เกลือบริโภค
เป็นเกลือชนิดที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุด เกลือชนิดนี้จะมีการเสริมไอโอดีนลงไปเพื่อป้องกันการเกิดโรคคอหอยพอก ทำให้มีความเค็มเป็นพิเศษ มีโซเดียมค่อนข้างสูง
ลักษณะ : เม็ดร่วนแห้ง สีขาวสะอาด
นิยมใช้ : ปรุงอาหารทั่วไป มีไอโอดีน
เกลือโคเชอร์
ลักษณะ : คล้ายเกลือบริโภคแต่เกล็ดใหญ่กว่า เนื้อหยาบ สีขาวขุ่น
นิยมใช้ : ปาดขอบแก้วเครื่องดื่มมาร์การิต้า เพิ่มรสชาติเค็มที่ปลายลิ้นได้เป็นอย่างดีและใช้หมักถนอมอาหาร ใช้เป็นน้ำเกลือบรรจุกระป๋อง
เกลือหิมาลายัน
จะมีโซเดียมที่น้อยกว่าเกลือทะเล มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายถึง 84 ชนิด
ลักษณะ : เม็ดเกลือมีลักษณะสีชมพู
นิยมใช้ : สายสุขภาพมักนำมาโรยอาหารปรุงเสร็จใหม่หรือผักสลัด มีสรรพคุณช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ช่วยดูแลสุขภาพช่องปาก
เกลือทะเล
ได้จากท้องทะเลโดยตรง ทำให้มีความเค็มสูงมาก บางที่มีความหวาน บางที่มีความขม แต่เกลือชนิดนี้ อุดมด้วยแร่ธาตุที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะไอโอดีน
ลักษณะ : เม็ดใหญ่ ผิวสัมผัสค่อนข้างหยาบ
นิยมใช้ : ปรุงอาหารทั่วไป ต้ม ทอด
ดอกเกลือ
มีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าเกลือชนิดอื่นๆ มีรสเค็มอมหวานกลมกล่อม
ลักษณะ : เบาบางลอยอยู่บนผิวน้ำของนาเกลือ
นิยมใช้ : ผลิตภัณฑ์เกลือสปาขัดผิว สามารถนำไปทำเป็นสบู่ สครับผิว หรือเพิ่มรสชาติเนื้อสัตว์
เกลือลาวา
มีโซเดียมเพียงแค่ 84% และมีแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกายเจือปนอยู่มาก
ลักษณะ : เม็ดเกลือสีดำเกิดจากการระเหยของน้ำทะเลผสมกับผงถ่านกะลามะพร้าว
นิยมใช้ : ปรุงเนื้อสเต๊กหรืออาหารทะเล
เกลือรมควัน
ลักษณะ : เกลือทะเลนำมารมควันกับไม้โอ๊ก ไม้แอปเปิ้ล
นิยมใช้ : ปรุงกับผักและเนื้อเพื่อชูรสชาติและเพิ่มกลิ่นหอม
เกลือหิน
มีแร่ธาตุสำคัญมากมาย ไม่ว่าจะเป็น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี โพแทสเซียม แมกนีเซียม ทองแดง เป็นต้น
ลักษณะ : มีทั้งสีขาว สีเทา สีเหลือง ซึ่งขึ้นอยู่กับแร่ธาตุ และสิ่งที่เจือปนอยู่ในทะเล
นิยมใช้ : เกลือชนิดนี้ไม่นิยมนำมาประกอบอาหาร แต่มักถูกนำไปใช้ในการหมักดองผลไม้ หรือแช่ในถังไอศกรีมเพื่อคงความเย็นมากกว่า