เว็บไซต์นี้ใช้คุ้กกี้เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขี้น อ่านเพิ่มเติมคลิก (Privacy Policy) และ (Cookies Policy)
News ประมง

รู้จักมาตรฐานฟาร์ม “มกษ.7436-2563” สร้างความมั่นใจสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค

มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 7436-2563 คือ การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มสัตว์เลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค เป็นมาตรฐานสมัครใจที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศกำหนดขึ้นในปีพ.ศ. 2563 มีขอบข่ายครอบคลุมกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ทั้งการเลี้ยงในบ่อและการเลี้ยงในแหล่งน้ำสาธารณะ ตั้งแต่การเลี้ยง การจับ จนถึงหลังการจับก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม   โดยจุดเด่นของมาตรฐานฯ คือเกษตรกรสามารถขอการรับรองสัตว์น้ำหลายชนิดพร้อมกันได้ภายใต้มาตรฐานฉบับเดียว

มกษ. 7436-2563 ประกอบด้วยข้อกำหนดสำคัญ 9 ข้อ ได้แก่

1.สถานที่

2.การจัดการเลี้ยง

3.การจัดการคุณภาพสัตว์น้ำ

4.การใช้ยาสัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพ

5.สุขลักษณะภายในฟาร์ม

6.การจัดการน้ำทิ้ง

  1. การจับและการปฏิบัติหลังการจับ ก่อนการขนส่งออกจากฟาร์ม

8.ผู้ปฏิบัติงาน

9.การเก็บหลักฐานและการบันทึกข้อมูลยกเว้น จระเข้ สาหร่ายทะเล และกุ้งเครย์ฟิช

ยื่นคำขอรับรองได้ที่ไหน

ทั้งนี้เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจ มาตรฐาน มกษ. 7436-2563 สำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือยื่นคำขอรับการตรวจรับรองได้ที่ กองพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานสินค้าประมงและหลักฐานเพื่อการสืบค้น (กมป.) อาคารเชิดชาย อมาตยกุล ชั้น 5 กรมประมง เกษตรกลาง แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทรศัพท์ 02- 579-7738 , 02-558-0189

ฟาร์มปูนาเข้าสู่มาตรฐาน

“มกษ. 7436-2563”  

ฟาร์มแคร๊บเฮ้าส์ แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร นับเป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงปูนาแห่งแรกที่สมัครใจเข้าสู่ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภค ( มกษ.7436-2563)

ฟาร์มแคร๊บเฮ้าส์ ก่อตั้งในปี 2560 เริ่มจากทดลองเลี้ยงปูนาในบ่อดิน และบ่อปูน แต่ได้ผลผลิตต่ำ จึงหันมาทดลองเพาะเลี้ยงปูนาในกระชังพลาสติก เพื่อลดปัญหาปนเปื้อนดินโคลน และลดปัญหาปรสิตปูนา ซึ่งวิธีการดังกล่าว ถูกเรียกว่า “การเพาะเลี้ยงปูนาในกระชังน้ำใส”

ปัจจุบัน ทางฟาร์มได้มีการนำปูนามาแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ปูนาน้ำใสดอง หลนปูนา ลาบปูนา ฯลฯ  สินค้าขายดี แต่ผลิตปูนาไม่เพียงพอต่อการนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จึงสร้างเครือข่ายลูกฟาร์มทั่วประเทศพร้อมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปูนาแบบครบวงจร เพื่อส่งต่อข้อมูลเรื่องารเพาะเลี้ยงปูนาตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ปู การปรับสภาพการเลี้ยง การอนุบาลลูกปู ฯลฯ  ให้แก่ผู้สนใจ ปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนมากสนใจเพาะเลี้ยงปูนาเชิงการค้า ตอบสนองความต้องการของธุรกิจการแปรรูปอาหารจากปูนา ซึ่งตลาดมีความต้องการตลอดทั้งปี

 

Related Posts