ไร่นาสวนผสม
การทำไร่นาสวนผสม เป็นการทำงานเกษตรหลายๆ ชนิดผสมผสานกันในบริเวณพื้นที่เดียวกัน เป็นการปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต แก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดมานานกว่า 25 ปี เช่น เลี้ยงสัตว์ ทำนา ปลูกไม้ผล ปลูกพืชไร่ มีการจัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงาน และการจัดการที่ดี ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ได้ผลตอบแทนคุ้มค่า คุ้มทุน เพื่อสร้างรายได้สู่ครอบครัว สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มั่นคงและยั่งยืน คุณเจษฎา จันทสร อายุ 35 ปี เดิมทีเป็นชาวกรุงเทพมหานคร แต่ปัจจุบัน ได้มาปักหลักปักฐานอยู่ที่บ้านภรรยาชาวจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่ บ้านโคกสว่าง หมู่ที่ 9 ตำบลค้อน้อย อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันนี้ คุณเจษฎา จันทสร และ คุณมะลิจันทร์ เวียงคำ ผู้เป็นภรรยา ดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง โดยได้ช่วยกันทำมาหากินด้วยการทำไร่นาสวนผสม ดำเนินชีวิตตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ทั้งปลูกพืชผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์บก สัตว์น้ำขาย สร้างรายได้อย่างงดงาม ท่ามกลางความสุขกับโซ่ทองคล้องใจ จำนวน 5 คน ไ
การทำไร่นาสวนผสม เป็นการจัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงาน และใช้ปัจจัยการผลิตให้สอดคล้องผสมผสานและเหมาะสมเพื่อพัฒนาการเกษตรที่หลากหลายทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หรือทำประมง ที่นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต เพื่อลดความเสี่ยงด้านการผลิตและการตลาด ทำให้มีผลผลิตออกมาต่อเนื่อง เป็นอาหารบริโภคและมีรายได้ตลอดทั้งปี เพื่อให้ครัวเรือนเกษตรกรก้าวสู่วิถีการยังชีพที่มั่นคง คุณชมพูนุช หน่อทอง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาท เล่าให้ฟังว่า ประชากรจังหวัดชัยนาทส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกรรม จึงได้ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอ ส่งเสริมให้เกษตรกรทำไร่นาสวนผสมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์หรือทำประมง ส่งเสริมให้จัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงานหรือปัจจัยการผลิตที่ผสมผสาน เพื่อลดความเสี่ยงภัยจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและศัตรูพืช ส่งเสริมให้ทำเกษตรอินทรีย์ หรือผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลผลิตมีคุณภาพ ส่งเสริมลดต้นทุนการผลิตเพื่อยกระดับรายได้ครัวเรือนให้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง คุณชยันต์ พิทักษ์พูลศิลป์ เกษตรกรทำไร่นาสวนผส
การทำเกษตรแบบผสมผสาน หรือไร่นาสวนผสม ไม่มีคำจำกัดความ ไม่มีกติกาหรือกฎตายตัว ว่าต้องเป็นพืชชนิดใด เลี้ยงสัตว์ชนิดใด ทั้งนี้ เพราะแต่ละพื้นที่และท้องถิ่นมีสภาพทางธรรมชาติที่แตกต่างกัน เพียงแต่การผสมผสานนี้ขอให้ยึดหลัก สร้างความร่มรื่น แล้วให้พืชหลายชนิดที่ปลูกอยู่ในพื้นที่เดียวกัน มีการเกื้อกูลกันทางธรรมชาติให้มากที่สุด และสำคัญที่สุดคือ ผู้ปลูกต้องได้ประโยชน์มากที่สุด แล้วยังสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน คุณจินดา ฟั่นคำอ้าย อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 2 ตำบลผาปัง อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง อดีตศึกษานิเทศก์ จังหวัดลำปาง เป็นอีกท่านหนึ่งที่สนใจการทำเกษตรผสมผสาน แล้วตั้งใจเดินตามแนวทางนี้ในบั้นปลายชีวิต จึงวางแผนล่วงหน้าก่อนจะเกษียณอายุราชการเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา อดีตศึกษานิเทศก์ท่านนี้ให้เหตุผลที่เลือกแนวทางการทำเกษตรกรรมแบบผสมผสาน เนื่องจากสมัยที่รับราชการได้มีโอกาสเดินทางไปดูงาน ตลอดจนศึกษาหาความรู้ด้านการทำเกษตรหลายแห่ง หลายด้าน ล้วนพบว่าการทำเกษตรกรรมแบบปลูกพืชเชิงเดี่ยวจะเกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายมาก เพราะรายได้ของการมีชีวิตแบบชาวไร่ ชาวนา ส่วนใหญ่เกิดจากการทำเกษตรกรรม
นางสำรวย บางสร้อย อายุ 50 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สมรสกับ นายแสงจันทร์ บางสร้อย บุตร 2 คน ปัจจุบันอยู่บ้านเลขที่ 4 หมู่ที่ 12 บ้านสวนปอ ตำบลหนองแคน อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด โทรศัพท์ (061) 109-4549 ถึงแม้ปัจจัยการผลิตไม่เหมาะสมนัก แต่ด้วยความขยันหมั่นเพียร มีความคิดริเริ่มและปฏิบัติจริง ทำให้นางสำรวย ได้รับคัดเลือกให้เป็นเกษตรกรดีเด่น สาขาไร่นาสวนผสมปี 2562 ความคิดริเริ่ม – พ.ศ. 2525 เริ่มประกอบอาชีพทำนาและค้าขายสินค้าเบ็ดเตล็ดตลาดนัดในอำเภอ – พ.ศ. 2534 เริ่มป่วย – พ.ศ. 2538 ป่วยหนักตามองไม่เห็น 8 เดือน ตั้งปณิธานกับพระฉายาลักษณ์ของในหลวงรัชกาลที่ 9 หลังจากหายป่วย เริ่มปลูกมะนาวบนคันนา 50 ต้น 9 เดือนมีรายได้ 100,200 บาท และขุดบ่อเลี้ยงปลา จำนวน 2 บ่อ – พ.ศ. 2559 ได้เข้าร่วมโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ – พ.ศ. 2560 นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด นายฐปน สิริวัฒนภักดี ประธานคณะกรรมการบริหาร ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ได้ลงมาติดตามโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ และได้ให้คำแนะนำแนวคิดการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และการทำไร่นาสวนผสมให้ม
ที่บ้าน คุณภีรพร หอมสมบัติ ชาวบ้านบ่อใหญ่ หมู่ 2 ต.บ่อใหญ่ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม และภรรยา คือคุณทัศนีวรรณ์ หอมสมบัติ โทร. (088) 036-2139 เจ้าของพื้นที่ทำการเกษตร 1 ไร่ ได้แสน โดย คุณ ภีรพร กล่าวว่า แปลง 1 ไร่ ได้แสน เน้นการปลูกข้าวอินทรีย์เคมี ใช้มูลโค มูลกระบือ มูลไก่ รองพื้น ตามด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 16-16-8 จำนวน 5-10 กิโลกรัม ต่อไร่ ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 7-10 กิโลกรัม ต่อไร่ ช่วงปลูกในเดือนกรกฎาคมถึงต้นเดือนสิงหาคม การดูแลรักษา ทำโดยการสูบน้ำเข้านา ประมาณต้นเดือนกันยายน ให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 จำนวน 10 กิโลกรัม ต่อไร่ ได้ผลผลิตต่อฤดูกาล 700-800 กิโลกรัมต่อไร่ ราคาข้าว ขายตามราคาจำนำ เกวียนละ 15,000 บาท “ผมเลี้ยงปลาดุกในนาข้าว จำนวน 20,000 ตัว ขายได้ปีละกว่า 20,000 บาท ปลูกมะนาว พันธุ์พิจิตร 1 จำนวน 20 ต้น ในวงบ่อซีเมนต์ รอบแปลงและรอบบ่อปลา ได้ผลผลิตนอกฤดูกาล มีรายได้วงบ่อละ 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 40,000 บาท ขยายพันธุ์มะนาวด้วยวิธีการตอนกิ่งจำหน่ายภายในชุมชน ปีละ 100-200 ราคากิ่งละ 100 บาท ปลูกพืชฤดูแล้ง ถั่วลิงสง จำนวน 1 ไร่ ได้เงินกว่า 10,000 บาท เลี้ยงปลาในบ่อ พื้นที่ 1 งาน จับขายได้ 3
การทำเกษตรในปัจจุบันไม่ได้เน้นเพื่อผลิตสร้างอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการนำองค์ประกอบหลากหลายอย่างมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ทำให้สวนหรือพื้นที่ทำการเกษตรนั้นๆ น่าสนใจมากยิ่งขึ้น สวนดูมีมิติมุมมองเพลิดเพลินสบายใจ ยามที่ได้อยู่ท่ามกลางในสิ่งที่ทำ จึงเกิดเป็นการสร้างผลผลิตและความสุขไปพร้อมๆ กัน คุณพิทักษ์ สุภนันทการ เจ้าของสวนฟิวชั่นฟาร์ม ตั้งอยู่ที่ตำบลตาเบา อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เป็นอีกหนึ่งเกษตรกรที่มีแนวความคิดที่อยากจะสร้างสวนเป็นเชิงไร่นาสวนผสม โดยให้ทุกอย่างเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เช่น ในยามที่ผลผลิตอีกชนิดราคาตกต่ำก็ยังมีพืชอีกหลายๆ ชนิดจำหน่ายได้ราคา ซึ่งพืชที่ปลูกเพื่อสร้างรายได้ระยะยาวนั้นคุณพิทักษ์เลือกปลูกอินทผลัม การทำเกษตร ต่อยอดธุรกิจได้ทุกด้าน คุณพิทักษ์ เล่าให้ฟังว่า ได้เลือกมาทำงานทางด้านการเกษตรเพื่อเป็นอาชีพเสริม เพราะในช่วงนี้เขายังมีงานประจำอยู่ การทำอาชีพเสริมในครั้งนี้ได้มองและเตรียมการไปภายหน้าแล้วว่า เมื่อเกษียณจากงานจะลงมาทำงานทางด้านนี้โดยตรง เพราะถ้าไม่ทำตั้งแต่ตอนนี้ ออกมาทำในช่วงหลังเกษียณเลย พละกำลังและระยะเวลาอาจจะไม่ทัน จึงจำเป็นต้องเริ่มทำในช่วงนี้คว
การทำไร่นาสวนผสม เป็นการทำงานเกษตรหลายชนิดผสมผสานในบริเวณพื้นที่เดียวกัน ปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการจัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงาน และการจัดการที่ดี ใช้ปัจจัยผสมผสานเพื่อลดต้นทุนการผลิตที่ได้ผลตอบแทนคุ้มทุน ในสภาวะวิกฤตเศรษฐกิจแปรปรวนจึงเป็นวิธีการลดความเสี่ยงและสร้างรายได้สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง วันนี้จึงนำเรื่อง วิถีไร่นาสวนผสม วิถีพอเพียงและมั่นคง มาบอกเล่าสู่กัน คุณศรัญญา เพ็ชรรักษ์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการผลิต สำนักงานเกษตรจังหวัดสิงห์บุรี เล่าให้ฟังว่า ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดสิงห์บุรี ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แนวทางการดำเนินงานส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวซึ่งเป็นวิธีการที่มีความเสี่ยงสูงในการที่จะได้รับผลผลิต เพื่อยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้มีความมั่นคง จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนมาทำไร่นาสวนผสมตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้ทำเกษตรอินทรีย์ ส่งเสริมการผลิตในระบบเกษตรดีที่เหมาะสม GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อให้ได้ผลผลิตดีมีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้บริโภค การทำไร่นาสวนผสม เป็นการทำงานเกษตรหลายๆ อย่างในพื้
กว่าพื้นที่ 50 ไร่ ของ คุณเล็ก ทองต้น วัย 71 ปี ประธานศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ตำบลบึงกาสาม อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี อดีตผู้ใหญ่บ้านชุมชนหมู่ที่ 7 บึงกาสาม เกษตรชาวจังหวัดปทุมธานี ต้นแบบเกษตรอินทรีย์ตัวจริง ทำเกษตรไร่นาสวนผสมลดการใช้สารเคมี หันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพ ทำได้ไม่มีขาดทุน เดินตามรอยเท้าพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ต้นแบบอินทรีย์ชาวจังหวัดปทุมธานี คุณเล็ก เล่าว่า กว่า 10 ปี บนเส้นทางเกษตรอินทรีย์ ตนเองคิดเสมอว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้มีรายได้พอกินพอใช้ ไม่สร้างหนี้ มีเงินใช้เหมือนตอนที่รับเงินเดือนของข้าราชการ โดยแรงบันดาลใจของตน คือ รัชกาลที่ 9 เมื่อครั้งได้เดินทางไปดูงานในโครงการชั่งหัวมันตามพระราชดำริ นำศาสตร์พระราชามาเป็นจุดเริ่มต้นในการบริหารจัดการประยุกต์พื้นที่ 50 ไร่ ให้กลายเป็นไร่นาสวนผสม ทำให้ตนคิดว่า ชาวนาจะปลูกข้าวอย่างเดียวไม่ได้ อายุข้าวกว่าจะเกี่ยวต้องใช้เวลา ประมาณ 105 วัน จึงได้ปรับพื้นที่ 50 ไร่ เป็น ทำนา 10 ไร่ ปาล์ม 40 ไร่ ปลูกกล้วยแซมในสวนปาล์ม เลี้ยงไก่ไข่ 50 ตัว เลี้ยงปลา โดยปาล์ม ตัด 2 ครั้ง/เดือน 24 ครั้ง/ปี กล้
ปัญหาของการปลูกพืชเชิงเดี่ยว โดยเฉพาะข้าวโพด ซึ่งจำหน่ายเป็นอาหารสัตว์นั้น ไม่เพียงเป็นการส่งเสริมทางอ้อมให้มีการตัดไม้ทำลายป่า เปิดพื้นที่ใช้ปลูกข้าวโพดเท่านั้น แต่การทำเกษตรโดยเชื่อตามคำโฆษณา ใช้ทั้งยา ใส่ทั้งปุ๋ยเคมี นอกจากเป็นอันตรายต่อเกษตรกรผู้ใช้โดยตรงแล้ว บรรดายาและเคมีที่ใช้ยังสะสมบนผืนดิน ดูดซึมและถูกชะล้างลงสู่แหล่งน้ำ เป็นยาพิษที่เจืออยู่ในน้ำท่าไหลลงสู่ผู้ใช้ที่อยู่ปลายน้ำ ที่มาของโรคต่างๆ ที่รุมเร้าในปัจจุบัน แม้บริษัทรับซื้อข้าวโพดยักษ์ใหญ่จะเคยออกมาประกาศหยุดส่งเสริมการปลูกข้าวโพดบนภูสูงด้วยการไม่รับซื้อผลผลิต แต่นั่นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหา เมื่อเกษตรกรไม่มีตัวเลือกมากนัก หลายต่อหลายรายจึงยังคงเลือกถางพื้นที่ปลูกข้าวโพดต่อไป เพราะให้ผลเร็ว ทำให้มีเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว แม้ว่าราคาจะได้เพียงกิโลกรัมละ 3-4 บาทเท่านั้น การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์บนภูสูงจึงเป็นสิ่งสำคัญ พันตำรวจโท กิตติคุณ ช่างเขียน เป็นคนบ้านหงาว อ.เทิง จ.เชียงราย ชีวิตเริ่มต้นจากการเป็นตำรวจตระเวนชายแดน ที่กองร้อย 3 ตชด.เขต 5 อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เมื่อปี 2523 ในตำแหน่งพลปืนเล็ก พอปี 2527 เมื่อเหตุการณ์ดอย
ทางเดินชีวิต…สู่แนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คุณคำสิงห์ มาลาหอม มีอาชีพทำนาและทำไร่ปอ อยู่บ้านเลขที่ 12 หมู่ที่ 8 บ้านน้ำเที่ยง ตำบลหนองกุงสวรรค์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม 44140 แต่สภาพพื้นที่ดินในหมู่บ้านน้ำเที่ยง มีความแห้งแล้งและกันดารมาก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่เนิน (พื้นที่เขตป่า) ขาดแหล่งน้ำ ทำนาทำไร่ยากลำบากมาก เพราะมีน้ำน้อย ทำให้รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ต่อมาได้มีโอกาสไปฝึกอบรมแนวทางตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ภายใต้โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ ที่จังหวัดมหาสารคาม 4 วัน 3 คืน ในหลักสูตรมีการเรียนการสอนเรื่องการปรับเปลี่ยนวิธีการทำมาหากิน จากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว หรือชนิดเดียวให้หันมาปลูกพืชหลายๆ ชนิดในพื้นที่เดียวกัน ทำให้ครอบครัวมีพืชผัก มีอาหารกินที่หลากหลายหลังจากการฝึกอบรม จึงกลับมาทำตามพร้อมทั้งศึกษาเพิ่มเติมจนมีความชำนาญเรื่องสมุนไพรและการทำการเกษตรแบบผสมผสาน การใช้ตอซังข้าวเพื่อหมักจุลินทรีย์ทดแทนขี้เลื่อย การปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยชีวภาพ การผลิตผักปลอดสารพิษ การผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า และเห็ดขอนขาว รูปแบบกิจกรรมทางการเกษตร คุณคำสิงห์