ที่สวนส้มโอ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรสูงเนิน จำกัด ตำบลกุดจิก อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา นายกิตติพงศ์ พงศ์สุรเวท ประธานที่ปรึกษาสหกรณ์การเกษตรสูงเนิน จำกัด รองประธานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย นางรุ่งทิพย์ บุกขุนทด ผอ.ททท.สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา ร่วมกันลงพื้นที่สำรวจคุณภาพและกระบวนการเพาะปลูกส้มโอพันธุ์ขาวน้ำผึ้ง และพันธุ์ทองดี เพื่อเตรียมผลักดันให้สวนส้มโออำเภอสูงเนิน เป็นแหล่งท่องเที่ยวนำเสนอจุดเด่น เป็นสินค้าทางการเกษตร สามารถเชื่อมโยงเส้นทางท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอสูงเนิน มี นายทวี กรันสูงเนิน อายุ 77 ปี เจ้าของสวนส้มโอ และสมาชิกชาวสวนส้มโอสูงเนินให้การต้อนรับ นำชมการบริหารจัดการสวนและชิมความอร่อยอของส้มโอ บรรยากาศเป็นไปอย่างชื่นมื่น
ขอบคุณข้อมูลจากมติชนรายวัน
MOST POPULAR
เมื่ออดีตคน “เล่าเรื่อง” หันมาทำเกษตร แล้วใช้ชีวิต “เล่าเรื่อง” อะไรจะเกิดขึ้น? . พี่เช็ค-สุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ อดีตพิธีกรชื่อดังระดับตำนานแห่งรายการน้ำดี “คนค้นฅน” จะมาถ่ายทอดเรื่องราว ประสบการณ์ และแรงบันดาลใจที่เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเกษตร จุดเริ่มต้นของฟาร์ม-เล็ก-เล็ก และจุดเริ่มต้นของการแบ่งปัน ที่ไม่เคยถ่ายทอดที่ไหนมาก่อนแน่นอน! . “ถ้าเอาไม้บรรทัดของคนที่ต้องทำเกษตร เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต มาวัดการทำเกษตรของพี่อันนี้ก็ล้มเหลว เพราะว่ามันไม่ค่อยเป็นจริงเรื่องรายได้ที่จะมาเลี้ยงชีวิต แต่เราอยากกินผักที่ปลอดภัย เราอยากให้คนได้กินผักที่ปลอดภัย เราอยากสร้างแหล่งเรียนรู้เล็กๆ กลางเมือง เพราะฉะนั้นการทำการเกษตรเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือเรื่องความรู้ เรื่องรู้จริง ประการต่อมาก็คือเป้าหมาย เราคาดหวังอะไรจากการทำ การบริหารจัดการให้เป็นจริงตามที่เราคาดหวังได้เป็นเรื่องสำคัญ” . #เช็คคนค้นฅน #ฟาร์มเล็กเล็ก #เกษตรอินทรีย์ #เกษตรกลางเมือง #เกษตรแบ่งปัน #เกษตรยั่งยืน #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
คุณพงพันธ์ เทพไทย (พัน) Young Smart Farmer จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชายผู้มีความสุขในการทำเกษตร ซึ่งคุณพันได้เริ่มทำเกษตรมาตั้งแต่อายุ 20 ปี จนถึงปัจจุบันเขาก็ยังได้ส่งต่อแนวคิดดีๆ ในการทำเกษตรในรูปแบบ “เกษตรทฤษฎีใหม่ หรือ เกษตรผสมผสาน” ให้กับลูกๆ และเด็กรุ่นใหม่ที่อยากเรียนรู้อีกด้วย อันดับแรกมาทำความรู้จักเกี่ยวกับคำว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่” กันก่อน เกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นทฤษฎีแนวทางในการบริหารจัดการที่ดินและน้ำ เพื่อการเกษตรในที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความยากลำบากให้ผ่านพ้นวิกฤตมาได้ แบ่งพื้นที่จัดสรรในการทำสวนตามอัตราส่วน 30 : 30 : 30 : 10 จุดเริ่มต้นของการทำเกษตรผสมผสาน คุณพัน เล่าว่า จุดเริ่มต้นมันเกิดจาก “ความรักในการทำเกษตร” ซึ่งการจะเป็นเกษตรกรไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเกษตรเป็นเรื่องของการเอาใจใส่ และเวลาในการเพาะเลี้ยง แต่เมื่อมันออกผลผลิตให้เราแล้ว ผลผลิตเหล่านั้นจะทำให้เราอยู่ได้แถมสร้างรายได้ให้เราอีกด้วย และที่สำคัญคือ ‘เราเป็นนายตัวเอง’ ช่วงหนึ่งในการพูดคุยคุณพันได้เล่า
จากวันนั้นถึงวันนี้เกือบ 4 ปีแล้วที่ทางเทคโนโลยีชาวบ้านได้เคยสัมภาษณ์เกษตรกรรุ่นใหม่ท่านหนึ่ง ที่เขาได้ตั้งฉายาให้ตัวเองว่า “ไทบ้านฟาร์มเมอร์” โดยมีที่มาจากที่เขาเป็นคนต่างจังหวัด และมีวิถีชีวิตและหลักคิดในการทำเกษตรแบบบ้านๆ การสื่อสารกับผู้คนก็เป็นหลักคิดง่ายๆ เป็นกันเอง ชาวบ้านคนธรรมดาฟังแล้วรู้เรื่อง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ มาถึงปัจจุบันบทบาทหน้าที่ของหนุ่มไทบ้านคนนี้มีมากขึ้น คือการได้รับเลือกเป็นประธานสภาเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์ และยังคงไม่ทิ้งงานเกษตรที่เป็นเหมือนลมหายใจของเขา จากจุดเริ่มต้นมีพื้นที่ปลูกผักสลัดลงดินเล็กๆ สู่การพัฒนาพื้นที่กว่า 6 ไร่ เพื่อขยับขยายพื้นที่ทำการเกษตร พร้อมกับการเป็นต้นแบบเกษตรกร สร้างโมเดลทำเกษตรบนพื้นที่น้อยแต่สร้างรายได้มาก ให้สำหรับผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานเพื่อนำไปประกอบอาชีพในอนาคต คุณวุฒิพงษ์ พลอยวิเลิศ หรือ คุณกระต่าย อยู่บ้านเลขที่ 751 หมู่ที่ 14 ตำบลบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เกษตรกรนักพัฒนาโมเดลทำเกษตรพื้นที่น้อย แต่สร้างรายได้สูง มีพื้นที่ 1 งาน ก็สามารถสร้างรายได้หลักหมื่นได้ไม่ยาก จากเมื่อ 4 ปีก่อนที่เริ่มทำเกษตร คุณกระ
คุณพร้อมพงษ์ คำมุงคุณ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์คนเก่ง ให้ข้อคิดหลักการทำเกษตรเบื้องต้นว่า “ทำการเกษตร ถ้ารู้จักจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะมีพื้นที่กี่ไร่ มีน้อย มีมาก ก็สามารถสร้างรายได้ อย่างไม่ขัดสนได้เช่นกัน คุณพร้อมพงษ์ คำมุงคุณ อยู่บ้านเลขที่ 100 หมูที่ 1 ตำบลหนองบัว อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร เจ้าตัวบอกว่า หลังลาออกจากงาน ก็มาเริ่มลุยงานเกษตรแต่ความรู้งานเกษตรมีน้อยมาก รู้แค่ว่าอยากปลูกอยากขายเท่านั้น แต่ไม่รู้วิธีการอื่นๆ เพราะฉะนั้นก่อนลงมือทำ จำเป็นต้องเข้าอบรมตามแหล่งศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ ได้มีการลงสนามทำจริง ปลูกจริง ทำให้รู้ว่างานเกษตรกรรมนอกจากจะต้องสู้กับฝนฟ้าอากาศแล้ว ยังต้องสู้กับพ่อค้าคนกลางอีกด้วย กว่าที่ผลผลิตจะไปถึงมือผู้บริโภค ก็เสียเปรียบจนแทบไม่เหลืออะไร จึงได้ข้อคิดแล้วว่า หากคิดจะทำการเกษตร ก่อนลงมือปลูก คือต้องศึกษาหาตลาดก่อน ทางรอดของเกษตรกรคือ ต้องสามารถเป็นได้ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ให้ได้ควบคู่กันไป “เมื่อเข้าใจวิธีการปลูกและการตลาดอย่างลึกซึ้งแล้ว จึงเริ่มลงมือปฏิบัติ พืชที่เลือกปลูกเป็นอย่างแรกคือ มะนาว เนื่องจากเมื่อปี ’53 ตอนนั้นยังเรียนมหาวิทย