GIZ
GIZ ชวนร่วมงานปิดโครงการและกิจกรรมสร้างความตระหนักแก่ภาคสาธารณะ TGCP-Policy รับฟังวิสัยทัศน์ความพร้อมจังหวัดไทยสู้ภัย Climate Change ฟัง Climate Action Talk จากเหล่ากูรูด้านสิ่งแวดล้อม รับชมและร่วมพูดคุยช่วง Climate Movie และร่วมสนุกกับกิจกรรมทดสอบความเป็นตัวคุณเรื่อง Climate Change พร้อมรับของระลึกฟรี ! ดร. อังคณา เฉลิมพงศ์ ผู้อำนวยการโครงการด้านนโยบาย แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เปิดเผยว่า องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน หรือ GIZ ร่วมกับสำนักงานนโยบายเเละเเผนทรัพยากรธรรมชาติเเละสิ่งเเวดล้อม (สผ.) กำหนดจัดงานปิดโครงการและกิจกรรมสร้างความตระหนักแก่ภาคสาธารณะ โครงการการดำเนินงานด้านนโยบาย ภายใต้แผนงานความร่วมมือ ไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGCP-Policy) ในวันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00-19.30 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ 1 ชั้น 5 อาคารสามย่านมิตรทาวน์ กรุงเทพมหานคร โดยโครงการดังกล่าวดำเนินงานระหว่างปี 2561-2565 เพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายของไทยในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ
กฟผ. ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เดินหน้าสร้างเครือข่ายสนับสนุนการใช้สารทำความเย็นธรรมชาติที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หวังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ มุ่งสู่ Carbon Neutrality นางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารกองทุน CIF (Cooling Innovation Fund) เป็นผู้แทน กฟผ. ลงนามความร่วมมือในการส่งเสริมและขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีการทำความเย็นสีเขียว ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายการทำความเย็นสีเขียว ระยะที่ 3 (Green Cooling Initiative (GCI) III) ในประเทศไทย กับ นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยและมาเลเซีย พร้อมด้วย นางสาวเดนีส อันเดรส หัวหน้าโครงการ GCI III ร่วมพิธีลงนาม ณ อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานกลาง กฟผ. จังหวัดนนทบุรี เพื่อต่อยอดและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการทำความเย็นที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้สารทำความเย็นธรรมชาติ นางศรีวรรณ บูรณโชคไพศาล กล่าวว่า ที่ผ่านมา กฟผ. และ
เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจําประเทศไทย ได้จัดกิจกรรมโรงเรียนนักธุรกิจกาแฟ FBS-SmartGen ขึ้น โดยมีนักศึกษามากกว่า 100 คน จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรนำร่องได้เข้าร่วมฝึกฝนการเป็นนักธุรกิจการเกษตรมืออาชีพผ่าน 3 ห้องเรียน เพื่อเก็บเกี่ยวทักษะองค์ความรู้และประสบการณ์จากเกษตรกรต้นแบบเพื่อพลิกโฉมสวนกาแฟโรบัสต้าให้กลายเป็นธุรกิจสร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน คุณวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า “โครงการคอฟฟี่พลัสและโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกรมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากกาแฟเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในภาคใต้ของไทยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชุมพร ความต้องการของตลาดก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้น แต่ผลผลิตกาแฟในประเทศกลับลดลงอย่างต่อเนื่องซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นราคากาแฟตกต่ำและราคาของพืชเศรษฐกิจตัวอื่น เช่น ทุเรียนสูงกว่ากาแฟภาครัฐ จึงเล็งเห็นความสำคัญในการเร่งแก้ไขปัญหาและดำเนินยุทธศาสตร์กาแฟประจำปี 2560-
กรุงเทพฯ วันที่ 3 กันยายน 2562 – สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) โดย กองประสานการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (กปอ.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมนี หรือ GIZ จัดงาน “เปลี่ยนเรา เปลี่ยนโลกร้อน (Climate Change, WE Change)” เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ต่อสาธารณชนในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและการดำเนินงานต่างๆ ของภาครัฐที่มุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปรับตัวต่อผลกระทบที่เกิดขึ้น ดร. รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประธานในพิธีกล่าวว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนับเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือที่เรียกว่า United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) เมื่อเดือนธันวาคม 2537 ภาคีพิธีสารเก