young smart farmer
กะหล่ำในกระถาง ช่างยนต์ วัย 37 ปี ใช้พื้นว่าง ปลูกสร้างรายได้ปีละหลายแสนบาท ออเดอร์มาไม่ยั้ง ต้องสั่งข้ามปี ต่อยอดปลูกผักสวนครัวชนิดอื่นด้วย บ้านเลขที่ 37/1 หมู่ที่ 1 ต.ทุ่งค่าย อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง นายสุทธินนท์ เกลี้ยงเกลา อายุ 37 ปี ซึ่งเรียนจบช่างยนต์ ใช้พื้นที่ว่างรอบตัวบ้าน หันมาสร้างรายได้เสริมด้วยการปลูกกะหล่ำปลีลงในกระถางรุ่นละ 100 กระถาง ปีละ 6-7 รุ่น ใช้เวลาปลูกประมาณ 3 เดือน กะหล่ำปลีก็จะห่อหัวแน่น นำออกขายได้กระถางละ 100 บาท ผลตอบรับดีมาก มีลูกค้าเดินทางมาเลือกซื้อถึงบ้าน ทั้งนำไปประกอบอาหาร ประดับตกแต่งบ้าน อาคารสถานที่และจัดนิทรรศการต่างๆ รวมทั้งซื้อเป็นของขวัญของฝากในเทศกาลปีใหม่ที่ใกล้จะมาถึง และยังเหมาะสำหรับคนที่มีพื้นที่น้อย หรือมีน้ำท่วมขังก็สามารถยกกะหล่ำปลีหนีน้ำท่วมได้ง่าย ทั้งยังขายได้ราคาดีกว่าการตัดเอาแต่หัวไปชั่งน้ำหนักขาย ซึ่งแต่ละหัวได้ไม่เกิน 50-70 บาท แถมมีประโยชน์ต่อร่างกายเพราะเป็นผักที่มีสรรพคุณทางยา ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยให้นอนหลับสนิท ลดอาการเผ็ดร้อน และขัดขวางการเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นไขมัน จึงปลูกขายมาเป็นปีที่ 2 แล้ว
ถั่วลายเสือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นสายพันธุ์ที่กำลังได้รับความสนใจ มีจุดเด่นด้านรสชาติ เมล็ดใหญ่ และคุณค่าทางโภชนาการมากมายที่เอื้อประโยชน์ต่อสุขภาพ เนื่องจากปลูกในพื้นที่หุบเขา มีดินอุดมสมบูรณ์ ที่สำคัญได้รับการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพสร้างมูลค่าที่เพิ่มขึ้น “White Tiger” แบรนด์ที่นำถั่วลายเสือมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปนมสดพร้อมดื่ม นมอัดเม็ดและโยเกิร์ตพาวเดอร์ (yogurt powder) สร้างทางเลือกให้ผู้บริโภคที่ต้องการเสริมสร้างโปรตีน ตอบโจทย์อาหาร Plant-Based พร้อมกับแตกไลน์ผลิตของใช้ อาทิ น้ำมันถั่วลายเสือ หรือแม้กระทั่งผลิตภาชนะจาน ชามจากเปลือกถั่ว สร้างมูลค่าเพิ่มแทนการทำลาย คุณฐานันต์ แก้วดิษฐ์ หรือ คุณหยอง เจ้าของผลิตภัณฑ์ บอกเล่าเรื่องราวที่มาของธุรกิจว่า เป็นคนพิษณุโลก ส่วนแฟนเป็นคนแม่ฮ่องสอน ไปเจอกันที่เชียงใหม่ ชวนกันลาออกจากงานประจำแล้วเดินทางเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมด้วยการปลูกผักเมืองหนาวขายที่แม่ฮ่องสอน เสริมรายได้ด้วยการทำเสื้อยืด ช่วงเวลานั้นเข้าร่วมโครงการ Young Smart Farmer ทำให้รู้จักเพื่อนสายเกษตรมากมายหลายสาขา มีอยู่คนหนึ่งปลูกถั่
การทำเกษตรกรรมในยุคดิจิทัลถูกกำหนดโดยตลาดผู้บริโภคเป็นหลัก จึงมีผลต่อแนวทางหรือวิธีปฏิบัติของเกษตรกรจากเดิมที่เคยปลูกพืชเชิงเดี่ยวต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน ช่วยทำให้เกษตรกรมีรายได้แน่นอน มั่นคง ลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางธรรมชาติ ผลสำเร็จของการลงมือทำเกษตรผสมผสานอาจไม่ใช่เรื่องง่ายหากไม่ปฏิบัติตามกรอบวิธีและแนวทางที่ถูกต้อง ความสำเร็จของการทำเกษตรผสมผสานมีให้เห็นทั่วไป แม้หลายพื้นที่หรือชาวบ้านหลายแห่งอาจบรรลุวัตถุประสงค์ได้ด้วยการคิดนอกกรอบ แต่เหนือสิ่งอื่นใดที่ทุกคนต้องมี นั่นคือ ความใส่ใจและทุ่มเทอย่างจริงจัง จึงนำไปสู่การมีรายได้ที่มั่นคงอันเป็นเป้าหมายสำคัญ อีกหนึ่งตัวอย่างของความสำเร็จจากการทำสวนเกษตรผสมผสานจนทำให้พลิกสถานการณ์ในการดำรงชีวิต แม้รายได้ที่เกิดขึ้นจะไม่ใช่เงินก้อนโต แต่ก็ทำให้การจับจ่ายใช้สอยทุกวัน ทุกเดือน และตลอดทั้งปีเป็นไปอย่างไม่ขัดสนหรือต้องกู้หนี้ สร้างความผาสุกให้แก่ครอบครัว สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือทุกคนของครอบครัว คุณวัชรีญา มณีรัตน์ หรือ คุณปุ๊ก ที่พักอยู่บ้านเลขที่ 66 หมู่ที่ 6 ตำบลเสนางคนิคม อำเภอเสนางคนิคม จังหวัดอำนาจเจริญ
ธ.ก.ส. จับมือ กรมส่งเสริมการเกษตร ปั้น “Young Smart Farmer” ทดแทนเกษตรกรที่สูงอายุใกล้เกษียณ ช่วงอายุไม่เกิน 45 ปี 50,000 ราย ภายใน 4 ปี วันที่ 26 มีนาคม 2567 นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ 50,000 คน สู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรชั้นนำภายในปี 2571 โดยนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการผลิต การสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ Added Value พร้อมผลักดันสู่การเป็นหัวขบวน ที่สามารถนำองค์ความรู้มาพัฒนาการดำเนินงาน และแบ่งปันให้กับเกษตรกรในท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ อันนำไปสู่การต่อยอดธุรกิจ ที่ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ในชุมชนอย่างยั่งยืน นายฉัตรชัย กล่าวว่า ธ.ก.ส. วางเป้าหมายสู่การเป็น “แกนกลางการเกษตร” (Essence of Agriculture) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเพื่อยกระดับรายได้สู่ภาคการเกษตรใน 4 ด้าน คือ 1. เงินทุน 2. เทคโนโลยี 3. Added Value 4. Knowledge and
“ชนะอะไรไม่เท่าชนะใจตัวเอง” นี่คือจุดเริ่มต้นของ ธนวัฒน์ ว่องไวตระการ ประธานวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ที่พลิกฟื้นผืนดินจากการทำเกษตรแบบดั้งเดิม มาสู่การทำเกษตรอินทรีย์ ซึ่งต้องฟันฝ่าอุปสรรคและใช้เวลามากกว่า 2 ปี ในการสร้างแปลงผักออร์แกนิกที่ได้มาตรฐานส่งถึงมือผู้บริโภคผ่านสาขาต่างๆ ของแม็คโคร “ครอบครัวผมเป็นเกษตรกรชาวไร่ที่ปลูกอ้อย ปลูกมันสำปะหลัง ในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละครั้ง เมื่อเรียนจบออกมา จึงมองหาช่องทางที่จะปลูกพืชผักชนิดอื่น เพื่อหารายได้หมุนเวียนเข้ามาเสริม” ธนวัฒน์เล่าถึงจุดเริ่มต้นของการปลูกผักเสริมรายได้จากการทำไร่อ้อยและมันสำปะหลัง พลิกชีวิตสู่วิถีเกษตรอินทรีย์ ช่วงแรกเขาลองผิดลองถูกกับการปลูกผักหลายชนิดที่ต้องใช้สารเคมี เพราะให้ผลตอบแทนดี ตามคำบอกเล่าที่ว่า…จะทำให้มีรายได้ มีโอกาสรวยเหมือนถูกหวย…ซึ่งเมื่อลงมือทำ สิ่งที่เขาต้องเจอหลังจากนั้น ทำให้ธนวัฒน์เปลี่ยนแนวคิดในการทำเกษตรไปอย่างสิ้นเชิง “การเริ่มต้นปลูกผักของเรา ยอมรับว่าใช้สารเคมีเยอะมาก จนตัวผมเองได้รับผลกระทบจากการฉีดพ่น ทำให้แสบและคันไปทั้งตัว
แม้จะไม่มีความรู้เรื่องการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และไม่เคยทำอาชีพเกษตรกรรมมาก่อน แต่ด้วยความมุมานะพยายามเรียนรู้บวกกับการลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง ทำให้วันนี้ คุณภูดิศ หาญสวัสดิ์ หรือ คุณเอก เจ้าของ “บ้านสวน สานฝัน” บ้านหนองไฮ ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น เป็นคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในอาชีพเกษตรกรรม ในระยะเวลาไม่กี่ปี โดยมีรางวัลการันตีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประธานยังสมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (Young Smart Farmer) จังหวัดขอนแก่น ในฐานะต้นแบบเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ สืบสานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ของกรมส่งเสริมการเกษตร และรางวัลเกษตรกรดีเด่น สาขาบัญชีฟาร์ม ระดับภาค ประจำปี 2561 ของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ เขายังทำงานจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคมในหลายบทบาท อาทิ เป็นอาสาสมัครการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (อสปก.) เป็นครูบัญชีอาสา อำเภอโนนศิลา จังหวัดขอนแก่น และเป็นประธานกลุ่มข้าว 3D (อร่อยดี ปลอดภัยดี สุขภาพดี) ตำบลบ้านหัน อำเภอโนนศิลา และเป็นวิทยากรบรรยายเรื่องการเกษตรและการทำบัญชีครัวเรื
วันที่ 23 มิถุนายน 2565 นายกิตติ แดงพลอย ผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้รับมอบหมายจาก ดร.วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าเกษตรประเภทไม้ผลในเขตปฏิรูปที่ดิน” โดยมี คณะผู้บริหาร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ ส.ป.ก. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นเกียรติ อาทิ นายประเสริฐ กาญจนเกียรติกุล ปฏิรูปที่ดินจังหวัดบุรีรัมย์ นางสาวพจนันท์ กองมาก ปฏิรูปที่ดินจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อบจ.จังหวัดบุรีรัมย์ และมีผู้ร่วมงาน จำนวน 200 ราย ประกอบด้วย เกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 17 จังหวัด จำนวน 140 ราย เจ้าหน้าที่จาก ส.ป.ก. ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 40 ราย ผู้สังเกตการณ์โครงการฯ และวิทยากร จำนวน 20 ราย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-25 มิถุนายน 2565 นอกจากนี้ ยังมีพิธีมอบเกียรติบัตร สวนผลไม้ต้นแบบให้แก่ Young Smart Farmer จำนวน 5 ราย และมีการเซ็นข้อตกลงทำสัญญาร่วมกัน (MOU) ระหว่างกลุ่มเกษตรกร โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ไม้ผลบ้านปลื้มพัฒนา
เมื่อการทำไร่ ทำสวน กลายเป็นภารกิจสำคัญของคนรุ่นใหม่ในนาม “Young Smart Farmer” ผู้นำเกษตรกรยุคใหม่ ที่จะสร้างเครือข่าย เชื่อมโยงชุมชน ยกระดับสินค้าเกษตรสู่ตลาดยุค 4.0 ปัจจุบัน Young Smart Farmer หลายคนจบการศึกษาในระดับสูง ทั้งปริญญาโทและเอก และมาจากหลากหลายอาชีพ เช่น วิศวกร สถาปนิก ข้าราชการ เจ้าของโรงงาน ฯลฯ ซึ่งจากการประเมินพบว่า ผลผลิตที่ได้มีจำนวนมากขึ้นและมีความแปลกใหม่จากการใช้นวัตกรรม และยังทำให้ต้นทุนลดลง สินค้ามีคุณภาพมาตรฐานจึงเป็นที่สนใจของตลาดทั้งในและต่างประเทศ ช่วยสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นกอบเป็นกำ จากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 สำหรับผู้ที่ได้รับผลกระทบและต้องการกลับบ้านเกิดเพื่อมาประกอบอาชีพการเกษตร การสมัครเข้าร่วมเป็น Young Smart Farmer จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย ซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ ได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอหรือสำนักงานเกษตรจังหวัดที่อยู่ใกล้บ้าน คุณมนตรี ศรียงยศ หรือ เอก Young Smart Farmer ดีกรีปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ผสมผสานเทคโนโลยีเพิ่มคุณภาพทางด้านเกษตรให้ได้ผลผลิตที
“อ้อยโรงงาน” เป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดชลบุรี เนื้อที่ปลูก รวม 1.4 แสนไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 10 ตัน ต่อไร่ ทั้งนี้ พบว่าอ้อยโรงงานมีแนวโน้มลดลงจากหลายสาเหตุ เช่น ปัญหาภัยแล้ง ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศ การบริหารจัดการไร่อ้อยที่ขาดประสิทธิภาพ รวมทั้งพื้นที่การเกษตรที่ลดลงจากการขยายตัวของชุมชนเมือง ที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตร โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดชลบุรี ดำเนินกิจกรรมถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย เพื่อให้เกษตรกรนำไปประยุกต์พัฒนาการเพาะปลูกอ้อย ให้มีผลผลิตและเกิดรายได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งรณรงค์ลดการเผาอ้อยในช่วงฤดูตัดอ้อย เพราะนอกจากสร้างมลภาวะต่อสภาพอากาศและสุขภาพร่างกายแล้ว ยังทำให้ดินเสื่อมโทรมส่งผลเสียต่อการทำอาชีพการเกษตรโดยตรงอีกด้วย YSF ชวการ ช่องชลธาร เกษตรกรดีเด่น ปลูกอ้อยโรงงาน กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ดำเนินการคัดเลือกเกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นเป็นประจำทุกปี เพื่อเผยแพร่และยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณชน เกิดความภาคภูมิใจในอาชีพตนเอง ตลอดจนเป็นเกษตรกรต้นแบบ เป็นแหล่งเรียนรู้ และศึกษาผลงานจากตัว
เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) จัดพิธีลงนามสัญญาและปฐมนิเทศนักศึกษาผู้ได้รับทุน “โครงการทุนปริญญาตรีเพื่อพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) ประจำปี 2564” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร. วีระพล ทองมา อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ ดร. สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เป็นผู้แทนลงนามทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งผู้ได้รับทุนเป็น Smart Farmer หรือ Young Smart Farmer ที่มีการขึ้นทะเบียนไว้แล้วกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ขึ้นไป ไม่จำกัดสาขา และอายุ มีจำนวน 18 ราย ได้แก่ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ จำนวน 4 ราย สาขาวิชาพืชไร่ จำนวน 5 ราย และสาขาวิชาการประมง จำนวน 9 ราย ทั้งนี้ มีคณบดีทั้ง 3 คณะ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำหรับทุนปริญญาตรีเพื่อพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer) ได้จัดขึ้นเป็นหลักสูตรเฉพาะ โดยบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกัน 3 คณะ ได้แก่ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผลิตกรรมการเกษตร และคณะเทค