เรื่องของผลผลิตต่ำและต้นทุนที่สูงยังคงเป็นปัญหาของเกษตรกรชาวไทยที่ยังแก้ไม่ตก เกษตรก้าวหน้า Ep.1 เสนอ 3 ปัจจัยสำคัญ!!! ที่ทำให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิเพิ่มสูงขึ้น จากเมื่อก่อนผลิตข้าวหอมมะลิได้เพียง 300 กิโลกรัม/ไร่ ปัจจุบันสามารถผลิตข้าวหอมมะลิเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว…3 ปัจจัยที่ว่านี้จะมีอะไรบ้างไปติดตามชมพร้อมกันเลยค่ะ
สามารถติดตามรายละเอียดได้ตามลิงก์นี้ : https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=pfbid0DrGTnh8V9VJQFf2QsL63SkN4oYHvUyVMF354q4GtwqvAiXynQakfdGUzBBqUaLhFl&id=100057332355088&mibextid=Nif5oz
MOST POPULAR
ใครจะคิดว่า “กะปิ” ของที่อยู่คู่ครัวไทย จะกลายเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำ ไคโตซาน ธรรมชาติที่ใช้บำรุงพืช บำรุงดินได้อย่างยอดเยี่ยม ไม่ต้องเสียเงินซื้อไคโตซานราคาแพงอีกต่อไป วันนี้เราจะพาไปรู้จัก “ไคโตซานจากกะปิ” พร้อมสูตรทำเองง่ายๆ และวิธีใช้งานที่เห็นผลจริงในแปลงเกษตร ไคโตซาน (Chitosan) เป็นสารธรรมชาติที่ได้จากการสกัด “ไคติน” ซึ่งพบมากในเปลือกกุ้ง เปลือกปู หรือแม้แต่ใน “เคย” ที่ใช้ทำกะปิ เมื่อสกัดออกมาแล้วจะได้สารไคโตซานที่มีคุณสมบัติช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของพืช ทำให้พืชแข็งแรง ต้านโรค ต้านแมลง และยังช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ร่วนซุยอีกด้วย ประโยชน์ของไคโตซานจากกะปิ วิธีผลิตไคโตซานจากกะปิ ใช้ง่าย ทำเองได้ที่บ้าน วัสดุที่ต้องเตรียม ขั้นตอนการทำ วิธีใช้ไคโตซานจากกะปิ
ก่อนที่จะลงมือปลูกไม้เศรษฐกิจ เรามารู้จักความหมายกันก่อนดีกว่า ไม้เศรษฐกิจ หมายถึง ไม้ยืนต้นทุกชนิด รวมถึงไผ่ที่ปลูก หรือขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่นอกเขตป่าอนุรักษ์ที่มีการใช้ประโยชน์เนื้อไม้ หรือผลิตผลอื่นที่ไม่ใช่เนื้อไม้เพื่อการค้า ดังนั้น อาจกล่าวโดยรวมว่า ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจเป็นไม้ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งให้ประโยชน์ทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้ปลูก นำไปสู่แนวทางส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ตามนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาลที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้เศรษฐกิจในที่ดินกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองที่ดินอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่เป็นไม้หวงห้าม เหมือนการปลูกพืชทั่วไป การตัด ขาย ขนย้าย แปรรูป ไม่ต้องขออนุญาตหรือจะให้เจ้าหน้าที่รับรองไม้เพื่อการค้าการส่งออกก็ได้ โดยการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนที่ดินเป็นสวนป่า วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้านได้รวบรวมไม้เศรษฐกิจ 5 ชนิดมาฝาก และเหมือนจะเป็นไม้นอกสายตาที่หลายคนยังไม่รู้ว่าไม้ชนิดนี้เป็นไม้เศรษฐกิจและมีเนื้อไม้ที่สวยงามมากๆ แถมผลยังกินได้อีกด้วย 1. มะริด มะริดเป็นไม้โบราณดั้งเดิมของไทย อยู่ในกลุ่มไม้เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มดี เนื่องจาก
คนที่ชอบกินผลไม้ หรือใครมีที่ข้างบ้าน ข้างสวน อยากแนะนำปลูกผลไม้ 8 ชนิดนี้มีติดบ้านไม่อดตาย มีกินทั้งปี แถมยังขายเสริมรายได้ได้อีกด้วย หรือตอนนี้บ้านไหน มีผลไม้เหล่านี้อยู่บ้าง มาเล่าสู่กันฟังหน่อยว่าปลูกแล้วเป็นยังไงกันบ้าง อีกอย่างไม้ผลบางชนิดอายุยืนมากๆ เหมาะกับสภาพอากาศแบบบ้านเรา และบางชนิดแตกหน่อออกผลผลิตได้เรื่อยๆ โดยไม่สนใจฤดูกาลให้ผลผลิตทั้งปี 🟡ส้มโอ ส้มโอจะเริ่มให้ผลผลิตครั้งแรกเมื่ออายุ 3-4 ปีขึ้นไป จากนั้นจะให้ผลผลิตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 9-10 ปี และจะให้ผลผลิตดีคงที่ตราบเท่าที่ต้นยังสมบูรณ์ อยู่จนอายุประมาณ 20-30 ปี นิสัยส้มโอทุกสายพันธุ์จะออกดอกติดผลปีละ 2 รุ่น โดยรุ่นแรกออกดอกเดือนธันวาคมถึงมกราคม ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนสิงหาคม-กันยายน (ดกมาก) รุ่นสองออกดอกเดือนสิงหาคม-กันยายน ผลแก่เก็บเกี่ยวเดือนมีนาคมถึงเมษายน (ดกน้อยกว่ารุ่นแรก) แต่ผลรุ่นสองมีคุณภาพดีกว่ารุ่นแรกเพราะผลแก่ตรงกับช่วงแล้ง ถ้าต้องการทำให้ผลรุ่นแรกดีเหมือนรุ่นสองจะต้องควบคุมปริมาณน้ำ โดยเฉพาะน้ำใต้ดินโคนต้นให้ได้เท่านั้น เคล็ดลับ : การใส่ปุ๋ย ในช่วงแรกปลูกไป 1 เดือน จะใส่ปุ๋ยคอก ขี้หมู ขี้วัว ห
วานิลลา (Vanilla) เป็นหนึ่งในเครื่องเทศที่มีความหอมหวานและได้รับความนิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงการผลิตน้ำหอมและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว แม้ว่าในอดีตวานิลลาจะเป็นพืชที่พบมากในพื้นที่เขตร้อนของทวีปอเมริกา แต่ปัจจุบันวานิลลาสามารถปลูกได้ในประเทศไทย ซึ่งกลายเป็นหนึ่งในสินค้าการเกษตรที่มีมูลค่าทางการตลาดสูงและสามารถสร้างรายได้ให้เกษตรกรอย่างมหาศาล เห็นฝักเล็กๆ แบบนี้ราคากิโลกรัมละ 20,000 บาท วันนี้เทคโนโลยีชาวบ้าน จะพาไปทำความรู้จัก “เจ้าวานิลลา” ฝักจิ๋ว แต่ราคาไม่จิ๋ว เผลอๆ บางคนอาจจะไม่เคยเห็นด้วยซ้ำว่าแท้จริงแล้วหน้าตาของวานิลลานั้นเป็นยังไง ตามไปดูเรื่องราวกันได้เลย วานิลลาเป็นพืชในสกุลวานิลลา (Vanilla) ซึ่งอยู่ในตระกูลเดียวกับกล้วยไม้ (Orchidaceae) การได้ฝักวานิลลาต้องผ่านกระบวนการผลิตที่ใช้เวลานานเกือบหนึ่งปี ตั้งแต่ขั้นตอนการผสมเกสรไปจนถึงการบ่มฝักวานิลลา เพื่อให้เกิดสารวานิลลิน (Vanillin) ที่ให้กลิ่นหอม ซึ่งสารนี้มีการนำมาใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายในหลายอุตสาหกรรม ความพิเศษของวานิลลาทำให้ราคาสูง ราคาของวานิลลาในท้องตลาดมักจะสูงกว่าพืชผลเกษตรอื่นๆ หลายเท่า ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัยส