กระเทียม
นางสาวกาญจนา ขวัญเมือง รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์พืชหัว กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ปีเพาะปลูก 2567/68 (ข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนมีนาคม 2568) คาดว่า ประเทศไทย มีพื้นที่ปลูกกระเทียม 52,067 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีพื้นที่ปลูก 52,457 ไร่ (ลดลง 390 ไร่ หรือร้อยละ 0.74) ให้ผลผลิต 55,306 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่จำนวน 53,714 ตัน (เพิ่มขึ้น 1,592 ตัน หรือร้อยละ 2.96) เนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็นเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต มีปริมาณน้ำเพียงพอ ไม่มีโรคพืชและแมลงศัตรูพืชระบาด ซึ่งแหล่งปลูกกระเทียมที่สำคัญคือ เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน สำหรับหอมแดง คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 53,863 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีพื้นที่ปลูก 54,266 ไร่ (ลดลง 403 ไร่ หรือร้อยละ 0.74) ผลผลิต 152,469 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 148,239 ตัน (เพิ่มขึ้น 4,230 ตัน หรือร้อยละ 2.85) เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ไม่มีโรคพืชและแมลงศัตรูพืชรบกวน แหล่งผลิตที่สำคัญ ได้แก่ ศรีสะเกษ เชียงใหม่ และลำพูน เป็นต้น และหอมหัวใหญ่ คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 7,826 ไร่ ลดลงจากปีที
“อย่ารับประทานของทอดของมัน เดี๋ยวคอเลสเตอรอลขึ้น” ท่านผู้อ่าน ทุกท่านเคยได้ฟังมาทุกคน แต่ในทางปฏิบัติ นั้นยากเหลือเกินที่จะหลีกเลี่ยงมื้ออาหารลักษณะนี้ มีรายงานจากองค์การอนามัยโลกว่า หากลดระดับคอเลสเตอรอลลง 10% สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ถึง 50% นอกจากนั้น จากการสํารวจพบอีกว่า กลุ่มประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่ำซึ่งสาเหตุหลัก คือ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลมากเกินไปและอาหารจําพวกไขมันส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็อาจมาจากยาบางชนิด โรคบางชนิด กรรมพันธุ์ของผู้ป่วยก็เป็นไปได้เช่นกัน โดยปกติแล้วระยะต้นของการมีคอเลสเตอรอลสูง ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่เมื่อระดับคอเลสเตอรอลสูงไปเป็นระยะเวลานาน จะทําให้เกิดการสะสมและอุดตันของไขมันตามหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดในสมองตีบได้การรักษา ปัจจุบันก็จะให้ผู้ป่วยควบคุมอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงออกกําลังกาย ซึ่งหากผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดสูง ก็อาจจะต้องใช้ยาลดไขมันร่วมด้วยเช่นกัน สําหรับสรรพคุณของกระเทียมในการลดไขมันนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากมีการวิจัยมากมายเกี่ยวกับสรรพคุณของกระเทียม แต่งานวิจัยมากมายเหล่านั้นอาจให้ผลก
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์พืชหัวปีเพาะปลูก 2566/67 กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ (ข้อมูล ณ ตุลาคม 2566) กระเทียม คาดว่าประเทศไทยมีเนื้อที่ปลูก 52,916 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ที่มีเนื้อที่ปลูก 54,583 ไร่ (ลดลงร้อย 3.05) ให้ผลผลิต 54,653 ตัน ลดลงจาก 59,326 ตัน (ลดลงร้อยละ 7.88) เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้งและบางพื้นที่มีแหล่งน้ำไม่เพียงพอ ประกอบกับต้นทุนการผลิตสูง โดยแหล่งปลูกที่สำคัญ 3 ลำดับแรก คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน หอมแดง คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 54,858 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมา ที่มีเนื้อที่ 55,830 ไร่ (ลดลงร้อยละ 1.74) ให้ผลผลิต 143,988 ตัน ลดลงจาก 149,312 ตัน (ลดลงร้อยละ 3.57) เนื่องจากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ประกอบกับสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย แหล่งปลูกที่สำคัญ 3 ลำดับแรก ได้แก่ ศรีสะเกษ เชียงใหม่ และลำพูน หอมหัวใหญ่ คาดว่าจะมีเนื้อที่ปลูก 9,640 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีเนื้อที่ปลูก 7,955 ไร่ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.18) ผลผลิต 32,967 เพิ่มขึ้นจาก 28,265 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.64) เนื่องจากปีที่ผ่านมาราค
นักวิทยาศาสตร์ต่างชาตินำกระเทียมจากออสเตรเลียมาวิเคราะห์ด้วยแสงซินโครตรอนที่ประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีบทบาทต่อความเข้มข้นของ “อัลลิซิน” ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ทางยาในกระเทียม สู่เป้าหมายในการผลิตกระเทียมที่ให้สารดังกล่าวในปริมาณสูง เพื่อประโยชน์ต่อการแปรรูปเป็นกระเทียมอัดเม็ดหรือแคปซูลในอุตสาหกรรมเภสัชโภชนศาสตร์ นครราชสีมา – รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ (Assoc. Prof. Stephen Harper) นักวิจัยจากวิทยาลัยการเกษตรและอาหาร (School of Agriculture and Food Sciences) มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ (The University of Queensland) ออสเตรเลีย และ ดร.บินห์ เหงียน (Dr.Binh Nguyen) นักวิจัยชาวเวียดนาม ซึ่งจบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ได้เดินทางมาใช้บริการแสงซินโครตรอน ณ ระบบลำเลียงแสงที่ 8 สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จ.นครราชสีมา รศ.สตีเฟน ฮาร์เปอร์ กล่าวว่า “เราใช้แสงซินโครตรอนด้วยเทคนิคการดูดกลืนรังสีเอกซ์ (XAS) เก็บข้อมูลรูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ ในกระเทียมหลากหลายสายพันธุ์และกระเทียมที่ปลูกด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ว่ารูปแบบของธาตุซัลเฟอร์ตั้งต้นมีผลต่อปริมาณสาร “อัลล
กระเทียม เป็นสมุนไพรที่คนทั่วโลกทุกวัฒนธรรมต่างรู้จัก ในคัมภีร์ไบเบิลกล่าวว่า กระเทียมเป็นอาหารของพวกทาสอิสราเอลมาตั้งแต่ครั้งถูกเกณฑ์ไปสร้างพีระมิด ในพระคัมภีร์บอกว่า กระเทียมจะทำให้พวกทาสมีกำลังและเป็นยาบำรุง ในจีนมีบันทึกการใช้กระเทียมมากกว่า 4,000 ปี ว่าข้าราชบริพารในจักรพรรดิหว่างตี้ ปีนขึ้นไปบนภูเขาสูงและกินหญ้าพิษเข้าไปแทบเอาชีวิตไม่รอด แต่ได้กินกระเทียมป่าที่ขึ้นในบริเวณนั้นเข้าไปจึงเอาชีวิตรอดมาได้ หมอจีนจึงใช้กระเทียมเข้ายามาโดยตลอด กระเทียมมีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชีย แต่ได้แพร่หลายไปทั่วโลก แม้แต่ยุโรป โรคที่กระเทียมรักษาได้นั้น มีตั้งแต่ โรคพยาธิ โรคปวดหัว โรคหืด โรคที่เกี่ยวกับประจำเดือน โรคหวัด แต่หลังๆ มานี่ มีการวิจัยของกระเทียมในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดกันมาก รวมถึงฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ลดระดับไขมันและคอเลสเตอรอลในเลือด ตำราสมุนไพรในต่างประเทศแนะนำให้กินกระเทียมบด 1 กลีบโตๆ พร้อมนม 1 แก้วทุกเช้าเพื่อบำรุงร่างกาย หรือแนะนำให้ทำน้ำมันกระเทียมเก็บไว้กินโดยใช้กระเทียมประมาณ 2 ขีดครึ่ง บดให้ละเอียดใส่โหลปากกว้างและเติมน้ำมันมะกอกให้เต็ม ปิดฝาให้สนิท ตั้งตากแดดทิ้งไว้
บ้านหินเหิบ ต.แหลมทอง อ.ภักดีชุมพล เป็นแหล่งปลูกหอม ปลูกกระเทียมแหล่งใหญ่ของจังหวัดชัยภูมิ รวมแล้วมีเนื้อที่ปลูกมากถึง3 พันไร่ แต่ละบ้านจะมีที่โรงเก็บหอมกระเทียมอยู่ข้างบ้านขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างตามกำลังทรัพย์ นอกจากจะปลูกหอมกระเทียมส่งขายต่างประเทศแล้ว ยังปลูกพริกเม็ดใหญ่แบบพริกชี้ฟ้าอีกด้วย ชอบใจตรงที่โรงเรียนบ้านหินเหิบซับภูทองของตำบลนี้ จะปั้นกระเทียมอันเบ้อเริ่มเป็นสัญลักษณ์ให้ผู้มาเยือนได้ทราบว่าที่นี่คือแหล่งปลูกหอม กระเทียม ซึ่งเกษตรกรปลูกกันมานานกว่า10 ปีแล้ว ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่อพยพมาจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน แล้วมาจับจองที่ดินทำกิน อย่างคุณเจริญชัย พรมลี ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 4 แหลมทอง ก็ยังมีที่ดินถึง 90 ไร่ ผู้ใหญ่ เจริญชัย เล่าให้ฟังว่า พื้นที่ที่บ้านหินเหิบถือว่าอุดมสมบูรณ์สามารถทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปีเพราะมีลำน้ำจากเขาไหลผ่าน เริ่มจากเดือนเมษายนจะลงพริกก่อน ซึ่งเป็นพริกชี้ฟ้าลูกผสม และพริกขี้หนูลูกผสมของซุปเปอร์ฮอต พันธุ์นี้ดีสามารถต้านทานโรค และเป็นที่ต้องการของตลาด ขายได้กิโลกรัม (ก.ก.) ละ 20-25 บาท หรือบางปีบางช่วงผลผลิตน้อยก็อาจจะสูงถึง 80 บาท ถ้าราคาอยู่ตัว 40 บาท ถ้าจ
ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เขียนเรื่องสมุนไพรรักษาโรคหัวใจ ไว้ในคอลัมน์พืชใกล้ตัว ในอภัยภูเบศรสาร ไว้ว่า เดือนกุมภาพันธ์ ผู้เขียนจะใช้โอกาสนี้เขียนถึงโรคหัวใจ เพราะหัวใจมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก มีหน้าที่สูบฉีดเลือดดำไปฟอกที่ปอดและรับเลือดแดงจากปอดสูบฉีดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ในปัจจุบัน โรคหัวใจกำลังเป็นภัยคุกคามต่อคุณภาพชีวิตของประชากรทั่วโลก สมาคมโรคหัวใจแห่งประเทศอเมริกาได้ประมาณการจากข้อมูลระหว่างปี พ.ศ. 2542-2547 ว่ามีชาวอเมริกันจำนวน 79,400,000 คน ป่วยด้วยโรคระบบหลอดเลือดหัวใจตีบตัน (coronary heart disease) เป็นสาเหตุของการตายจากโรคระบบหลอดเลือดหัวใจถึงร้อยละ 52-53 ส่วนในประเทศไทยนั้น ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้แสดงให้เห็นว่า ในปี พ.ศ. 2554 โรคหัวใจเป็นสาเหตุของการตายของประชากรไทย 20,130 คน จากประชากรที่ตายทั้งหมด 414,667 คน (ร้อยละ 4.8 ของการตายทั้งหมด) เนื่องจากโรคมีสาเหตุจากหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆ จากโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ อันที่จริงแล้ว โรคหัวใจยังมีอีกมากมาย เช่น หัวใจโต หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบนี้ มีสาเหตุมาจากระดับไขมันเลว หรือ LDL (
กระเทียม เป็นพืชล้มลุกที่มีหัวลักษณะเป็นทรงกระเปาะอยู่ใต้ดินเช่นเดียวกับหัวหอม ซึ่งแต่ละหัวจะประกอบด้วย 6-10 กลีบ นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องปรุงประกอบอาหาร กระเทียมเป็นพืชที่ค่อนข้างแตกต่างจากพืชทั่วไป เพราะอุดมไปด้วยกำมะถันหรือซัลเฟอร์ในปริมาณมาก นอกจากนี้ กระเทียมประกอบไปด้วยสารอาหารอื่นๆ อีกมากมาย เช่น อาร์จีนีน (Arginine) โอลิโกแซ็คคาไรด์ (Oligosaccharides) ฟลาโวนอยด์ (Flavoniods) และซีลีเนียม (Selenium) ซึ่งล้วนเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลายคนอาจจดจำกระเทียมได้จากกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งเป็นผลมาจากสารอัลลิซิน (Allicin) นอกจากจะทำให้กระเทียมมีกลิ่นที่โดดเด่นแล้ว อัลลิซินยังเป็นสารออกฤทธิ์หลักที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และอาจมีส่วนช่วยรักษาโรคหรือทำให้อาการต่างๆ ดีขึ้น โดยที่หลายคนเชื่อว่าการรับประทานกระเทียมอาจช่วยบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิต คอเลสเตอรอล บรรเทาหวัด รวมถึงใช้น้ำมันกระเทียมเป็นยาทาภายนอกเพื่อรักษาอาการติดเชื้อทางผิวหนัง เล็บ หรือช่วยรักษาอาการผมร่วงอีกด้วย ทั้งนี้ ข้อพิสูจน์หรือหลักฐานทางการแพทย์มีมากน้อยเพียงใด ที่จะช่วยยืนย
จากข้อมูลในอภัยภูเบศรสาร ปีที่ 12 ฉบับที่ 151 โดย ภก. ณัฐดนัย มุสิกวงศ์ ให้ข้อมูลการลดไขมันเลือดด้วยกระเทียม ไว้ โดยระบุเป็นข้อเขียน ดังนี้ “อย่ารับประทานของทอด ของมัน เดี๋ยวคอเลสเตอรอลขึ้น” ข้าพเจ้าคิดว่า ท่านผู้อ่านทุกท่านเคยได้ฟังมาทุกคน แต่ในทางปฏิบัตินั้นยากเหลือเกินที่จะหลีกเลี่ยงมื้ออาหารลักษณะนี้ มีรายงานจากองค์การอนามัยโลก ว่า หากลดระดับคอเลสเตอรอลลง 10% สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ถึง 50% นอกจากนั้น จากการสำรวจพบอีกว่า กลุ่มประเทศที่ประชากรมีรายได้ต่ำ ซึ่งสาเหตุหลัก คือ อาหารที่มีคอเลสเตอรอลมากเกินไป และอาหารจำพวกไขมัน ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก็อาจมาจากยาบางชนิด โรคบางชนิด กรรมพันธุ์ของผู้ป่วยก็เป็นไปได้เช่นกัน โดยปกติแล้วระยะต้นของการมีคอเลสเตอรอลสูง ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการใดๆ แต่เมื่อระดับคอเลสเตอรอลสูงไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการสะสมและอุดตันของไขมันตามหลอดเลือดต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือเส้นเลือดในสมองตีบได้ การรักษา ปัจจุบันก็จะให้ผู้ป่วยควบคุมอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง ออกกำลังกาย ซึ่งหากผู้ป่วยมีระดับไขมันในเลือดสูง ก็อาจจะต้องใช้ยาลดไขมันร่วมด้ว
นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน จังหวัดศรีสะเกษ เป็นแหล่งผลิตกระเทียมอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศความหนาวเย็นเหมาะสมต่อการเพาะปลูก ลักษณะพื้นที่ปลูกเป็นดินมูลทรายที่เป็นดินตะกอนลุ่มน้ำโบราณลำน้ำมูลและลำน้ำสาขามูล ที่ทับถมมานาน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์สูง ประกอบกับเมื่อผสมกับดินโพนหรือดินจอมปลวกตามภูมิปัญญาของปราชญ์ชาวบ้าน จึงทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ จากการติดตามสถานการณ์การผลิตกระเทียมของจังหวัดศรีสะเกษ (ข้อมูลพยากรณ์ ณ 19 มกราคม 2564) คาดว่า ปีเพาะปลูก 2563/64 มีเนื้อที่เพาะปลูก 638 ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 597 ไร่ (เพิ่มขึ้น 41 ไร่ หรือร้อยละ 7) ผลผลิตรวม 527 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 489 ตัน (เพิ่มขึ้น 38 ตัน หรือร้อยละ 7.77) ผลผลิตต่อเนื้อที่เก็บเกี่ยว 826กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วที่มีจำนวน 819 กิโลกรัม/ไร่ (เพิ่มขึ้น 7 กิโลกรัม/ไร่ หรือร้อยละ 0.85) เนื่องจากสภาพภูมิอากาศหนาวเย็น มีน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโต และไม่มีฝนช่วงใ