ชื่อว่า ลุงอ้วน หรือ คุณสมโภช ปานถม เดิมเป็นคนลพบุรี ประกอบกับที่ลพบุรีบ้านเกิดของลุงมีของดีขึ้นชื่อคือ “ไข่เค็มดินสอพอง” พอลุงอ้วนได้ย้ายตามลูกมาอยู่ที่แม่เมาะ ก็เลยเอาความรู้มาทดลองทำไข่เค็มด้วยดินภูเขาไฟที่แม่เมาะ จนได้สูตรเฉพาะตัวในการนำดินภูเขาไฟแม่เมาะผสมเกลือพอกไข่เป็ดไว้ ได้เป็น “ไข่เค็มสูตรพอกดินภูเขาไฟ” นั่นเอง ลุงอ้วนอาศัยอยู่ที่ เลขที่ 253 หมู่ที่ 5 ตำบลสบป้าด อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เกษตรกรวัยเก๋า เปิดบ้านเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ที่มาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ
กระบวนการผลิต ไข่เค็ม อสม. ใส่ใจทุกรายละเอียด ไข่เค็มที่ไหนรสชาติก็จะคล้ายกัน แต่ไข่เค็ม อสม. สู้ด้วยเรื่องของคุณภาพ ผู้บริโภครับประทานแล้วปลอดภัย โดยมีการคัดกรองคุณภาพตั้งแต่กระบวนการเลี้ยงเป็ด คือ ผู้เลี้ยงต้องทำคอกเป็ดให้แห้ง และไข่เป็ดที่เก็บมาห้ามล้างเด็ดขาด เพราะรูพรุนในไข่จะเกิดปฏิกิริยาอิ่มตัวกับน้ำ เมื่อหมักน้ำเกลือเข้าไปไม่ถึงทำให้ไข่เน่า มีข้อกำหนดว่า ใน 3 วัน สมาชิกต้องนำไข่มาส่งที่กลุ่มผลิต เพราะต้องคัดไข่ คัดขนาด เลือกลูกแตกร้าวออก ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการคัดขนาดไข่เป็ด เบอร์ 1, 2 เลือกฟองที่แตกร้าวออก ผสมดินหมักตามสูตร ดินจอมปลวก 3 ส่วน เกลือ 1 ส่วน น้ำเปล่าใส่แค่พอดินเหนียวเกาะไข่ได้ดี นำไข่เป็ดที่คัดไว้คลุกลงไปในดินที่ผสม ค่อยๆ คลุก อย่าทำแรงเกินไป และน้ำต้องสะอาด นำขี้เถ้าแกลบมาคลุกลงบนไข่ให้ทั่วทั้งลูกอีกครั้ง จากนั้นหมักทิ้งไว้ 7 วัน เมื่อหมักไข่ครบ 7 วัน ให้นำขี้เถ้าแกลบออก ห้ามล้าง เตรียมแพ็กขาย เทคนิคเพิ่มความอร่อย น้ำที่ใช้ผสมต้องเป็นน้ำสะอาดผ่านการกรองมาแล้ว ดินจอมปลวกที่ใช้ต้องผ่านการตากแดดฆ่าเชื้ออย่างดี เกลือที่ใช้ต้องเป็นเกลือแกง ขี้เถ้าแกลบต้องตากแดดมาให้แ
ไข่เค็ม อสม. ของฝากจากไชยา ไข่แดง มัน อร่อย เค็มพอดี ก่อนที่จะไปรู้จัก ไข่เค็มไชยา ของฝากคู่เมืองสุราษฎร์ ผู้เขียนจะขอเล่าถึงประวัติความเป็นมาของไข่เค็มให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันสักนิด ไข่เค็มไชยา มีประวัติเรื่องเล่าต่อกันมาว่า เกิดจากการถนอมอาหารของคนจีน ชื่อว่า นายกิ่ง แซ่ปั๊ก เป็นช่างทำรางรถไฟ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในสมัยนั้นชาวบ้านเห็นนายกิ่งนำเอาไข่เป็ดมาถนอมอาหาร เขานำไข่เป็ดไปฝังที่ดินทะเลไว้ 15 วัน แล้วนำมาต้มกิน ชาวบ้านแถบอำเภอไชยาก็สังเกตเห็นว่าดินที่นายกิ่งใช้หมักไข่เป็ดเป็นดินทะเลเค็มและเป็นดินเหนียว จึงมีการดัดแปลงใช้ดินจอมปลวกแทนดินทะเล เพราะดินจอมปลวกมีลักษณะคล้ายดินทะเล ไม่มีเม็ดทราย และเหนียว เกาะไข่ได้ดี ต่อมาจึงมีการพัฒนาเชิงการค้า พัฒนาคุณภาพและรสชาติให้มีชื่อเสียงจนถึงทุกวันนี้ ป้าประสงค์ หีตอนันต์ ประธานกลุ่มไข่เค็ม อสม. อยู่บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 5 ตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เล่าว่า ไข่เค็ม อสม. เกิดขึ้นจากชาวบ้านที่นี่มีอาชีพเป็นชาวนาปลูกข้าวเป็นหลัก แต่ต้องประสบปัญหาหอยเชอรี่แพร่ระบาดอยู่เป็นประจำ ปราบเท่าไรก็ไม่หมดไป จนชาวบ้านทนไม่ไหวก็นำเรื่องไปปรึ
จากสภาวะราคายางพาราและปาล์มน้ำมันตกต่ำ สร้างผลกระทบต่อเกษตรกรเป็นวงกว้าง ชาวบ้าน ม.2 บ.คลองน้ำนิ่ง ต.กะลาเส อ.สิเกา จ.ตรัง จึงรวมกัน เลี้ยงเป็ดไข่กว่า 500 ตัว ในสวนปาล์มน้ำมัน เพื่อเก็บไข่สดส่งขายร้านเบเกอรี่ ร้านขายของชำในชุมชน และแปรรูปเป็นไข่เค็มใบเตยหอม จนสร้างรายได้ก้อนโตในชุมชน น.ส.รัศมี เจี้ยวเห้ง ประธานกลุ่มเลี้ยงเป็ดไข่ กล่าวว่า ตนได้รวบรวมชาวบ้านในชุมชนกว่า 10 คน มาเรียนรู้การเลี้ยงเป็ดไข่ และการบริหารจัดการกลุ่ม ทั้งการจัดตั้งกลุ่ม การทำบัญชีครัวเรือน การแปรรูปไข่เค็มใบเตยหอม และการออกแบบฉลากและบรรจุภัณฑ์ โดยมี นางจุฑาภรณ์ พงศ์ประวัติ ครู กศน.ตำบลกะลาเส เป็นพี่เลี้ยงและประสานงานกับภาคีเครือข่าย ร่วมสนับสนุนกลุ่มเลี้ยงเป็ดไข่ ทั้งนี้จากการเลี้ยงเป็ดไข่มา 5 เดือน สร้างรายได้ให้กับกลุ่มอย่างงดงาม ซึ่งในแต่ละวันเป็ดจะออกไข่ 400-450 ฟอง ส่งขายในราคาฟองละ 3.50 สตางค์ รวมทั้งยังแปรรูปเป็นไข่เค็มใบเตยหอม ส่งขายในราคาฟองละ 8 บาท เนื่องจากไข่เค็มที่กลุ่มนำมาแปรรูปจะใช้วัตถุดิบธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นดินสอพอง เกลือไอโอดีน ใบเตยหอม และน้ำสะอาด จึงทำให้เป็นที่ต้อง
วิสาหกิจชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโคกพุทรา จังหวัดลพบุรี รวมกลุ่มนำวัตถุดิบท้องถิ่น ทำ “ไข่เค็มใบเตยดินสอพอง” ชูจุดขายเรื่องความหอม นุ่ม ไม่คาว ยกระดับเตรียมขายบนออนไลน์ “ความพิถีพิถันในการคัดเลือกวัตถุดิบท้องถิ่น ผสมกับประสบการณ์รุ่นสู่รุ่นของสมาชิกในชุมชน เกิดเป็นผลิตภัณฑ์โอท็อปจังหวัดขึ้นชื่อ การันตรีด้วยรางวัลชนะเลิศศูนย์ศิลปาชีพ บางไทร” คุณกรรณาภรณ์ คำดี แกนนำสมาชิกวิสาหกิจชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโคกพุทรา จังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า การรวมตัวของสมาชิกชุมชนกว่า 32 คน ทำไข่เค็มใบเตยดินสอพองออกจำหน่าย ที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 500 ฟอง ต่อวัน ที่ผู้ซื้อและนักท่องเที่ยวเอ่ยปากต่อปากในรสชาติที่กลมกล่อม หอมใบเตย ไม่คาว ซึ่งต่างจากไข่เค็มทั่วไปที่พอกด้วยแกลบดำ จุดเริ่มต้นการรวมกลุ่มคือการสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างความเข้มแข็ง จึงนำเอาวัตถุดิบท้องถิ่นภายในจังหวัดลพบุรี มาทำไข่เค็ม โดยไข่เป็ดได้มาจากเป็ดไล่ทุ่งที่เลี้ยงด้วยวิธีธรรมชาติในระบบเปิดตามทุ่งนา ที่ย้ำถึงความสดใหม่ ส่วนใบเตยก็ปลูกเองตามพื้นที่ที่เหลือจากการใช้สอย แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้รสชาติดี คือดินขาวหรือดินสอพอง จะช่วยทำให้ไข่ขาวนุ่มนวล ไม่แข็
ปราจีนบุรี เป็นจังหวัดที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งปลูกพืชสมุนไพรสำคัญหลายชนิด เกิดการตื่นตัวนำสมุนไพรที่ได้รับการรับรองแล้วมาแปรรูปเป็นยาขายกันแพร่หลาย จนได้รับการขนานนามว่าเป็นเมืองสมุนไพร โดยมีบ้านดงบัง เป็นชุมชนหมู่บ้านที่เป็นศูนย์รวมแหล่งปลูกสมุนไพรและแปรรูปแห่งใหญ่เพื่อป้อนให้กับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ขณะเดียวกัน พืชสมุนไพรเหล่านั้นยังเป็นอาหารชั้นเยี่ยมของเป็ด/ไก่ ที่ชาวบ้านเลี้ยง แล้วพบว่ามีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดเลย ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในพื้นที่จึงได้มีโอกาสบริโภคเป็ด/ไก่ และไข่ที่ปลอดภัย มีส่วนช่วยให้พวกเขามีสุขภาพแข็งแรง จึงทำให้ชาวบ้านกลุ่มนี้เกิดแนวคิดที่จะใช้สมุนไพรเป็นส่วนประกอบของอาหารไก่ เพราะตั้งข้อสังเกตว่าผลผลิตไข่น่าจะเป็นไข่สมุนไพรด้วย แล้วหากเป็นเช่นนั้นจริงจะช่วยเพิ่มมูลค่าพร้อมสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในโอกาสต่อไป จนในที่สุดเกิดเป็นที่มาของงานวิจัย ภายใต้ “โครงการพัฒนาและสนับสนุนวัตถุดิบสมุนไพรและสิ่งอำนวยความสะดวก” โดยเป็นความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ อาทิ ทางจังหวัด ปศุสัตว์จังหวัด โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กลุ
“ไข่เค็มไชยา” เป็นของฝากขึ้นชื่ออย่างหนึ่งของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากใช้ไข่เป็ดธรรมชาติมาทำด้วยเทคนิคที่แตกต่างจากไข่เค็มถิ่นอื่น จึงเป็นไข่เค็มที่ไข่แดงสีแดงที่เนื้อไข่คล้ายทราย มีรสชาติกลมกล่อมไม่เค็มมาก และอร่อยติดปากผู้ที่ได้ลองลิ้มชิมรสมาเป็นเวลายาวนาน การนำไข่เค็มไชยามาบริโภคสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งทอดทำไข่ดาว หรือต้ม ซึ่งจะต้องดูระยะเวลา จากสลากข้างกล่องที่ผู้ทำหรือผู้จำหน่ายระบุไว้ มิฉะนั้นจะจืดเกินไปหรือเค็มเกินไป หรืออาจทำเป็นอาหารหวาน เช่นทำไข่หวาน และไส้ขนมต่างๆ ถนอมอาหารด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน รสชาติถูกลิ้น เป็นอาหารยอดฮิต ไข่เค็มไชยาเป็นการถนอมอาหารชนิดหนึ่งเพื่อเก็บไว้กินนานๆ เป็นภูมิปัญญาที่ชาวไชยารู้จักทำมาตั้งแต่โบราณเนื่องจากในท้องที่อำเภอไชยา เป็นพื้นที่ที่มีการทำนามากที่สุดในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเลี้ยงเป็ดของชาวไชยามีเกือบทุกบ้านของผู้ที่มีอาชีพทำนา การเลี้ยงเป็ดส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบปล่อยทุ่ง เป็ดมักจะหาอาหารธรรมชาติในทุ่งนาอาทิ ปู ปลา หอย และชาวบ้านจะเสริมอาหารเป็ดด้วยข้าวเปลือก ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้คุณภาพของไข่เป็ดแดงไม่มีกลิ่นคาว และวิธีการทำไข่เค็ม