Video Content
“พี่ตั้งสโลแกนไว้เลยนะว่าพี่อยากให้ที่นี่เป็น “หลุมหลบภัย” เพราะพี่เข้ามาที่นี่จากพื้นที่แห้งแล้ง เราจะทำให้เป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหาร เป็นที่ที่สงบร่มเย็น เอาไว้สำหรับครอบครัว และคนที่รักกันเข้ามาหา เขาก็จะได้พักผ่อนหย่อนใจ มีผักที่ดีๆ กลับไป เพราะเชื่อว่าในอนาคตทุกอย่างจะขาดแคลน ไม่ใช่เฉพาะแค่อาหาร แต่ที่เราจะขาดแคลนกันมากคือความสุขสงบ เราจะเริ่มหากันได้ยากขึ้น พี่เลยอยากทำให้ที่นี่มีความสุขสงบ ในขณะที่เราก็อิ่มท้อง และอุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหาร เราจะต้องมีทั้งผักระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว หากเกิดภาวะวิกฤตต่างๆ เราก็สามารถอยู่ตรงนี้ได้โดยที่ไม่ต้องดิ้นรนหรือเดือดร้อนอะไร” พี่แอน เจ้าของฟาร์มผักเกษตรสุข ณ. ทุ่งเขาเขียว อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เกษตรกรหัวใจสีเขียวผู้หลงใหลในธรรมชาติ และมีความปรารถนาอันแรงกล้าในการปลูกผักอินทรย์เพื่อฟื้นฟูสุขภาพ และฟื้นฟูธรรมชาติให้อยู่คู่กับโลกไปได้อีกยาวนาน #เกษตรอินทรีย์ #ปลูกผักอินทรีย์ #เทคนิคปรุงดินปลูกผัก #เทคโนโลยีชาวบ้าน #technologychaoban
ในยุคที่พื้นที่ทำการเกษตรมีความจำกัด การใช้ประโยชน์จากพื้นที่เล็กๆ อย่างมีประสิทธิภาพกลายเป็นความจำเป็นสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ หนึ่งในแนวทางที่กำลังได้รับความนิยมคือ การเลี้ยงปลาในระบบพื้นที่น้อย เน้นการจัดการที่ดีใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อให้ได้เนื้อปลาที่มีคุณภาพสูง คุณน้ำมนต์-ธีรเวชช์ ยิ้มแดง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้พื้นที่ จึงได้สร้างบ่อผ้าใบขนาด 3 x 6 เมตร และถังที่จุน้ำได้ 1,000 ลิตร มาเลี้ยงปลาดุกในระบบหนาแน่น โดยใช้เทคโนโลยีตั้งแต่ระบบถังกรองน้ำ ระบบจุลินทรีย์ ทำให้ปลาดุกที่เลี้ยงในระบบนี้ไม่มีกลิ่นโคลน และกลิ่นสาบในเนื้อปลา อ่านบทความเพิ่มเติมได้่ที่ เลี้ยงปลาดุกในถัง 1,000 ลิตร
“ฟาร์มไข่ผำต้นแบบระดับอุตสาหกรรม โดย มทส.” ถูกออกแบบ ติดตั้ง วางผังและวางระบบฟาร์มแบบสั่งตัด การจัดการฟาร์มง่ายแต่สอดคล้องกับมาตรฐาน GAP การวางผังฟาร์มเน้นความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากที่สุด (ทำน้อยได้มาก) เป็นฟาร์มต้นแบบที่มีกำลังการผลิตบ่อขนาดกลางและขนาดใหญ่สูงสุดเท่ากับ 0.5 ตันสดต่อปีต่อบ่อ 20 ตารางเมตร และ 2.6 ตันสดต่อปีต่อบ่อ 100 ตารางเมตร ตามลำดับ เหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรสูงวัย วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการเกษตรรายเล็กและรายใหม่ สามารถนำต้นแบบนี้ไปขยายผลเชิงพาณิชย์ นอกจากเป็นการสร้างอาชีพ สร้างรายได้แล้ว ยังช่วยลดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบต้นน้ำ/ไข่น้ำปลอดภัยโปรตีนสูงเสถียรสำหรับอุตสาหกรรมอาหารคนและอาหารสัตว์อีกด้วย สำหรับประชาชน เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการที่สนใจ สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.อารักษ์ ธีรอำพน โทร.063-645-6494, สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มทส. จังหวัดนครราชสีมา #ไข่ผำ #ฟาร์มไข่ผำต้นแบบ #มทส #อุตสาหกรรม #เทคโนโลยีชาวบ้าน
ลุงสุชล สุขเกษม เกษตรกรหัวก้าวหน้าที่ชุมชนบ้านสารภี อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ทำเกษตรบนพื้นที่ 1 ไร่ มีรายได้ 2 แสนบาทต่อปี ซึ่งภายในสวนของลุงสุชลจะเน้นทำเกษตรแบบผสมผสาน ตั้งแต่การปลูกพืช เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะไก่ไข่ โดยขี้ไก่ที่ได้จากการเลี้ยงด้วยวิธีไก่ชิงช้าสวรรค์ ไก่หลุม และไก่ตะกร้า ถือเป็นปุ๋ยชั้นดีช่วยประหยัดต้นทุนในการปลูกพืช และที่สำคัญขายเกิดรายได้ต่อกระสอบอยู่ที่ 100 บาท จากนั้นนำมาเพิ่มมูลค่าทำเป็นขี้ไก่อัดเม็ด ขายกระสอบละ 600 บาท มีกำไรเพิ่มหลายเท่าตัว อ่านเพิ่มเติมได้ที่ การทำปุ๋ยใช้เองจากมูลสัตว์
นวัตกรรมเครื่องดูดเลน เป็นผลงานของเกษตรกรนักประดิษฐ์ “คุณวิเชียร เนียมจ้อย” เจ้าของสวนกล้วยและมะนาว ชื่อ “สวนโชควิเชียร” ใน อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี เพื่อลดต้นทุนการผลิต ในการว่างจ้างคนงานมาลอกเลนในร่องสวนเนื้อที่ 10 ไร่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายครั้งละ 3 หมื่นบาท ซึ่งคนงานสามารถลอกเลนได้ วันละ 25 วา โดยต้องสูบน้ำออกก่อน หากไม่สูบน้ำออกจะไม่สามารถเอาเลนออกได้ คุณวิเชียรได้นำหลักการทำงานของเครื่องสูบน้ำ มาพัฒนาต่อยอดจนได้ “เครื่องดูดเลน” ที่ใช้ง่าย ทำงานไว โดย 1 วัน สามารถดูดเลนได้ประมาณ 100 วา (1 วา เท่ากับ 2 เมตร) โดยไม่ต้องสูบน้ำออกก่อน เครื่องดูดเลนสามารถใช้งานได้ทุกพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการดูดเลนในบ่อปลา บ่อกุ้ง บ่อขี้หมู หรือร่องสวน หลังนวัตกรรมนี้ถูกเผยแพร่ออกไป มีเกษตรกรจากทั่วประเทศสนใจสั่งซื้อผลงานดังกล่าวเป็นจำนวนมาก หากใครสนใจนวัตกรรมชิ้นนี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับคุณวิเชียร ได้ทาง LINE/เบอร์โทร. 081-927-7299 วิเชียร เนียมจ้อย จบ ป.4 ผลิตเครื่องดูดเลน ประสิทธิภาพดีเยี่ยม
พูดถึง “ปลาสลิด” 🐟 หลายคนคงนึกถึงบางบ่อ แต่รู้ไหมว่า 📍“บ้านแพ้ว” ตอนนี้ขึ้นแท่นแหล่งเลี้ยงปลาสลิดที่ใหญ่ที่สุด และถ้าได้เห็นกรรมวิธีการผลิตของ “ปลาสลิดเกษตรพัฒนา” บอกเลยว่าต้องอยากซื้อแน่นอน❗️ เพราะใส่ใจทุกขั้นตอน ตั้งแต่เลี้ยงจนถึงมือผู้บริโภค ได้ปลาสลิดสด คุณภาพ ได้มาตรฐาน อย. รับรองถูกใจสายกิน 😍 👩🏻🌾 คุณยุ้ย-อุมารินทร์ เกตพูลทอง รองประธานวิสาหกิจชุมชน ปลาสลิดเกษตรพัฒนา จากอดีตพนักงานประชาสัมพันธ์โรงพยาบาล สู่เส้นทางใหม่ที่ไม่ธรรมดา ผันตัวมาพัฒนา “ปลาสลิด” ให้ได้คุณภาพมาตรฐาน สร้างรายได้ให้กับชุมชน คุณยุ้ยเล่าความหลังว่า “เมื่อก่อนไม่ทานปลาสลิดเลย เวลาเห็นปลาสลิดในตลาดวางบนกระด้ง มีแมลงวันบินว่อน บางครั้งก็เห็นไข่แมลงวันเกาะอยู่บนตัวปลา ทำให้ไม่กล้ากินตั้งแต่นั้นมา แต่พอกลับมาช่วยที่บ้านที่เลี้ยงปลาสลิด เลยคิดว่า ถ้าเราทำให้ปลาสลิดของเรา สด สะอาด และปลอดภัย ได้ มันต้องเปลี่ยนความรู้สึกคนกินได้แน่ๆ นี่แหละค่ะ จุดเริ่มต้นของกระบวนการผลิตปลาสลิดที่เราภูมิใจ” 📌หากท่านไหนสนใจและอยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยง การแปรรูปปลาสลิด สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้
“ปูเป้ทำเอง” ปรุงดินจากเศษอาหาร สร้างรายได้ในพื้นที่รอบบ้าน ทำเอง ปลูกเอง กินเอง กับปูเป้ หรือ สุพัตรา ไชยชมภู เจ้าของเพจปูเป้ทำเอง ผู้รังสรรค์พื้นที่รอบบ้านให้กลายเป็นแหล่งอาหาร ปลูกผัก แปรรูป และทำดินสร้างความมั่นคงทางอาหารที่เก็บกินได้ในรั้วบ้านด้วยพื้นที่เล็ก ๆ เพียง 60 ตารางวา “เราเป็นคนชอบทำนั่นแหละ เราทำจากของใกล้ตัว จริง ๆ ก็ไม่ได้เริ่มจากอะไรเลย เริ่มจากของที่เรากินของที่เราใช้ เรากินอะไรเราก็ปลูกสิ่งนั้น” เริ่มจากสิ่งที่กินสู่การมีผลิตภัณฑ์ของตัวเองในชื่อ ‘ปูเป้ทำเอง’ “ปูเป้ทำเอง” ปรุงดินจากเศษอาหาร สร้างรายได้ในพื้นที่รอบบ้าน #technologychaoban #เทคโนโลยีชาวบ้าน #ปูเป้ทำเอง #ปลูกผักข้างบ้าน
🧑🌾 ป้านา หรือ ธนพร โพธิ์มั่น เจ้าของฟาร์มเห็ดสุดเก๋าแห่งปทุมธานี “ฟาร์มเห็ดป้านา ตำบลลาดหลุมแก้ว” จากผู้ช่วยพยาบาล สู่กูรูเห็ด! ที่เริ่มต้นจากหนังสือเล่มเดียว “ปลูกเห็ดแล้วรวย” 💰 แต่เส้นทางความสำเร็จไม่ได้ง่าย ปัญหาหนี้สินและความล้มเหลวเป็นบทเรียนที่ป้านาเจอมาเต็มๆ แล้วทำไมป้านาถึงเปลี่ยนจาก “ทำมากได้มาก” เป็น “ทำน้อยได้มาก” ได้? มาดูเรื่องราวแรงบันดาลใจและบทเรียนสุดล้ำไปพร้อมกัน✨ “บริหารแบบคนจน” ฟาร์มเห็ดป้านา จากล้มเหลว สู่ความสำเร็จ #เพาะเห็ด #ฟาร์มเห็ดป้านา #technologychaoban #เทคโนโลยีชาวบ้าน
พลูเป็นพืชที่ปลูกง่าย เก็บขายได้เร็ว ขายได้ราคา ส่งขายได้ทั้งในและต่างประเทศ แต่ปลูกยังไงให้ได้เงินล้าน? “เทคนิคสำคัญของสวนผมเลยคือการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ ปลูกพลูในโรงเรือนพลาสติก จะช่วยป้องกันโรคและแมลงได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ การปลูกพลูถ้าเอาโรคและแมลงอยู่ เรื่องอื่นก็ไม่ยาก” สนใจสอบถามรายละเอียดการปลูกพลูเพิ่มเติมได้ที่ คุณเฉลิมชัย เนียมมณี เจ้าของสวนเอพันธุ์ไม้ จังหวัดนครปฐม โทร. 064-653-6659
#หอยขมยักษ์รัตนะ กำลังเป็นที่สนใจสำหรับผู้ต้องการเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เนื่องจากหอยชนิดนี้มีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าหอยขมทั่วไป และมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว ทำให้หลายๆ คนที่ต้องการสร้างรายได้เลี้ยงเป็นอาชีพมากขึ้น คุณเบียร์-พรพิรุณ วงษ์ละคร ได้เล็งเห็นช่องทางการสร้างรายได้ จึงนำมาทดลองเลี้ยง พร้อมทั้งเพาะพันธุ์ขายออกสู่ตลาด โดยเน้นทำตลาดออนไลน์ช่วยให้ส่งขายได้ไกลทั่วประเทศ จนเวลานี้หอยขมยักษ์รัตนะที่ฟาร์มแห่งนี้ ผลิตไม่ทันขายกันเลยทีเดียว